นายวีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CWT เปิดเผยว่า บริษัท ได้มีความร่วมมือทางธุรกิจ กับ Toyo Bussan Co, Ltd ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ชั้นนำในการทำเบาะผ้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยความร่วมมือร่วมกันผลิตเบาะผ้าที่ใช้ในรถยนต์ในรูปแบบรับจ้างผลิตหรือ OEM ซึ่ง CWT เป็นผู้รับช่วงผลิตต่อหรือ Tier 2 ซึ่ง Toyo Bussan มีแผนต้องการขยายกำลังผลิตในไทย ประกอบกับ CWT เองมีความต้องการขยายธุรกิจไปยังเบาะผ้า เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียงธุรกิจหลักคือเบาะหนัง
ในการร่วมมือครั้งนี้ Toyo Bussan จะย้ายไลน์การผลิต 1 ใน 3 มายังโรงงานของ CWT แบบเป็นการลงทุนระยะยาว โดยจะเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักร มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท ขนาดกำลังการผลิตรวม 1 หมื่นคันต่อเดือน เข้ามาด้วย ทำให้สามารถเริ่มการผลิตได้ทันที ส่วน CWT ก็มีแผนจะลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 หมื่นคันต่อเดือน คาดใช้งบลงทุนเฉพาะการซื้อเครื่องจักรไม่รวมส่วนอาคารและที่ดินอีก 50 ล้านบาท จึงได้ตั้งเป้ารายได้ปีแรกของการร่วมือไว้ที่ 100 ล้านบาท ปี และต่อไปจะต้องทำรายได้ 200 ล้านบาทต่อปี
"ปัจจุบันเบาะผ้ามีสัดส่วนการติดตั้งในรถยนต์ 70% และที่เหลือ 30% เป็นเบาะหนัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถรุ่นพิเศษ ทำให้ CWT ต้องการที่จะขยายการผลิตเข้ามาในตลาดดังกล่าว นอกจากนี้นโยบายรถยนต์คันแรกซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถยนต์อีโคคาร์ของภาครัฐ ก็ถือเป็ฯอีกปัจจัยที่สนับการเติบโตในจุดนี้ได้ดี เพราะให้ค่ายรถยนต์ต่างๆ มีความต้องการเบาะผ้าเพื่อติดตั้งในอีโคคาร์และคาดว่าจะทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้นในอนาคต" นายวีระพล กล่าว
กรรมการผู้จัดการ CWT กล่าวว่าแม้เพิ่งเซ็นสัญญาทางธุรกิจแต่ดีลดังกล่าวได้มีการเจรจามาตั้งแต่ปีก่อน ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีความร่วมมือในการขยายธุรกิจระหว่างทั้งสองบริษัทย่อมจะมีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นั่นอาจหมายถึงโอกาสนำสินค้าที่ผลิตในรูปแบบJoint Venture ส่งออกไปยังต่างประเทศ รวมถึงญี่ปุ่น ส่วนขณะนี้ ก็เริ่มมีออเดอร์เข้ามาแล้ว ทั้งจากโตโยต้าและอีซูซุ
ส่วนแผนธุรกิจเฉพาะบริษัท นายวีระพล กล่าวว่า บริษํทมีความสนใจเข้าไปลงทุนในพม่าและกัมพูชา เนื่องจากวัตถุดิบมีต้นที่ต่ำ แต่ยังอยู่ระหว่างการศึกษา อีกทั้งกำลังเจรจาร่วมทุนในการทำธุกริจประเภทฟอร์นิเจอร์เพิ่มเติมจากธุรกิจหลัก ซึ่งทั้งหมดจะส่งผลให้รายได้ของบริษัทในปีนี้ เติบโตเพิ่มขึ้นจากรายได้เมื่อปี 53 ที่อยู่ระดับ 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีก 20% ซึ่งจุดนี้ยังไม่นับรวมรายได้จากการร่วมเป็นพันธมิตรกับ Toyo Bussan ที่เพิ่งเซ็นสัญญาไป
ขณะเดียวกัน บริษัทหวังว่าปีนี้ ธุรกิจจะเดินหน้าไปได้ด้วยดี ทั้งในแง่ของการเติบโตตามอุตสาหกรรม และการเทิร์นอะราวด์ของการตั้งสำรองลงทุน ทั้งในสินทรัพย์ และการลงทุนในต่างประเทศที่มีอยู่สูง หลังบริษัทสามารถล้างหนี้สะสมได้หมดแล้ว อีกทั้งเชื่อว่าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่จะใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนต์ครั้งที่ 1 หรือ CWT-W1 จำนวน 21.126 ล้านหุ้นแน่ ซึ่งจะทำให้ D/E ต่ำกว่า 1 เท่า นอกจากนี้บริษัทตั้งเป้าจะคงระดับ Gross Margin ไว้ที่10% ส่วนจะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการทำตลาดในธุรกิจเบาะผ้าที่ร่วมลงทุนในครั้งนี้ด้วย
ในการร่วมมือครั้งนี้ Toyo Bussan จะย้ายไลน์การผลิต 1 ใน 3 มายังโรงงานของ CWT แบบเป็นการลงทุนระยะยาว โดยจะเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักร มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท ขนาดกำลังการผลิตรวม 1 หมื่นคันต่อเดือน เข้ามาด้วย ทำให้สามารถเริ่มการผลิตได้ทันที ส่วน CWT ก็มีแผนจะลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 หมื่นคันต่อเดือน คาดใช้งบลงทุนเฉพาะการซื้อเครื่องจักรไม่รวมส่วนอาคารและที่ดินอีก 50 ล้านบาท จึงได้ตั้งเป้ารายได้ปีแรกของการร่วมือไว้ที่ 100 ล้านบาท ปี และต่อไปจะต้องทำรายได้ 200 ล้านบาทต่อปี
"ปัจจุบันเบาะผ้ามีสัดส่วนการติดตั้งในรถยนต์ 70% และที่เหลือ 30% เป็นเบาะหนัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถรุ่นพิเศษ ทำให้ CWT ต้องการที่จะขยายการผลิตเข้ามาในตลาดดังกล่าว นอกจากนี้นโยบายรถยนต์คันแรกซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถยนต์อีโคคาร์ของภาครัฐ ก็ถือเป็ฯอีกปัจจัยที่สนับการเติบโตในจุดนี้ได้ดี เพราะให้ค่ายรถยนต์ต่างๆ มีความต้องการเบาะผ้าเพื่อติดตั้งในอีโคคาร์และคาดว่าจะทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้นในอนาคต" นายวีระพล กล่าว
กรรมการผู้จัดการ CWT กล่าวว่าแม้เพิ่งเซ็นสัญญาทางธุรกิจแต่ดีลดังกล่าวได้มีการเจรจามาตั้งแต่ปีก่อน ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีความร่วมมือในการขยายธุรกิจระหว่างทั้งสองบริษัทย่อมจะมีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นั่นอาจหมายถึงโอกาสนำสินค้าที่ผลิตในรูปแบบJoint Venture ส่งออกไปยังต่างประเทศ รวมถึงญี่ปุ่น ส่วนขณะนี้ ก็เริ่มมีออเดอร์เข้ามาแล้ว ทั้งจากโตโยต้าและอีซูซุ
ส่วนแผนธุรกิจเฉพาะบริษัท นายวีระพล กล่าวว่า บริษํทมีความสนใจเข้าไปลงทุนในพม่าและกัมพูชา เนื่องจากวัตถุดิบมีต้นที่ต่ำ แต่ยังอยู่ระหว่างการศึกษา อีกทั้งกำลังเจรจาร่วมทุนในการทำธุกริจประเภทฟอร์นิเจอร์เพิ่มเติมจากธุรกิจหลัก ซึ่งทั้งหมดจะส่งผลให้รายได้ของบริษัทในปีนี้ เติบโตเพิ่มขึ้นจากรายได้เมื่อปี 53 ที่อยู่ระดับ 1,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีก 20% ซึ่งจุดนี้ยังไม่นับรวมรายได้จากการร่วมเป็นพันธมิตรกับ Toyo Bussan ที่เพิ่งเซ็นสัญญาไป
ขณะเดียวกัน บริษัทหวังว่าปีนี้ ธุรกิจจะเดินหน้าไปได้ด้วยดี ทั้งในแง่ของการเติบโตตามอุตสาหกรรม และการเทิร์นอะราวด์ของการตั้งสำรองลงทุน ทั้งในสินทรัพย์ และการลงทุนในต่างประเทศที่มีอยู่สูง หลังบริษัทสามารถล้างหนี้สะสมได้หมดแล้ว อีกทั้งเชื่อว่าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่จะใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนต์ครั้งที่ 1 หรือ CWT-W1 จำนวน 21.126 ล้านหุ้นแน่ ซึ่งจะทำให้ D/E ต่ำกว่า 1 เท่า นอกจากนี้บริษัทตั้งเป้าจะคงระดับ Gross Margin ไว้ที่10% ส่วนจะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับการทำตลาดในธุรกิจเบาะผ้าที่ร่วมลงทุนในครั้งนี้ด้วย