ศูนย์ข่าวภูเก็ต -ภูเก็ตเจอวิกฤตขาดแคลนแรงงานกว่า 3,000 ตำแหน่ง เหตุค่าครองชีพสูงลิ่วทำแรงงานจากต่างจังหวัดเมินเข้าส่งผลขาดแคลนต่อเนื่องถึงมีนาคม 55
นายประเสริฐ มนต์ประสิทธิ์ ประธานชมรมผู้จัดการบุคลากรจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด แต่จะมีปัญหารุนแรงมากในช่วงไฮซีซันตั้งแต่เดือน ต.ค.-มี.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจำนวนมาก ประกอบกับในพื้นที่ภูเก็ตขณะนี้มีโรงแรมใหม่เกิดขึ้นอีกหลายแห่ง จำนวนห้องพักก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้แรงงานในพื้นที่มีมากตามไปด้วย
นอกจากจะมีโรงแรม-ห้องพักเพิ่มขึ้นแล้ว ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตยังมีห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นอีกหลายแห่งซึ่งในส่วนของห้างสรรพสินค้าก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เป็นตัวแบ่งแรงงานออกไปทำให้การขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นที่สถานประกอบการแต่ละแห่งจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้แรงงานมาอยู่ในสถานประกอบการของตนเอง
สำหรับตำแหน่งงานที่ขาดแคลนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตขณะนี้คาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 3,000 ตำแหน่ง ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งงานในระดับปฏิบัติการ เช่น พนักงานบริการในส่วนของอาหาร-เครื่องดื่ม พนักงานทำความสะอาด พนักงานบริการสปา และที่กำลังจะขาดแคลนอย่างหนัก คือ พนักงานบริการห้องพักซึ่งเป็นพนักงานที่จะต้องมีความรู้และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี รวมทั้งจะต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้พนักงานกลุ่มนี้มีน้อยและมีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนมาก
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า สำหรับสาเหตุของการขาดแคลนแรงงาน เรื่องของค่าครองชีพในส่วนของจังหวัดภูเก็ตที่สูงกว่าที่อื่นมีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจเข้ามาทำงานที่ภูเก็ต เพราะแรงงานในต่างจังหวัดที่เขามีตำแหน่งงานรองรับจะไม่เดินทางมาทำงานที่ภูเก็ต เนื่องจากค่าครองชีพภูเก็ตสูงกว่าที่อื่นมาก นอกจากนั้นในส่วนของผู้ประกอบการเองก็มีการแย่งแรงงานกันอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ตัวแรงงานเองก็เลือกที่จะทำงานตามห้างสรรพสินค้าแทนที่จะทำงานในโรงแรม เนื่องจากมีความสบายกว่า ทำให้แนวโน้มการขาดแคลนแรงงานในภูเก็ตยังวิกฤตต่อเนื่องไปจนถึงเดือน มี.ค.2555 ขณะที่ในช่วงโลว์ซีซันภูเก็ตก็ยังมีความต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก แต่ช่วงนั้นเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวเข้าน้อยทำให้ผู้ประกอบการพอใจที่จะใช้จำนวนพนักงานที่มีอยู่เดิมทำให้ไม่มีการแย่งแรงงานเกิดขึ้น
ขณะที่ นายภูริต มาศวงศ์ศา อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับการขาดแคลนแรงงานในระดับต่างๆ ในสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตถือว่าอยู่ในขั้นที่น่าเป็นห่วง คาดว่าในพื้นที่ขณะนี้มีการขาดแคลนแรงงานไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ตำแหน่ง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในตำแหน่งพนักงานต้อนรับ พนักงานฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานภายในครัว แม่บ้านและพนักงานด้านอื่นๆ ส่วนพนักงานในระดับหัวหน้างานและระดับบริหารไม่ขาดแคลน
สาเหตุที่ทำให้แรงงานในภาคท่องเที่ยวขาดแคลนนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น คนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังกลัวเรื่องสึนามิ เรื่องค่าครองชีพในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งสูงกว่าที่อื่นมาก ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คนจากที่อื่นไม่อยากที่จะเข้ามาทำงานในสถานประกอบการ เพราะเปรียบเทียบกันแล้วค่าครองชีพในภูเก็ตสูงกว่าที่อื่นเกือบ 1เท่าตัว ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานไม่เดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
ด้านนายนพดล พลอยอยู่ดี จัดหางานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ปัจจุบันภูเก็ตมีความต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของสถานประกอบการต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว จากการสำรวจความต้องการใช้แรงงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตพบว่าขณะนี้มีความต้องการใช้แรงงานไม่น้อยกว่า 3,000 ตำแหน่งที่ผ่านมา ภาครัฐพยายามที่จะแก้ไขปัญหา โดยการจัดงานวันนัดพบแรงงานภายในจังหวัดและต่างจังหวัด ปรากฏว่าการออกไปจัดงานในต่างจังหวัดไม่ได้รับความสนใจโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน เนื่องจากแรงงานเหล่านั้นยังฝังใจกับเหตุการณ์สึนามิถล่มทำให้ไม่กล้าที่จะเดินทางมาทำงานที่จังหวัดภูเก็ต และปัญหาที่สำคัญที่ทำให้แรงงานไม่เดินทางมาทำงานที่จังหวัดภูเก็ตคือปัญหาเรื่องของค่าครองชีพของจังหวัดภูเก็ตที่เมื่อเปรียบเทียบกับที่อื่นพบว่าค่าครองชีพของจังหวัดภูเก็ตสูงกว่าที่อื่นมาก
นายประเสริฐ มนต์ประสิทธิ์ ประธานชมรมผู้จัดการบุคลากรจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด แต่จะมีปัญหารุนแรงมากในช่วงไฮซีซันตั้งแต่เดือน ต.ค.-มี.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจำนวนมาก ประกอบกับในพื้นที่ภูเก็ตขณะนี้มีโรงแรมใหม่เกิดขึ้นอีกหลายแห่ง จำนวนห้องพักก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการใช้แรงงานในพื้นที่มีมากตามไปด้วย
นอกจากจะมีโรงแรม-ห้องพักเพิ่มขึ้นแล้ว ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตยังมีห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นอีกหลายแห่งซึ่งในส่วนของห้างสรรพสินค้าก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เป็นตัวแบ่งแรงงานออกไปทำให้การขาดแคลนแรงงานในพื้นที่ทวีความรุนแรงขึ้น จนถึงขั้นที่สถานประกอบการแต่ละแห่งจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้แรงงานมาอยู่ในสถานประกอบการของตนเอง
สำหรับตำแหน่งงานที่ขาดแคลนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตขณะนี้คาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 3,000 ตำแหน่ง ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งงานในระดับปฏิบัติการ เช่น พนักงานบริการในส่วนของอาหาร-เครื่องดื่ม พนักงานทำความสะอาด พนักงานบริการสปา และที่กำลังจะขาดแคลนอย่างหนัก คือ พนักงานบริการห้องพักซึ่งเป็นพนักงานที่จะต้องมีความรู้และสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี รวมทั้งจะต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้พนักงานกลุ่มนี้มีน้อยและมีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนมาก
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า สำหรับสาเหตุของการขาดแคลนแรงงาน เรื่องของค่าครองชีพในส่วนของจังหวัดภูเก็ตที่สูงกว่าที่อื่นมีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจเข้ามาทำงานที่ภูเก็ต เพราะแรงงานในต่างจังหวัดที่เขามีตำแหน่งงานรองรับจะไม่เดินทางมาทำงานที่ภูเก็ต เนื่องจากค่าครองชีพภูเก็ตสูงกว่าที่อื่นมาก นอกจากนั้นในส่วนของผู้ประกอบการเองก็มีการแย่งแรงงานกันอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ตัวแรงงานเองก็เลือกที่จะทำงานตามห้างสรรพสินค้าแทนที่จะทำงานในโรงแรม เนื่องจากมีความสบายกว่า ทำให้แนวโน้มการขาดแคลนแรงงานในภูเก็ตยังวิกฤตต่อเนื่องไปจนถึงเดือน มี.ค.2555 ขณะที่ในช่วงโลว์ซีซันภูเก็ตก็ยังมีความต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก แต่ช่วงนั้นเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวเข้าน้อยทำให้ผู้ประกอบการพอใจที่จะใช้จำนวนพนักงานที่มีอยู่เดิมทำให้ไม่มีการแย่งแรงงานเกิดขึ้น
ขณะที่ นายภูริต มาศวงศ์ศา อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำหรับการขาดแคลนแรงงานในระดับต่างๆ ในสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตถือว่าอยู่ในขั้นที่น่าเป็นห่วง คาดว่าในพื้นที่ขณะนี้มีการขาดแคลนแรงงานไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 ตำแหน่ง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในตำแหน่งพนักงานต้อนรับ พนักงานฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานภายในครัว แม่บ้านและพนักงานด้านอื่นๆ ส่วนพนักงานในระดับหัวหน้างานและระดับบริหารไม่ขาดแคลน
สาเหตุที่ทำให้แรงงานในภาคท่องเที่ยวขาดแคลนนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น คนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังกลัวเรื่องสึนามิ เรื่องค่าครองชีพในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งสูงกว่าที่อื่นมาก ถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้คนจากที่อื่นไม่อยากที่จะเข้ามาทำงานในสถานประกอบการ เพราะเปรียบเทียบกันแล้วค่าครองชีพในภูเก็ตสูงกว่าที่อื่นเกือบ 1เท่าตัว ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้ผู้ใช้แรงงานไม่เดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
ด้านนายนพดล พลอยอยู่ดี จัดหางานจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ปัจจุบันภูเก็ตมีความต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของสถานประกอบการต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว จากการสำรวจความต้องการใช้แรงงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตพบว่าขณะนี้มีความต้องการใช้แรงงานไม่น้อยกว่า 3,000 ตำแหน่งที่ผ่านมา ภาครัฐพยายามที่จะแก้ไขปัญหา โดยการจัดงานวันนัดพบแรงงานภายในจังหวัดและต่างจังหวัด ปรากฏว่าการออกไปจัดงานในต่างจังหวัดไม่ได้รับความสนใจโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน เนื่องจากแรงงานเหล่านั้นยังฝังใจกับเหตุการณ์สึนามิถล่มทำให้ไม่กล้าที่จะเดินทางมาทำงานที่จังหวัดภูเก็ต และปัญหาที่สำคัญที่ทำให้แรงงานไม่เดินทางมาทำงานที่จังหวัดภูเก็ตคือปัญหาเรื่องของค่าครองชีพของจังหวัดภูเก็ตที่เมื่อเปรียบเทียบกับที่อื่นพบว่าค่าครองชีพของจังหวัดภูเก็ตสูงกว่าที่อื่นมาก