xs
xsm
sm
md
lg

โอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูให้แบงก์ชาติ ซ้ำเติมความไม่เชื่อมั่นในรัฐบาลยิ่งลักษณ์มากขึ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โดย...สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์
http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com

มหาอุทกภัยประเทศ เชื่อกันว่าเป็นอาเพศจากอดีตนายกฯ ทักษิณ ทำให้การมาของรัฐบาลทักษิณ 5 หรือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เกิดน้ำท่วมประเทศอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ท่วมตั้งแต่ทางตอนบนสุดของประเทศ ท่วมภาคกลาง และท่วมถึงทางภาคใต้ ความเสียหายจากน้ำท่วมประเทศที่ว่ารุนแรง จะรุนแรงน้อยกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความไม่เชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นได้ ประเทศไทยก็เคยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจนต้องเข้า IMF มาแล้วถึง 2 ครั้ง

ดัชนีตลาดหุ้น และค่าเงินบาท เป็นตัวสะท้อนถึงความไม่เชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาล พบว่าตั้งแต่รัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ SET Index และค่าเงินบาทตกลงโดยตลอด โดยเฉพาะค่าเงินบาทตกต่ำจนมีจุดต่ำสุดใหม่ เห็นแล้วน่าห่วงประเทศไทย http://yfrog.com/oem02p http://yfrog.com/odfa1hp

30 ธันวาคม 2554 นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เมื่อวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการให้มีการเตรียมการ เพื่อการเตรียมความพร้อมในการจัดการหาแหล่งเงินทุน สำหรับการสร้างอนาคตประเทศระยะยาวตามข้อเสนอของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ(กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน ใน 6 ด้าน โดย ครม.ได้มอบหมายให้ตนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานและพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และลำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณารายละเอียดในเรื่องต่างๆ แล้วให้ทยอยเสนอ ครม.พิจารณา 1 ใน 6 ข้อเสนอที่ ครม.เห็นชอบคือ การโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท กลับไปอยู่ในความดูแลของ ธปท.

กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) คือวิสัยทัศน์ที่ต่ำต้อยมาตั้งแต่ปี 2528 เกิดขึ้นในช่วงที่ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เป็นที่ปรึกษาในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ http://bit.ly/uoohYx กระทั่งปี 2541 ได้เกิดหนี้เสียกับกองทุน 1.392 ล้านล้านบาท

ดูประวัติการชำระหนี้และชำระดอกเบี้ยช่วงปี 2541-2553 ที่กระทรวงการคลังและธปท.ได้ร่วมกันบริหาร ฝ่าย ธปท.ชำระหนี้เงินต้นได้รวม 2.5 แสนล้านบาท กระทรวงการคลังเป็นฝ่ายชำระดอกเบี้ยได้รวม 6 แสนล้านบาท ยังคงเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 1.14 ล้านล้านบาท ที่คาดว่าจะใช้เวลา 45 ปี จึงชำระได้หมด หากมีการโอนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูมาให้ ธปท. ยากที่ ธปท.จัดการหนี้ก้อนนี้ได้ตามลำพัง

ดูเหมือนว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูได้ปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่มีการตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากในปี 2551 ทำให้ไม่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมเงินฝากที่เคยเรียกเก็บจากสถาบันการเงินปีละ 0.4 เปอร์เซ็นต์ และไม่มีรายงานการโอนรายได้จากบริษัทลูกที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ มาช่วยในการชำระหนี้

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร รองนายกรัฐมนตรี เสนอให้ ธปท.นำทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจำนวน 3 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 9 แสนล้านบาทแยกออกมาต่างหาก เพื่อนำมาบริหารจัดการให้มีกำไรเพียงพอ สามารถนำไปชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยกองทุนฟื้นฟู นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง ระบุว่าให้ดึงเงินจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากมาประมาณ 3 หมื่นล้านบาทแล้ว ก็ยังขาดรายได้ที่จะนำมาชำระดอกเบี้ยอีก 1.5 หมื่นล้านบาท เสนอให้แก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มอำนาจใช้กองทุนฟื้นฟูฯ เก็บค่าธรรมเนียมจากสถาบันการเงินเพิ่มอีกปีละประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อนำเงินมาชำระดอกเบี้ยและหนี้เงินต้นบางส่วน

ดูแล้วรู้สึกยากที่จะทำให้การแก้ปัญหาหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูผ่านลุล่วงไปได้ด้วยดี อาจจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้ยุ่งยากมากขึ้นอีก ที่สำคัญคือไม่ดูว่าต้นเหตุที่ทำให้เกิดหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูมาจากอะไร ไม่ได้มีการแก้ไขต้นเหตุที่ทำให้เกิดหนี้ แก้ที่ปลายเหตุอย่างเดียว แล้วปัญหาจะยุติได้อย่างไร นอกจากจะแก้ปัญหาไม่ลุล่วงแล้ว ก็อาจจะเกิดวิกฤตและเกิดหนี้กองใหม่แก่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ที่กองใหญ่กว่าเดิม ดูสัญญาณทางเศรษฐกิจ เช่น SET Index และค่าเงินบาทหลังการเข้ารับตำแหน่งของรัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้ว รู้สึกเป็นห่วงแทน
กำลังโหลดความคิดเห็น