ตลาดเครื่องดื่มในประเทศไทยมีมูลค่ามากกว่าหลายหมื่นล้านบาท และแบ่งเป็นหลายเซ็กเม้นท์ โดยเซ็กเม้นท์ที่ใหญ่ มีประมาณ 10 กลุ่มคือ 1.ตลาดนมพร้อมดื่ม มูลค่า 42,000 ล้านบาท ปีที่แล้ว (2553) เติบโต 8% ปีนี้โต 6% 2.น้ำอัดลม มูลค่า 36,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 8% แต่ปีนี้ติดลบ 4% 3.เครื่องดื่มชูกำลัง มูลค่า 10,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 8% ปีนี้โต 6% 4.น้ำดื่ม มูลค่า 9,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 23% ปีนี้โต 3%
5.น้ำผลไม้ มูลค่า 9,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 14% แต่ปีนี้ตลาดตกลง 1% 6.กาแฟกระป๋อง มูลค่า 8,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 6% ปีนี้โต 5% 7.ชาพร้อมดื่ม มูลค่า 8,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 25% ปีนี้โต 175 8.ฟังชันนัลดริงค์ มูลค่า 4,200 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 79% แต่ปีนี้ตลาดตกลง 6%
9.เครื่องดื่มเกลือแร่ มูลค่า 3,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 23% ปีนี้ตลาดตกลง 7% 10.เครื่องดื่มธัญพืช มูลค่า 2,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 4% ปีนี้โต 17%
ทั้งนี้เซกเม้นท์ที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมมากที่สุดในปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าจะยังคงมีศักยภาพและอยู่ในกระแสต่อไปในปีมะโรง คือ 3 เซ็กเม้นท์ ได้แก่ 1. กลุ่มน้ำอัดลม โดยเฉพาะน้ำดำ 2. กลุ่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ และ 3. กลุ่มชาพร้อมดื่ม
***จุดเปลี่ยนวงการน้ำดำ
ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 36,000 ล้านบาท ทำให้ตลาดน้ำดำยังคงหอมหวน และยั่วยวนให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุน แม้ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอยู่ในช่วงขาลงของตลาดน้ำดำ และในปี 2554 ก็เช่นกันที่ตลาดน้ำดำเมืองไทยยังคงมีอัตราการเติบโตที่ลดลง 4% ความน่าสนใจของตลาดน้ำดำอยู่ที่ว่า เมื่อบิ๊กในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เมืองไทย เข้ามามีเอี่ยวในตลาดน้ำดำ ย่อมจะต้องมีการเชื่อมโยงหรือซินเนอยี่กันเพื่อสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ
เมื่อบริษัท เสริมสุข จำกัด มีปัญหากับทางเป๊ปซี่โค ถึงขั้นแตกหัก เลิกเป็นพันธมิตรแน่นอนมีผลพฤศจิกายนปี 2555 โดยที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติกส์ จำกัด ในเครือไทยเบฟเวอเรจ หรือเบียร์ช้าง ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในเสริมสุขแทน ซึ่งเชื่อว่าปี 2555 จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามน้ำดำระลอกใหม่
ขณะที่โค้ก และบิ๊กโคล่า ที่ต้องยอมรับว่าค่ายหลัง มาแรงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในปีก่อนที่งัดกลยุทธ์การทำตลาดสารพัด เรียกว่าไม่แพ้บิ๊กๆ ในตลาดน้ำดำ และแม้จะเทงบการตลาดไม่มากเท่า 2 ยักษ์ แต่ก็ไม่ต่างอะไรกับคำสุภาษิตที่ว่า “เล็กพริกขี้หนู” เพราะสามารถตอดแย่งแชร์และสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ มาได้มากโข
จากตัวเลขล่าสุดของเอซีนีลสัน ระบุว่า ตลาดน้ำดำปัจจุบันนี้ หากมองเป็นแบบนด์จะพบว่า โค้กมีส่วนแบ่งตลาด 24% ไล่ตื้น เป๊ปซี่ขึ้นมาที่มีแชร์ 29% แต่หากมองเป็นคอปอเรทแชร์แล้ว ค่ายโค้กที่ มีแฟนต้ากับสไปร์ทรวมอยู่ด้วยมีแชร์รวม 39% ส่วนเป๊ปซี่ที่มีมิรินด้าและเซเว่นอัพรวมด้วยมีแชร์รวม 35% ซึ่งตลาดน้ำสีโดยรวมปีนี้ตกลง 20%
ปีนี้ยังพบด้วยว่าโค้กเพิ่มงบการตลาดขึ้นมามากกว่า 100% ทำการตลาดอย่างเต็มที่ และอาจจะเป็นจังหวะพอดีกับที่เป๊ปซี่เกิดปัญหาขัดแย้งภายในกันเอง ทำให้เสียศูนย์ไปพอสมควร อีกทั้งช่วงน้ำท่มวที่ผานมาเป๊ปซี่ดได้รับผลกระทมบากพอสมควร สินค้าหายไปจากท้องตลาดอย่างมาก โดยแพคเกจจิ้งที่เป็นขวดแก้วมีปัญหา เพราะว่าซัพพลายเออร์ได้รับผลกระทบจากน่ำวม
***ชาพร้อมดื่ม รายใหม่สู่ตลาด
ตลาดชาพร้อมดื่มในปี 2554 ยังคงร้อนระอุ ทั้งในกลุ่มชาดำ ชาเขียว และชาขาว และไม่ว่าตลาดเครื่องดื่มจะเป็นอย่างไร ตลาดชาพร้อมดื่มยังคงเดินหน้าเติบโต โดยเฉพาะในปีนี้ที่มีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 17 ท่ามกลางปัจจัยลบมากมาย ทั้งภูมิอากาศที่เกิดพายุฝนในหน้าร้อน และอุทกภัยหนักในช่วงปลายปี จนทำให้มูลค่าตลาดรวมทะยานพุ่งขึ้นสูงถึง 9,100 ล้านบาท ปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดชาพร้อมดื่มยังคงเดินหน้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง เกิดจากการมีแบรนด์ใหม่เกิดขึ้นในตลาด ไม่ว่าจะเป็น “ฟรุตโตะ” ของค่ายโออิชิ “อิชิตัน” ของตัน ภาสกรนที รวมทั้งการออกรสชาติใหม่ๆ ของบิ๊กแบรนด์ในตลาด เช่น “เพียวริคุ” กับการเปิดตัวรสชาติใหม่โกจิเบอรี่ เป็นต้น
เส้นทางของตลาดชาพร้อมดื่มในปี 2555 ส่งสัญญาณสดใส เมื่อผู้ประกอบการในตลาดยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แม้จะปัจจัยเสี่ยงที่พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มหลักคือวัยรุ่น แต่เชื่อว่าตลาดชาพร้อมดื่ม ยังคงเดินหน้าเติบโตได้อีก และเป็นคู่แข่งที่จะมาเบียดแย่งแชร์ของตลาดน้ำดำ และฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์ได้เป็นอย่างดี
ในปี 2555 จึงฟันธงได้ว่าตลาดชาพร้อมดื่มจะเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ทำให้ตลาดรวมมีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท โดย “ชาขาว” ยังเป็นตลาดชาพร้อมดื่มที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงกว่าตลาดชาพร้อมดื่มเซกเม้นท์อื่นๆ
***ฟังก์ชั่นนอล ดริ๊งก์ ฮอต/ฮิต เกาะติดคนรุ่นใหม่
เส้นทางของตลาดฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์เมืองไทยดูเหมือนจะตรงข้ามกับตลาดน้ำดำโดยสิ้นเชิง ด้วยตัวเลขที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จากแบรนด์ใหม่ๆที่ต่างมุ่งหน้าเข้าสู่ตลาด ส่วนแบรนด์เดิมก็ไม่น้อยหน้า ต่างเร่งพัฒนาและตอกย้ำความเป็นผู้นำ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกลุ่มเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่
ชนินทร์ เทียนเจริญ นักการตลาดผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการเครื่องดื่มเมืองไทยกล่าว ว่า ด้วยมูลค่าตลาดฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์ที่สูงกว่า 4,200 ล้านบาทในปี 2554 และมีการเติบโตลดลง 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งถือเป็นปีทองของตลาดฟังก์ชันนัลดริงค์ ทำให้มีอัตราการเติบโตถึง 79% ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในปี 2553 มีการเติบโตสูงมากและในปี 2554 ตลาดก็ยังคงเติบโตอยู่ อย่างไรก็ดีด้วยนวัตกรรมของฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์ ทำให้มีการจัดแบ่งเซกเม้นท์ออกเป็นเครื่องดื่มประเภทพร้อมดื่ม (Ready – to – drink) 45.24% และเครื่องดื่มประเภท Shot ร้อยละ 54.76 ส่งผลให้ตลาดฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์ สามารถพัฒนาและต่อยอดให้มีความหลากหลาย ทำให้มีศักยภาพและสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องดื่มเพื่อผิวพรรณที่สวย เปล่งปลั่ง ขาวใส แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะมีเซกเม้นท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน จากผู้ประกอบการรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น สหพัฒน์ฯ , โอสถสภา , บุญรอดบริวเวอรี่ , อายิโนะโมะโต๊ะ ฯลฯ หรือกระทั่งผู้ประกอบการจากต่างประเทศ เช่น เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (F&N) ที่ล่าสุดเปิดตัว 100 พลัสในเมืองไทย
โดยหนึ่งในเซกเม้นท์ที่น่าจับตา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำหรับผู้ชาย ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมและมีการเติบโตสูงสุดในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ที่พบว่าในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำหรับผู้ชาย ทั้งเพื่อสุขภาพที่ดี ผิวพรรณที่ดี ความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ และเริ่มเข้าสู่ตลาดเมืองไทย
**************************
5.น้ำผลไม้ มูลค่า 9,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 14% แต่ปีนี้ตลาดตกลง 1% 6.กาแฟกระป๋อง มูลค่า 8,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 6% ปีนี้โต 5% 7.ชาพร้อมดื่ม มูลค่า 8,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 25% ปีนี้โต 175 8.ฟังชันนัลดริงค์ มูลค่า 4,200 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 79% แต่ปีนี้ตลาดตกลง 6%
9.เครื่องดื่มเกลือแร่ มูลค่า 3,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 23% ปีนี้ตลาดตกลง 7% 10.เครื่องดื่มธัญพืช มูลค่า 2,000 ล้านบาท ปีที่แล้วโต 4% ปีนี้โต 17%
ทั้งนี้เซกเม้นท์ที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมมากที่สุดในปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าจะยังคงมีศักยภาพและอยู่ในกระแสต่อไปในปีมะโรง คือ 3 เซ็กเม้นท์ ได้แก่ 1. กลุ่มน้ำอัดลม โดยเฉพาะน้ำดำ 2. กลุ่มฟังก์ชันนัล ดริงค์ และ 3. กลุ่มชาพร้อมดื่ม
***จุดเปลี่ยนวงการน้ำดำ
ด้วยมูลค่าตลาดกว่า 36,000 ล้านบาท ทำให้ตลาดน้ำดำยังคงหอมหวน และยั่วยวนให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุน แม้ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอยู่ในช่วงขาลงของตลาดน้ำดำ และในปี 2554 ก็เช่นกันที่ตลาดน้ำดำเมืองไทยยังคงมีอัตราการเติบโตที่ลดลง 4% ความน่าสนใจของตลาดน้ำดำอยู่ที่ว่า เมื่อบิ๊กในตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เมืองไทย เข้ามามีเอี่ยวในตลาดน้ำดำ ย่อมจะต้องมีการเชื่อมโยงหรือซินเนอยี่กันเพื่อสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ
เมื่อบริษัท เสริมสุข จำกัด มีปัญหากับทางเป๊ปซี่โค ถึงขั้นแตกหัก เลิกเป็นพันธมิตรแน่นอนมีผลพฤศจิกายนปี 2555 โดยที่บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติกส์ จำกัด ในเครือไทยเบฟเวอเรจ หรือเบียร์ช้าง ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในเสริมสุขแทน ซึ่งเชื่อว่าปี 2555 จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามน้ำดำระลอกใหม่
ขณะที่โค้ก และบิ๊กโคล่า ที่ต้องยอมรับว่าค่ายหลัง มาแรงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในปีก่อนที่งัดกลยุทธ์การทำตลาดสารพัด เรียกว่าไม่แพ้บิ๊กๆ ในตลาดน้ำดำ และแม้จะเทงบการตลาดไม่มากเท่า 2 ยักษ์ แต่ก็ไม่ต่างอะไรกับคำสุภาษิตที่ว่า “เล็กพริกขี้หนู” เพราะสามารถตอดแย่งแชร์และสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ มาได้มากโข
จากตัวเลขล่าสุดของเอซีนีลสัน ระบุว่า ตลาดน้ำดำปัจจุบันนี้ หากมองเป็นแบบนด์จะพบว่า โค้กมีส่วนแบ่งตลาด 24% ไล่ตื้น เป๊ปซี่ขึ้นมาที่มีแชร์ 29% แต่หากมองเป็นคอปอเรทแชร์แล้ว ค่ายโค้กที่ มีแฟนต้ากับสไปร์ทรวมอยู่ด้วยมีแชร์รวม 39% ส่วนเป๊ปซี่ที่มีมิรินด้าและเซเว่นอัพรวมด้วยมีแชร์รวม 35% ซึ่งตลาดน้ำสีโดยรวมปีนี้ตกลง 20%
ปีนี้ยังพบด้วยว่าโค้กเพิ่มงบการตลาดขึ้นมามากกว่า 100% ทำการตลาดอย่างเต็มที่ และอาจจะเป็นจังหวะพอดีกับที่เป๊ปซี่เกิดปัญหาขัดแย้งภายในกันเอง ทำให้เสียศูนย์ไปพอสมควร อีกทั้งช่วงน้ำท่มวที่ผานมาเป๊ปซี่ดได้รับผลกระทมบากพอสมควร สินค้าหายไปจากท้องตลาดอย่างมาก โดยแพคเกจจิ้งที่เป็นขวดแก้วมีปัญหา เพราะว่าซัพพลายเออร์ได้รับผลกระทบจากน่ำวม
***ชาพร้อมดื่ม รายใหม่สู่ตลาด
ตลาดชาพร้อมดื่มในปี 2554 ยังคงร้อนระอุ ทั้งในกลุ่มชาดำ ชาเขียว และชาขาว และไม่ว่าตลาดเครื่องดื่มจะเป็นอย่างไร ตลาดชาพร้อมดื่มยังคงเดินหน้าเติบโต โดยเฉพาะในปีนี้ที่มีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 17 ท่ามกลางปัจจัยลบมากมาย ทั้งภูมิอากาศที่เกิดพายุฝนในหน้าร้อน และอุทกภัยหนักในช่วงปลายปี จนทำให้มูลค่าตลาดรวมทะยานพุ่งขึ้นสูงถึง 9,100 ล้านบาท ปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดชาพร้อมดื่มยังคงเดินหน้าเติบโตอย่างต่อเนื่อง เกิดจากการมีแบรนด์ใหม่เกิดขึ้นในตลาด ไม่ว่าจะเป็น “ฟรุตโตะ” ของค่ายโออิชิ “อิชิตัน” ของตัน ภาสกรนที รวมทั้งการออกรสชาติใหม่ๆ ของบิ๊กแบรนด์ในตลาด เช่น “เพียวริคุ” กับการเปิดตัวรสชาติใหม่โกจิเบอรี่ เป็นต้น
เส้นทางของตลาดชาพร้อมดื่มในปี 2555 ส่งสัญญาณสดใส เมื่อผู้ประกอบการในตลาดยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แม้จะปัจจัยเสี่ยงที่พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มหลักคือวัยรุ่น แต่เชื่อว่าตลาดชาพร้อมดื่ม ยังคงเดินหน้าเติบโตได้อีก และเป็นคู่แข่งที่จะมาเบียดแย่งแชร์ของตลาดน้ำดำ และฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์ได้เป็นอย่างดี
ในปี 2555 จึงฟันธงได้ว่าตลาดชาพร้อมดื่มจะเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ทำให้ตลาดรวมมีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท โดย “ชาขาว” ยังเป็นตลาดชาพร้อมดื่มที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงกว่าตลาดชาพร้อมดื่มเซกเม้นท์อื่นๆ
***ฟังก์ชั่นนอล ดริ๊งก์ ฮอต/ฮิต เกาะติดคนรุ่นใหม่
เส้นทางของตลาดฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์เมืองไทยดูเหมือนจะตรงข้ามกับตลาดน้ำดำโดยสิ้นเชิง ด้วยตัวเลขที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จากแบรนด์ใหม่ๆที่ต่างมุ่งหน้าเข้าสู่ตลาด ส่วนแบรนด์เดิมก็ไม่น้อยหน้า ต่างเร่งพัฒนาและตอกย้ำความเป็นผู้นำ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกลุ่มเพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่
ชนินทร์ เทียนเจริญ นักการตลาดผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการเครื่องดื่มเมืองไทยกล่าว ว่า ด้วยมูลค่าตลาดฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์ที่สูงกว่า 4,200 ล้านบาทในปี 2554 และมีการเติบโตลดลง 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งถือเป็นปีทองของตลาดฟังก์ชันนัลดริงค์ ทำให้มีอัตราการเติบโตถึง 79% ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในปี 2553 มีการเติบโตสูงมากและในปี 2554 ตลาดก็ยังคงเติบโตอยู่ อย่างไรก็ดีด้วยนวัตกรรมของฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์ ทำให้มีการจัดแบ่งเซกเม้นท์ออกเป็นเครื่องดื่มประเภทพร้อมดื่ม (Ready – to – drink) 45.24% และเครื่องดื่มประเภท Shot ร้อยละ 54.76 ส่งผลให้ตลาดฟังก์ชั่นนอลดริ๊งค์ สามารถพัฒนาและต่อยอดให้มีความหลากหลาย ทำให้มีศักยภาพและสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องดื่มเพื่อผิวพรรณที่สวย เปล่งปลั่ง ขาวใส แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะมีเซกเม้นท์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน จากผู้ประกอบการรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น สหพัฒน์ฯ , โอสถสภา , บุญรอดบริวเวอรี่ , อายิโนะโมะโต๊ะ ฯลฯ หรือกระทั่งผู้ประกอบการจากต่างประเทศ เช่น เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ (F&N) ที่ล่าสุดเปิดตัว 100 พลัสในเมืองไทย
โดยหนึ่งในเซกเม้นท์ที่น่าจับตา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำหรับผู้ชาย ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมและมีการเติบโตสูงสุดในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ที่พบว่าในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสำหรับผู้ชาย ทั้งเพื่อสุขภาพที่ดี ผิวพรรณที่ดี ความแข็งแรงของร่างกาย รวมถึงการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ และเริ่มเข้าสู่ตลาดเมืองไทย
**************************