ASTVผู้จัดการรายวัน- ปชป.อัด"ปึ้ง" อัปยศ คว้าเจรจาเปิดบ่อน้ำมันติดมือกลับจากเขมร แต่ปล่อยให้เขมรกล่าวหาไทยรุกรานอธิปไตย พร้อมท้า รีบเจรจาเอ็มโอยูปี 44 ฉบับขายชาติ จะได้เป็นจุดเริ่มต้นนับถอยหลังรัฐบาล"ปู" ส่วน"มาร์ค"คาดศาลโลกเตรียมตัดสินคดีเขาพระวิหารเดือนหน้า ก่อนเปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษา เตือนรัฐบาลระวัง อย่าทำอะไรให้เป็นคุณกับเขมร
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงกรณีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และคณะ เดินทางไปยังประเทศกัมพูชา เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ว่า มีการบอกว่าจะไปพูดเรื่องเฮลิคอปเตอร์ไทยที่ถูกยิง แต่ไม่มีการทำหนังสือทักท้วงอย่างเป็นทางการ และน่าเสียใจที่นายสุรพงษ์ กลับมา ปรากฏว่าได้มาอย่างเดียว คือ การไปเจรจาเปิดบ่อน้ำมัน บ่อแก๊ส ในทะเลอ่าวไทย ตามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ปี 44 ไม่ใช่ไปแสดงออกถึงสิทธิเหนือดินแดนของไทยต่อกัมพูชาเลย
"ไม่มีการหยิบยกเรื่องเฮลิคอปเตอร์ไทยที่ถูกยิงมาพูดบนโต๊ะ ปล่อยให้กัมพูชาไปพูดว่า ไทยเป็นผู้รุกราน จึงถูกยิงเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเรื่องนี้ ก็จะถูกบันทึกว่า ไทยยินยอมให้กัมพูชานำไปกล่าวอ้าง ถือเป็นความอัปยศของนายสุรพงษ์ ที่ทำความเสียหายให้กับประเทศ และอยากจะขอท้า ให้รีบทำเรื่องการเจรจาเอ็มโอยูปี 44 เพราะนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถอยหลังของรัฐบาลชุดนี้ เป็นการขายชาติจากเอ็มโอยูฉบับนี้ เพราะไทยเสียดินแดนชัดเจนจากการขีดเส้นล้ำเข้ามาในประเทศไทย" นายชวนนท์กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงคดีเขาพระวิหารว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกในเดือนก.พ.2555 และเพื่อไม่ให้คดีดังกล่าวข้ามการเปลี่ยนแปลงองค์คณะ ดังนั้น จึงมีการคาดการณ์กันว่าภายในเดือนก.พ. ศาลโลกจะมีคำตัดสินเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา ซึ่งรัฐบาลไทยคงได้ยื่นคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้ว ส่วนการจะไปให้ถ้อยแถลงด้วยวาจา ก็มีความสำคัญ ต้องมีการเตรียมตัวให้ดี มีการซักซ้อม ดำเนินการให้เป็นเอกภาพ
"ระหว่างนี้ ทุกก้าวย่างของไทยที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชา จะเป็นการพูดจา จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณชายแดน หรือจะเป็นองค์กรต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นยูเนสโก ผู้สังเกตการณ์อาเซียน รัฐบาลพึงต้องระมัดระวังเอาใจใส่ว่า อย่าให้การกระทำใดๆ ถูกตีความในลักษณะที่จะเป็นคุณกับทางกัมพูชาในคดี และในทางกลับกัน อะไรที่จะสามารถเสริมแนวทางของเราในการต่อสู้คดี ก็ต้องทำ อย่ามองว่ายื่นเอกสารไปแล้ว เตรียมไปต่อสู้ในศาลแล้วเพียงพอ แต่อะไรที่เกิดขึ้นในขณะนี้ หรือเป็นการพูดจาแลกเปลี่ยน ก็มีความหมายทั้งสิ้นต่อคำตัดสินของศาล"
นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะต้องคิดด้วยว่าศาลตัดสินออกมาแล้วจะเป็นที่ยุติแค่ไหน อย่างไร และแนวทางการปฏิบัติจะเป็นอย่างไร ถ้าไทยชนะ กัมพูชาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ถ้าไทยแพ้ ไทยจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ซึ่งตนมองเห็นปัญหาที่จะต้องเตรียมการหลายอย่าง แต่ว่าไม่เห็นว่ากระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะนายสุรพงษ์ โตวิจักรชัยกุล จะแสดงจุดยืนหรือดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยถึงกรณีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และคณะ เดินทางไปยังประเทศกัมพูชา เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ว่า มีการบอกว่าจะไปพูดเรื่องเฮลิคอปเตอร์ไทยที่ถูกยิง แต่ไม่มีการทำหนังสือทักท้วงอย่างเป็นทางการ และน่าเสียใจที่นายสุรพงษ์ กลับมา ปรากฏว่าได้มาอย่างเดียว คือ การไปเจรจาเปิดบ่อน้ำมัน บ่อแก๊ส ในทะเลอ่าวไทย ตามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ปี 44 ไม่ใช่ไปแสดงออกถึงสิทธิเหนือดินแดนของไทยต่อกัมพูชาเลย
"ไม่มีการหยิบยกเรื่องเฮลิคอปเตอร์ไทยที่ถูกยิงมาพูดบนโต๊ะ ปล่อยให้กัมพูชาไปพูดว่า ไทยเป็นผู้รุกราน จึงถูกยิงเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเรื่องนี้ ก็จะถูกบันทึกว่า ไทยยินยอมให้กัมพูชานำไปกล่าวอ้าง ถือเป็นความอัปยศของนายสุรพงษ์ ที่ทำความเสียหายให้กับประเทศ และอยากจะขอท้า ให้รีบทำเรื่องการเจรจาเอ็มโอยูปี 44 เพราะนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถอยหลังของรัฐบาลชุดนี้ เป็นการขายชาติจากเอ็มโอยูฉบับนี้ เพราะไทยเสียดินแดนชัดเจนจากการขีดเส้นล้ำเข้ามาในประเทศไทย" นายชวนนท์กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงคดีเขาพระวิหารว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกในเดือนก.พ.2555 และเพื่อไม่ให้คดีดังกล่าวข้ามการเปลี่ยนแปลงองค์คณะ ดังนั้น จึงมีการคาดการณ์กันว่าภายในเดือนก.พ. ศาลโลกจะมีคำตัดสินเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา ซึ่งรัฐบาลไทยคงได้ยื่นคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้ว ส่วนการจะไปให้ถ้อยแถลงด้วยวาจา ก็มีความสำคัญ ต้องมีการเตรียมตัวให้ดี มีการซักซ้อม ดำเนินการให้เป็นเอกภาพ
"ระหว่างนี้ ทุกก้าวย่างของไทยที่เกี่ยวข้องกับกัมพูชา จะเป็นการพูดจา จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณชายแดน หรือจะเป็นองค์กรต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นยูเนสโก ผู้สังเกตการณ์อาเซียน รัฐบาลพึงต้องระมัดระวังเอาใจใส่ว่า อย่าให้การกระทำใดๆ ถูกตีความในลักษณะที่จะเป็นคุณกับทางกัมพูชาในคดี และในทางกลับกัน อะไรที่จะสามารถเสริมแนวทางของเราในการต่อสู้คดี ก็ต้องทำ อย่ามองว่ายื่นเอกสารไปแล้ว เตรียมไปต่อสู้ในศาลแล้วเพียงพอ แต่อะไรที่เกิดขึ้นในขณะนี้ หรือเป็นการพูดจาแลกเปลี่ยน ก็มีความหมายทั้งสิ้นต่อคำตัดสินของศาล"
นอกจากนี้ รัฐบาลยังจะต้องคิดด้วยว่าศาลตัดสินออกมาแล้วจะเป็นที่ยุติแค่ไหน อย่างไร และแนวทางการปฏิบัติจะเป็นอย่างไร ถ้าไทยชนะ กัมพูชาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ถ้าไทยแพ้ ไทยจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ซึ่งตนมองเห็นปัญหาที่จะต้องเตรียมการหลายอย่าง แต่ว่าไม่เห็นว่ากระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะนายสุรพงษ์ โตวิจักรชัยกุล จะแสดงจุดยืนหรือดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง