ในที่สุดการยกเลิกหรือการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ต้องได้พบกับแรงต้านของมวลมหาประชาชนทั่วประเทศ จนอาจกล่าวได้ว่ากระแสความไม่พอใจต่อคณะนิติราษฎร์ได้ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยต้องรีบปฏิเสธข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ และกล่าวว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับคณะนิติราษฎร์
การเคลื่อนไหวต่อต้าน “หนังหน้าไฟ” อย่างคณะนิติราษฎร์ ได้ทำให้ขบวนการที่คิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต้องหันกลับมาทบทวนใหม่
อาจถือได้ว่าเป็นการประเมินผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงที่หลงผิดคิดว่าจะมีแนวร่วมเกิดขึ้นมากมาย และคงคิดไม่ถึงว่าจะมีประชาชนชาวไทยลุกขึ้นมาต่อต้านทั่วประเทศไทยมากขนาดนี้
ด้วยเหตุผลนี้ การเคลื่อนไหวในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่หวังจะพ่วงไปกับการเคลื่อนตัวของคณะนิติราษฎร์ หรือ ครก. 112 คงไม่สามารถเคลื่อนไหวบนดินได้ต่อไป บางส่วนคงมุดรูเคลื่อนไหวใต้ดินต่อไป โดยเฉพาะในโลกอินเทอร์เน็ตที่กำลังขยายตัวอยู่ในขณะนี้
แต่อย่างน้อยก็ได้ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับกองทัพ หมดไปหนึ่งเงื่อนไข คงเหลืออีก 2 เงื่อนไขที่รอเวลาการเผชิญหน้าต่อไปก็คือ การถอยทหารไทยออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารหลังคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และคดี 16 ศพที่อัยการจะต้องตัดสินใจว่าจะส่งให้ศาลไต่สวนต่อไปหรือไม่ก่อนวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555
ในขณะที่คนในพรรคเพื่อไทยก็ออกมาเปิดประเด็นว่ามีกลุ่มคน 4 กลุ่มกำลังวางแผนในการโค่นล้มรัฐบาล ได้แก่กลุ่มนายทุน นักวิชาการ ทหาร และสื่อมวลชน ซึ่งจริงๆ แล้วหากรัฐบาลบริหารประเทศชาติดีจริง ก็ไม่ควรมีความกังวลว่าจะมีใครมาโค่นล้มได้ จริงหรือไม่?
ดังนั้นคนที่จะโค่นล้มรัฐบาลได้ จึงย่อมไม่ใช่ใครอื่น นอกจากรัฐบาลเองที่จะทำตัวเองให้ประชาชนเสื่อมความศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้าวยากหมากแพง ทุจริตคอร์รัปชัน ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ จริงหรือไม่?
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่สำคัญต่อไป ก็คือการยกอธิปไตยและดินแดนของชาติไทยให้กัมพูชาโดยเอาการตีความของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาบังหน้า และการแก้ไขกฎหมายหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การล้างความผิดในอดีตของตัวเองและพวกพ้อง กับการกระชับอำนาจให้กับนักการเมืองในอนาคต
และคู่กรณีสำคัญในเวลานี้ก็คือ “ฝ่ายต่อต้านเผด็จการทหาร” ฝ่ายหนึ่ง กับ “ฝ่ายต่อต้านเผด็จการรัฐสภาโดยทุนสามานย์” เป็นอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีเป้าหมายในเชิงมิติทางเวลาดังนี้
เรื่องในอดีต ฝ่ายหนึ่งต้องการพ้นความผิดในอดีตที่ถูกตรวจสอบ โดย คตส. และถูกตัดสินโดยศาลที่เป็นผลต่อเนื่องในช่วงรัฐประหาร เพื่อให้ตัวเองและพวกพ้องสามารถกลับไปก่อนช่วงเวลารัฐประหาร ซึ่งองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญในเวลานั้นมีสายสัมพันธ์กับฝ่ายการเมืองจนไม่สามารถกลับมาตรวจสอบได้
ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งถือว่าก่อนเวลารัฐประหารองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญมีสายสัมพันธ์กับนักการเมืองซึ่งไม่สามารถตรวจสอบนักการเมืองได้ จึงต้องการให้ทุกฝ่ายต่อสู้กันในชั้นศาลเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองอันเป็นหนทางเดียวที่จะรักษาหลักนิติรัฐเอาไว้ได้
เรื่องในอนาคต ฝ่ายหนึ่งต้องการกระชับอำนาจทางการเมืองของนักการเมือง จนแทรกแซง แทรกซึม และทำให้เกิดองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญให้มาจากฝ่ายการเมือง เพื่อยึดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ยึดอำนาจทหาร ปฏิรูปศาลเพื่อให้อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมืองจนไม่สามารถตรวจสอบฝ่ายการเมืองได้ต่อไป
ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการทำให้เกิดการตรวจสอบกับการเมือง โดยให้ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเป็นอิสระขาดออกจากฝ่ายการเมือง แยกฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติให้ขาดออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อทำให้เกิดการถ่วงดุลตรวจสอบอย่างมีดุลยภาพทั้ง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ
โดยทางเลือกที่จะก่อให้เกิดเป้าหมายในเชิงมิติทางเวลาดังกล่าวข้างต้นนั้นมีทางเลือกให้ฝ่ายเผด็จการทางทหาร และฝ่ายเผด็จการรัฐสภาโดยทุนสามานย์ มีดังนี้
ทางเลือกที่หนึ่ง มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระหว่าง “เผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์” กับ “เผด็จการทางทหาร” ได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และเมื่อชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้วยอมเสียสละอำนาจเผด็จการนั้นด้วยการปฏิรูปการเมืองเพื่อรักษาหลักนิติรัฐ ลดอำนาจของนักการเมืองที่ล้มเหลว สร้างดุลยภาพอำนาจทางการเมืองให้กับกลุ่มประชาชนที่หลากหลายมากกว่าเดิม สร้างกระบวนการตรวจสอบที่เข้มแข็งสามารถทำให้ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ สามารถตรวจสอบถ่วงดุลได้อย่างแท้จริง โดยฝ่ายเผด็จการนั้นจะต้องยอมเสียสละสูญเสียอำนาจของตัวเองในอนาคต
วิธีการนี้แม้จะมีความขัดแย้งก็มีโอกาสเสียเลือดเสียเนื้อได้ในช่วงระหว่างการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจ แต่ก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากพ้นอำนาจนั้นไปแล้วก็มีโอกาสที่จะสร้างความสงบสุขระยะยาวได้
ทางเลือกที่สอง มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระหว่าง “เผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์” กับ “เผด็จการทางทหาร” ได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ใช้อำนาจนั้นในการล้างความผิดในอดีตให้กับตัวเองและพวกพ้อง และแก้ไขรัฐธรรมนูญกระชับอำนาจให้กับตัวเองและพวกพ้องเพื่อผูกขาดอำนาจในอนาคต จนสามารถทุจริตคอร์รัปชันฉ้อฉลแต่ไม่สามารถมีใครตรวจสอบได้ กลายเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ
วิธีการนี้จะต้องมีการต่อสู้จนถึงขั้นเสียเลือดเสียเนื้อระยะยาวแน่นอน ทั้งระหว่างทางที่ให้ได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและหลังได้รับชัยชนะแล้ว ดังนั้นด้วยวิธีการนี้แม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ก็เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้นและจะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองอีกยาวนาน
ทางเลือกที่สาม สองฝ่ายคือ “เผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์” และ “เผด็จการทางทหาร” ได้ตกผลึกและยอมรับแล้วว่า ไม่มีทางที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ จึงเกิดการประนีประนอมกันเพื่อผลประโยชน์ของ “ชนชั้นนำ” ทุกฝ่าย รวมถึงผู้นำฝ่ายมวลชน หรือที่เรียกว่าจับมือและฮั้วกันระหว่างชนชั้นนำ เพื่อไม่รุกคืบเข้าไปในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย แบ่งปันอำนาจทางการเมือง งบประมาณ และผลประโยชน์กลุ่มทุนในปัจจุบันและในอนาคต ล้างความผิดให้กับชนชั้นนำในอดีตของฝ่ายหนึ่ง เพื่อแลกกับการไม่รุกคืบทำลายชนชั้นนำอีกฝ่ายหนึ่ง โดยยังคงดำรงความฉ้อฉลในแต่ละฝ่ายต่อไปและไม่มีการปฏิรูปประเทศไทย
วิธีการนี้ชนชั้นนำของทุกฝ่ายสมประโยชน์ แต่จะสร้างความไม่พอใจต่อมวลชนที่สนับสนุนแต่ละฝ่าย จนอาจเกิดนำไปสู่การเสื่อมศรัทธาและสูญเสียมวลชนในฝ่ายของตัวเอง และมีโอกาสก่อตัวในรูปแบบอื่นที่ไม่สามารถควบคุมได้ ในที่สุดแต่ละฝ่ายที่แบ่งปันอำนาจ และผลประโยชน์ที่ลงตัวนั้นก็จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะการประนีประนอมดังกล่าวเป็นเพียงแค่ “การซื้อเวลา” เท่านั้น ในที่สุดจะมีฝ่ายหนึ่งที่สามารถรอเวลาได้เพราะยิ่งนานไปยิ่งได้เปรียบ ในขณะที่อีกฝ่ายไม่สามารถรอเวลาได้เพราะยิ่งนานไปก็จะยิ่งเสียเปรียบลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะต้องเกิดชัยชนะและความพ่ายแพ้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในทางเลือกที่หนึ่งและทางเลือกที่สองอยู่ดี เพียงแต่ฝ่ายใดจะลงมือก่อนเท่านั้น
ทางเลือกที่สี่ทั้งสองฝ่ายคือ “เผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์” และ “เผด็จการทางทหาร” ได้ตกผลึกและยอมรับแล้วว่า ไม่มีทางที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ จึงยอมเสียสละทุกฝ่าย เรื่องในอดีตฝ่ายผู้นำที่กระทำผิดกฎหมายก็ให้ได้รับโทษทางกฎหมายเพื่อรักษาหลักนิติรัฐ และเรื่องในอนาคตก็ยอมเสียสละอำนาจของตัวเองและพวกพ้องเพื่อปฏิรูปประเทศไทย ยอมให้ประชาชนทุกพื้นที่ ทุกสาขาอาชีพ ทุกสังคม และทุกภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขกฎหมายเพื่อการลดอำนาจนักการเมืองทุกฝ่ายในเชิงโครงสร้าง โดยมีเป้าหมายในการทำลายระบบเผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์ เพื่อไม่ให้เกิดเผด็จการทางทหารในอนาคต วิธีการนี้เป็นแนวทางสันติวิธี แต่ยากที่จะเกิดขึ้นได้ในยามที่นักการเมืองยังคงเหิมเกริมและหลงในอำนาจ
ทางเลือกทั้งสี่ประการนี้ อยู่ที่ทุกฝ่ายว่าจะเลือกหนทางไหน และบางครั้งทางเลือกที่ประชาชนอยากเห็นอาจเป็นทางเลือกที่นักการเมืองไม่อยากทำ และบางเรื่องที่นักการเมืองอยากทำก็เป็นสิ่งที่ประชาชนไม่อยากได้
แต่ต้นทุนกว่าที่นักการเมืองและประชาชนจะเลือกหนทางที่ถูกต้อง ประเทศไทยยังคงต้องจ่ายต้นทุนที่แพงอย่างมหาศาลในการทดลองทางเลือกที่ผิดในรอบหลายปีที่ผ่านมา และจะยังคงต้องจ่ายต้นทุนที่แพงนั้นต่อไปหากยังเลือกหนทางที่ยังไม่ถูกต้อง
หวังเพียงแต่ว่าคนที่มีอำนาจทั้งหลายในวันนี้จะมีสติและคิดได้เร็วขึ้นว่าจะเลือกหนทางใด!!?
การเคลื่อนไหวต่อต้าน “หนังหน้าไฟ” อย่างคณะนิติราษฎร์ ได้ทำให้ขบวนการที่คิดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต้องหันกลับมาทบทวนใหม่
อาจถือได้ว่าเป็นการประเมินผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงที่หลงผิดคิดว่าจะมีแนวร่วมเกิดขึ้นมากมาย และคงคิดไม่ถึงว่าจะมีประชาชนชาวไทยลุกขึ้นมาต่อต้านทั่วประเทศไทยมากขนาดนี้
ด้วยเหตุผลนี้ การเคลื่อนไหวในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่หวังจะพ่วงไปกับการเคลื่อนตัวของคณะนิติราษฎร์ หรือ ครก. 112 คงไม่สามารถเคลื่อนไหวบนดินได้ต่อไป บางส่วนคงมุดรูเคลื่อนไหวใต้ดินต่อไป โดยเฉพาะในโลกอินเทอร์เน็ตที่กำลังขยายตัวอยู่ในขณะนี้
แต่อย่างน้อยก็ได้ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับกองทัพ หมดไปหนึ่งเงื่อนไข คงเหลืออีก 2 เงื่อนไขที่รอเวลาการเผชิญหน้าต่อไปก็คือ การถอยทหารไทยออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารหลังคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ และคดี 16 ศพที่อัยการจะต้องตัดสินใจว่าจะส่งให้ศาลไต่สวนต่อไปหรือไม่ก่อนวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555
ในขณะที่คนในพรรคเพื่อไทยก็ออกมาเปิดประเด็นว่ามีกลุ่มคน 4 กลุ่มกำลังวางแผนในการโค่นล้มรัฐบาล ได้แก่กลุ่มนายทุน นักวิชาการ ทหาร และสื่อมวลชน ซึ่งจริงๆ แล้วหากรัฐบาลบริหารประเทศชาติดีจริง ก็ไม่ควรมีความกังวลว่าจะมีใครมาโค่นล้มได้ จริงหรือไม่?
ดังนั้นคนที่จะโค่นล้มรัฐบาลได้ จึงย่อมไม่ใช่ใครอื่น นอกจากรัฐบาลเองที่จะทำตัวเองให้ประชาชนเสื่อมความศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้าวยากหมากแพง ทุจริตคอร์รัปชัน ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ จริงหรือไม่?
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนที่สำคัญต่อไป ก็คือการยกอธิปไตยและดินแดนของชาติไทยให้กัมพูชาโดยเอาการตีความของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาบังหน้า และการแก้ไขกฎหมายหรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การล้างความผิดในอดีตของตัวเองและพวกพ้อง กับการกระชับอำนาจให้กับนักการเมืองในอนาคต
และคู่กรณีสำคัญในเวลานี้ก็คือ “ฝ่ายต่อต้านเผด็จการทหาร” ฝ่ายหนึ่ง กับ “ฝ่ายต่อต้านเผด็จการรัฐสภาโดยทุนสามานย์” เป็นอีกฝ่ายหนึ่ง โดยมีเป้าหมายในเชิงมิติทางเวลาดังนี้
เรื่องในอดีต ฝ่ายหนึ่งต้องการพ้นความผิดในอดีตที่ถูกตรวจสอบ โดย คตส. และถูกตัดสินโดยศาลที่เป็นผลต่อเนื่องในช่วงรัฐประหาร เพื่อให้ตัวเองและพวกพ้องสามารถกลับไปก่อนช่วงเวลารัฐประหาร ซึ่งองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญในเวลานั้นมีสายสัมพันธ์กับฝ่ายการเมืองจนไม่สามารถกลับมาตรวจสอบได้
ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งถือว่าก่อนเวลารัฐประหารองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญมีสายสัมพันธ์กับนักการเมืองซึ่งไม่สามารถตรวจสอบนักการเมืองได้ จึงต้องการให้ทุกฝ่ายต่อสู้กันในชั้นศาลเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองอันเป็นหนทางเดียวที่จะรักษาหลักนิติรัฐเอาไว้ได้
เรื่องในอนาคต ฝ่ายหนึ่งต้องการกระชับอำนาจทางการเมืองของนักการเมือง จนแทรกแซง แทรกซึม และทำให้เกิดองค์กรตรวจสอบอิสระตามรัฐธรรมนูญให้มาจากฝ่ายการเมือง เพื่อยึดอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ยึดอำนาจทหาร ปฏิรูปศาลเพื่อให้อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมืองจนไม่สามารถตรวจสอบฝ่ายการเมืองได้ต่อไป
ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการทำให้เกิดการตรวจสอบกับการเมือง โดยให้ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเป็นอิสระขาดออกจากฝ่ายการเมือง แยกฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติให้ขาดออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อทำให้เกิดการถ่วงดุลตรวจสอบอย่างมีดุลยภาพทั้ง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ
โดยทางเลือกที่จะก่อให้เกิดเป้าหมายในเชิงมิติทางเวลาดังกล่าวข้างต้นนั้นมีทางเลือกให้ฝ่ายเผด็จการทางทหาร และฝ่ายเผด็จการรัฐสภาโดยทุนสามานย์ มีดังนี้
ทางเลือกที่หนึ่ง มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระหว่าง “เผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์” กับ “เผด็จการทางทหาร” ได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และเมื่อชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้วยอมเสียสละอำนาจเผด็จการนั้นด้วยการปฏิรูปการเมืองเพื่อรักษาหลักนิติรัฐ ลดอำนาจของนักการเมืองที่ล้มเหลว สร้างดุลยภาพอำนาจทางการเมืองให้กับกลุ่มประชาชนที่หลากหลายมากกว่าเดิม สร้างกระบวนการตรวจสอบที่เข้มแข็งสามารถทำให้ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ สามารถตรวจสอบถ่วงดุลได้อย่างแท้จริง โดยฝ่ายเผด็จการนั้นจะต้องยอมเสียสละสูญเสียอำนาจของตัวเองในอนาคต
วิธีการนี้แม้จะมีความขัดแย้งก็มีโอกาสเสียเลือดเสียเนื้อได้ในช่วงระหว่างการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจ แต่ก็เป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากพ้นอำนาจนั้นไปแล้วก็มีโอกาสที่จะสร้างความสงบสุขระยะยาวได้
ทางเลือกที่สอง มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระหว่าง “เผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์” กับ “เผด็จการทางทหาร” ได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ใช้อำนาจนั้นในการล้างความผิดในอดีตให้กับตัวเองและพวกพ้อง และแก้ไขรัฐธรรมนูญกระชับอำนาจให้กับตัวเองและพวกพ้องเพื่อผูกขาดอำนาจในอนาคต จนสามารถทุจริตคอร์รัปชันฉ้อฉลแต่ไม่สามารถมีใครตรวจสอบได้ กลายเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ
วิธีการนี้จะต้องมีการต่อสู้จนถึงขั้นเสียเลือดเสียเนื้อระยะยาวแน่นอน ทั้งระหว่างทางที่ให้ได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและหลังได้รับชัยชนะแล้ว ดังนั้นด้วยวิธีการนี้แม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ก็เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้นและจะเกิดความวุ่นวายทางการเมืองอีกยาวนาน
ทางเลือกที่สาม สองฝ่ายคือ “เผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์” และ “เผด็จการทางทหาร” ได้ตกผลึกและยอมรับแล้วว่า ไม่มีทางที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ จึงเกิดการประนีประนอมกันเพื่อผลประโยชน์ของ “ชนชั้นนำ” ทุกฝ่าย รวมถึงผู้นำฝ่ายมวลชน หรือที่เรียกว่าจับมือและฮั้วกันระหว่างชนชั้นนำ เพื่อไม่รุกคืบเข้าไปในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย แบ่งปันอำนาจทางการเมือง งบประมาณ และผลประโยชน์กลุ่มทุนในปัจจุบันและในอนาคต ล้างความผิดให้กับชนชั้นนำในอดีตของฝ่ายหนึ่ง เพื่อแลกกับการไม่รุกคืบทำลายชนชั้นนำอีกฝ่ายหนึ่ง โดยยังคงดำรงความฉ้อฉลในแต่ละฝ่ายต่อไปและไม่มีการปฏิรูปประเทศไทย
วิธีการนี้ชนชั้นนำของทุกฝ่ายสมประโยชน์ แต่จะสร้างความไม่พอใจต่อมวลชนที่สนับสนุนแต่ละฝ่าย จนอาจเกิดนำไปสู่การเสื่อมศรัทธาและสูญเสียมวลชนในฝ่ายของตัวเอง และมีโอกาสก่อตัวในรูปแบบอื่นที่ไม่สามารถควบคุมได้ ในที่สุดแต่ละฝ่ายที่แบ่งปันอำนาจ และผลประโยชน์ที่ลงตัวนั้นก็จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะการประนีประนอมดังกล่าวเป็นเพียงแค่ “การซื้อเวลา” เท่านั้น ในที่สุดจะมีฝ่ายหนึ่งที่สามารถรอเวลาได้เพราะยิ่งนานไปยิ่งได้เปรียบ ในขณะที่อีกฝ่ายไม่สามารถรอเวลาได้เพราะยิ่งนานไปก็จะยิ่งเสียเปรียบลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็จะต้องเกิดชัยชนะและความพ่ายแพ้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในทางเลือกที่หนึ่งและทางเลือกที่สองอยู่ดี เพียงแต่ฝ่ายใดจะลงมือก่อนเท่านั้น
ทางเลือกที่สี่ทั้งสองฝ่ายคือ “เผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์” และ “เผด็จการทางทหาร” ได้ตกผลึกและยอมรับแล้วว่า ไม่มีทางที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้รับชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ จึงยอมเสียสละทุกฝ่าย เรื่องในอดีตฝ่ายผู้นำที่กระทำผิดกฎหมายก็ให้ได้รับโทษทางกฎหมายเพื่อรักษาหลักนิติรัฐ และเรื่องในอนาคตก็ยอมเสียสละอำนาจของตัวเองและพวกพ้องเพื่อปฏิรูปประเทศไทย ยอมให้ประชาชนทุกพื้นที่ ทุกสาขาอาชีพ ทุกสังคม และทุกภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขกฎหมายเพื่อการลดอำนาจนักการเมืองทุกฝ่ายในเชิงโครงสร้าง โดยมีเป้าหมายในการทำลายระบบเผด็จการทางรัฐสภาโดยทุนสามานย์ เพื่อไม่ให้เกิดเผด็จการทางทหารในอนาคต วิธีการนี้เป็นแนวทางสันติวิธี แต่ยากที่จะเกิดขึ้นได้ในยามที่นักการเมืองยังคงเหิมเกริมและหลงในอำนาจ
ทางเลือกทั้งสี่ประการนี้ อยู่ที่ทุกฝ่ายว่าจะเลือกหนทางไหน และบางครั้งทางเลือกที่ประชาชนอยากเห็นอาจเป็นทางเลือกที่นักการเมืองไม่อยากทำ และบางเรื่องที่นักการเมืองอยากทำก็เป็นสิ่งที่ประชาชนไม่อยากได้
แต่ต้นทุนกว่าที่นักการเมืองและประชาชนจะเลือกหนทางที่ถูกต้อง ประเทศไทยยังคงต้องจ่ายต้นทุนที่แพงอย่างมหาศาลในการทดลองทางเลือกที่ผิดในรอบหลายปีที่ผ่านมา และจะยังคงต้องจ่ายต้นทุนที่แพงนั้นต่อไปหากยังเลือกหนทางที่ยังไม่ถูกต้อง
หวังเพียงแต่ว่าคนที่มีอำนาจทั้งหลายในวันนี้จะมีสติและคิดได้เร็วขึ้นว่าจะเลือกหนทางใด!!?