ตลาดชาพร้อมดื่มในปี 2554 คาดว่าจะมีมูลค่า 9,100 ล้านบาท เติบโต 21% ปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดชาพร้อมดื่มยังคงเดินหน้าเติบโตเพราะมีแบรนด์ใหม่เกิดขึ้นในตลาด ไม่ว่าจะเป็น “ฟรุตโตะ” ของค่ายโออิชิ “อิชิตัน” ของบริษัท ไม่ตัน จำกัดโดย “ตัน ภาสกรนที” “มิเรอิ” ของค่ายทิปโก้ ขณะเดียวแบรนด์เดิมก็เคลื่อนไหวไม่หยุด อาทิ “เพียวริคุ” เปิดตัวรสชาติใหม่โกจิเบอรี่ และแคมเปญ เพียวริคุวันนี้พลิกฝา พรุ่งนี้เป็นป๋า 100,000 ฝา 100,000 รางวัล เปิดตัวแบรนด์แอมบาสเดอร์ คนใหม่ “เป้ – อารักษ์”
โดยตลาดชาพร้อมดื่ม แบ่งออกเป็น ตลาดชาเขียว มีส่วนแบ่ง 63% ชาขาว มีส่วนแบ่ง 19% และชาดำ มีส่วนแบ่ง 19%
อย่างไรก็ดี ตลาดชาพร้อมดื่มในปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่มีความผันผวนหลายประการ ทำให้ตลาดได้รับผลกระทบมีขึ้น มีลง และผู้ประกอบการเองต้องปรับเปลี่ยนแผนการตลาด
นางสาวสุวรรณดี ไชยวรุตม์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ที ซี ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชาขาวพร้อมดื่ม ภายใต้ชื่อ “เพียวริคุ” วิเคราะห์ถึงตลาดชาพร้อมดื่มในปีที่ผ่านมา ให้ฟังว่า ตลาดชาพร้อมดื่มในปี 54 แข่งขันรุนแรงมาก เห็นได้จากการที่มีแบรนด์ใหม่เข้าสู่ตลาด ขณะเดียวกันแบรนด์ที่มีอยู่ก็พัฒนาและนำเสนอรสชาติใหม่ๆ ออกมาทำให้มีความคึกคัก มีสีสัน กระตุ้นให้ผู้บริโภคตื่นตัว ทำให้ผู้บริโภคที่ยังไม่เคยดื่มชาพร้อมดื่ม ก็หันมาดื่มมากขึ้น
อีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดมีการเติบโต คือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Promotion) ซึ่งในปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า ผู้ประกอบการแต่ละค่ายต่างจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างหนัก และต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงซัมเมอร์ ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของตลาด ซึ่งปีนี้มีทั้งการจัดแคมเปญชิงโชค ชิงรางวัลต่างๆ มากมาย
นอกจากแคมเปญส่งเสริมการขายแล้วนั้น อีกกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นในปีนี้ในตลาดชาพร้อมดื่ม คือ “สงครามราคา” (Price War) หลังจากที่เงียบหายไปพักใหญ่ การแข่งขันด้านราคา ก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปีนี้ หลังจากที่แบรนด์อิชิตัน จัดแคมเปญซื้อ 1 แถม 1 ส่วน “โออิชิ” ก็หั่นราคาลงเหลือขวดละ 16 บาท สงครามราคาที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อตลาดชาพร้อมดื่มอย่างหนัก
ความผันผวนในตลาดชาพร้อมดื่ม เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งสภาพภูมิอากาศที่ในช่วงฤดูร้อนเกิดฝนตก ทำให้อากาศไม่ร้อนตามฤดูกาลส่งผลกระทบทำให้ตลาดชาพร้อมดื่มเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายที่หลายค่ายคาดการณ์ไว้ ขณะที่ในช่วงไตรมาส 4 เกิดวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม รวมถึงโรงงานผู้ผลิตชาพร้อมดื่ม และซัพพลายบรรจุภัณฑ์ ฝา ขวด ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าออกวางจำหน่ายได้ แม้ตลาดจะมีดีมานต์สูงแต่ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถซัพพลายสินค้าให้ได้ โอกาสในการเติบโตของตลาดจึงไม่เกิดขึ้น ส่วนอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดชาพร้อมดื่ม คือพฤติกรรมผู้บริโภค
นางสาวสุวรรณดี กล่าวต่อว่า ตลาดชาพร้อมดื่มเมืองไทยในปี 2555 เชื่อว่ายังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาดื่มเครื่องดื่มเพื่อความสดชื่นและคำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น จะทำให้ผู้ประกอบการต่างพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเน้นการสร้างความแตกต่าง เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อ ขณะเดียวกันจะต้องสร้างกลยุทธ์การตลาดที่แปลกใหม่ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าในปี 55 ตลาดชาพร้อมดื่มจะเติบโตไม่น้อยกว่า 20% ทำให้ตลาดรวมมีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท โดย “ชาขาว” ยังเป็นตลาดชาพร้อมดื่มที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงกว่าตลาดชาพร้อมดื่มเซกเม้นท์อื่นๆ
โดยตลาดชาพร้อมดื่ม แบ่งออกเป็น ตลาดชาเขียว มีส่วนแบ่ง 63% ชาขาว มีส่วนแบ่ง 19% และชาดำ มีส่วนแบ่ง 19%
อย่างไรก็ดี ตลาดชาพร้อมดื่มในปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่มีความผันผวนหลายประการ ทำให้ตลาดได้รับผลกระทบมีขึ้น มีลง และผู้ประกอบการเองต้องปรับเปลี่ยนแผนการตลาด
นางสาวสุวรรณดี ไชยวรุตม์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ที ซี ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชาขาวพร้อมดื่ม ภายใต้ชื่อ “เพียวริคุ” วิเคราะห์ถึงตลาดชาพร้อมดื่มในปีที่ผ่านมา ให้ฟังว่า ตลาดชาพร้อมดื่มในปี 54 แข่งขันรุนแรงมาก เห็นได้จากการที่มีแบรนด์ใหม่เข้าสู่ตลาด ขณะเดียวกันแบรนด์ที่มีอยู่ก็พัฒนาและนำเสนอรสชาติใหม่ๆ ออกมาทำให้มีความคึกคัก มีสีสัน กระตุ้นให้ผู้บริโภคตื่นตัว ทำให้ผู้บริโภคที่ยังไม่เคยดื่มชาพร้อมดื่ม ก็หันมาดื่มมากขึ้น
อีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดมีการเติบโต คือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Promotion) ซึ่งในปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า ผู้ประกอบการแต่ละค่ายต่างจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างหนัก และต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงซัมเมอร์ ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของตลาด ซึ่งปีนี้มีทั้งการจัดแคมเปญชิงโชค ชิงรางวัลต่างๆ มากมาย
นอกจากแคมเปญส่งเสริมการขายแล้วนั้น อีกกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นในปีนี้ในตลาดชาพร้อมดื่ม คือ “สงครามราคา” (Price War) หลังจากที่เงียบหายไปพักใหญ่ การแข่งขันด้านราคา ก็เกิดขึ้นอีกครั้งในปีนี้ หลังจากที่แบรนด์อิชิตัน จัดแคมเปญซื้อ 1 แถม 1 ส่วน “โออิชิ” ก็หั่นราคาลงเหลือขวดละ 16 บาท สงครามราคาที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อตลาดชาพร้อมดื่มอย่างหนัก
ความผันผวนในตลาดชาพร้อมดื่ม เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งสภาพภูมิอากาศที่ในช่วงฤดูร้อนเกิดฝนตก ทำให้อากาศไม่ร้อนตามฤดูกาลส่งผลกระทบทำให้ตลาดชาพร้อมดื่มเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายที่หลายค่ายคาดการณ์ไว้ ขณะที่ในช่วงไตรมาส 4 เกิดวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม รวมถึงโรงงานผู้ผลิตชาพร้อมดื่ม และซัพพลายบรรจุภัณฑ์ ฝา ขวด ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าออกวางจำหน่ายได้ แม้ตลาดจะมีดีมานต์สูงแต่ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถซัพพลายสินค้าให้ได้ โอกาสในการเติบโตของตลาดจึงไม่เกิดขึ้น ส่วนอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดชาพร้อมดื่ม คือพฤติกรรมผู้บริโภค
นางสาวสุวรรณดี กล่าวต่อว่า ตลาดชาพร้อมดื่มเมืองไทยในปี 2555 เชื่อว่ายังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาดื่มเครื่องดื่มเพื่อความสดชื่นและคำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น จะทำให้ผู้ประกอบการต่างพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเน้นการสร้างความแตกต่าง เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อ ขณะเดียวกันจะต้องสร้างกลยุทธ์การตลาดที่แปลกใหม่ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น ทำให้คาดการณ์ว่าในปี 55 ตลาดชาพร้อมดื่มจะเติบโตไม่น้อยกว่า 20% ทำให้ตลาดรวมมีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท โดย “ชาขาว” ยังเป็นตลาดชาพร้อมดื่มที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงกว่าตลาดชาพร้อมดื่มเซกเม้นท์อื่นๆ