จากกระแสข่าวที่ว่าจะมีการปรับ ครม. ในช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,827 คน ระหว่างวันที่ 13-17 ธ.ค.54 สรุปผลได้ดังนี้ โดยพิจารณาถึง คุณสมบัติ และความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งต่างๆ ของรมต.เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลต่อการบริหารงานและเสถียรภาพของรัฐบาลว่าจะมั่นคงมากขึ้นหรือไม่ ? ซึ่งสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
1. ประชาชนคิดว่าถึงเวลาที่ควรปรับ “ครม.” หรือไม่ ? อันดับ 1 ถึงเวลาแล้ว
59.23 % เพราะรัฐบาลยังไม่มีผลงานให้เห็น รมต.บางกระทรวง มีผลงานไม่โดดเด่น และมีความขัดแย้งกันเอง ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 21.18 % เพราะไม่รู้ว่าปรับครม.แล้ว จะดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิม อาจเป็นเพียงกระแสข่าวที่ปล่อยออกมา ฯลฯ อันดับ 3 ยังไม่ถึงเวลา 19.59 %
เพราะ เป็นการปรับครม.ที่เร็วเกินไป ช่วงที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาก็ประสบกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ยังไม่ทันได้ทำงานอื่นตามที่แถลงไว้ ฯลฯ
2. ช่วงเวลาที่ประชาชนคิดว่าควรปรับ ครม. อันดับ 1 ปรับกลางเดือนมกราคม
44.91% อันดับ 2 รอให้ครบ 6 เดือนก่อน 29.47 % อันดับ 3 ปรับต้นเดือนมกราคม 16.40 %
อันดับ 4 ปรับด่วน ณ วันนี้ 9.22 %
3. หากมีการปรับครม. ตามที่เสนอข่าวจริง ประชาชนคิดว่าควรปรับอย่างไร ? อันดับ 1 ปรับเฉพาะบางตำแหน่ง 42.59 % เพราะหากปรับหมดทั้งคณะ จะทำให้การบริหารบ้านเมืองหยุดชะงัก , ควรปรับเปลี่ยนเฉพาะบางกระทรวงที่มีปัญหาจริงๆ ฯลฯ อันดับ 2
ปรับใหม่ทุกตำแหน่ง 36.56 % เพราะยังไม่เห็น รมต.กระทรวงใดที่มีผลงานโดดเด่น , เพื่อความยุติธรรมสำหรับพรรคร่วมรัฐบาลและรมต.ทุกคน ฯลฯ อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 20.85 %
เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกฯ แต่ขอให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ฯลฯ
4. กระทรวงที่ประชาชนเห็นว่าสมควรปรับรัฐมนตรีมากที่สุด อันดับ 1
กระทรวงมหาดไทย 29.23 % อันดับ 2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 20.12 % อันดับ 3
กระทรวงคมนาคม 17.81 % อันดับ 4 กระทรวงศึกษาธิการ 16.93 % อันดับ 5 กระทรวงยุติธรรม 15.91 %
5. ประชาชนคิดว่าการปรับครม. จะทำให้รัฐบาลมั่นคงมากน้อยเพียงใด ?
อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 57.89 % เพราะ ตัวนายกฯ เองจะต้องเด็ดขาด ,ขึ้นอยู่กับการยอมรับของคนในพรรคและพรรคร่วมรัฐบาล ฯลฯ อันดับ 2 มั่นคงมากขึ้น 34.64 % เพราะช่วยลดความขัดแย้งทางการเมือง ,ได้คนดีมีฝีมือเข้ามาทำงาน ,รัฐบาลมีเสถียรภาพและบริหารงานได้ดีขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 มั่นคงน้อยลง 7.47 % เพราะคิดว่าการจัดสรรตำแหน่งคงพิจารณาจากระบบพวกพ้องมากกว่าความรู้ความสามารถหรือความเหมาะสม ฯลฯ
** เอแบคโพลค้านปรับครม.อ้างสุมไฟขัดแย้ง
ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย เอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องการปรับ ครม. ความขัดแย้ง และปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,965 ตัวอย่างจาก 17 จังหวัดของประเทศ ระหว่างวันที่ 12-17 ธ.ค. 54 โดยผลสำรวจที่สำคัญ พบว่า
เมื่อถามถึงช่วงเวลานี้เหมาะสมหรือไม่ในการปรับครม. พบว่า ส่วนใหญ่ คือ 62.5 % ระบุ ยังไม่เหมาะสม เพราะเร็วเกินไป เกรงจะเกิดความวุ่นวาย ควรเร่งทำงานหนักสร้างผลงานดีกว่า ควรให้โอกาสพิสูจน์ผลงาน ปรับครม.ไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ยังไม่เห็นว่าใครจะมีฝีมือ ยังไม่ถึงเวลา และให้รอสมาชิกบ้านเลขที่ 111 เป็นต้น
ในขณะที่ 37.5 % เห็นว่าเหมาะสมแล้ว เพราะรัฐมนตรีบางคนไม่มีประสิทธิภาพ บางคนรวบอำนาจไว้คนเดียว บางคนทำงานไม่เป็น ไม่มีประสบการณ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ การคาดการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในหมู่ประชาชนในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 47.3 % คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้น เมื่อถามถึงความกังวลต่อสถานการณ์รุนแรงบานปลายในช่วงเทศกาลปีใหม่ พบว่า เกินครึ่ง หรือ 52.9 % กังวล ในขณะที่ 47.1 %ไม่กังวล
สำหรับการคาดการณ์ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า 54.8 % คาดว่าจะมากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่าง 83.7 % ระบุ ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะประกาศทำสงครามคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
1. ประชาชนคิดว่าถึงเวลาที่ควรปรับ “ครม.” หรือไม่ ? อันดับ 1 ถึงเวลาแล้ว
59.23 % เพราะรัฐบาลยังไม่มีผลงานให้เห็น รมต.บางกระทรวง มีผลงานไม่โดดเด่น และมีความขัดแย้งกันเอง ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 21.18 % เพราะไม่รู้ว่าปรับครม.แล้ว จะดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิม อาจเป็นเพียงกระแสข่าวที่ปล่อยออกมา ฯลฯ อันดับ 3 ยังไม่ถึงเวลา 19.59 %
เพราะ เป็นการปรับครม.ที่เร็วเกินไป ช่วงที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาก็ประสบกับปัญหาน้ำท่วมใหญ่ ยังไม่ทันได้ทำงานอื่นตามที่แถลงไว้ ฯลฯ
2. ช่วงเวลาที่ประชาชนคิดว่าควรปรับ ครม. อันดับ 1 ปรับกลางเดือนมกราคม
44.91% อันดับ 2 รอให้ครบ 6 เดือนก่อน 29.47 % อันดับ 3 ปรับต้นเดือนมกราคม 16.40 %
อันดับ 4 ปรับด่วน ณ วันนี้ 9.22 %
3. หากมีการปรับครม. ตามที่เสนอข่าวจริง ประชาชนคิดว่าควรปรับอย่างไร ? อันดับ 1 ปรับเฉพาะบางตำแหน่ง 42.59 % เพราะหากปรับหมดทั้งคณะ จะทำให้การบริหารบ้านเมืองหยุดชะงัก , ควรปรับเปลี่ยนเฉพาะบางกระทรวงที่มีปัญหาจริงๆ ฯลฯ อันดับ 2
ปรับใหม่ทุกตำแหน่ง 36.56 % เพราะยังไม่เห็น รมต.กระทรวงใดที่มีผลงานโดดเด่น , เพื่อความยุติธรรมสำหรับพรรคร่วมรัฐบาลและรมต.ทุกคน ฯลฯ อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 20.85 %
เพราะ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกฯ แต่ขอให้คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ ฯลฯ
4. กระทรวงที่ประชาชนเห็นว่าสมควรปรับรัฐมนตรีมากที่สุด อันดับ 1
กระทรวงมหาดไทย 29.23 % อันดับ 2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 20.12 % อันดับ 3
กระทรวงคมนาคม 17.81 % อันดับ 4 กระทรวงศึกษาธิการ 16.93 % อันดับ 5 กระทรวงยุติธรรม 15.91 %
5. ประชาชนคิดว่าการปรับครม. จะทำให้รัฐบาลมั่นคงมากน้อยเพียงใด ?
อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 57.89 % เพราะ ตัวนายกฯ เองจะต้องเด็ดขาด ,ขึ้นอยู่กับการยอมรับของคนในพรรคและพรรคร่วมรัฐบาล ฯลฯ อันดับ 2 มั่นคงมากขึ้น 34.64 % เพราะช่วยลดความขัดแย้งทางการเมือง ,ได้คนดีมีฝีมือเข้ามาทำงาน ,รัฐบาลมีเสถียรภาพและบริหารงานได้ดีขึ้น ฯลฯ
อันดับ 3 มั่นคงน้อยลง 7.47 % เพราะคิดว่าการจัดสรรตำแหน่งคงพิจารณาจากระบบพวกพ้องมากกว่าความรู้ความสามารถหรือความเหมาะสม ฯลฯ
** เอแบคโพลค้านปรับครม.อ้างสุมไฟขัดแย้ง
ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย เอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องการปรับ ครม. ความขัดแย้ง และปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,965 ตัวอย่างจาก 17 จังหวัดของประเทศ ระหว่างวันที่ 12-17 ธ.ค. 54 โดยผลสำรวจที่สำคัญ พบว่า
เมื่อถามถึงช่วงเวลานี้เหมาะสมหรือไม่ในการปรับครม. พบว่า ส่วนใหญ่ คือ 62.5 % ระบุ ยังไม่เหมาะสม เพราะเร็วเกินไป เกรงจะเกิดความวุ่นวาย ควรเร่งทำงานหนักสร้างผลงานดีกว่า ควรให้โอกาสพิสูจน์ผลงาน ปรับครม.ไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ยังไม่เห็นว่าใครจะมีฝีมือ ยังไม่ถึงเวลา และให้รอสมาชิกบ้านเลขที่ 111 เป็นต้น
ในขณะที่ 37.5 % เห็นว่าเหมาะสมแล้ว เพราะรัฐมนตรีบางคนไม่มีประสิทธิภาพ บางคนรวบอำนาจไว้คนเดียว บางคนทำงานไม่เป็น ไม่มีประสบการณ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ การคาดการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในหมู่ประชาชนในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 47.3 % คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้น เมื่อถามถึงความกังวลต่อสถานการณ์รุนแรงบานปลายในช่วงเทศกาลปีใหม่ พบว่า เกินครึ่ง หรือ 52.9 % กังวล ในขณะที่ 47.1 %ไม่กังวล
สำหรับการคาดการณ์ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า 54.8 % คาดว่าจะมากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่าง 83.7 % ระบุ ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะประกาศทำสงครามคอร์รัปชันทุกรูปแบบ