แล้วก็เกิดกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงพุ่งเข้าใส่ “คณะนิติราษฎร์” สาเหตุเพราะเป็นตัวตั้งตัวตีในการเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประเด็นแหลมๆ คมๆ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมเดินหน้าล่ารายชื่อประชาชน โดยไม่สนคำทัดทานจากใครหน้าไหน
ซ้ำยังเหิมเกริมหนักข้อขึ้นทุกวัน
เพราะไม่เพียงเสนอให้แก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เท่านั้น แต่ยังเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 ในหมวดพระมหากษัตริย์ด้วย โดยเฉพาะแนวคิดของ วรเจตน์ ที่ต้องการกำหนดให้พระมหากษัตริย์ต้องสาบานตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง ไม่รู้อะไรดลใจให้กล้าคิดได้ถึงเพียงนี้!
“คณะนิติราษฎร์” ที่ประกอบไปด้วยนักวิชาการนามกระเดื่องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่าง วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และ ปิยะบุตร แสงกนกกุล เสนอความเห็นกันเมามันต่อเนื่องเรื่อยมาเหมือนเป็นเรื่องสนุก แต่หลายความคิด คนไทยฟังแล้วสะดุ้งโหย่ง ไม่อยากเชื่อว่าจะผยองกันได้ขนาดนั้น ไม่เกรงกลัวเลยว่า ตัวเองอาจโดนของแข็งย้อนศรกลับมาจนหัวร้างข้างแตก
ล่าสุด พรรคเพื่อไทยและรัฐบาล จับกระแสสังคมที่ชักเริ่มมึนตึงขึ้นเรื่อยๆ ได้แล้วก็โดดหนีทันที เพราะความเห็นของ คณะนิติราษฎร์ เริ่มสุดโต่ง ล้ำหน้าไปไกล เพ้อเจ้อ เพ้อฝัน เหมือนคนเสียสติไปแล้ว ยิ่งเป็นความคิดสุดแสนจะบรรเจิดจากเหล่าปัญญาชนระดับครูบาอาจารย์แล้ว ใครก็ห้ามยาก เพราะมีอีโก้ทางความคิดสูงปรี๊ด
แรกเริ่มเดิมที ดูเหมือนว่าเครือข่ายพรรคเพื่อไทยกับคณะนิติราษฎร์จะถ้อยทีถ้อยอาศัยเกื้อหนุนกัน แอบเชียร์กันแบบเขินๆ อายๆ แต่เมื่อข้อเสนอระยะหลังชักห่ามห้าว สังคมเริ่มมองเขม่น รัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยก็ตีชิ่ง โดดเหยงเหมือนเห็บหนีหมาเน่า ซ้ำยังกลับมาเหยียบหัวประณามคณะนิติราษฎร์ไปนั่นเลย
เรียกว่าเล่นบทดราม่าชั่วข้ามคืน คล้ายละครหลังข่าวยังไงอย่างงั้น
การเดินเกมที่ผิดพลาดของคณะนิติราษฎร์ที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเครือข่ายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็อนุมานได้ว่าเป็นความพ่ายแพ้อีกครั้งหนึ่งของพรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังหลบหนีคดีหัวซุกหัวซุนอยู่ต่างประเทศ
หลังจากที่ก่อนหน้านี้เดินแต้มพลาด หน้าแตกหมอไม่รับเย็บมาแล้ว จากกรณีที่มีความพยายามถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พ.ต.ท.ทักษิณ!!
แพ้ 2 ครั้งติดๆ สร้างความเคลือบแคลง กังขา ต่อสังคม ว่าเขากำลังทำอะไรกันอยู่?
การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เจตนามุ่งหมายลดอำนาจพระมหากษัตริย์ถือเป็นความพยายามของพวกเลอะเรื้อน กินยาผิดซองไปเยอะ การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์หลายๆ ประเด็น นับเป็นการย่ำยีหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบังคับให้พระมหากษัตริย์ต้องทำการสาบานตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง ก็ไม่รู้ว่าคิดไปไกลขนาดนั้นได้อย่างไร ความจริงก็มีประเพณีปฏิบัติในการครองราชย์ มีการดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาตามกฎมณเฑียรบาล ตามพระราชประเพณี ซึ่งนั่นก็คือการสาบานตนอย่างเป็นทางการอยู่แล้ว
ข้อเสนอที่ห้ามมิให้พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสก็นับเป็นความเห็นที่เลวทรามมาก เพราะในขณะที่ฝ่ายตัวเองทำการเรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องให้มีการคิด พูด เสนอความเห็นต่างโดยเสรี แต่กลับมีข้อเสนอให้พระมหากษัตริย์ห้ามมีพระราชดำรัส
ข้อเสนอให้ตัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งฝ่ายตุลาการ ไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวการแต่งตั้งผู้พิพากษา ทั้งๆ ที่หลายประเทศก็มีประเพณีปฏิบัติให้ผู้นำสูงสุด ให้ประมุขแต่งตั้งฝ่ายตุลาการเพื่อให้เข้าไปใช้อำนาจแทน เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ฝ่ายตุลาการได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ซึ่งเปรียบเหมือนประมุขของประเทศ
เหล่านี้ถือเป็นการย่ำยีหัวใจของคนไทยอย่างร้ายกาจ เป็นข้อเสนอที่ไม่มีเหตุมีผล สนองตัณหาความต้องการของตัวเองเป็นหลัก
วันนี้เมื่อกระแสคัดค้านก่อตัวเป็นคลื่นใหญ่ ปฎิกิริยาต่อต้านเริ่มอื้ออึงขึ้นเรื่อยๆ “วรเจตน์” ก็ออกแก้ตัวหวังแก้สถานการณ์ว่า เป็นการพิทักษ์ไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ว่าจะมองมุมไหนมันก็ล้วนแล้วแต่เป็นการทำลายสถาบันเสียมากกว่า
เริ่มถอยกันเป็นแถบ แต่ถอยกันแบบไม่เป็นกระบวน
วันนี้ถ้าคณะนิติราษฎร์เป็นเครือข่ายเดียวกับพรรคเพื่อไทยตามที่คนตั้งข้อสังเกต เพราะ ตัวตนของ “วรเจตน์”ช่วงที่ผ่านมาก็เป็นกระบอกเสียงทางวิชาการให้พ.ต.ท.ทักษิณมาตลอด ก็ถือว่าเป็นการเดินแต้มพลาดอีกครั้ง และดูท่าว่าจะกู่กลับมายากสักหน่อย
เพราะเครือข่ายคณาจารย์ล้วนมีความคิดที่ยึดมั่นของตัวเอง จะไปสั่งแก้ไขปรับเปลี่ยนคงยาก ไม่เหมือนคนในพรรคเพื่อไทย หรือคนเสื้อแดง ที่เป็นเครือข่ายใกล้ชิด สั่งซ้ายหัน ขวาหันได้ง่ายกว่าเยอะ
หลังจากพล็อตเรื่องวางเป้าหมายให้นักวิชาการรับจ้างไปดำเนินการแล้ว ก็ต้องให้กำหนดแผนงานเอง ไม่สามารถไปกำหนดทิศทางการเดินได้ ฉะนั้นระหว่างทางหากจะมีการปรับเสริม เปลี่ยนแปลง สอดแทรกเข้าไป ก็คงไม่อาจทัดทานได้
เหมือนคนสั่งอยู่ไกล จะไปตบบ้องหูก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่คนสนิทชิดใกล้
ช่วงหลังมานี้คนในรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยก็ทำอะไรไม่ได้ ทัดทานอย่างไรก็ไม่อยู่ จึงออกโรงมาด่ากันดังๆ แบบสาดเสียเทเสีย ขอร้องวิงวอนให้หยุดความเคลื่อนไหวได้แล้ว..
เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมเพ่งมองมาที่คณะนิติราษฎร์และพรรคเพื่อไทยในลักษณะเนื้อเดียวกัน ยิ่งนิติราษฎร์เคลื่อนไหวสุดโต่ง เหิมเกริมมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพมุมลบก็จะสะท้อนกลับไปถึงตัวรัฐบาลมากขึ้นเท่านั้น
อดีตที่ผ่านมาเครือข่ายพรรคเพื่อไทยก็ถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้มาตลอด นอกจากนั้นยังมีเครือข่ายคนเสื้อแดงที่มีความคิด “ล้มเจ้า”อยู่จริง
ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่ไว้ใจ สังคมมองเป็นความคิดมิจฉาทิฐิ เจตนาไม่สุจริต มุ่งหวังล้มล้างมากกว่าแก้ไขปรับปรุง..
ซ้ำยังเหิมเกริมหนักข้อขึ้นทุกวัน
เพราะไม่เพียงเสนอให้แก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เท่านั้น แต่ยังเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 ในหมวดพระมหากษัตริย์ด้วย โดยเฉพาะแนวคิดของ วรเจตน์ ที่ต้องการกำหนดให้พระมหากษัตริย์ต้องสาบานตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง ไม่รู้อะไรดลใจให้กล้าคิดได้ถึงเพียงนี้!
“คณะนิติราษฎร์” ที่ประกอบไปด้วยนักวิชาการนามกระเดื่องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่าง วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และ ปิยะบุตร แสงกนกกุล เสนอความเห็นกันเมามันต่อเนื่องเรื่อยมาเหมือนเป็นเรื่องสนุก แต่หลายความคิด คนไทยฟังแล้วสะดุ้งโหย่ง ไม่อยากเชื่อว่าจะผยองกันได้ขนาดนั้น ไม่เกรงกลัวเลยว่า ตัวเองอาจโดนของแข็งย้อนศรกลับมาจนหัวร้างข้างแตก
ล่าสุด พรรคเพื่อไทยและรัฐบาล จับกระแสสังคมที่ชักเริ่มมึนตึงขึ้นเรื่อยๆ ได้แล้วก็โดดหนีทันที เพราะความเห็นของ คณะนิติราษฎร์ เริ่มสุดโต่ง ล้ำหน้าไปไกล เพ้อเจ้อ เพ้อฝัน เหมือนคนเสียสติไปแล้ว ยิ่งเป็นความคิดสุดแสนจะบรรเจิดจากเหล่าปัญญาชนระดับครูบาอาจารย์แล้ว ใครก็ห้ามยาก เพราะมีอีโก้ทางความคิดสูงปรี๊ด
แรกเริ่มเดิมที ดูเหมือนว่าเครือข่ายพรรคเพื่อไทยกับคณะนิติราษฎร์จะถ้อยทีถ้อยอาศัยเกื้อหนุนกัน แอบเชียร์กันแบบเขินๆ อายๆ แต่เมื่อข้อเสนอระยะหลังชักห่ามห้าว สังคมเริ่มมองเขม่น รัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยก็ตีชิ่ง โดดเหยงเหมือนเห็บหนีหมาเน่า ซ้ำยังกลับมาเหยียบหัวประณามคณะนิติราษฎร์ไปนั่นเลย
เรียกว่าเล่นบทดราม่าชั่วข้ามคืน คล้ายละครหลังข่าวยังไงอย่างงั้น
การเดินเกมที่ผิดพลาดของคณะนิติราษฎร์ที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเครือข่ายของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็อนุมานได้ว่าเป็นความพ่ายแพ้อีกครั้งหนึ่งของพรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังหลบหนีคดีหัวซุกหัวซุนอยู่ต่างประเทศ
หลังจากที่ก่อนหน้านี้เดินแต้มพลาด หน้าแตกหมอไม่รับเย็บมาแล้ว จากกรณีที่มีความพยายามถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้พ.ต.ท.ทักษิณ!!
แพ้ 2 ครั้งติดๆ สร้างความเคลือบแคลง กังขา ต่อสังคม ว่าเขากำลังทำอะไรกันอยู่?
การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เจตนามุ่งหมายลดอำนาจพระมหากษัตริย์ถือเป็นความพยายามของพวกเลอะเรื้อน กินยาผิดซองไปเยอะ การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์หลายๆ ประเด็น นับเป็นการย่ำยีหัวใจของคนไทยทั้งประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบังคับให้พระมหากษัตริย์ต้องทำการสาบานตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง ก็ไม่รู้ว่าคิดไปไกลขนาดนั้นได้อย่างไร ความจริงก็มีประเพณีปฏิบัติในการครองราชย์ มีการดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาตามกฎมณเฑียรบาล ตามพระราชประเพณี ซึ่งนั่นก็คือการสาบานตนอย่างเป็นทางการอยู่แล้ว
ข้อเสนอที่ห้ามมิให้พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสก็นับเป็นความเห็นที่เลวทรามมาก เพราะในขณะที่ฝ่ายตัวเองทำการเรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องให้มีการคิด พูด เสนอความเห็นต่างโดยเสรี แต่กลับมีข้อเสนอให้พระมหากษัตริย์ห้ามมีพระราชดำรัส
ข้อเสนอให้ตัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้งฝ่ายตุลาการ ไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวการแต่งตั้งผู้พิพากษา ทั้งๆ ที่หลายประเทศก็มีประเพณีปฏิบัติให้ผู้นำสูงสุด ให้ประมุขแต่งตั้งฝ่ายตุลาการเพื่อให้เข้าไปใช้อำนาจแทน เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ฝ่ายตุลาการได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ซึ่งเปรียบเหมือนประมุขของประเทศ
เหล่านี้ถือเป็นการย่ำยีหัวใจของคนไทยอย่างร้ายกาจ เป็นข้อเสนอที่ไม่มีเหตุมีผล สนองตัณหาความต้องการของตัวเองเป็นหลัก
วันนี้เมื่อกระแสคัดค้านก่อตัวเป็นคลื่นใหญ่ ปฎิกิริยาต่อต้านเริ่มอื้ออึงขึ้นเรื่อยๆ “วรเจตน์” ก็ออกแก้ตัวหวังแก้สถานการณ์ว่า เป็นการพิทักษ์ไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ไม่ว่าจะมองมุมไหนมันก็ล้วนแล้วแต่เป็นการทำลายสถาบันเสียมากกว่า
เริ่มถอยกันเป็นแถบ แต่ถอยกันแบบไม่เป็นกระบวน
วันนี้ถ้าคณะนิติราษฎร์เป็นเครือข่ายเดียวกับพรรคเพื่อไทยตามที่คนตั้งข้อสังเกต เพราะ ตัวตนของ “วรเจตน์”ช่วงที่ผ่านมาก็เป็นกระบอกเสียงทางวิชาการให้พ.ต.ท.ทักษิณมาตลอด ก็ถือว่าเป็นการเดินแต้มพลาดอีกครั้ง และดูท่าว่าจะกู่กลับมายากสักหน่อย
เพราะเครือข่ายคณาจารย์ล้วนมีความคิดที่ยึดมั่นของตัวเอง จะไปสั่งแก้ไขปรับเปลี่ยนคงยาก ไม่เหมือนคนในพรรคเพื่อไทย หรือคนเสื้อแดง ที่เป็นเครือข่ายใกล้ชิด สั่งซ้ายหัน ขวาหันได้ง่ายกว่าเยอะ
หลังจากพล็อตเรื่องวางเป้าหมายให้นักวิชาการรับจ้างไปดำเนินการแล้ว ก็ต้องให้กำหนดแผนงานเอง ไม่สามารถไปกำหนดทิศทางการเดินได้ ฉะนั้นระหว่างทางหากจะมีการปรับเสริม เปลี่ยนแปลง สอดแทรกเข้าไป ก็คงไม่อาจทัดทานได้
เหมือนคนสั่งอยู่ไกล จะไปตบบ้องหูก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่คนสนิทชิดใกล้
ช่วงหลังมานี้คนในรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยก็ทำอะไรไม่ได้ ทัดทานอย่างไรก็ไม่อยู่ จึงออกโรงมาด่ากันดังๆ แบบสาดเสียเทเสีย ขอร้องวิงวอนให้หยุดความเคลื่อนไหวได้แล้ว..
เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมเพ่งมองมาที่คณะนิติราษฎร์และพรรคเพื่อไทยในลักษณะเนื้อเดียวกัน ยิ่งนิติราษฎร์เคลื่อนไหวสุดโต่ง เหิมเกริมมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพมุมลบก็จะสะท้อนกลับไปถึงตัวรัฐบาลมากขึ้นเท่านั้น
อดีตที่ผ่านมาเครือข่ายพรรคเพื่อไทยก็ถูกตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้มาตลอด นอกจากนั้นยังมีเครือข่ายคนเสื้อแดงที่มีความคิด “ล้มเจ้า”อยู่จริง
ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย ไม่ไว้ใจ สังคมมองเป็นความคิดมิจฉาทิฐิ เจตนาไม่สุจริต มุ่งหวังล้มล้างมากกว่าแก้ไขปรับปรุง..