ASTVผู้จัดการรายวัน-ประชาชนอ่วม! 16 ม.ค.นี้ รับมือราคาพลังงานขึ้นยกกะบิ เอ็นจีวีขยับกิโลละ 50 สต. แอลพีจี 75 สต. เบนซิน ดีเซลจ่อขึ้นด้วย หลังรีดเงินคืนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง "พิชัย"ย้ำไม่มีนโยบายตรึงดีเซล 30 บาทอีกต่อไป และไม่รับปากขึ้นเอ็นจีวีแค่ 2 บาท เครือข่ายพลังงานฯ ค้านขึ้นราคา แฉปตท.กำไรปีละหลายหมื่นล้าน "มาร์ค"จับตาคูปองฉาวเอื้อที่ปรึกษา"โต้ง" ครม.ไฟเขียวต่ออายุ รถเมล์ รถไฟฟรี อีก 3 เดือน
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการเป็นประธานในงานแถลงข่าว "โครงการปะการังสร้างอาชีพ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ วานนี้ (10 ม.ค.) ว่า รัฐบาลยังยืนยันนโยบายที่จะเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งหมดให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพื่อไม่ให้เป็นภาระในระยะยาว เพราะตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซียที่ตรึงราคาพลังงาน ที่สุดก็มีปัญหา ดังนั้นวันที่ 16 ม.ค.นี้ จะมีการปรับขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม (กก.) และก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) 75 สต.ต่อกก. ทะยอยเก็บเงินกลุ่มเบนซินและดีเซล จากก่อนหน้าที่ได้ปรับลดลงเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบราคาแพง โดยรัฐบาลไม่มีนโยบายตรึงดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรเช่นอดีต
สำหรับกรณีกลุ่มผู้ขับขี่รถสาธารณะส่วนของแท็กซี่ รถตู้ รถเมล์ที่ใช้เอ็นจีวี กระทรวงพลังงานพร้อมที่จะดูแลในเรื่องของผลกระทบ โดยสามารถใช้บัตรส่วนลดราคาเอ็นจีวี มาลดราคาได้เดือนละ 50 สต.ต่อกก.อยู่แล้ว ซึ่งบมจ.ปตท.ได้รับปากที่จะดูแลในเรื่องดังกล่าว ส่วนกลุ่มขนส่งที่เป็นรถบรรทุก ยังไม่มีนโยบายส่วนลดราคาจุดนี้ เพราะไม่ใช่รถสาธารณะ แต่จะต้องมาดูรายละเอียดอื่นๆ ในการลดผลกระทบ เช่น การขยายปั๊ม
“การที่กลุ่มรถขนส่งทั้งหมดขอให้รัฐขึ้นราคาเอ็นจีวี เพียง 2 บาทต่อกก.ใน 4 เดือนจากที่จะทะยอยใน 12 เดือนเป็น 6 บาทต่อกก. ที่สุดตัวเลขนี้จะใช่หรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะจะต้องหารือถึงความเหมาะสมจากทุกฝ่ายก่อน โดยจะเร่งตั้งคณะทำงานที่จะหารือร่วมกันเพื่อสรุปให้เร็วที่สุด ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าภายใน 1-2 เดือนนี้ก็จะได้คำตอบ”นายพิชัยกล่าว
วันเดียวกันนี้ นายไชยนิรันต์ พยอมแย้ม ประธานเครือข่ายพลังงานภาคประชาชน ได้ยื่นหนังสือถึงนายไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ ส.ว.ปทุมธานี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงาน และเรื่องประชาชนการเมือง วุฒิสภา เพื่อร้องขอความเป็นธรรม และให้รัฐบาลระงับการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี และแก๊สแอลพีจี โดยระบุว่า ตามที่ครม.ได้มีมติจะปรับขึ้นราคาขึ้นในวันที่ 16 ม.ค.นี้ โดยให้เหตุผลว่า ปตท. กล่าวอ้างว่าต้นทุนของก๊าซเอ็นจีวี และแก๊สแอลพีจี สูงเกินความจริง ซึ่งจากการตรวจสอบบัญชีงบดุล พบว่า ปตท.มีผลกำไรจากการจำหน่ายก๊าซดังกล่าวปีละหลายหมื่นล้านบาท จึงไม่เห็นด้วยที่จะมีการปรับขึ้นราคา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร กล่าวว่า เตรียมจับตาการทุจริตในโครงการคูปอง 2,000 บาทของกระทรวงพลังงานที่ให้ส่วนลดประชาชนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 โดยมีการใช้เงินจากกองทุนอนุรักษณ์พลังงาน 2,000ล้านบาท อาจจะเข้าข่ายผิดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกองทุนหรือไม่ หรืออาจมีการแสวงหาผลประโยชน์ผ่านโครงการนี้หรือไม่ โดยทางพรรคอยู่ระหว่างการตรวจสอบกรณีที่มีที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ เป็นเจ้าของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อหนึ่งว่าบุคคลดังกล่าวเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องผลักดันโครงการเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจด้วยหรือไม่
ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ขยายเวลาดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ด้านการเดินทางทั้งรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถไฟชั้น 3ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จากเดิมที่จะสิ้นสุดมาตรการในวันที่ 15 ม.ค.นี้ ขยายออกไปถึงวันที่ 30 เม.ย.2555 สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามมาตรการ ให้ ขสมก. และ ร.ฟ.ท. กู้เงินมาเพื่อชดเชยวงเงินรวม 1,177 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณประจำปี 2556 ชดเชยให้ทั้งสองหน่วยงานต่อไป
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการเป็นประธานในงานแถลงข่าว "โครงการปะการังสร้างอาชีพ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ วานนี้ (10 ม.ค.) ว่า รัฐบาลยังยืนยันนโยบายที่จะเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งหมดให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง เพื่อไม่ให้เป็นภาระในระยะยาว เพราะตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซียที่ตรึงราคาพลังงาน ที่สุดก็มีปัญหา ดังนั้นวันที่ 16 ม.ค.นี้ จะมีการปรับขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม (กก.) และก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) 75 สต.ต่อกก. ทะยอยเก็บเงินกลุ่มเบนซินและดีเซล จากก่อนหน้าที่ได้ปรับลดลงเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบราคาแพง โดยรัฐบาลไม่มีนโยบายตรึงดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรเช่นอดีต
สำหรับกรณีกลุ่มผู้ขับขี่รถสาธารณะส่วนของแท็กซี่ รถตู้ รถเมล์ที่ใช้เอ็นจีวี กระทรวงพลังงานพร้อมที่จะดูแลในเรื่องของผลกระทบ โดยสามารถใช้บัตรส่วนลดราคาเอ็นจีวี มาลดราคาได้เดือนละ 50 สต.ต่อกก.อยู่แล้ว ซึ่งบมจ.ปตท.ได้รับปากที่จะดูแลในเรื่องดังกล่าว ส่วนกลุ่มขนส่งที่เป็นรถบรรทุก ยังไม่มีนโยบายส่วนลดราคาจุดนี้ เพราะไม่ใช่รถสาธารณะ แต่จะต้องมาดูรายละเอียดอื่นๆ ในการลดผลกระทบ เช่น การขยายปั๊ม
“การที่กลุ่มรถขนส่งทั้งหมดขอให้รัฐขึ้นราคาเอ็นจีวี เพียง 2 บาทต่อกก.ใน 4 เดือนจากที่จะทะยอยใน 12 เดือนเป็น 6 บาทต่อกก. ที่สุดตัวเลขนี้จะใช่หรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะจะต้องหารือถึงความเหมาะสมจากทุกฝ่ายก่อน โดยจะเร่งตั้งคณะทำงานที่จะหารือร่วมกันเพื่อสรุปให้เร็วที่สุด ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าภายใน 1-2 เดือนนี้ก็จะได้คำตอบ”นายพิชัยกล่าว
วันเดียวกันนี้ นายไชยนิรันต์ พยอมแย้ม ประธานเครือข่ายพลังงานภาคประชาชน ได้ยื่นหนังสือถึงนายไพบูลย์ ซำศิริพงษ์ ส.ว.ปทุมธานี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงาน และเรื่องประชาชนการเมือง วุฒิสภา เพื่อร้องขอความเป็นธรรม และให้รัฐบาลระงับการปรับขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี และแก๊สแอลพีจี โดยระบุว่า ตามที่ครม.ได้มีมติจะปรับขึ้นราคาขึ้นในวันที่ 16 ม.ค.นี้ โดยให้เหตุผลว่า ปตท. กล่าวอ้างว่าต้นทุนของก๊าซเอ็นจีวี และแก๊สแอลพีจี สูงเกินความจริง ซึ่งจากการตรวจสอบบัญชีงบดุล พบว่า ปตท.มีผลกำไรจากการจำหน่ายก๊าซดังกล่าวปีละหลายหมื่นล้านบาท จึงไม่เห็นด้วยที่จะมีการปรับขึ้นราคา
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฏร กล่าวว่า เตรียมจับตาการทุจริตในโครงการคูปอง 2,000 บาทของกระทรวงพลังงานที่ให้ส่วนลดประชาชนไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 โดยมีการใช้เงินจากกองทุนอนุรักษณ์พลังงาน 2,000ล้านบาท อาจจะเข้าข่ายผิดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกองทุนหรือไม่ หรืออาจมีการแสวงหาผลประโยชน์ผ่านโครงการนี้หรือไม่ โดยทางพรรคอยู่ระหว่างการตรวจสอบกรณีที่มีที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ เป็นเจ้าของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อหนึ่งว่าบุคคลดังกล่าวเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องผลักดันโครงการเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจด้วยหรือไม่
ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ขยายเวลาดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ด้านการเดินทางทั้งรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถไฟชั้น 3ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จากเดิมที่จะสิ้นสุดมาตรการในวันที่ 15 ม.ค.นี้ ขยายออกไปถึงวันที่ 30 เม.ย.2555 สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามมาตรการ ให้ ขสมก. และ ร.ฟ.ท. กู้เงินมาเพื่อชดเชยวงเงินรวม 1,177 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณประจำปี 2556 ชดเชยให้ทั้งสองหน่วยงานต่อไป