ASTVผู้จัดการรายวัน- “โทนี่ แบลร์” แนะไทยปรับนโยบายให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ยึดเศรษฐกิจมากกว่าการเมือง ให้ใช้บทเรียนเงินสกุลเดียวของอียูเป็นต้นแบบ พร้อมเสนอ 5 ข้อในการปรับตัวรับมือ
นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ปาถกฐาพิเศษหัวข้อโอกาสและความท้าทายในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ในงาน CEO Forum หรือการประชุมระดับนานาชาติของผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชน วานนี้ (17ม.ค.) ว่า บทบาทเศรษฐกิจของโลกต่อไปจะอยู่ที่เอเชีย ไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนควรเรียนรู้จากเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป (อียู) มาเป็นบทเรียนว่าเศรษฐกิจจะต้องมาก่อนการเมือง เพราะการออกแบบเศรษฐกิจของอียูโดยใช้เงินสกุลเดียวมาจากเหตุผลทางการเมืองมากกว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจ โดยอังกฤษเองไม่ได้ใช้สกุลเงินยูโรปในระยะสั้น แต่ก็พร้อมจะร่วมฟื้นฟูและมองในระยะยาว
“จากประสบการณ์การเป็นผู้นำในประเทศอังกฤษ วิกฤติยุโรปมีบทเรียนที่น่าสนใจ และโลกทุกวันนี้ มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีรวดเร็วมาก แต่รัฐบาลแต่ละประเทศไม่ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายให้รวดเร็ว สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้น เด็กรุ่นใหม่ขึ้นมาจะต้องเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิวัติ”นายแบลร์กล่าว
ทั้งนี้ ไทยและประเทศทั่วโลก ควรจะให้ความสำคัญต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลง 5 ข้อสำคัญ ได้แก่
1.รัฐจะต้องบริหารให้มีกติกาที่เหมาะสมที่จะต้องเป็นธรรมทั้งธุรกิจและประชาชน โดยรัฐและเอกชนจะต้องเป็นคู่ช่วยเหลือไม่ใช่ขัดแย้ง
2.การบริการสาธารณะหรือระบบสวัสดิการของรัฐจะต้องปรับตัวให้มีดุลยภาพรับผิดชอบต่อสังคมให้ประชาชนมีทางเลือกในการบริการและเป็นธรรมต่อธุรกิจ ไม่ใช่จัดให้ทุกอย่าง จ่ายทุกอย่าง แต่ทำอย่างไรจะเอื้อให้การบริการดีที่สุด ซึ่งการที่จะทำให้เทียบกับประเทศตะวันตกจะต้องถามตนเองว่าได้เรียนรู้อะไรจากประเทศในตะวันตก ควรจะหลีกเลี่ยงในสิ่งที่เราพลาดในอดีตด้วย
3.รัฐบาลทั่วโลกต้องหันมาเน้นพัฒนาทุนมนุษย์ให้มากขึ้น ต้องกำหนดอัตราค่าาจ้างแรงงานที่เหมาะสม ให้การศึกษาที่ดีและเข้าใจถึงความต้องการตลาด ซึ่งการเปิดให้เกิดการลงทุนจากตรงจากต่างประเทศ (FDI) จะมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาทุนมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
4.ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของคนในสังคมหรือความปรองดองที่กระแสโลกาภิวัฒน์จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายคนและทุน
5.การเมืองของโลกมีทั้งซ้ายและขวา หากยึดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นการครอบงำ ทำให้การพัฒนาถอยหลัง เพราะทุกส่วนสำคัญเท่าๆ กัน ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ ต้องผลักดันให้คนในสังคมเปิดกว้าง เปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงทั้งการค้า การเมือง และไทยเป็นประเทศที่เปิดกว้างกับการยอมรับที่ดี ซึ่งควรจะภูมิใจที่จะก้าวไปข้างหน้า เพราะอดีตตนมาเมืองไทยเมื่อ 32 ปี วันนี้พัฒนาไปมาก
นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ปาถกฐาพิเศษหัวข้อโอกาสและความท้าทายในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ในงาน CEO Forum หรือการประชุมระดับนานาชาติของผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชน วานนี้ (17ม.ค.) ว่า บทบาทเศรษฐกิจของโลกต่อไปจะอยู่ที่เอเชีย ไทยและประเทศในภูมิภาคอาเซียนควรเรียนรู้จากเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป (อียู) มาเป็นบทเรียนว่าเศรษฐกิจจะต้องมาก่อนการเมือง เพราะการออกแบบเศรษฐกิจของอียูโดยใช้เงินสกุลเดียวมาจากเหตุผลทางการเมืองมากกว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจ โดยอังกฤษเองไม่ได้ใช้สกุลเงินยูโรปในระยะสั้น แต่ก็พร้อมจะร่วมฟื้นฟูและมองในระยะยาว
“จากประสบการณ์การเป็นผู้นำในประเทศอังกฤษ วิกฤติยุโรปมีบทเรียนที่น่าสนใจ และโลกทุกวันนี้ มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีรวดเร็วมาก แต่รัฐบาลแต่ละประเทศไม่ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายให้รวดเร็ว สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้น เด็กรุ่นใหม่ขึ้นมาจะต้องเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิวัติ”นายแบลร์กล่าว
ทั้งนี้ ไทยและประเทศทั่วโลก ควรจะให้ความสำคัญต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลง 5 ข้อสำคัญ ได้แก่
1.รัฐจะต้องบริหารให้มีกติกาที่เหมาะสมที่จะต้องเป็นธรรมทั้งธุรกิจและประชาชน โดยรัฐและเอกชนจะต้องเป็นคู่ช่วยเหลือไม่ใช่ขัดแย้ง
2.การบริการสาธารณะหรือระบบสวัสดิการของรัฐจะต้องปรับตัวให้มีดุลยภาพรับผิดชอบต่อสังคมให้ประชาชนมีทางเลือกในการบริการและเป็นธรรมต่อธุรกิจ ไม่ใช่จัดให้ทุกอย่าง จ่ายทุกอย่าง แต่ทำอย่างไรจะเอื้อให้การบริการดีที่สุด ซึ่งการที่จะทำให้เทียบกับประเทศตะวันตกจะต้องถามตนเองว่าได้เรียนรู้อะไรจากประเทศในตะวันตก ควรจะหลีกเลี่ยงในสิ่งที่เราพลาดในอดีตด้วย
3.รัฐบาลทั่วโลกต้องหันมาเน้นพัฒนาทุนมนุษย์ให้มากขึ้น ต้องกำหนดอัตราค่าาจ้างแรงงานที่เหมาะสม ให้การศึกษาที่ดีและเข้าใจถึงความต้องการตลาด ซึ่งการเปิดให้เกิดการลงทุนจากตรงจากต่างประเทศ (FDI) จะมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาทุนมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
4.ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของคนในสังคมหรือความปรองดองที่กระแสโลกาภิวัฒน์จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายคนและทุน
5.การเมืองของโลกมีทั้งซ้ายและขวา หากยึดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นการครอบงำ ทำให้การพัฒนาถอยหลัง เพราะทุกส่วนสำคัญเท่าๆ กัน ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ ต้องผลักดันให้คนในสังคมเปิดกว้าง เปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงทั้งการค้า การเมือง และไทยเป็นประเทศที่เปิดกว้างกับการยอมรับที่ดี ซึ่งควรจะภูมิใจที่จะก้าวไปข้างหน้า เพราะอดีตตนมาเมืองไทยเมื่อ 32 ปี วันนี้พัฒนาไปมาก