ASTV ผู้จัดการรายวัน - ผู้ว่าการธปท.เผยประชุมกนง.วันนี้ไม่ได้หนักใจ นำข้อมูลเศรษฐกิจด้านต่างๆ ผลการลดดอกเบี้ยครั้งก่อน พร้อมทั้งการฟื้นตัวเศรษฐกิจในช่วงน้ำท่วมมาประเมิน ระบุภาครัฐควรปฏิรูปการจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะยกเลิกการลดหย่อนภาษีกองทุน LTF
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันนี้(25ม.ค.) ทางกนง.ไม่ได้หนักใจในการพิจารณา โดยจะนำข้อมูลเศรษฐกิจด้านต่างๆ มาประเมิน พร้อมผลการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งก่อน 0.25%มาอยู่ที่ระดับ 3.25% รวมไปถึงพิจารณาการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หลังจากปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นภายในประเทศ โดยจากข้อมูลล่าสุดเดือนม.ค.นี้เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการลงทุนและการอุปโภคบริโภค จึงอยากเห็นการฟื้นตัวเต็มที่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
“แม้จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมครั้งก่อน แต่ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ลดลงตาม เหตุผลหนึ่งเกิดจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบางแห่ง เช่น ธนาคารออมสิน มีการแข่งขันเงินฝากค่อนข้างรุนแรง เพราะธนาคารรัฐไม่ต้องเสียเงินนำส่ง 0.4% อีกข้างหนึ่งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายนี้ ทำให้ธนาคารรัฐสามารถให้ดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราสูงได้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทยต้องรักษาฐานลูกค้าเงินฝากไว้ จึงไม่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก”
แนะให้รัฐยกเลิกการลดหย่อนภาษีกองทุนLTF
ผู้ว่าการธปท.กล่าวถึงกรณีที่สมาคมธนาคารไทยออกแถลงการณ์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ธนาคารพาณิชย์ไม่ถึงกับปฏิเสธว่าจะไม่ช่วยเหลือภาระหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ แต่มีความเป็นห่วงเหมือนจะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนผิด แต่ความเป็นจริงธนาคารที่ดำเนินงานในปัจจุบันไม่ได้สร้างความเสียหาย ซึ่งที่ผ่านมาธปท.พยายามระบุชัดเจนตลอด อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ต้องการให้มีแนวทางอื่นมาช่วยบ้าง โดยเรื่องนี้ธปท.กำลังพิจารณาเรื่องหารายได้จากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีในทุนสำรองเงินตราและเงินนำส่งของธปท.หลังจากหักขาดทุนสะสมแล้ว รวมไปถึงห่วงเรื่องช่องว่างการดำเนินธุรกิจระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
“ไม่ว่าประเทศไหนก็ไม่อยากให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็พยายามแก้ไขให้พ้นวิกฤตนั้น เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวให้เร็วที่สุด และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดี จึงเห็นว่ารายจ่ายเรื่องหนี้สินที่เหลือของกองทุนฟื้นฟูฯ ควรได้รับการจัดการ ไม่เช่นนั้นคงผุดๆ เรื่องนี้ยังคงผุดๆ โผล่ๆ อย่างนี้ แต่ต้องเข้าใจว่าการจัดเก็บเงินนำส่งเหมือนกับมาตรการทางภาษีควรน่าจะเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังไม่ใช่อำนาจของธนาคารกลาง ทางเขาจึงใช้อำนาจทางพ.ร.ก.มาให้ธปท.จ่ายเก็บแทน”
ทั้งนี้ การลดภาระหนี้สาธารณะ เพื่อให้มีช่องทางการกู้ยืมเงินมากขึ้นมองว่ามีหลายวิธี โดยวิธีหนึ่งอาจจะมีการปฏิรูปฐานภาษีใหม่ โดยหันมาจัดเก็บผ่านตัวสินทรัพย์มากกว่าตัวรายได้ เพราะในปัจจุบันจำนวนผู้เสียภาษีน้อย และอัตราการเสียภาษีค่อนข้างสูง ดังนั้น ขณะนี้มีฐานภาษีหลายตัวขยายได้ อาทิ ภาษีหุ้น โดยเฉพาะกองทุนหุ้นระยะยาว(LTF) ซึ่งเห็นว่าซื้อหุ้นก็ไม่ควรได้ลดหย่อนภาษี ต่างกับกองทุนรวมเพื่อสำรองเลี้ยงชีพ(RMF) ที่ช่วยเหลือคนที่เกษียณอายุ อีกทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นอีกตัวที่ควรมีการทบทวนในอนาคต แต่ต้องรอจังหวะให้เหมาะสมกว่านี้ เพราะเศรษฐกิจไทยเพิ่งเผชิญปัญหาน้ำท่วม จึงยังอยู่ในช่วงการฟื้นตัวเศรษฐกิจภาคต่างๆ
เงินบาทผันผวนตลอดทั้งปีนี้
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นตามเงินยูโรที่แข็งค่าในช่วง 2 วันที่ผ่านมา เนื่องจากทางกลุ่มยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงบางประการ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นทางยุโรปปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่คาดว่าตลอดทั้งปี 55 ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนมากขึ้น
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันนี้(25ม.ค.) ทางกนง.ไม่ได้หนักใจในการพิจารณา โดยจะนำข้อมูลเศรษฐกิจด้านต่างๆ มาประเมิน พร้อมผลการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งก่อน 0.25%มาอยู่ที่ระดับ 3.25% รวมไปถึงพิจารณาการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หลังจากปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นภายในประเทศ โดยจากข้อมูลล่าสุดเดือนม.ค.นี้เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการลงทุนและการอุปโภคบริโภค จึงอยากเห็นการฟื้นตัวเต็มที่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้
“แม้จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมครั้งก่อน แต่ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ลดลงตาม เหตุผลหนึ่งเกิดจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบางแห่ง เช่น ธนาคารออมสิน มีการแข่งขันเงินฝากค่อนข้างรุนแรง เพราะธนาคารรัฐไม่ต้องเสียเงินนำส่ง 0.4% อีกข้างหนึ่งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายนี้ ทำให้ธนาคารรัฐสามารถให้ดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราสูงได้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทยต้องรักษาฐานลูกค้าเงินฝากไว้ จึงไม่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก”
แนะให้รัฐยกเลิกการลดหย่อนภาษีกองทุนLTF
ผู้ว่าการธปท.กล่าวถึงกรณีที่สมาคมธนาคารไทยออกแถลงการณ์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ธนาคารพาณิชย์ไม่ถึงกับปฏิเสธว่าจะไม่ช่วยเหลือภาระหนี้สินของกองทุนฟื้นฟูฯ แต่มีความเป็นห่วงเหมือนจะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนผิด แต่ความเป็นจริงธนาคารที่ดำเนินงานในปัจจุบันไม่ได้สร้างความเสียหาย ซึ่งที่ผ่านมาธปท.พยายามระบุชัดเจนตลอด อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ต้องการให้มีแนวทางอื่นมาช่วยบ้าง โดยเรื่องนี้ธปท.กำลังพิจารณาเรื่องหารายได้จากบัญชีผลประโยชน์ประจำปีในทุนสำรองเงินตราและเงินนำส่งของธปท.หลังจากหักขาดทุนสะสมแล้ว รวมไปถึงห่วงเรื่องช่องว่างการดำเนินธุรกิจระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
“ไม่ว่าประเทศไหนก็ไม่อยากให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็พยายามแก้ไขให้พ้นวิกฤตนั้น เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวให้เร็วที่สุด และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดี จึงเห็นว่ารายจ่ายเรื่องหนี้สินที่เหลือของกองทุนฟื้นฟูฯ ควรได้รับการจัดการ ไม่เช่นนั้นคงผุดๆ เรื่องนี้ยังคงผุดๆ โผล่ๆ อย่างนี้ แต่ต้องเข้าใจว่าการจัดเก็บเงินนำส่งเหมือนกับมาตรการทางภาษีควรน่าจะเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังไม่ใช่อำนาจของธนาคารกลาง ทางเขาจึงใช้อำนาจทางพ.ร.ก.มาให้ธปท.จ่ายเก็บแทน”
ทั้งนี้ การลดภาระหนี้สาธารณะ เพื่อให้มีช่องทางการกู้ยืมเงินมากขึ้นมองว่ามีหลายวิธี โดยวิธีหนึ่งอาจจะมีการปฏิรูปฐานภาษีใหม่ โดยหันมาจัดเก็บผ่านตัวสินทรัพย์มากกว่าตัวรายได้ เพราะในปัจจุบันจำนวนผู้เสียภาษีน้อย และอัตราการเสียภาษีค่อนข้างสูง ดังนั้น ขณะนี้มีฐานภาษีหลายตัวขยายได้ อาทิ ภาษีหุ้น โดยเฉพาะกองทุนหุ้นระยะยาว(LTF) ซึ่งเห็นว่าซื้อหุ้นก็ไม่ควรได้ลดหย่อนภาษี ต่างกับกองทุนรวมเพื่อสำรองเลี้ยงชีพ(RMF) ที่ช่วยเหลือคนที่เกษียณอายุ อีกทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มก็เป็นอีกตัวที่ควรมีการทบทวนในอนาคต แต่ต้องรอจังหวะให้เหมาะสมกว่านี้ เพราะเศรษฐกิจไทยเพิ่งเผชิญปัญหาน้ำท่วม จึงยังอยู่ในช่วงการฟื้นตัวเศรษฐกิจภาคต่างๆ
เงินบาทผันผวนตลอดทั้งปีนี้
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงนี้เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นตามเงินยูโรที่แข็งค่าในช่วง 2 วันที่ผ่านมา เนื่องจากทางกลุ่มยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงบางประการ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นทางยุโรปปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น แต่คาดว่าตลอดทั้งปี 55 ค่าเงินบาทจะมีความผันผวนมากขึ้น