นายจำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บิรษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSL แจ้งผลงานงวดสิ้นปี 54 ( งวดเดือน พ.ย.53-ต.ค. 54 ) ว่าบริษัทมีกำไรสุทธิ 1,890 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปี 53 ที่ทำไว้ 159 ล้านบาท คิดเป็นกำไรเพิ่มขึ้น 1,731 ล้านบาท หรือ 1,809 % จากปี 53
เนื่องจากธุรกิจน้ำตาลในประเทศไทย มียอดขายน้ำตาลและราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น ขณะที่้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง จากปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยปรับลดลง ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขั้นต้นปรับตัวสูงขึ้ ซึ่งบริษัทมีปริมาณหีบอ้อยเพิ่มขึ้น 42% จาก 4,342,083 ตัน ในปี 53 เป็น 6,171,851 ตันในปี 54 และราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 54 ส่งผลให้ราคาขายน้ำตาลเฉลี่ยขอบริษัทเพิ่มขึ้น
แม้ว่าในปี 53 บริษัทได้รับผลกระทบจากการที่บริษัทมีปริมาณน้ำตาลที่สามารถส่งออกได้จริงต่ำกว่าปริมาณที่ทำสัญญา และปริมาณที่ป้องกันความเสี่ยงไว้ (oversold ) ซึ่งในปี 54 บริษัทไม่มีผลกระทบดังกล่าวในภาพรวม ส่งผลให้ธุรกิจน้ำตาลในประเทศไทยของบริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
ขณะที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ในปี 54 นั้น บริษัทผลิตกระแสไฟฟ้า จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพิ่มขึ้น 26% จาก 137,134 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ในปี 53 เป็น 172,879 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมงในปร 54 ส่วนหนึ่งเกิดจากโครงการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่บ่อพลอย เฟส 1 ได้เปิดดำเนินการแล้ว และราคาไฟฟ้าเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 3% ในภาพรวม ส่งผลให้ธุรกิจไฟฟ้าบริษัทมีประกอบการเพิ่มขึ้น 33% จาก 192 ล้านบาทในปี 53 เป็น 256 ล้านบาทในปี 54
นายจำรูญกล่าวถึงธุรกิจเอทานอลและปุ๋ย นั้น เนื่องจากราคาวัตถุดิบกากน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับราคาขายเอทานอลเฉลี่ยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่งผลให้กำไรต่อหน่วยลดลง ผลประกอบการในธุรกิจเอทานอลในภาพรวมปรับลดลงจาก 79 ล้านบาทในปี 53 เป็น 49 ล้านบาทในปี 54 ซึ่งในปี 54 บริษัทมีปริมาณขายเอทานอลทั้งหมด 29 ล้านลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
สำหรับธุรกิจน้ำตาลในต่างประเทศนั้น ผลประกอบการของบริษัทมีผลขาดทุนลดลง ในปี 53 บริษัทมีผลขาดทุนที่กระทบต่องบรวมทั้งสิ้น 285 ล้านบาท ในปี 54 บริษัทขาดทุนลดลงเหลือ 68 ล้านบาท ด้วยเหตุที่ในปี 54 บริษัทมีปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้นและราคาขายน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้น
*************************
เนื่องจากธุรกิจน้ำตาลในประเทศไทย มียอดขายน้ำตาลและราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น ขณะที่้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง จากปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยปรับลดลง ส่งผลให้บริษัทมีกำไรขั้นต้นปรับตัวสูงขึ้ ซึ่งบริษัทมีปริมาณหีบอ้อยเพิ่มขึ้น 42% จาก 4,342,083 ตัน ในปี 53 เป็น 6,171,851 ตันในปี 54 และราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 54 ส่งผลให้ราคาขายน้ำตาลเฉลี่ยขอบริษัทเพิ่มขึ้น
แม้ว่าในปี 53 บริษัทได้รับผลกระทบจากการที่บริษัทมีปริมาณน้ำตาลที่สามารถส่งออกได้จริงต่ำกว่าปริมาณที่ทำสัญญา และปริมาณที่ป้องกันความเสี่ยงไว้ (oversold ) ซึ่งในปี 54 บริษัทไม่มีผลกระทบดังกล่าวในภาพรวม ส่งผลให้ธุรกิจน้ำตาลในประเทศไทยของบริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
ขณะที่ผลิตกระแสไฟฟ้า ในปี 54 นั้น บริษัทผลิตกระแสไฟฟ้า จำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เพิ่มขึ้น 26% จาก 137,134 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง ในปี 53 เป็น 172,879 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมงในปร 54 ส่วนหนึ่งเกิดจากโครงการลงทุนในโรงไฟฟ้าที่บ่อพลอย เฟส 1 ได้เปิดดำเนินการแล้ว และราคาไฟฟ้าเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 3% ในภาพรวม ส่งผลให้ธุรกิจไฟฟ้าบริษัทมีประกอบการเพิ่มขึ้น 33% จาก 192 ล้านบาทในปี 53 เป็น 256 ล้านบาทในปี 54
นายจำรูญกล่าวถึงธุรกิจเอทานอลและปุ๋ย นั้น เนื่องจากราคาวัตถุดิบกากน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับราคาขายเอทานอลเฉลี่ยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ส่งผลให้กำไรต่อหน่วยลดลง ผลประกอบการในธุรกิจเอทานอลในภาพรวมปรับลดลงจาก 79 ล้านบาทในปี 53 เป็น 49 ล้านบาทในปี 54 ซึ่งในปี 54 บริษัทมีปริมาณขายเอทานอลทั้งหมด 29 ล้านลิตร ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
สำหรับธุรกิจน้ำตาลในต่างประเทศนั้น ผลประกอบการของบริษัทมีผลขาดทุนลดลง ในปี 53 บริษัทมีผลขาดทุนที่กระทบต่องบรวมทั้งสิ้น 285 ล้านบาท ในปี 54 บริษัทขาดทุนลดลงเหลือ 68 ล้านบาท ด้วยเหตุที่ในปี 54 บริษัทมีปริมาณอ้อยเข้าหีบที่เพิ่มขึ้นและราคาขายน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้น
*************************