ASTVผู้จัดการรายวัน- “เอกชน”อัดนโยบายรัฐบาลทำลายบรรยากาศลงทุนทั้งดอกเบี้ยสูง - ค่าแรงพุ่ง ดีแต่พูดว่ากระตุ้นเศรษฐกิจภาพบริหารจัดการน้ำก็ยังไม่เห็นชัดเจน จี้ธปท.ลดดอกเบี้ยลงอีก 1.5-2% เหตุแพงกว่าเพื่อนบ้านมาก ขณะที่ค่าแรงเล็ง 2 ทางเลือกจ่อฟ้องศาลฯหรือให้รัฐเข้ามาอุดหนุน
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า นโยบายรัฐบาลระบุที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างบรรยากาศการลงทุนแต่หากพิจารณาจากมาตรการที่สำคัญแล้วกลับทำตรงกันข้ามโดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มจะเป็นขาขึ้นในปี 2555 เช่นเดียวกับค่าจ้างแรงงานที่จะปรับขึ้นนำร่องใน 7 จังหวัดวันที่ 1 เม.ย. 55 เช่นกัน
ดังนั้นจึงเห็นว่ารัฐบาลควรจะทบทวนนโยบายทั้งสองด้านนี้ รวมถึงความชัดเจนในการบริหารจัดการน้ำที่จะต้องเร่งออกมาให้เร็วที่สุดเพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุน
ล่าสุดที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% นั้นถือว่าต่ำมาก เพราะภาพรวมไทยยังมีอัตราดอกเบี้ยสูงอยู่ถึง 3% ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเฉลี่ยเพียง 1% เท่านั้น ดังนั้นภาคเอกชนต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ลดอัตราดอกเบี้ยลงมา 1.5-2% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งปัจจุบันได้รับกระทบจากน้ำท่วมให้สามารถฟื้นตัวในการแข่งขันได้
“รัฐบาลบอกว่าต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ ถือว่าไม่ได้สอดคล้องกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่แท้จริงเลย และในปี 2555 อัตราดอกเบี้ยก็ยังเป็นช่วงขาขึ้นอยู่ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตสูงอยู่ หากยังเป็นแบบนี้ก็จะทำให้โรงงานต่างๆอยู่ยาก”นายสมมาต กล่าว
นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังต้องการให้รัฐบาลทบทวนนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันในเดือนเม.ย.2555 ใหม่ โดยขณะนี้เอกชนมี 2 แนวทางที่จะดำเนินการคือ 1.ให้สมาชิกฟ้องศาลปกครองทั้ง 4 ภาค เพื่อขอให้ระงับการปรับขึ้นค่าจ้าง เนื่องจากมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง
2.ต้องการให้รัฐบาลช่วยอุดหนุนในการปรับขึ้นค่าแรงนำร่องใน 7 จังหวัด ซึ่งเท่ากับว่าจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก 85 บาทต่อวันนั้น จึงอยากให้รัฐบาลอุดหนุนเป็นขั้น และให้เอกชนทยอยจ่ายคืนเพื่อลดภาระการชดเชยของรัฐบาลจนครบการชดเชยในกรอบระยะเวลา 4 ปี
นายสมมาต กล่าวว่า ยกตัวอย่างเช่น ปีแรกเอกชนจะออกให้ 21.50 บาทต่อวัน ส่วนที่เหลืออีก 63.50 บาทต่อวันให้รัฐช่วยอุดหนุนให้ พอปี2556 เอกชนจ่าย 43 บาท รัฐจ่าย 42 บาท และปี2557 เอกชนจ่าย 65 บาท รัฐออก20บาท พอปี2558 เอกชนก็จะจ่ายเต็ม100%ที่ 85 บาทต่อวัน
“การปรับขึ้นค่าแรงปีละ 20 บาทก็ถือว่าสูงแล้วแต่เอกชนก็ยังพอรับไหว แต่เมื่อรัฐบาลออกนโยบายประชานิยมแบบนี้ ก็ไม่ควรจะผลักภาระให้เอกชนฝ่ายเดียว รัฐเองก็ต้องรับผิดชอบด้วย โดยการมาช่วยอุดหนุนแบบขั้นบันได เพื่อให้ทุกฝ่ายประคองตัวอยู่รอด ไม่อยากให้เหมือนกับประเทศจีนที่ปัจจุบันแต่ละมลฑลจะประกาศขึ้นค่าแรงเท่าไหร่ก็ได้
จนสุดท้ายนักลงทุนก็หนีไปที่อื่นแทน”นายสมมาต กล่าว
นายสมมาต ขุนเศษฐ รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เปิดเผยว่า นโยบายรัฐบาลระบุที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างบรรยากาศการลงทุนแต่หากพิจารณาจากมาตรการที่สำคัญแล้วกลับทำตรงกันข้ามโดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มจะเป็นขาขึ้นในปี 2555 เช่นเดียวกับค่าจ้างแรงงานที่จะปรับขึ้นนำร่องใน 7 จังหวัดวันที่ 1 เม.ย. 55 เช่นกัน
ดังนั้นจึงเห็นว่ารัฐบาลควรจะทบทวนนโยบายทั้งสองด้านนี้ รวมถึงความชัดเจนในการบริหารจัดการน้ำที่จะต้องเร่งออกมาให้เร็วที่สุดเพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุน
ล่าสุดที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพียง 0.25% นั้นถือว่าต่ำมาก เพราะภาพรวมไทยยังมีอัตราดอกเบี้ยสูงอยู่ถึง 3% ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเฉลี่ยเพียง 1% เท่านั้น ดังนั้นภาคเอกชนต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ลดอัตราดอกเบี้ยลงมา 1.5-2% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งปัจจุบันได้รับกระทบจากน้ำท่วมให้สามารถฟื้นตัวในการแข่งขันได้
“รัฐบาลบอกว่าต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ ถือว่าไม่ได้สอดคล้องกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่แท้จริงเลย และในปี 2555 อัตราดอกเบี้ยก็ยังเป็นช่วงขาขึ้นอยู่ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตสูงอยู่ หากยังเป็นแบบนี้ก็จะทำให้โรงงานต่างๆอยู่ยาก”นายสมมาต กล่าว
นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังต้องการให้รัฐบาลทบทวนนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันในเดือนเม.ย.2555 ใหม่ โดยขณะนี้เอกชนมี 2 แนวทางที่จะดำเนินการคือ 1.ให้สมาชิกฟ้องศาลปกครองทั้ง 4 ภาค เพื่อขอให้ระงับการปรับขึ้นค่าจ้าง เนื่องจากมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง
2.ต้องการให้รัฐบาลช่วยอุดหนุนในการปรับขึ้นค่าแรงนำร่องใน 7 จังหวัด ซึ่งเท่ากับว่าจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก 85 บาทต่อวันนั้น จึงอยากให้รัฐบาลอุดหนุนเป็นขั้น และให้เอกชนทยอยจ่ายคืนเพื่อลดภาระการชดเชยของรัฐบาลจนครบการชดเชยในกรอบระยะเวลา 4 ปี
นายสมมาต กล่าวว่า ยกตัวอย่างเช่น ปีแรกเอกชนจะออกให้ 21.50 บาทต่อวัน ส่วนที่เหลืออีก 63.50 บาทต่อวันให้รัฐช่วยอุดหนุนให้ พอปี2556 เอกชนจ่าย 43 บาท รัฐจ่าย 42 บาท และปี2557 เอกชนจ่าย 65 บาท รัฐออก20บาท พอปี2558 เอกชนก็จะจ่ายเต็ม100%ที่ 85 บาทต่อวัน
“การปรับขึ้นค่าแรงปีละ 20 บาทก็ถือว่าสูงแล้วแต่เอกชนก็ยังพอรับไหว แต่เมื่อรัฐบาลออกนโยบายประชานิยมแบบนี้ ก็ไม่ควรจะผลักภาระให้เอกชนฝ่ายเดียว รัฐเองก็ต้องรับผิดชอบด้วย โดยการมาช่วยอุดหนุนแบบขั้นบันได เพื่อให้ทุกฝ่ายประคองตัวอยู่รอด ไม่อยากให้เหมือนกับประเทศจีนที่ปัจจุบันแต่ละมลฑลจะประกาศขึ้นค่าแรงเท่าไหร่ก็ได้
จนสุดท้ายนักลงทุนก็หนีไปที่อื่นแทน”นายสมมาต กล่าว