เอเอฟพี – อเมริกาเดินหน้าแผนเพิ่มแสนยานุภาพทางทหารในเอเชีย ท่ามกลางการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากฟิลิปปินส์และพันธมิตรชาติอื่นๆ และแม้ถูกภาวะเศรษฐกิจของประเทศตนเองกดดันให้ตัดลดงบประมาณแผ่นดิน แต่เพนตากอนยังประกาศเดินหน้าอัดฉีดการออกแบบอาวุธล้ำสมัย
ท่ามกลางความกดดันให้ปรับลดการใช้จ่าย ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ยังคงประกาศชัดเจนว่า การรักษาบทบาทผู้นำทางการทหารในเอเชียตะวันออกจะยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญอันดับแรกของอเมริกา ในจังหวะเวลาที่พญามังกรสร้างเสริมกองทัพอย่างรวดเร็ว
ภายหลังการเจรจาสองวัน เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ประกาศเมื่อวันศุกร์ (27) ในเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคง
รัฐมนตรีต่างประเทศ อัลเบิร์ต เดล รอสซาริโอ ของแดนตากาล็อกกล่าวว่า ฟิลิปปินส์กำลังเตรียมการเพื่อร่วมซ้อมรบกับสหรัฐฯ บ่อยครั้งขึ้น รวมถึงเปิดทางให้กองกำลังอเมริกันจำนวนมากขึ้นสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาประจำการในประเทศของเขา
ข้อเสนอนี้เกิดขึ้นสองเดือนหลังจากที่โอบามาประกาศขณะเดินทางเยือนออสเตรเลียว่า สหรัฐฯ จะจัดนาวิกโยธิน 2,500 คนไปประจำการนเมืองดาร์วิน ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแดนจิงโจ้ ที่ประชิดกับดินแดนของอินโดนีเซีย ภายในปี 2016-2017
อเมริกายังมีแผนส่งเรือรบสำหรับปฏิบัติการในเขตน้ำตื้นไปยังสิงคโปร์ พันธมิตรถาวรที่มีตำแหน่งที่ตั้งสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของนักวางแผนกลาโหมแดนอินทรีที่ต้องการใช้กองกำลังซึ่งมีความคล่องตัวและอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดปัญหามากขึ้น โดยไม่ต้องตั้งฐานทัพถาวรที่มีค่าใช้จ่ายทั้งด้านการเงินและการเมือง
พล.ร.อ.โรเบิร์ต วิลลาร์ด ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯ ไม่ต้องการฐานทัพเพิ่มในภูมิภาคนี้ นอกเหนือจากฐานทัพที่มีอยู่แล้วทั้งในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อันมีกำลังทหารอเมริกันระจำการอยู่รวมแล้วกว่า 85,000 คน เขาเสริมด้วยว่า มาตรการริเริ่มใหม่ๆ แบบที่จะดำเนินการในออสเตรเลียและสิงคโปร์ ช่วยให้กองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกสามารถสับเปลี่ยนกำลังจากที่ตั้งต่างๆ ที่อยู่ใกล้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น
น.อ.จอห์น เคอร์บี้ โฆษกเพนตากอน ขานรับว่า สหรัฐฯ กำลังปรับสมดุลโฟกัสมาที่เอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น โดยภูมิภาคนี้ก็มีความต้องการโครงการพันธมิตรอันเข้มแข็งขึ้นกว่าที่สหรัฐฯ เคยทำกับหลายๆ ประเทศในย่านนี้
วันพฤหัสบดี ที่แล้ว (26) เพนตากอนที่อยู่ภายใต้ความกดดันในการลดการใช้จ่าย เปิดเผยแผนการลดกำลังทหารประจำการลงไปราว 100,000 คน ถึง แม้ยอดกำลังพลรวมยังคงสูงกว่าก่อนเกิดสงครามในอัฟกานิสถานและอิรักก็ตาม
แผนการนี้ซึ่งคาดว่า จะเป็นประเด็นถกเถียงอภิปรายอันเผ็ดร้อนในรัฐสภานั้น ระบุถึงการถอนทหาร 2 กองพลน้อยออกจากยุโรป และยืดเวลาการปลดประจำการเครื่องบินไอพ่นขนส่ง เรือลาดตระเวน และเรือดำน้ำนิวเคลียร์รุ่นโอไฮโอ
ทว่า เพนตากอนจะยังคงสนับสนุนเงินทุนสำหรับการวิจัยโครงการต่างๆ ที่ถือว่ามีความสำคัญต่อแนวโน้มความขัดแย้งกับจีน ซึ่งรวมถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดเทคโนโลยีสเตลธ์รุ่นใหม่ที่สามารถเจาะเข้าสู่เขตป้องกันของข้าศึกได้
เพนตากอนยังต้องการอัดฉีดงบประมาณเพื่อปรับปรุงระบบเรดาร์ในเครื่องบินและเรือรบ รวมทั้งการออกแบบเรือดำน้ำโจมตีเร็วรุ่นเวอร์จิเนีย เพื่อให้สามารถยิงขีปนาวุธนำวิถีได้มากขึ้น
ช่วงหลายปีมานี้ข้อพิพาทระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ อาทิ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม คุกรุ่นรุนแรงขึ้น โดยที่เพื่อนบ้านในเอเชียกล่าวหาว่า พญามังกรมีพฤติกรรมก้าวร้าว
ด้านปักกิ่งยืนกรานว่า การเติบโตของตนเป็นเรื่องปกติ และไม่ได้คุกคามประเทศใดๆ พร้อมย้ำเตือนวอชิงตันให้ระวัง อย่าทำให้ความขัดแย้งลุกลาม
เจ้าหน้าที่อเมริกันดูเหมือนระมัดระวังที่จะไม่พาดพิงถึงจีนว่าเป็นภัยคุกคามอย่างเปิดเผย พร้อมอ้างว่า การทุ่มงบอัดฉีดด้านกลาโหมในเอเชียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลดีต่อจีน เพราะทำให้จีนสามารถมุ่งเน้นกับการเติบโตภายในมากขึ้นแทนที่จะต้องกังวลกับภัยคุกคามจากภายนอก
“เป้าหมายของกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกและของสหรัฐฯ คือเอเชียเป็นภูมิภาคที่ปลอดภัย มีเสถียรภาพ และมั่งคั่งของโลก” วิลลาร์ดระบุ
อย่างไรก็ตาม แม้การให้ความสนใจกับเอเชียมากขึ้นจะได้รับการสนับสนุนในวอชิงตัน แต่สมาชิกบางคนในพรรคเดโมแครตของโอบามา ยังคงเรียกร้องให้เพนตากอนปรับลดงบประมาณมากขึ้น
ส.ส.เดโมแครต 4 คน ได้แก่ บาร์นีย์ แฟรงค์, รัช ฮอลต์, บาร์บารา ลี และลินน์ วูลซีย์ ไม่เห็นความจำเป็นในการขยายกองกำลังในออสเตรเลีย และเรียกร้องให้เพนตากอนตัดงบประมาณด้วยการปิดฐานทัพฟูเทนมะในโอกินาวาที่ถูกต่อต้านมายาวนานจากชาวญี่ปุ่น
ท่ามกลางความกดดันให้ปรับลดการใช้จ่าย ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ยังคงประกาศชัดเจนว่า การรักษาบทบาทผู้นำทางการทหารในเอเชียตะวันออกจะยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญอันดับแรกของอเมริกา ในจังหวะเวลาที่พญามังกรสร้างเสริมกองทัพอย่างรวดเร็ว
ภายหลังการเจรจาสองวัน เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ประกาศเมื่อวันศุกร์ (27) ในเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคง
รัฐมนตรีต่างประเทศ อัลเบิร์ต เดล รอสซาริโอ ของแดนตากาล็อกกล่าวว่า ฟิลิปปินส์กำลังเตรียมการเพื่อร่วมซ้อมรบกับสหรัฐฯ บ่อยครั้งขึ้น รวมถึงเปิดทางให้กองกำลังอเมริกันจำนวนมากขึ้นสับเปลี่ยนหมุนเวียนมาประจำการในประเทศของเขา
ข้อเสนอนี้เกิดขึ้นสองเดือนหลังจากที่โอบามาประกาศขณะเดินทางเยือนออสเตรเลียว่า สหรัฐฯ จะจัดนาวิกโยธิน 2,500 คนไปประจำการนเมืองดาร์วิน ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแดนจิงโจ้ ที่ประชิดกับดินแดนของอินโดนีเซีย ภายในปี 2016-2017
อเมริกายังมีแผนส่งเรือรบสำหรับปฏิบัติการในเขตน้ำตื้นไปยังสิงคโปร์ พันธมิตรถาวรที่มีตำแหน่งที่ตั้งสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของนักวางแผนกลาโหมแดนอินทรีที่ต้องการใช้กองกำลังซึ่งมีความคล่องตัวและอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดปัญหามากขึ้น โดยไม่ต้องตั้งฐานทัพถาวรที่มีค่าใช้จ่ายทั้งด้านการเงินและการเมือง
พล.ร.อ.โรเบิร์ต วิลลาร์ด ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกของสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯ ไม่ต้องการฐานทัพเพิ่มในภูมิภาคนี้ นอกเหนือจากฐานทัพที่มีอยู่แล้วทั้งในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้อันมีกำลังทหารอเมริกันระจำการอยู่รวมแล้วกว่า 85,000 คน เขาเสริมด้วยว่า มาตรการริเริ่มใหม่ๆ แบบที่จะดำเนินการในออสเตรเลียและสิงคโปร์ ช่วยให้กองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกสามารถสับเปลี่ยนกำลังจากที่ตั้งต่างๆ ที่อยู่ใกล้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น
น.อ.จอห์น เคอร์บี้ โฆษกเพนตากอน ขานรับว่า สหรัฐฯ กำลังปรับสมดุลโฟกัสมาที่เอเชีย-แปซิฟิกมากขึ้น โดยภูมิภาคนี้ก็มีความต้องการโครงการพันธมิตรอันเข้มแข็งขึ้นกว่าที่สหรัฐฯ เคยทำกับหลายๆ ประเทศในย่านนี้
วันพฤหัสบดี ที่แล้ว (26) เพนตากอนที่อยู่ภายใต้ความกดดันในการลดการใช้จ่าย เปิดเผยแผนการลดกำลังทหารประจำการลงไปราว 100,000 คน ถึง แม้ยอดกำลังพลรวมยังคงสูงกว่าก่อนเกิดสงครามในอัฟกานิสถานและอิรักก็ตาม
แผนการนี้ซึ่งคาดว่า จะเป็นประเด็นถกเถียงอภิปรายอันเผ็ดร้อนในรัฐสภานั้น ระบุถึงการถอนทหาร 2 กองพลน้อยออกจากยุโรป และยืดเวลาการปลดประจำการเครื่องบินไอพ่นขนส่ง เรือลาดตระเวน และเรือดำน้ำนิวเคลียร์รุ่นโอไฮโอ
ทว่า เพนตากอนจะยังคงสนับสนุนเงินทุนสำหรับการวิจัยโครงการต่างๆ ที่ถือว่ามีความสำคัญต่อแนวโน้มความขัดแย้งกับจีน ซึ่งรวมถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดเทคโนโลยีสเตลธ์รุ่นใหม่ที่สามารถเจาะเข้าสู่เขตป้องกันของข้าศึกได้
เพนตากอนยังต้องการอัดฉีดงบประมาณเพื่อปรับปรุงระบบเรดาร์ในเครื่องบินและเรือรบ รวมทั้งการออกแบบเรือดำน้ำโจมตีเร็วรุ่นเวอร์จิเนีย เพื่อให้สามารถยิงขีปนาวุธนำวิถีได้มากขึ้น
ช่วงหลายปีมานี้ข้อพิพาทระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ อาทิ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม คุกรุ่นรุนแรงขึ้น โดยที่เพื่อนบ้านในเอเชียกล่าวหาว่า พญามังกรมีพฤติกรรมก้าวร้าว
ด้านปักกิ่งยืนกรานว่า การเติบโตของตนเป็นเรื่องปกติ และไม่ได้คุกคามประเทศใดๆ พร้อมย้ำเตือนวอชิงตันให้ระวัง อย่าทำให้ความขัดแย้งลุกลาม
เจ้าหน้าที่อเมริกันดูเหมือนระมัดระวังที่จะไม่พาดพิงถึงจีนว่าเป็นภัยคุกคามอย่างเปิดเผย พร้อมอ้างว่า การทุ่มงบอัดฉีดด้านกลาโหมในเอเชียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลดีต่อจีน เพราะทำให้จีนสามารถมุ่งเน้นกับการเติบโตภายในมากขึ้นแทนที่จะต้องกังวลกับภัยคุกคามจากภายนอก
“เป้าหมายของกองกำลังภาคพื้นแปซิฟิกและของสหรัฐฯ คือเอเชียเป็นภูมิภาคที่ปลอดภัย มีเสถียรภาพ และมั่งคั่งของโลก” วิลลาร์ดระบุ
อย่างไรก็ตาม แม้การให้ความสนใจกับเอเชียมากขึ้นจะได้รับการสนับสนุนในวอชิงตัน แต่สมาชิกบางคนในพรรคเดโมแครตของโอบามา ยังคงเรียกร้องให้เพนตากอนปรับลดงบประมาณมากขึ้น
ส.ส.เดโมแครต 4 คน ได้แก่ บาร์นีย์ แฟรงค์, รัช ฮอลต์, บาร์บารา ลี และลินน์ วูลซีย์ ไม่เห็นความจำเป็นในการขยายกองกำลังในออสเตรเลีย และเรียกร้องให้เพนตากอนตัดงบประมาณด้วยการปิดฐานทัพฟูเทนมะในโอกินาวาที่ถูกต่อต้านมายาวนานจากชาวญี่ปุ่น