วานนี้ (24 ม.ค.) นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า วันพุธที่ 25 มกราคม เวลา 11.00 น. สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ในฐานะผู้ฟ้องคดีที่ 1 และทีมทนายความ จะนำชาวบ้านที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ปี 2554 จำนวนกว่า 1,042 ราย ทั้งในนามบุคคลและบริษัทหรือโรงงาน ยื่นฟ้องน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหรือหน่วยงานของรัฐ 11 หน่วยงานต่อศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นครั้งที่ 2 เพื่อเรียกค่าเสียหาย ค่าชดเชย กรณีบริหารจัดการน้ำท่วมผิดพลาด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ประชาชนผู้ฟ้องคดี โดยการนี้ผู้ฟ้องคดีส่วนใหญ่จะต้องเดินทางมาศาลด้วยตัวเอง เพื่อให้ถ้อยคำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล ตามหลักเกณฑ์ของศาล เนื่องจากเป็นคดีเรียกทุนทรัพย์
ทั้งนี้ผู้ฟ้องคดีจะขอศาลแก้ไขคำขอท้ายฟ้องใหม่ โดยขอให้ศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกันชดเชยค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีแต่ละราย และผู้ฟ้องคดีที่ญาติเสียชีวิต รวม 816 ศพ ให้เทียบเท่าผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ทางการเมืองด้วย รายละ 7.75 ล้าน ตามมติคณะรัฐมนตรี 10 มกราคม 2555 ด้วย
**แนะรัฐรับบริจาคสร้างระบบป้องกัน
วันเดียวกัน แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี ของ สสส. เปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับความเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการจัดการอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2554 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เกินร้อยละ 50 ไม่เห็นด้วยกับมาตรการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ กทม.ชั้นใน เนื่องจากรัฐบาลให้เหตุผลว่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ควรเปลี่ยนเป็นการให้ความคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 5-6 ล้านคนในพื้นที่ชั้นใน
นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60 เห็นด้วยกับมาตรการลงทุนก่อสร้าง สำหรับแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมในอนาคต เช่น ระบบแก้มลิง ระบบระบายน้ำขนาดใหญ่ หรือฟลัดเวย์ แต่พบว่า ร้อยละ 49 ไม่เห็นด้วย หากต้องจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโครงการดังกล่าว แต่อยากให้รัฐบาลระดมทุนและรับบริจาคแทน
ขณะเดียวกันมีกลุ่มตัวอย่างเพียงส่วนน้อยที่อยากเห็นการแก้ปัญหาด้วยการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การควบคุมการใช้ที่ดิน และการก่อสร้างอาคาร
ทั้งนี้ แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี ยังเตรียมศึกษาแนวทางจัดตั้งกองทุนการเงินการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้เป็นกองทุนในการจัดการด้านภัยพิบัติ ทั้งการลงทุนและการเยียวยาให้กับผู้ประสบภัย
อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอรัฐบาลให้ความสำคัญกับท้องถิ่น ในการเข้ามามีบทบาทรับมือกับภัยพิบัติ เพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยตรง และสื่อควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการป้องกันปัญหาที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายบริหารจัดการที่ดิน การก่อสร้างอาคาร
**“คุณชาย”เชื่อไม่ถูกยึดงบ มั่นใจมีแผน
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลอาจจะยึดงบประมาณของกทม.คืน เนื่องจากใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไม่มีประสิทธิภาพว่า ทางปลัดกทม.ได้แจ้งตนว่าหนังสือที่รัฐบาลส่งมาเพิ่มจะเดินทางมาถึงกทม. โดยใช้เวลากว่า 10 วันจากทำเนียบมายังศาลาว่าการกทม. ซึ่งทางกทม.เองเพิ่งจะทราบเรื่องเนื่องจากเมื่อวานนี้ (23 ม.ค.) ที่มีการประชุมปลัดกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งนี้ ทางกทม.เองได้ดำเนินการในการที่จะป้องกันน้ำท่วมในปีนี้ โดยการขุดลอกคูคลอง และท่อระบายน้ำ ซึ่งเราได้ดำเนินการมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีการแจ้งไปเท่านั้น เรื่องทั้งหมดคงไม่ถึงกับต้องมีการเอางบประมาณคืน
ตนไม่ทราบว่านายกฯ จะเรียกงบคืน ภายใน 2 สัปดาห์ แต่ก็ได้ให้ทางปลัดกทม.ดำเนินการทันทีที่ทราบเรื่อง แต่กทม.ก็ไม่ได้ละเลย มีการขุดลอกไปตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วหลังน้ำลดจนถึงปัจจุบันก็ยังทำอยู่ก่อนที่จะได้รับหนังสือสั่งการจากนายกฯ ด้วยซ้ำ แม้จะยังประเมินเป็นตัวเลขไม่ได้ว่าขุดลอกไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากคลองและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ของสำนักงานการระบายน้ำ ส่วนในตรอกและซอยเป็นเรื่องของเขต ซึ่งต้องรวบรวมตัวเลขในภายหลัง แต่ที่ใช้อยู่คืองบประมาณของกทม.เอง หากได้รับงบประมาณจากรัฐบาลแล้วก็จะนำมาชดเชยงบประมาณในส่วนที่กทม.ได้ใช้ไป
ขณะนี้ทางกทม.ได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันน้ำท่วมในปีนี้ไว้แล้ว โดยการขุดรอกคูคลอง รวมทั้งการทำเขื่อนป้องกันน้ำท่วมในจุดที่ยังเป็นฟันหลออยู่ โดยจะต้องมีการเจรจากับประชาชน ส่วนในแนวแม่น้ำเจ้าพระยา คลองมหาสวัสดิ์ คลองบางกอกน้อย ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ ยืนยันว่าจะทำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม อีก 2 วัน จะมีการประชุมร่วมคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากร เป็นนัดแรก แต่ตนจะส่งรองผู้ว่าฯ กทม.เข้าประชุมแทน เนื่องจากติดภารกิจไปต่างประเทศ
**ครม.ขู่ 2สัปดาห์ไม่คืบหน้ายึดเงินคืน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้ ครม.น้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ ครม.ไปรวบรวมแผนงานและงบประมาณแผนฟื้นฟูจากเหตุการณ์อุทกภัย การปรับเปลี่ยนการบริหารงาน และแผนงบประมาณ และให้ รมต.ที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งไปตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อให้ รมต.ที่เพิ่งรับตำแหน่งสานต่อรายละเอียดการฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม
สำหรับงบประมาณที่ ครม.ได้อนุมัติไปก่อนหน้านี้จำนวน 1.2 แสนล้านบาท จากนี้ไป ครม.จะมีการทบทวนจัดลำดับความสำคัญโครงการด้านพื้นฐานการป้องกันน้ำท่วม อันเป็นแผนป้องกันน้ำหลากที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เช่น การซ่อมประตูระบายน้ำ การขุดลอกคูคลอง เพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน และใส่รายละเอียดเพิ่มเติมว่าส่วนราชการต้นสังกัดใดที่ได้รับกรอบวงเงินงบประมาณไปแล้ว ไม่ดำเนินการในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ ครม.จะนำงบดังกล่าวกลับมาพิจารณาใหม่ และจัดลำดับความสำคัญของโครงการใหม่ เพราะครม.ต้องการเร่งรัดให้มีการดำเนินการตามกรอบนโยบาย และงบประมาณที่ได้อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้
หากโครงการเหล่านั้นยังไม่ได้รับกรอบอนุมัติงบประมาณไป ก็ให้ไปจัดการสอบราคาในเบื้องต้นหาผู้ที่จะมาประกวดราคา เมื่อได้กรอบอนุมัติงบประมาณเรียบร้อย จึงจะทำการลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง และได้เน้นย้ำว่าครม.ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการอย่างเร่งด่วน แต่ต้องตรวจสอบได้บนพื้นฐานของความโปร่งใส
ทั้งนี้ผู้ฟ้องคดีจะขอศาลแก้ไขคำขอท้ายฟ้องใหม่ โดยขอให้ศาลสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกันชดเชยค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีแต่ละราย และผู้ฟ้องคดีที่ญาติเสียชีวิต รวม 816 ศพ ให้เทียบเท่าผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ทางการเมืองด้วย รายละ 7.75 ล้าน ตามมติคณะรัฐมนตรี 10 มกราคม 2555 ด้วย
**แนะรัฐรับบริจาคสร้างระบบป้องกัน
วันเดียวกัน แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี ของ สสส. เปิดเผยผลสำรวจเกี่ยวกับความเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการจัดการอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2554 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เกินร้อยละ 50 ไม่เห็นด้วยกับมาตรการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ กทม.ชั้นใน เนื่องจากรัฐบาลให้เหตุผลว่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ควรเปลี่ยนเป็นการให้ความคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 5-6 ล้านคนในพื้นที่ชั้นใน
นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60 เห็นด้วยกับมาตรการลงทุนก่อสร้าง สำหรับแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมในอนาคต เช่น ระบบแก้มลิง ระบบระบายน้ำขนาดใหญ่ หรือฟลัดเวย์ แต่พบว่า ร้อยละ 49 ไม่เห็นด้วย หากต้องจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโครงการดังกล่าว แต่อยากให้รัฐบาลระดมทุนและรับบริจาคแทน
ขณะเดียวกันมีกลุ่มตัวอย่างเพียงส่วนน้อยที่อยากเห็นการแก้ปัญหาด้วยการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การควบคุมการใช้ที่ดิน และการก่อสร้างอาคาร
ทั้งนี้ แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี ยังเตรียมศึกษาแนวทางจัดตั้งกองทุนการเงินการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้เป็นกองทุนในการจัดการด้านภัยพิบัติ ทั้งการลงทุนและการเยียวยาให้กับผู้ประสบภัย
อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอรัฐบาลให้ความสำคัญกับท้องถิ่น ในการเข้ามามีบทบาทรับมือกับภัยพิบัติ เพิ่มช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยตรง และสื่อควรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการป้องกันปัญหาที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายบริหารจัดการที่ดิน การก่อสร้างอาคาร
**“คุณชาย”เชื่อไม่ถูกยึดงบ มั่นใจมีแผน
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลอาจจะยึดงบประมาณของกทม.คืน เนื่องจากใช้งบประมาณแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไม่มีประสิทธิภาพว่า ทางปลัดกทม.ได้แจ้งตนว่าหนังสือที่รัฐบาลส่งมาเพิ่มจะเดินทางมาถึงกทม. โดยใช้เวลากว่า 10 วันจากทำเนียบมายังศาลาว่าการกทม. ซึ่งทางกทม.เองเพิ่งจะทราบเรื่องเนื่องจากเมื่อวานนี้ (23 ม.ค.) ที่มีการประชุมปลัดกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทั้งนี้ ทางกทม.เองได้ดำเนินการในการที่จะป้องกันน้ำท่วมในปีนี้ โดยการขุดลอกคูคลอง และท่อระบายน้ำ ซึ่งเราได้ดำเนินการมานานแล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีการแจ้งไปเท่านั้น เรื่องทั้งหมดคงไม่ถึงกับต้องมีการเอางบประมาณคืน
ตนไม่ทราบว่านายกฯ จะเรียกงบคืน ภายใน 2 สัปดาห์ แต่ก็ได้ให้ทางปลัดกทม.ดำเนินการทันทีที่ทราบเรื่อง แต่กทม.ก็ไม่ได้ละเลย มีการขุดลอกไปตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วหลังน้ำลดจนถึงปัจจุบันก็ยังทำอยู่ก่อนที่จะได้รับหนังสือสั่งการจากนายกฯ ด้วยซ้ำ แม้จะยังประเมินเป็นตัวเลขไม่ได้ว่าขุดลอกไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากคลองและท่อระบายน้ำเป็นหน้าที่ของสำนักงานการระบายน้ำ ส่วนในตรอกและซอยเป็นเรื่องของเขต ซึ่งต้องรวบรวมตัวเลขในภายหลัง แต่ที่ใช้อยู่คืองบประมาณของกทม.เอง หากได้รับงบประมาณจากรัฐบาลแล้วก็จะนำมาชดเชยงบประมาณในส่วนที่กทม.ได้ใช้ไป
ขณะนี้ทางกทม.ได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันน้ำท่วมในปีนี้ไว้แล้ว โดยการขุดรอกคูคลอง รวมทั้งการทำเขื่อนป้องกันน้ำท่วมในจุดที่ยังเป็นฟันหลออยู่ โดยจะต้องมีการเจรจากับประชาชน ส่วนในแนวแม่น้ำเจ้าพระยา คลองมหาสวัสดิ์ คลองบางกอกน้อย ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่ ยืนยันว่าจะทำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม อีก 2 วัน จะมีการประชุมร่วมคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากร เป็นนัดแรก แต่ตนจะส่งรองผู้ว่าฯ กทม.เข้าประชุมแทน เนื่องจากติดภารกิจไปต่างประเทศ
**ครม.ขู่ 2สัปดาห์ไม่คืบหน้ายึดเงินคืน
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ก่อนเข้าสู่วาระการประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้ ครม.น้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ ครม.ไปรวบรวมแผนงานและงบประมาณแผนฟื้นฟูจากเหตุการณ์อุทกภัย การปรับเปลี่ยนการบริหารงาน และแผนงบประมาณ และให้ รมต.ที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งไปตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อให้ รมต.ที่เพิ่งรับตำแหน่งสานต่อรายละเอียดการฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม
สำหรับงบประมาณที่ ครม.ได้อนุมัติไปก่อนหน้านี้จำนวน 1.2 แสนล้านบาท จากนี้ไป ครม.จะมีการทบทวนจัดลำดับความสำคัญโครงการด้านพื้นฐานการป้องกันน้ำท่วม อันเป็นแผนป้องกันน้ำหลากที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เช่น การซ่อมประตูระบายน้ำ การขุดลอกคูคลอง เพื่อป้องกันน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน และใส่รายละเอียดเพิ่มเติมว่าส่วนราชการต้นสังกัดใดที่ได้รับกรอบวงเงินงบประมาณไปแล้ว ไม่ดำเนินการในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์ ครม.จะนำงบดังกล่าวกลับมาพิจารณาใหม่ และจัดลำดับความสำคัญของโครงการใหม่ เพราะครม.ต้องการเร่งรัดให้มีการดำเนินการตามกรอบนโยบาย และงบประมาณที่ได้อนุมัติไปแล้วก่อนหน้านี้
หากโครงการเหล่านั้นยังไม่ได้รับกรอบอนุมัติงบประมาณไป ก็ให้ไปจัดการสอบราคาในเบื้องต้นหาผู้ที่จะมาประกวดราคา เมื่อได้กรอบอนุมัติงบประมาณเรียบร้อย จึงจะทำการลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง และได้เน้นย้ำว่าครม.ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการอย่างเร่งด่วน แต่ต้องตรวจสอบได้บนพื้นฐานของความโปร่งใส