ASTVผู้จัดการรายวัน – “คอตตอน ยูเอสเอ” เดินหน้าอัดงบตลาดปี 55 รวม 22 ล้านบาท เพิ่มช่องทางการสื่อสารตลาด หวังเพิ่มไลเซนซีอีก 3 ราย คาดสิ้นปีหน้าติดป้ายสัญลักษณ์คอตตอน ยูเอสเอ 7.7 ล้านชิ้น
นายไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนคอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีพ.ศ. 2555 คอตตอน ยูเอสเอ วางแผนใช้งบการตลาดรวม 22 ล้านบาท พร้อมเพิ่มช่องทางการสื่อสารทั้งอะโบฟเดอะไลน์และบีโลว์เดอะไลน์ ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่อออนไลน์ เพื่อตอกย้ำการรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายถึงคุณประโยชน์ต่างๆของฝ้ายธรรมชาติ 100% ที่ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเป็นวัตถุดิบหลัก และเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับตราสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ”
อีกทั้งเตรียมพัฒนาจุดขายสินค้าต่างๆภายในห้างสรรพสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะจัดเทรนนิ่งให้กับพนักงานขายของไลเซนซีแบรนด์ต่างๆ (Sales Training) เพื่อสร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของผ้าฝ้าย รวมถึงวิธีการแนะนำลูกค้าถึงความสำคัญของการติดป้ายแขวนสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” บนตัวสินค้า
ปีหน้าวางเป้าหมายเพิ่มจำนวนไลเซนซีในไทยอีก 3 ราย ทั้งไลเซนซีจากแบรนด์เครื่องนุ่งห่ม และโรงงานสิ่งทอต่างๆ จากจำนวนไลเซนซีในปัจจุบันของคอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 43 ราย แบ่งเป็นแบรนด์เครื่องนุ่งห่ม 25 แบรนด์ และโรงงานสิ่งทอ 18 แห่ง และตั้งเป้าการติดป้ายสัญลักษณ์คอตตอน ยูเอสเอ ในปี 2555 ไว้ที่ประมาณ 7.7 ล้านชิ้น
นายไกรภพกล่าวถึง การสำรวจ “COTTON USA Mark Tracking Survey” ว่า เป็นการสำรวจเพื่อวัดผลประสิทธิภาพและการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องหมายการค้า “คอตตอน ยูเอสเอ” เพื่อเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของคู่แข่ง จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกๆ 2 ปี โดยให้ บริษัท ดิ อินเตอร์แอคทีฟ รีเสิร์ช จำกัด เป็นผู้ดำเนินการสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 15-54 ปี และมีรายได้ครอบครัวต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป จำนวน 500 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 25-34 ปี และกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปทั้งชายและหญิงอายุระหว่าง 15-54 ปี
จากผลวิจัยพบว่า “ผู้บริโภคชาวไทยยังคงความถี่ในการเลือกซื้อเสื้อผ้าโดยเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน แต่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการซื้อเสื้อผ้าในแต่ละครั้งลดลงเหลือเพียง 2,596 บาท จากเดิม 4,282 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2552 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความระมัดระวังในการจับจ่ายของผู้บริโภค
พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฝ้าย 100% พบว่าผู้บริโภคทุกเพศ และกลุ่มอายุเห็นตรงกันว่า “ฝ้าย” เป็นเส้นใยธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเป้าหมายหลัก ที่มีรายได้ 40,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปเห็นด้วยกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของฝ้ายถึง 100% ทั้งนี้ผู้บริโภคประมาณ 2 ใน 3 ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ในแง่ของการรับรู้สัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” พบว่ากลุ่มเป้าหมายทั่วไปมีการรับรู้ที่เพิ่มขึ้น 4% เป็น 43% จากเดิมที่มีเพียง 39% ในปี 2552 โดยช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ จุดขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีผลถึง 31% ในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป และ 32% ในกลุ่มเป้าหมายหลัก ตามมาด้วยโทรทัศน์ นิตยสารและหนังสือพิมพ์ และกว่า 50% ของกลุ่มทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายหลักมองว่า ป้ายแขวนสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” บนสินค้า มีส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อเนื่องจากสามารถสื่อถึงคุณภาพ
นายไกรภพ แพ่งสภา ตัวแทนคอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีพ.ศ. 2555 คอตตอน ยูเอสเอ วางแผนใช้งบการตลาดรวม 22 ล้านบาท พร้อมเพิ่มช่องทางการสื่อสารทั้งอะโบฟเดอะไลน์และบีโลว์เดอะไลน์ ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่อออนไลน์ เพื่อตอกย้ำการรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายถึงคุณประโยชน์ต่างๆของฝ้ายธรรมชาติ 100% ที่ใช้ฝ้ายจากสหรัฐอเมริกาเป็นวัตถุดิบหลัก และเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับตราสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ”
อีกทั้งเตรียมพัฒนาจุดขายสินค้าต่างๆภายในห้างสรรพสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจะจัดเทรนนิ่งให้กับพนักงานขายของไลเซนซีแบรนด์ต่างๆ (Sales Training) เพื่อสร้างความเข้าใจในคุณสมบัติของผ้าฝ้าย รวมถึงวิธีการแนะนำลูกค้าถึงความสำคัญของการติดป้ายแขวนสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” บนตัวสินค้า
ปีหน้าวางเป้าหมายเพิ่มจำนวนไลเซนซีในไทยอีก 3 ราย ทั้งไลเซนซีจากแบรนด์เครื่องนุ่งห่ม และโรงงานสิ่งทอต่างๆ จากจำนวนไลเซนซีในปัจจุบันของคอตตอน ยูเอสเอ ประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 43 ราย แบ่งเป็นแบรนด์เครื่องนุ่งห่ม 25 แบรนด์ และโรงงานสิ่งทอ 18 แห่ง และตั้งเป้าการติดป้ายสัญลักษณ์คอตตอน ยูเอสเอ ในปี 2555 ไว้ที่ประมาณ 7.7 ล้านชิ้น
นายไกรภพกล่าวถึง การสำรวจ “COTTON USA Mark Tracking Survey” ว่า เป็นการสำรวจเพื่อวัดผลประสิทธิภาพและการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อเครื่องหมายการค้า “คอตตอน ยูเอสเอ” เพื่อเปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าของคู่แข่ง จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกๆ 2 ปี โดยให้ บริษัท ดิ อินเตอร์แอคทีฟ รีเสิร์ช จำกัด เป็นผู้ดำเนินการสำรวจ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 15-54 ปี และมีรายได้ครอบครัวต่อเดือนมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป จำนวน 500 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นผู้หญิงอายุระหว่าง 25-34 ปี และกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปทั้งชายและหญิงอายุระหว่าง 15-54 ปี
จากผลวิจัยพบว่า “ผู้บริโภคชาวไทยยังคงความถี่ในการเลือกซื้อเสื้อผ้าโดยเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือน แต่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อการซื้อเสื้อผ้าในแต่ละครั้งลดลงเหลือเพียง 2,596 บาท จากเดิม 4,282 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2552 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความระมัดระวังในการจับจ่ายของผู้บริโภค
พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฝ้าย 100% พบว่าผู้บริโภคทุกเพศ และกลุ่มอายุเห็นตรงกันว่า “ฝ้าย” เป็นเส้นใยธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเป้าหมายหลัก ที่มีรายได้ 40,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปเห็นด้วยกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของฝ้ายถึง 100% ทั้งนี้ผู้บริโภคประมาณ 2 ใน 3 ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
ในแง่ของการรับรู้สัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” พบว่ากลุ่มเป้าหมายทั่วไปมีการรับรู้ที่เพิ่มขึ้น 4% เป็น 43% จากเดิมที่มีเพียง 39% ในปี 2552 โดยช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือ จุดขายสินค้าในห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีผลถึง 31% ในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป และ 32% ในกลุ่มเป้าหมายหลัก ตามมาด้วยโทรทัศน์ นิตยสารและหนังสือพิมพ์ และกว่า 50% ของกลุ่มทั่วไปและกลุ่มเป้าหมายหลักมองว่า ป้ายแขวนสัญลักษณ์ “คอตตอน ยูเอสเอ” บนสินค้า มีส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อเนื่องจากสามารถสื่อถึงคุณภาพ