ASTVผู้จัดการรายวัน - ธ.ก.ส. ยืนยันไม่มีนโยบายบังคับเกษตรกร ซื้อปุ๋ยเพื่อแลกกับการทำสัญญากู้เงิน ชี้ที่ผ่านมามุ่งสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร หวังช่วยสร้างอำนาจต่อรองทางการตลาดให้ชาวบ้านเท่านั้น
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากการที่มีเกษตรกรร้องเรียนว่าถูก ธ.ก.ส. อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี บังคับให้ซื้อปุ๋ยจากสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) อย่างน้อยคนละ 3 กระสอบราคาตั้งแต่ 600-900 บาท เพื่อแลกกับการทำสัญญาปล่อยเงินกู้ให้ และหากเกษตรกรรายไหนไม่ยอมซื้อก็จะไม่ปล่อยสินเชื่อให้นั้น
ขอชี้แจงว่า ธ.ก.ส.ไม่มีนโยบายในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สั่งการให้นายณรงค์ งามพริ้ง ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.จังหวัดอุบลราชธานีเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกค้า ซึ่งหากลูกค้าไม่ประสงค์จะซื้อปุ๋ย ก็ให้ดำเนินการตามที่เกษตรกรลูกค้าต้องการ และหากพบว่ามีการบังคับให้ลูกค้าซื้อปุ๋ยจริง ธนาคารจะพิจารณาสวบสวนข้อเท็จจริง ตามระเบียบวิธีปฏิบัติของของธนาคารต่อไป
ทั้งนี้ในการขอสินเชื่อเพื่อนำไปใช้ในการผลิตทางการเกษตร เกษตรกรจะต้องระบุว่าจะนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการในเรื่องใดบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ระบุว่า จะนำไปใช้เป็นค่าปัจจัยการผลิต เช่น ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเมล็ดพันธุ์ ซึ่งลักษณะการจ่ายสินเชื่อของ ธ.ก.ส. จะจ่ายตามความจำเป็น เช่น ระบุซื้อปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ต้องมีการซื้อจริงๆ ไม่ใช่นำไปทำอย่างอื่น ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เกษตรกรนำเงินไปใช้จ่ายผิดวัตถุประสงค์และกลายเป็นภาระหนี้สินโดยไม่จำเป็น
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันในลักษณะรวมกันซื้อ รวมกันขายเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการตลาด ในรูปแบบของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. หรือ สกต. ซึ่งถือเป็นองค์กรหรือสถาบันของเกษตรกรเอง ดังนั้น เมื่อมีการทำธุรกรรมทั้งด้านการซื้อและการขาย พนักงาน ธ.ก.ส. จึงแนะนำหรือส่งเสริมให้เกษตรกรทำธุรกรรมกับ สกต. ก่อนเพราะสามารถตรวจสอบได้ง่ายทั้งด้านคุณภาพ ความยุติธรรม ขณะเดียวกันผลประโยชน์โดยรวมก็จะกลับคืนสู่สมาชิกซึ่งก็คือเกษตรกรลูกค้านั่นเอง แต่สิ่งที่พนักงาน ธ.ก.ส. ทำได้คือการแนะนำเท่านั้น ห้ามมีการบังคับอย่างเด็ดขาด ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีการกำชับเป็นกรณีพิเศษ รวมถึงการระมัดระวังในการใช้คำพูดซึ่งอาจทำให้เกษตรกรเข้าใจผิดว่าเป็นการบังคับ
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากการที่มีเกษตรกรร้องเรียนว่าถูก ธ.ก.ส. อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี บังคับให้ซื้อปุ๋ยจากสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. (สกต.) อย่างน้อยคนละ 3 กระสอบราคาตั้งแต่ 600-900 บาท เพื่อแลกกับการทำสัญญาปล่อยเงินกู้ให้ และหากเกษตรกรรายไหนไม่ยอมซื้อก็จะไม่ปล่อยสินเชื่อให้นั้น
ขอชี้แจงว่า ธ.ก.ส.ไม่มีนโยบายในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้สั่งการให้นายณรงค์ งามพริ้ง ผู้อำนวยการ ธ.ก.ส.จังหวัดอุบลราชธานีเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกค้า ซึ่งหากลูกค้าไม่ประสงค์จะซื้อปุ๋ย ก็ให้ดำเนินการตามที่เกษตรกรลูกค้าต้องการ และหากพบว่ามีการบังคับให้ลูกค้าซื้อปุ๋ยจริง ธนาคารจะพิจารณาสวบสวนข้อเท็จจริง ตามระเบียบวิธีปฏิบัติของของธนาคารต่อไป
ทั้งนี้ในการขอสินเชื่อเพื่อนำไปใช้ในการผลิตทางการเกษตร เกษตรกรจะต้องระบุว่าจะนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายดำเนินการในเรื่องใดบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ระบุว่า จะนำไปใช้เป็นค่าปัจจัยการผลิต เช่น ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเมล็ดพันธุ์ ซึ่งลักษณะการจ่ายสินเชื่อของ ธ.ก.ส. จะจ่ายตามความจำเป็น เช่น ระบุซื้อปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ต้องมีการซื้อจริงๆ ไม่ใช่นำไปทำอย่างอื่น ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เกษตรกรนำเงินไปใช้จ่ายผิดวัตถุประสงค์และกลายเป็นภาระหนี้สินโดยไม่จำเป็น
นอกจากนี้ ธ.ก.ส. มีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันในลักษณะรวมกันซื้อ รวมกันขายเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการตลาด ในรูปแบบของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. หรือ สกต. ซึ่งถือเป็นองค์กรหรือสถาบันของเกษตรกรเอง ดังนั้น เมื่อมีการทำธุรกรรมทั้งด้านการซื้อและการขาย พนักงาน ธ.ก.ส. จึงแนะนำหรือส่งเสริมให้เกษตรกรทำธุรกรรมกับ สกต. ก่อนเพราะสามารถตรวจสอบได้ง่ายทั้งด้านคุณภาพ ความยุติธรรม ขณะเดียวกันผลประโยชน์โดยรวมก็จะกลับคืนสู่สมาชิกซึ่งก็คือเกษตรกรลูกค้านั่นเอง แต่สิ่งที่พนักงาน ธ.ก.ส. ทำได้คือการแนะนำเท่านั้น ห้ามมีการบังคับอย่างเด็ดขาด ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีการกำชับเป็นกรณีพิเศษ รวมถึงการระมัดระวังในการใช้คำพูดซึ่งอาจทำให้เกษตรกรเข้าใจผิดว่าเป็นการบังคับ