ASTVผู้จัดการรายวัน - “โกร่ง” โต้ "ธีระชัย" คลังขายหุ้น "ปตท.-การบินไทย" ไม่ซุกหนี้ซ้ำรอยกรีซ แต่กลับสร้างเครดิตการเงินให้กับประเทศ อ้างผู้บริหาร ปตท.สนุบสนุน ด้านการบินไทยขอคุยกับสหภาพก่อน เผยไตรมาส 4 ขาดทุน 5,000 ล้าน ปัจจัยน้ำท่วม-ราคาน้ำมันเพิ่มเกือบ 2 หมื่นล้าน จับตาแก้คุณสมบัติดีดีก่อนเด้ง "ปิยสวัสดิ์
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) กล่าวถึงแนวทางที่รัฐบาลจะเข้าไปซื้อหุ้น ปตท. (PTT) กับการบินไทย (THAI) ในตลาดหลักทรัพย์ ว่า สอดคล้องกับแนวคิดการลดภาระหนี้สาธารณะภาครัฐด้วยการลดสัดส่วนการถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจ เพื่อเปิดช่องทางให้กู้เงินมาใช้พัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นว่า รัฐบาลจะกู้เงินความจำเป็นที่จะใช้ลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น จึงขอให้ทุกฝ่ายเกิดความสบายใจ การที่รัฐบาลมียอดหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลง จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประเทศและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติ
"ไม่ต้องเป็นห่วงว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างที่เกิดกับประเทศกรีซและอาเจนตินาที่มีปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะสูง ซึ่งส่วนตัวเป็นห่วงวิกฤตทางการเงินที่จะต้องระมัดระวังมากกว่า" นายวีรพงษ์กล่าวและยืนยันว่า การให้กองทุนวายุภักษ์ถือหุ้นแทนกระทรวงการคลังเพื่อให้พ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจจะไม่น่ามีปัญหาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะหากรัฐบาลจะให้กองทุนวายุภักษ์เข้าซื้อหุ้นเพียงสัดส่วน 2% จาก ปตท. เพื่อทำให้ ปตท. หลุดจาการเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะจะทำให้หนี้ของ ปตท.ที่มีอยู่กว่า 7 แสนล้านบาทไม่กลายเป็นหนี้สาธารณะของรัฐบาลต่อไป และจะส่งผลให้สถานะการคลังของรัฐบาลดีขึ้น
ส่วนกรณีของการบินไทย ยังต้องมีการหรือทำความเข้าใจกับสหภาพการบินไทยก่อน เพราะขณะนี้สหภาพฯยังคงคัดค้านแนวทางที่จะให้การบินไทยพ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจ
ประธาน กยอ.ยืนยันด้วยว่าการที่รัฐบาลโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจากสถาบันการเงินจากกระทรวงการคลังไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถือเป็นความชอบธรรมของรัฐบาล เพราะสถานะการเงินของ ธปท.ขณะนี้มีความเข้มแข็งพร้อมบริหารจัดการหนี้ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาทได้
**"ธีระชัย" ปัดไม่ได้ทิ้งบอมบ์รัฐบาล
นายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับกรณีแนวคิดซ่อนหนี้รัฐวิสาหกิจ เช่น ปตท. ว่า ทั้งหมดเป็นไปตามที่ได้ลงไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัว คงไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ มันเหมือนเพียงเป็นการย้ายหนี้จากกระเป๋าซ้ายไปสู่กระเป๋าขวาเท่านั้น
อดีต รมว.คลัง ระบุว่า การลดภาระหนี้ของรัฐบาลไม่ควรใช้วิธีดังกล่าว ซึ่งหลายประเทศในโลกจะให้วิธีการลดภาระหนี้แบบนี้ด้วยการเปิดขายหนี้ก้อนนี้ไปยังบุคคลที่ 3 ซึ่งอาจกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลเลย จึงจะถือเป็นวิธีการที่ถูกต้อง การโอนย้ายหนี้จากรัฐบาลกลับเข้าไปสู่รัฐวิสาหกิจอีกครั้ง อย่าง ปตท. ที่มีแนวคิดที่รัฐจะกระทำนั้น จะอย่างไรมันก็ไม่นับเป็นหนี้สาธารณะไม่ได้ เป็นเพียงการซุกหนี้เท่านั้น
"หลักแนวคิดดังกล่าวเป็นอันตรายในหลักบัญชีสากล เพราะอย่างไรก็ยังนับเป็นหนี้สาธารณะ" อดีตรมว.คลังกล่าว
***ไตรมาส 4 THAI ขาดทุน 5,000 ล้าน
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีนายอำพน กิตติอำพน เป็นประธาน วานนี้ (20 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินการในเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) 68% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่มี Cabin Factor 61% ส่วนปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) นั้นลดลง 8.9% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมของปี 2553 เป็นผลมาจากเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งแม้ผู้โดยสารจะเริ่มทยอยกลับมาแล้วแต่สถานการณ์ยังไม่ปกติ ซึ่งได้ส่งผลให้ไตรมาส 4 /2554 (ต.ค.-ธ.ค.54) มีผลขาดทุน 5,000 ล้านบาท ขณะที่ผลประกอบการทั้งปี 2554 (ม.ค.-ธ.ค.) มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร ต่ำกว่าปีก่อน 0.7% มี Cabin Factor เฉลี่ย 70.4% ต่ำกว่าปีก่อน 4.4%
ส่วนช่วงวันที่ 1-16 มกราคม 2555 มี Cabin Factor เฉลี่ย 78.7 % ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าภาพรวมเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะผู้โดยสารจากเส้นทางยุโรปและออสเตรเลีย ส่วนผู้โดยสารเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่นยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยการสำรองที่นั่งล่วงหน้าตั้งแต่กลางเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 เฉลี่ย 77% ซึ่งหากการประกาศเตือนเรื่องก่อการร้ายไม่รุนแรงมากขึ้น คาดว่า Cabin Factorและผลประกอบการปี 2555 จะดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวไทยจะอ่อนไหวต่อการเตือนภัยเรื่องก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เรื่องดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัท
“ผลประกอบการปี 2554 ไม่ดีเพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 40%ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 20,000 ล้านบาท และจากเหตุการณ์น้ำท่วมซึ่งทำให้รายได้หายไปและมีค่าใช้จ่ายในการดูแลพนักงานตามระเบียบ ไม่รวมความเสียหายของเครื่องมือเครื่องใช้ซึ่งจะได้รับชดเชยจากบริษัทประกันภัย”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้ บอร์ดได้รับทราบมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในปี 2555 ซึ่งเบื้องต้นลดลงได้ประมาณ 602.451 ล้านบาทต่อปี โดยเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) ,รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และกรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจ เสนอไม่รับค่าตอบแทนตามสัญญาจ้างหรือเงินเดือนของปี 2555 ในเดือนที่ 12 เดือน หรือรับเพียง 11 เดือน ,
ดีดีไม่รับค่าเบี้ยประชุมทุกคณะและลดวันหยุดนักขัตฤกษ์ ,เปลี่ยนวิธีการคำนวนและจ่ายเงินสำหรับวันหยุดพักผ่อนที่เหลือที่บริษัทต้องจ่ายให้กับพนักงาน (Vacation Compensation) โดยระยะต่อไปจะเป็นการลดด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น เจรจาลดค่าบริการภาคพื้นในประเทศต่างๆ และบริการด้าน Cargo
สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังมีนโยบายขายหุ้นที่ถืออยู่ในรับวิสาหกิจเช่น บริษัทการบินไทยให้แก่กองทุนวายุภักษ์ เพื่อไม่ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ และไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ โดยจะสามารถลดสัดส่วนหุ้นคลังลง2 % จาก 51% แหลือ 49% นั้น นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า การลดหุ้นขายหุ้นเป็นเรื่องของผู้ถือหุ้น ที่จะพิจารณาว่าจะขายหุ้นอย่างไร
ซึ่งการที่คลังลดการถือหุ้นในบริษัทเหลือ 49% จะทำให้บริษัทไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะทำให้มีความคล่องตัวและรวดเร็วในการบริหารจัดการมากขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจการบริหารงานด้านธุรกิจการบินที่มีการแข่งขันสูง โดยสิ่งที่ต้องทำคือ สร้างความเข้าใจกับพนักงาน ซึ่งจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยยืนยันว่าเรื่องนี้จะไม่เกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงาน
“การไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามนิยามจะเกิดผลดีต่อการบินไทย เช่น หนังสือสวัสดี ให้บริการบนเครื่องบิน ให้เอกชนเข้ามาทำ หาโฆษณาเอง บริษัทไม่ต้องลงทุนเลย และยังได้ส่งแบ่งรายได้ หรือ การขายสินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) บนเครื่อง ซึ่งบริษัทคิงเพาเวอร์ แบ่งรายได้ให้ค่อนข้างสูง ต้องกลายเป็นการร่วมทุน เพราะใช้พื้นที่บนเครื่องบินขายของ หรือมูลค่าการลงทุนเกิน 1,000
ล้านบาท ต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 หากมีการทำธุรกิจที่มีผลตอบแทนเกิน 1,000 ล้านบาท แต่เมื่อไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ กฎหมาย ระเบียบเหล่านี้จะหมดไป ขณะที่การคัดเลือกเอกชนต่างๆ จะคงมีวิธีคัดเลือกและแข่งขันเหมือนเดิม ในลักษณะที่เกิดประโยชน์ต่อบริษัทสูงสุด”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้ให้บริษัทแล้วเพราะได้แก้เงื่อนไขไปแล้ว รวมถึงข้อผูกมัดในการขายตั๋วให้หน่วยราชการต่างๆนั้นก็ไม่ได้รับผลกระทบเพราะไม่ได้เป็นรายได้หลักของบริษัท โดยปี 2554 บริษัทมีรายได้จากการขายตั๋วหน่วยราชการ 1,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้รวมที่ 1.9 แสนล้านบาทต่อปี
***แก้คุณสมบัติดีดีก่อนเด้ง ”ปิยสวัสดิ์”
รายงานข่าวแจ้งว่า การที่คลังลดการถือหุ้นในการบินไทยจาก 51% เหลือ 49% เป็นการปลดล็อกเงื่อนไขระเบียบของรัฐวิสหกิจที่การบินไทยต้องปฎิบัติตามในหลายเรื่อง รวมถึงกรณีการสรรหา ดีดี ซึ่งมีเงื่อนไขเรื่องอายุผู้สมัครต้องไม่เกิน 58ปี ก็จะหมดไปด้วย โดยมีกระแสข่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเปลี่ยนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทยใหม่ และ โดยที่ผ่านมา นายปิยสวัสดิ์ ได้รับการร้องเรียนว่า มีการโยกย้ายพนักงานที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแม้แต่พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรมว.คมนาคมยังเคยยอมรับว่า ได้รับการร้องเรียนจากพนักงานในเรื่องดังกล่าว และถือว่าความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาใหญ่ในการบริหารส่วนการปลดนายปิยสวัสดิ์นั้น ต้องมีการประเมินการทำงานซึ่งมีระเบียบและข้อบังคับที่ชัดเจน.
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) กล่าวถึงแนวทางที่รัฐบาลจะเข้าไปซื้อหุ้น ปตท. (PTT) กับการบินไทย (THAI) ในตลาดหลักทรัพย์ ว่า สอดคล้องกับแนวคิดการลดภาระหนี้สาธารณะภาครัฐด้วยการลดสัดส่วนการถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจ เพื่อเปิดช่องทางให้กู้เงินมาใช้พัฒนาประเทศเพิ่มขึ้นว่า รัฐบาลจะกู้เงินความจำเป็นที่จะใช้ลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น จึงขอให้ทุกฝ่ายเกิดความสบายใจ การที่รัฐบาลมียอดหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลง จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประเทศและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติ
"ไม่ต้องเป็นห่วงว่าสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความน่าเชื่อถือของประเทศอย่างที่เกิดกับประเทศกรีซและอาเจนตินาที่มีปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะสูง ซึ่งส่วนตัวเป็นห่วงวิกฤตทางการเงินที่จะต้องระมัดระวังมากกว่า" นายวีรพงษ์กล่าวและยืนยันว่า การให้กองทุนวายุภักษ์ถือหุ้นแทนกระทรวงการคลังเพื่อให้พ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจจะไม่น่ามีปัญหาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะหากรัฐบาลจะให้กองทุนวายุภักษ์เข้าซื้อหุ้นเพียงสัดส่วน 2% จาก ปตท. เพื่อทำให้ ปตท. หลุดจาการเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะจะทำให้หนี้ของ ปตท.ที่มีอยู่กว่า 7 แสนล้านบาทไม่กลายเป็นหนี้สาธารณะของรัฐบาลต่อไป และจะส่งผลให้สถานะการคลังของรัฐบาลดีขึ้น
ส่วนกรณีของการบินไทย ยังต้องมีการหรือทำความเข้าใจกับสหภาพการบินไทยก่อน เพราะขณะนี้สหภาพฯยังคงคัดค้านแนวทางที่จะให้การบินไทยพ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจ
ประธาน กยอ.ยืนยันด้วยว่าการที่รัฐบาลโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจากสถาบันการเงินจากกระทรวงการคลังไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถือเป็นความชอบธรรมของรัฐบาล เพราะสถานะการเงินของ ธปท.ขณะนี้มีความเข้มแข็งพร้อมบริหารจัดการหนี้ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาทได้
**"ธีระชัย" ปัดไม่ได้ทิ้งบอมบ์รัฐบาล
นายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับกรณีแนวคิดซ่อนหนี้รัฐวิสาหกิจ เช่น ปตท. ว่า ทั้งหมดเป็นไปตามที่ได้ลงไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัว คงไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ มันเหมือนเพียงเป็นการย้ายหนี้จากกระเป๋าซ้ายไปสู่กระเป๋าขวาเท่านั้น
อดีต รมว.คลัง ระบุว่า การลดภาระหนี้ของรัฐบาลไม่ควรใช้วิธีดังกล่าว ซึ่งหลายประเทศในโลกจะให้วิธีการลดภาระหนี้แบบนี้ด้วยการเปิดขายหนี้ก้อนนี้ไปยังบุคคลที่ 3 ซึ่งอาจกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย ที่ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลเลย จึงจะถือเป็นวิธีการที่ถูกต้อง การโอนย้ายหนี้จากรัฐบาลกลับเข้าไปสู่รัฐวิสาหกิจอีกครั้ง อย่าง ปตท. ที่มีแนวคิดที่รัฐจะกระทำนั้น จะอย่างไรมันก็ไม่นับเป็นหนี้สาธารณะไม่ได้ เป็นเพียงการซุกหนี้เท่านั้น
"หลักแนวคิดดังกล่าวเป็นอันตรายในหลักบัญชีสากล เพราะอย่างไรก็ยังนับเป็นหนี้สาธารณะ" อดีตรมว.คลังกล่าว
***ไตรมาส 4 THAI ขาดทุน 5,000 ล้าน
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (THAI) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มีนายอำพน กิตติอำพน เป็นประธาน วานนี้ (20 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินการในเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งมีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) 68% เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนที่มี Cabin Factor 61% ส่วนปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) นั้นลดลง 8.9% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมของปี 2553 เป็นผลมาจากเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งแม้ผู้โดยสารจะเริ่มทยอยกลับมาแล้วแต่สถานการณ์ยังไม่ปกติ ซึ่งได้ส่งผลให้ไตรมาส 4 /2554 (ต.ค.-ธ.ค.54) มีผลขาดทุน 5,000 ล้านบาท ขณะที่ผลประกอบการทั้งปี 2554 (ม.ค.-ธ.ค.) มีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร ต่ำกว่าปีก่อน 0.7% มี Cabin Factor เฉลี่ย 70.4% ต่ำกว่าปีก่อน 4.4%
ส่วนช่วงวันที่ 1-16 มกราคม 2555 มี Cabin Factor เฉลี่ย 78.7 % ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าภาพรวมเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะผู้โดยสารจากเส้นทางยุโรปและออสเตรเลีย ส่วนผู้โดยสารเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่นยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยการสำรองที่นั่งล่วงหน้าตั้งแต่กลางเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2555 เฉลี่ย 77% ซึ่งหากการประกาศเตือนเรื่องก่อการร้ายไม่รุนแรงมากขึ้น คาดว่า Cabin Factorและผลประกอบการปี 2555 จะดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวไทยจะอ่อนไหวต่อการเตือนภัยเรื่องก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เรื่องดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัท
“ผลประกอบการปี 2554 ไม่ดีเพราะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 40%ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 20,000 ล้านบาท และจากเหตุการณ์น้ำท่วมซึ่งทำให้รายได้หายไปและมีค่าใช้จ่ายในการดูแลพนักงานตามระเบียบ ไม่รวมความเสียหายของเครื่องมือเครื่องใช้ซึ่งจะได้รับชดเชยจากบริษัทประกันภัย”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
ทั้งนี้ บอร์ดได้รับทราบมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในปี 2555 ซึ่งเบื้องต้นลดลงได้ประมาณ 602.451 ล้านบาทต่อปี โดยเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร เช่น กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) ,รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และกรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจ เสนอไม่รับค่าตอบแทนตามสัญญาจ้างหรือเงินเดือนของปี 2555 ในเดือนที่ 12 เดือน หรือรับเพียง 11 เดือน ,
ดีดีไม่รับค่าเบี้ยประชุมทุกคณะและลดวันหยุดนักขัตฤกษ์ ,เปลี่ยนวิธีการคำนวนและจ่ายเงินสำหรับวันหยุดพักผ่อนที่เหลือที่บริษัทต้องจ่ายให้กับพนักงาน (Vacation Compensation) โดยระยะต่อไปจะเป็นการลดด้านการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น เจรจาลดค่าบริการภาคพื้นในประเทศต่างๆ และบริการด้าน Cargo
สำหรับกรณีที่กระทรวงการคลังมีนโยบายขายหุ้นที่ถืออยู่ในรับวิสาหกิจเช่น บริษัทการบินไทยให้แก่กองทุนวายุภักษ์ เพื่อไม่ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ และไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ โดยจะสามารถลดสัดส่วนหุ้นคลังลง2 % จาก 51% แหลือ 49% นั้น นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า การลดหุ้นขายหุ้นเป็นเรื่องของผู้ถือหุ้น ที่จะพิจารณาว่าจะขายหุ้นอย่างไร
ซึ่งการที่คลังลดการถือหุ้นในบริษัทเหลือ 49% จะทำให้บริษัทไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะทำให้มีความคล่องตัวและรวดเร็วในการบริหารจัดการมากขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจการบริหารงานด้านธุรกิจการบินที่มีการแข่งขันสูง โดยสิ่งที่ต้องทำคือ สร้างความเข้าใจกับพนักงาน ซึ่งจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยยืนยันว่าเรื่องนี้จะไม่เกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงาน
“การไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามนิยามจะเกิดผลดีต่อการบินไทย เช่น หนังสือสวัสดี ให้บริการบนเครื่องบิน ให้เอกชนเข้ามาทำ หาโฆษณาเอง บริษัทไม่ต้องลงทุนเลย และยังได้ส่งแบ่งรายได้ หรือ การขายสินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) บนเครื่อง ซึ่งบริษัทคิงเพาเวอร์ แบ่งรายได้ให้ค่อนข้างสูง ต้องกลายเป็นการร่วมทุน เพราะใช้พื้นที่บนเครื่องบินขายของ หรือมูลค่าการลงทุนเกิน 1,000
ล้านบาท ต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 หากมีการทำธุรกิจที่มีผลตอบแทนเกิน 1,000 ล้านบาท แต่เมื่อไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ กฎหมาย ระเบียบเหล่านี้จะหมดไป ขณะที่การคัดเลือกเอกชนต่างๆ จะคงมีวิธีคัดเลือกและแข่งขันเหมือนเดิม ในลักษณะที่เกิดประโยชน์ต่อบริษัทสูงสุด”นายปิยสวัสดิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากระทรวงการคลังไม่ต้องค้ำประกันเงินกู้ให้บริษัทแล้วเพราะได้แก้เงื่อนไขไปแล้ว รวมถึงข้อผูกมัดในการขายตั๋วให้หน่วยราชการต่างๆนั้นก็ไม่ได้รับผลกระทบเพราะไม่ได้เป็นรายได้หลักของบริษัท โดยปี 2554 บริษัทมีรายได้จากการขายตั๋วหน่วยราชการ 1,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้รวมที่ 1.9 แสนล้านบาทต่อปี
***แก้คุณสมบัติดีดีก่อนเด้ง ”ปิยสวัสดิ์”
รายงานข่าวแจ้งว่า การที่คลังลดการถือหุ้นในการบินไทยจาก 51% เหลือ 49% เป็นการปลดล็อกเงื่อนไขระเบียบของรัฐวิสหกิจที่การบินไทยต้องปฎิบัติตามในหลายเรื่อง รวมถึงกรณีการสรรหา ดีดี ซึ่งมีเงื่อนไขเรื่องอายุผู้สมัครต้องไม่เกิน 58ปี ก็จะหมดไปด้วย โดยมีกระแสข่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเปลี่ยนกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทยใหม่ และ โดยที่ผ่านมา นายปิยสวัสดิ์ ได้รับการร้องเรียนว่า มีการโยกย้ายพนักงานที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแม้แต่พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรมว.คมนาคมยังเคยยอมรับว่า ได้รับการร้องเรียนจากพนักงานในเรื่องดังกล่าว และถือว่าความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาใหญ่ในการบริหารส่วนการปลดนายปิยสวัสดิ์นั้น ต้องมีการประเมินการทำงานซึ่งมีระเบียบและข้อบังคับที่ชัดเจน.