ความเหลวแหลกเกี่ยวกับนโยบายด้านการเงินการคลังของรัฐบาลชุดนี้ต้องบอกว่าเละเป็นโจ๊กล้มเหลวไม่เป็นท่า ที่สำคัญกำลังสร้างความหายนะให้กับประเทศไทยเกินกว่าที่ใครจะคาดถึง !
หลังการเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. 54 คนไทยบางส่วนยังมีความหวังหลงไปกับภาพลวงตาที่พรรคเพื่อไทยเสกสรรค์ปั่นแต่งสร้างให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้บริหารมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ จนหลงเชื่อว่า “นารีขี่ควายแดง”จะชักธงประเทศไทยให้พัฒนาก้าวไกลได้ดังที่มีการคุยโม้คำโตเอาไว้
ผ่านไปเกือบห้าเดือนทำให้คนไทยตาสว่างว่า บทบาทเดียวที่ ยิ่งลักษณ์แสดงได้ดีที่สุด คือ การเป็นพริตตี้โคลนนิ่ง คอยยิ้มหวานเปิดงานอีเวนต์จิกตาใส่กล้องเพื่อให้ภาพออกมาดูสวยงามเท่านั้น
ส่วนอย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง เพราะอยู่ในสภาพ "เอาไม่อยู่" คิดไม่เป็น มีวาระซ่อนเร้น
ยิ่งมาเจอวิกฤตน้ำท่วมมหันตภัยที่ทำลายเศรษฐกิจชาติหายวับไปพร้อมกับสายน้ำ 1.4 ล้านล้านบาท ก็ยิ่งตอกย้ำความอ่อนหัดไม่ได้เรื่องของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และมีคนสงสัยสติปัญญาของผู้นำประเทศจนอดปวดใจไม่ได้ที่มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เพียงแค่ประสานงานหน่วยงานราชการเท่านั้น
เมื่อบทพิสูจน์ว่า ยิ่งลักษณ์ สอบตกหัวข้อภาวะผู้นำประเทศยามวิกฤติ แทนที่จะปรับปรุงตัวเพิ่มพูนความรู้เพื่อสอบให้ผ่านในการฟื้นฟูประเทศ
แต่ ยิ่งลักษณ์ ก็พลาดโอกาสสำคัญนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
เลวร้ายกว่านั้น คือ โอกาสและอนาคตของประเทศไทยในมือของ ยิ่งลักษณ์ ก็สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะตกลงสู่หุบเหวแห่งหายนะโดยมีมือของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เป็นผู้ผลักดันให้บ้านเมืองต้องเผชิญกับชะตากรรมอันเลวร้าย
ความไม่เป็นเอกภาพในการกำหนดนโยบายการเงินการคลังเกิดขึ้น หลังจากที่นายกรัฐมนตรีตัวจริง ทักษิณ ชินวัตร ส่ง วีรพงษ์ รามางกูร มาเป็น ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ตามมติ ครม.วันที่ 8 พ.ย.
จากนั้นไม่นาน ธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง แทบจะไม่มีตัวตนอยู่ใน ครม. จนพอจะมองเห็นเค้าลางชัดเจนว่า ชื่อ ธีระชัย คงจะไม่ปรากฏใน ครม.ปู 2 อย่างแน่นอน
เพราะการทำงานที่พูดกันคนละคีย์ไปกันคนละเรื่องกับ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ซึ่งแทนที่จะไปดูแลค่าครองชีพให้ประชาชนตามบทบาทหน้าที่ กล้บข้ามหัว ธีระชัย มาเสนอ โอนหนี้กองทุนทุนฟื้นฟู 1.14 ล้านล้านบาทให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่เป็นงานในความรับผิดชอบของรมว.คลังอย่างไม่เกรงใจเจ้ากระทรวงแม้แต่นิดเดียว
กระทั่ง ธีระชัย ออกโรงคัดค้านประสานเสียงร่วมกับผูว่าการแบงก์ชาติว่า แนวทางดังกล่าวจะเป็นการทำลายวินัยการเงินการคลัง เพราะเท่ากับบังคับให้แบงก์ชาติต้องพิมพ์ธนบัตรมาใช้หนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม อีกทั้งรัฐบาลเองก็จะถูกตั้งคำถามเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารเศรษฐกิจประเทศอีกด้วย
เมื่อมีการจับเข่าคุยกันทั้งคลังและแบงก์ชาติยืนยันการโอนหนี้ทำไม่ได้ ธีระชัย ก็เสนอแนวทางแก้ปัญหาโดยให้แก้กฎหมายกองทุนฟื้นฟูฯให้มีอำนาจในการเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท และโอนรายได้จากสถาบันคุ้มครองเงินฝากประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อจ่ายดอกเบี้ยของหนี้กองทุนฟื้นฟู โดยให้แบงก์ชาติรับภาระชำระเงินต้น
วิธีคิดที่หวังประนีประนอมกันเองในรัฐบาลกลับกลายเป็นบทสะท้อนการไร้หลักการบริหารประเทศโดยสิ้นเชิงของรัฐบาลชุดนี้ เพราะวิธีการของ ธีระชัยแม้ไม่กระทบกับความน่าเชื่อถือของแบงก์ชาติ
แต่ก็ทำลายระบบคุ้มครองเงินฝากประชาชนซึ่งเป็นกลไกที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตปี 40 ที่สถาบันการเงินเจ๊งระเนระนาดจนรัฐบาลต้องนำเงินภาษีประชาชนไปอุ้ม กระทั่งรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่มี ทักษิณ และ วีรพงษ์ รามางกูร เป็นรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลากไทยไปเป็นทาสเศรษฐกิจไอเอ็มเอฟ จนเกิดหนี้ก้อนโตจากการบริหารของกองทุนฟื้นฟูตามมา
ใช้หนี้กันมาเข้าปีที่ 15 ภาระก็ยังไม่หมดไป
ความพยายามที่จะปลดเปลื้องหนี้กองทุนฟื้นฟูจากกระทรวงการคลังในครั้งนี้ จึงกลายเป็นการประจาน ทักษิณ ว่า ไอ้ที่คุยโม้นักหนาว่าเป็นคนปลดแอกให้ไทยพ้นจากการเป็นทาสของไอเอ็มเอฟนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะภาระหนี้ของประเทศที่เกิดจากนโยบายผิดพลาดของรัฐบาลขณะนั้นยังดำรงอยู่จนถึงวันนี้ในจำนวนสูงถึง 1.14 ล้านล้านบาท
เกือบ 6 ปีที่ ทักษิณ เป็นผู้นำประเทศมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด มิเพียงแต่ไม่สามารถบริหารให้ภาระหนี้ของประเทศลดลงเท่านั้น แต่กลับใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่แตกต่างจากรัฐบาลที่ “น้องสาว”ของเขากำลังปู้ยี่ปู้ยำประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
ทั้งทักษิณและยิ่งลักษณ์ จึงมิได้เป็นกูรูทางด้านเศรษฐกิจ เป็นเพียงนักธุรกิจที่คิดแต่จะหากำไรจากความมั่งคั่งของบ้านเมืองครอบงำผู้คนในประเทศนี้ด้วยนโยบายประชานิยมโง่ ๆ ที่กำลังทำให้ประเทศเข้าสู่ “ภาวะถังแตก”
ถนัดแต่นโยบายหยิบยื่นเพื่อให้ประชาชนเคยชินกับการแบมือขอ ไม่เคยกำหนดนโยบายที่จะให้คนไทยหยัดยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเองอย่างยั่งยืน เพราะหากประชาชนแข็งแรงการพึ่งพานักการเมืองก็จะน้อยลงจนชื่อของ ทักษิณ ในฐานะ “เทพเจ้าแห่งคนจน”ก็จะไร้ความหมายไปโดยปริยาย
อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ “รัฐบาลทักษิณส่วนหน้า” ต้องคงนโยบายประชานิยมโง่ ๆ เอาไว้ในงบประมาณปกติ แล้วเลือกที่จะเล่นแร่แปรบัญชีหนี้จากคลังไปเป็นของแบงก์ชาติ หวังลดปริมาณหนี้สาธารณะลงเพื่อเปิดทางกู้เงินได้มากขึ้น โดยอ้างว่าจะนำมาใช้เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศใหม่
แต่กลับไร้รูปธรรมที่จะแสดงให้เห็นว่าเงินมหาศาลจะใช้ในโครงการใดบ้าง และจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองอย่างไร
ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 4 มกราคม ก็ยังกัดกันเละ ไม่สามารถกำหนดทิศทางการเงินให้กับประเทศได้ เมื่อ กิตติรัตน์ หัก ธีระชัย ด้วยการเสนอให้ ครม.มีมติ ออก พระราชกำหนด 4 ฉบับ ประกอบด้วย
พรก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ....เพื่อให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รับผิดชอบเกี่ยวกับชำระคืนเงินต้นกู้และดอกเบี้ยดอกเบี้ยเงินกู้ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท พ.ร.ก.แก้ไขธปท.ให้สามารถปล่อยสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้แก่สถาบันการเงิน ในวงเงินไม่เกิน 3 แสนล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บกับสถาบันการเงิน 0.01% เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ต่อให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อฟื้นฟูและสร้างอนาคตของประเทศ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และพรก.จัดตั้งกองทุนประกันภัยน้ำท่วมอีก 5 หมื่นล้านบาท แต่ถูก ครม.ตีกลับโดยอ้างว่า
ต้องให้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) พิจารณาก่อน
ก็คงเป็นมหากาพย์แห่งการต่อสู้ระหว่างนักการเมืองเขี้ยวลากดินกับผู้ว่าแบงก์ชาติต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้ว กยน. ก็น่าจะตีตราประทับ พรก.ทั้ง 4 ฉบับกลับเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.อีกครั้ง เพราะคนที่มีบทบาทในคณะกรรมการชุดนี้ล้วนแต่เป็นก๊วนแก๊งวิกฤตต้มยำกุ้งของ วีรพงษ์ ด้วยกันทั้งสิ้น
หากแผนนี้ไม่สำเร็จ วีรพงษ์ และ กิตติรัตน์ ก็ควรไสหัวออกไป ในทางตรงกันข้ามถ้า ธีระชัย ยับยั้งไม่เป็นผล ก็ไม่ควรนั่งในตำแหน่ง รมว.คลังเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าปัญหานี้จะจบลงอย่างไร ความเสียหายได้เกิดขึ้นต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่กำลังอยู่ในภาวะเปราะบางด้านความเชื่อมั่น จนยากที่จะกอบกู้
การห้ำหั่นกันระหว่างทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ปรากฏต่อสาธารณะ คือการซ้ำเติมประเทศที่เลวร้ายไม่ต่างจากพลังมหาศาลของมวลน้ำ ในขณะที่ นายกฯนกแก้ว ก็ไม่มีสติปัญญาพอที่จะคลี่คลายปัญหานี้
ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ คือ รัฐบาลชุดนี้ทั้งคณะควรมุดรูปูเดินขาเกออกจากการบริหารประเทศได้แล้ว อยู่ไปก็รังแต่จะสร้างความเสียหายไม่รู้จบทั้ง เศรษฐกิจ และการเมือง
เพราะปัญหามนุษย์วิบัติในครม.ยิ่งลักษณ์ ร้ายแรงและหนักหนากว่าภัยพิบัติมากจริง ๆ
หลังการเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค. 54 คนไทยบางส่วนยังมีความหวังหลงไปกับภาพลวงตาที่พรรคเพื่อไทยเสกสรรค์ปั่นแต่งสร้างให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้บริหารมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ จนหลงเชื่อว่า “นารีขี่ควายแดง”จะชักธงประเทศไทยให้พัฒนาก้าวไกลได้ดังที่มีการคุยโม้คำโตเอาไว้
ผ่านไปเกือบห้าเดือนทำให้คนไทยตาสว่างว่า บทบาทเดียวที่ ยิ่งลักษณ์แสดงได้ดีที่สุด คือ การเป็นพริตตี้โคลนนิ่ง คอยยิ้มหวานเปิดงานอีเวนต์จิกตาใส่กล้องเพื่อให้ภาพออกมาดูสวยงามเท่านั้น
ส่วนอย่างอื่นไม่ต้องพูดถึง เพราะอยู่ในสภาพ "เอาไม่อยู่" คิดไม่เป็น มีวาระซ่อนเร้น
ยิ่งมาเจอวิกฤตน้ำท่วมมหันตภัยที่ทำลายเศรษฐกิจชาติหายวับไปพร้อมกับสายน้ำ 1.4 ล้านล้านบาท ก็ยิ่งตอกย้ำความอ่อนหัดไม่ได้เรื่องของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และมีคนสงสัยสติปัญญาของผู้นำประเทศจนอดปวดใจไม่ได้ที่มีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เพียงแค่ประสานงานหน่วยงานราชการเท่านั้น
เมื่อบทพิสูจน์ว่า ยิ่งลักษณ์ สอบตกหัวข้อภาวะผู้นำประเทศยามวิกฤติ แทนที่จะปรับปรุงตัวเพิ่มพูนความรู้เพื่อสอบให้ผ่านในการฟื้นฟูประเทศ
แต่ ยิ่งลักษณ์ ก็พลาดโอกาสสำคัญนี้ไปอย่างน่าเสียดาย
เลวร้ายกว่านั้น คือ โอกาสและอนาคตของประเทศไทยในมือของ ยิ่งลักษณ์ ก็สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะตกลงสู่หุบเหวแห่งหายนะโดยมีมือของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เป็นผู้ผลักดันให้บ้านเมืองต้องเผชิญกับชะตากรรมอันเลวร้าย
ความไม่เป็นเอกภาพในการกำหนดนโยบายการเงินการคลังเกิดขึ้น หลังจากที่นายกรัฐมนตรีตัวจริง ทักษิณ ชินวัตร ส่ง วีรพงษ์ รามางกูร มาเป็น ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ตามมติ ครม.วันที่ 8 พ.ย.
จากนั้นไม่นาน ธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล รมว.คลัง แทบจะไม่มีตัวตนอยู่ใน ครม. จนพอจะมองเห็นเค้าลางชัดเจนว่า ชื่อ ธีระชัย คงจะไม่ปรากฏใน ครม.ปู 2 อย่างแน่นอน
เพราะการทำงานที่พูดกันคนละคีย์ไปกันคนละเรื่องกับ กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ซึ่งแทนที่จะไปดูแลค่าครองชีพให้ประชาชนตามบทบาทหน้าที่ กล้บข้ามหัว ธีระชัย มาเสนอ โอนหนี้กองทุนทุนฟื้นฟู 1.14 ล้านล้านบาทให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่เป็นงานในความรับผิดชอบของรมว.คลังอย่างไม่เกรงใจเจ้ากระทรวงแม้แต่นิดเดียว
กระทั่ง ธีระชัย ออกโรงคัดค้านประสานเสียงร่วมกับผูว่าการแบงก์ชาติว่า แนวทางดังกล่าวจะเป็นการทำลายวินัยการเงินการคลัง เพราะเท่ากับบังคับให้แบงก์ชาติต้องพิมพ์ธนบัตรมาใช้หนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม อีกทั้งรัฐบาลเองก็จะถูกตั้งคำถามเรื่องธรรมาภิบาลในการบริหารเศรษฐกิจประเทศอีกด้วย
เมื่อมีการจับเข่าคุยกันทั้งคลังและแบงก์ชาติยืนยันการโอนหนี้ทำไม่ได้ ธีระชัย ก็เสนอแนวทางแก้ปัญหาโดยให้แก้กฎหมายกองทุนฟื้นฟูฯให้มีอำนาจในการเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินจำนวน 1.5 หมื่นล้านบาท และโอนรายได้จากสถาบันคุ้มครองเงินฝากประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เพื่อจ่ายดอกเบี้ยของหนี้กองทุนฟื้นฟู โดยให้แบงก์ชาติรับภาระชำระเงินต้น
วิธีคิดที่หวังประนีประนอมกันเองในรัฐบาลกลับกลายเป็นบทสะท้อนการไร้หลักการบริหารประเทศโดยสิ้นเชิงของรัฐบาลชุดนี้ เพราะวิธีการของ ธีระชัยแม้ไม่กระทบกับความน่าเชื่อถือของแบงก์ชาติ
แต่ก็ทำลายระบบคุ้มครองเงินฝากประชาชนซึ่งเป็นกลไกที่เกิดขึ้นหลังวิกฤตปี 40 ที่สถาบันการเงินเจ๊งระเนระนาดจนรัฐบาลต้องนำเงินภาษีประชาชนไปอุ้ม กระทั่งรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่มี ทักษิณ และ วีรพงษ์ รามางกูร เป็นรองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นลากไทยไปเป็นทาสเศรษฐกิจไอเอ็มเอฟ จนเกิดหนี้ก้อนโตจากการบริหารของกองทุนฟื้นฟูตามมา
ใช้หนี้กันมาเข้าปีที่ 15 ภาระก็ยังไม่หมดไป
ความพยายามที่จะปลดเปลื้องหนี้กองทุนฟื้นฟูจากกระทรวงการคลังในครั้งนี้ จึงกลายเป็นการประจาน ทักษิณ ว่า ไอ้ที่คุยโม้นักหนาว่าเป็นคนปลดแอกให้ไทยพ้นจากการเป็นทาสของไอเอ็มเอฟนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะภาระหนี้ของประเทศที่เกิดจากนโยบายผิดพลาดของรัฐบาลขณะนั้นยังดำรงอยู่จนถึงวันนี้ในจำนวนสูงถึง 1.14 ล้านล้านบาท
เกือบ 6 ปีที่ ทักษิณ เป็นผู้นำประเทศมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด มิเพียงแต่ไม่สามารถบริหารให้ภาระหนี้ของประเทศลดลงเท่านั้น แต่กลับใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่แตกต่างจากรัฐบาลที่ “น้องสาว”ของเขากำลังปู้ยี่ปู้ยำประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
ทั้งทักษิณและยิ่งลักษณ์ จึงมิได้เป็นกูรูทางด้านเศรษฐกิจ เป็นเพียงนักธุรกิจที่คิดแต่จะหากำไรจากความมั่งคั่งของบ้านเมืองครอบงำผู้คนในประเทศนี้ด้วยนโยบายประชานิยมโง่ ๆ ที่กำลังทำให้ประเทศเข้าสู่ “ภาวะถังแตก”
ถนัดแต่นโยบายหยิบยื่นเพื่อให้ประชาชนเคยชินกับการแบมือขอ ไม่เคยกำหนดนโยบายที่จะให้คนไทยหยัดยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเองอย่างยั่งยืน เพราะหากประชาชนแข็งแรงการพึ่งพานักการเมืองก็จะน้อยลงจนชื่อของ ทักษิณ ในฐานะ “เทพเจ้าแห่งคนจน”ก็จะไร้ความหมายไปโดยปริยาย
อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ “รัฐบาลทักษิณส่วนหน้า” ต้องคงนโยบายประชานิยมโง่ ๆ เอาไว้ในงบประมาณปกติ แล้วเลือกที่จะเล่นแร่แปรบัญชีหนี้จากคลังไปเป็นของแบงก์ชาติ หวังลดปริมาณหนี้สาธารณะลงเพื่อเปิดทางกู้เงินได้มากขึ้น โดยอ้างว่าจะนำมาใช้เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศใหม่
แต่กลับไร้รูปธรรมที่จะแสดงให้เห็นว่าเงินมหาศาลจะใช้ในโครงการใดบ้าง และจะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองอย่างไร
ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 4 มกราคม ก็ยังกัดกันเละ ไม่สามารถกำหนดทิศทางการเงินให้กับประเทศได้ เมื่อ กิตติรัตน์ หัก ธีระชัย ด้วยการเสนอให้ ครม.มีมติ ออก พระราชกำหนด 4 ฉบับ ประกอบด้วย
พรก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ....เพื่อให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รับผิดชอบเกี่ยวกับชำระคืนเงินต้นกู้และดอกเบี้ยดอกเบี้ยเงินกู้ จำนวน 1.14 ล้านล้านบาท พ.ร.ก.แก้ไขธปท.ให้สามารถปล่อยสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้แก่สถาบันการเงิน ในวงเงินไม่เกิน 3 แสนล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บกับสถาบันการเงิน 0.01% เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ต่อให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อฟื้นฟูและสร้างอนาคตของประเทศ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และพรก.จัดตั้งกองทุนประกันภัยน้ำท่วมอีก 5 หมื่นล้านบาท แต่ถูก ครม.ตีกลับโดยอ้างว่า
ต้องให้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) พิจารณาก่อน
ก็คงเป็นมหากาพย์แห่งการต่อสู้ระหว่างนักการเมืองเขี้ยวลากดินกับผู้ว่าแบงก์ชาติต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่เชื่อว่าสุดท้ายแล้ว กยน. ก็น่าจะตีตราประทับ พรก.ทั้ง 4 ฉบับกลับเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.อีกครั้ง เพราะคนที่มีบทบาทในคณะกรรมการชุดนี้ล้วนแต่เป็นก๊วนแก๊งวิกฤตต้มยำกุ้งของ วีรพงษ์ ด้วยกันทั้งสิ้น
หากแผนนี้ไม่สำเร็จ วีรพงษ์ และ กิตติรัตน์ ก็ควรไสหัวออกไป ในทางตรงกันข้ามถ้า ธีระชัย ยับยั้งไม่เป็นผล ก็ไม่ควรนั่งในตำแหน่ง รมว.คลังเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าปัญหานี้จะจบลงอย่างไร ความเสียหายได้เกิดขึ้นต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่กำลังอยู่ในภาวะเปราะบางด้านความเชื่อมั่น จนยากที่จะกอบกู้
การห้ำหั่นกันระหว่างทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ปรากฏต่อสาธารณะ คือการซ้ำเติมประเทศที่เลวร้ายไม่ต่างจากพลังมหาศาลของมวลน้ำ ในขณะที่ นายกฯนกแก้ว ก็ไม่มีสติปัญญาพอที่จะคลี่คลายปัญหานี้
ดังนั้นแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ คือ รัฐบาลชุดนี้ทั้งคณะควรมุดรูปูเดินขาเกออกจากการบริหารประเทศได้แล้ว อยู่ไปก็รังแต่จะสร้างความเสียหายไม่รู้จบทั้ง เศรษฐกิจ และการเมือง
เพราะปัญหามนุษย์วิบัติในครม.ยิ่งลักษณ์ ร้ายแรงและหนักหนากว่าภัยพิบัติมากจริง ๆ