ศูนย์วิจัยเอแบคโพลล์ เผย 62.5% ชี้ยังไม่เหมาะปรับ ครม. 47.3% เชื่ออีก 3 เดือนการเมืองขัดแย้งหนัก 52.9% หวั่นเหตุร้ายปีใหม่ 54.8% คาดอีก 6 เดือนรัฐโกงเพียบ 54.2% เชื่อ ขรก.ก็เรียกเงินใต้โต๊ะเพิ่ม 71.7% แฉนักการเมือง จนท.รัฐ โกงรวยขึ้นแถมพ้นผิด 83.7% จี้ทำสงครามปราบคอรัปชั่น
วันนี้ (18 ธ.ค.) นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผลผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง "การปรับครม. ความขัดแย้ง และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในสายตาประชาชน" กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,965 ตัวอย่าง จาก 17 จังหวัดของประเทศ พบว่า เมื่อถามถึงช่วงเวลานี้เหมาะสมหรือไม่ในการปรับคณะรัฐมนตรีพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.5 ระบุยังไม่เหมาะสม เพราะเร็วเกินไป เกรงจะเกิดความวุ่นวาย เร่งทำงานหนักสร้างผลงานดีกว่า ควรให้โอกาสพิสูจน์ผลงาน ปรับคณะรัฐมนตรีไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ยังไม่เห็นว่าใครจะมีฝีมือ ยังไม่ถึงเวลา และให้รอสมาชิกบ้านเลขที่ 111 เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 37.5 เห็นว่า เหมาะสมแล้ว เพราะ รัฐมนตรีบางคนไม่มีประสิทธิภาพ บางคนรวบอำนาจไว้คนเดียว บางคนทำงานไม่เป็น ไม่มีประสบการณ์ เป็นต้น
เมื่อถามถึง การคาดการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในหมู่ประชาชนในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ร้อยละ 47.3 คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 38.9 จะเท่าเดิม และร้อยละ 13.8 คาดว่าจะลดลง เมื่อถามถึงความกังวลต่อสถานการณ์รุนแรงบานปลายในช่วงเทศกาลปีใหม่ พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.9 กังวล ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ไม่กังวล
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึง การคาดการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.8 คาดว่าจะมากขึ้น ร้อยละ 31.8 จะเท่าเดิม และร้อยละ 13.4 คาดว่าจะน้อยลง
นอกจากนี้ เกินครึ่งเช่นกันหรือร้อยละ 54.2 คาดว่า ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นและการเรียกเงินใต้โต๊ะในกลุ่มข้าราชการในอีก 6 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 32.4 จะเท่าเดิม และร้อยละ 13.4 คาดว่าจะน้อยลง
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ระบุพบเห็นเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่ทุจริต คอรัปชั่นแล้วถูกลงโทษลงทัณฑ์ ตกระกำลำบากค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด มีเพียงร้อยละ 32.1 ที่ระบุเคยพบเห็นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ตรงกันข้ามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.7 พบเห็นเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่นแล้วร่ำรวย เอาตัวรอด พ้นความผิดค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 28.3 ที่พบเห็นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาลเนื่องจากมีสัดส่วนสูงมากหรือร้อยละ 83.7 ระบุถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะประกาศทำสงครามคอรัปชั่นทุกรูปแบบ ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ไม่คิดเช่นนั้น
นอกจากนี้ ดร.นพดล ยังชี้ให้เห็นอีกว่า ในช่วงเวลานี้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจสวนทางกับความรู้สึกของบรรดานักการเมืองฝ่ายรัฐบาลบางคนที่อยากขึ้นมามีอำนาจเป็นรัฐมนตรี ดังนั้นข้อเสนอแนะคือ ถ้าจะปรับคณะรัฐมนตรีก็น่าจะปรับเอาคนที่มีพยานหลักฐานชัดเจนว่าไม่สุจริต เป็นตัวตั้งในการตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี เพราะประชาชนยังเห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรีไม่ได้ทำให้ประชาชนได้อะไรหรือไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นมากกว่าเดิม
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ยังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ความกังวลของประชาชนต่อการสร้างสถานการณ์รุนแรงในช่วงปีใหม่ที่รัฐบาลจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาชนและการบูรณาการด้านการข่าวทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เห็นได้ชัดในกรณี การเก็บกู้วัตถุระเบิดได้อย่างปลอดภัยของหน่วยงานด้านความมั่นคงโดยไม่มีการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์ของประชาชน ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วจะถือว่า "เป็นความสำเร็จ" ของการเชื่อมประสานการทำงานระหว่างภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ในประเทศไทยกลับมีการมองกันว่า "เป็นการจัดฉาก" แสดงว่า หน่วยงานของรัฐต้องทำงานอย่างจริงจังต่อเนื่องเพื่อสร้างความวางใจในหมู่ประชาชนและสังคมระดับกว้างให้มากยิ่งขึ้น ทางออกคือการปรากฎตัวของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงทั้ง ภาคประชาชน ทหาร ตำรวจ รถสายตรวจที่เปิดไฟไซเรนพร้อมปฏิบัติการอย่างรวดเร็วฉับไว หรือ Stand by ในจุดล่อแหลม จุดเสี่ยง และการข่าวในระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คลดอาชญากรรมสร้างความอบอุ่นใจในหมู่ประชาชน
"ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ปัญหาคอรัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่ยังไม่มีสัญญาณที่ดีในการแก้ไขได้อย่างจริงจังต่อเนื่อง ดังนั้น ข้อเสนอแนะคือ ฝ่ายการเมืองอาจช่วยกันแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมบางประการเพื่อแก้ไขปัญหาการรีดไถ ส่งส่วย ภาษีใต้ดิน นำขึ้นมาเข้าสู่ระบบกระบวนการที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น คนที่ทำผิดกฎจราจร ก็ต้องเสียค่าปรับที่ศาล มีใบเสร็จรับเงินระบุชัดเจนว่า ต้องจ่ายให้ชุมชนท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่เพื่อสุขภาวะของคนในชุมชนเท่าไหร่ ต้องจ่ายให้ห้องสมุดประชาชนเพื่อการศึกษาของคนในชุมชนท้องที่เกิดเหตุเท่าไหร่ ต้องจ่ายให้ตำรวจเท่าไหร่ ต้องจ่ายให้รัฐบาลกลางในการพัฒนาประเทศเท่าไหร่ และต้องจ่ายเป็นค่างานธุรการของศาล เป็นต้น นั่นคือการทำทุกอย่างให้เห็นอย่างโปร่งใสน่าจะช่วยลดทอนความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชน และควบคุมพฤติกรรมการทำผิดของคนไปได้บ้าง มิฉะนั้น อาจมีคำถามว่าถูกรีดไถหรือโดนปรับแล้วเงินเอาไปทำอะไรเอาไปให้ใคร นอกจากนี้ น่าจะนำเอาเรื่องเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมมาแจกแจงให้สาธารณชนสามารถแกะรอยไปได้ว่าเงินถึงมือผู้ประสบภัยที่ไหนบ้างผ่านเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น การทำทุกอย่างให้โปร่งใสน่าจะช่วยลดปัจจัยสำคัญที่จะถูกอ้างมาเป็นเงื่อนไขใช้อำนาจพิเศษเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ไปอีกหนึ่งองค์ประกอบ" ดร.นพดล กล่าว
วันนี้ (18 ธ.ค.) นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผลผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง "การปรับครม. ความขัดแย้ง และปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในสายตาประชาชน" กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,965 ตัวอย่าง จาก 17 จังหวัดของประเทศ พบว่า เมื่อถามถึงช่วงเวลานี้เหมาะสมหรือไม่ในการปรับคณะรัฐมนตรีพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.5 ระบุยังไม่เหมาะสม เพราะเร็วเกินไป เกรงจะเกิดความวุ่นวาย เร่งทำงานหนักสร้างผลงานดีกว่า ควรให้โอกาสพิสูจน์ผลงาน ปรับคณะรัฐมนตรีไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ยังไม่เห็นว่าใครจะมีฝีมือ ยังไม่ถึงเวลา และให้รอสมาชิกบ้านเลขที่ 111 เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 37.5 เห็นว่า เหมาะสมแล้ว เพราะ รัฐมนตรีบางคนไม่มีประสิทธิภาพ บางคนรวบอำนาจไว้คนเดียว บางคนทำงานไม่เป็น ไม่มีประสบการณ์ เป็นต้น
เมื่อถามถึง การคาดการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในหมู่ประชาชนในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ร้อยละ 47.3 คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 38.9 จะเท่าเดิม และร้อยละ 13.8 คาดว่าจะลดลง เมื่อถามถึงความกังวลต่อสถานการณ์รุนแรงบานปลายในช่วงเทศกาลปีใหม่ พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.9 กังวล ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ไม่กังวล
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึง การคาดการณ์ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.8 คาดว่าจะมากขึ้น ร้อยละ 31.8 จะเท่าเดิม และร้อยละ 13.4 คาดว่าจะน้อยลง
นอกจากนี้ เกินครึ่งเช่นกันหรือร้อยละ 54.2 คาดว่า ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นและการเรียกเงินใต้โต๊ะในกลุ่มข้าราชการในอีก 6 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 32.4 จะเท่าเดิม และร้อยละ 13.4 คาดว่าจะน้อยลง
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ระบุพบเห็นเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่ทุจริต คอรัปชั่นแล้วถูกลงโทษลงทัณฑ์ ตกระกำลำบากค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด มีเพียงร้อยละ 32.1 ที่ระบุเคยพบเห็นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ตรงกันข้ามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.7 พบเห็นเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่ทุจริตคอรัปชั่นแล้วร่ำรวย เอาตัวรอด พ้นความผิดค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 28.3 ที่พบเห็นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาลเนื่องจากมีสัดส่วนสูงมากหรือร้อยละ 83.7 ระบุถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะประกาศทำสงครามคอรัปชั่นทุกรูปแบบ ในขณะที่ร้อยละ 16.3 ไม่คิดเช่นนั้น
นอกจากนี้ ดร.นพดล ยังชี้ให้เห็นอีกว่า ในช่วงเวลานี้ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการปรับคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจสวนทางกับความรู้สึกของบรรดานักการเมืองฝ่ายรัฐบาลบางคนที่อยากขึ้นมามีอำนาจเป็นรัฐมนตรี ดังนั้นข้อเสนอแนะคือ ถ้าจะปรับคณะรัฐมนตรีก็น่าจะปรับเอาคนที่มีพยานหลักฐานชัดเจนว่าไม่สุจริต เป็นตัวตั้งในการตัดสินใจปรับคณะรัฐมนตรี เพราะประชาชนยังเห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรีไม่ได้ทำให้ประชาชนได้อะไรหรือไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นมากกว่าเดิม
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ยังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ความกังวลของประชาชนต่อการสร้างสถานการณ์รุนแรงในช่วงปีใหม่ที่รัฐบาลจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคประชาชนและการบูรณาการด้านการข่าวทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เห็นได้ชัดในกรณี การเก็บกู้วัตถุระเบิดได้อย่างปลอดภัยของหน่วยงานด้านความมั่นคงโดยไม่มีการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์ของประชาชน ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วจะถือว่า "เป็นความสำเร็จ" ของการเชื่อมประสานการทำงานระหว่างภาคประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ในประเทศไทยกลับมีการมองกันว่า "เป็นการจัดฉาก" แสดงว่า หน่วยงานของรัฐต้องทำงานอย่างจริงจังต่อเนื่องเพื่อสร้างความวางใจในหมู่ประชาชนและสังคมระดับกว้างให้มากยิ่งขึ้น ทางออกคือการปรากฎตัวของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงทั้ง ภาคประชาชน ทหาร ตำรวจ รถสายตรวจที่เปิดไฟไซเรนพร้อมปฏิบัติการอย่างรวดเร็วฉับไว หรือ Stand by ในจุดล่อแหลม จุดเสี่ยง และการข่าวในระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คลดอาชญากรรมสร้างความอบอุ่นใจในหมู่ประชาชน
"ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ปัญหาคอรัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่ยังไม่มีสัญญาณที่ดีในการแก้ไขได้อย่างจริงจังต่อเนื่อง ดังนั้น ข้อเสนอแนะคือ ฝ่ายการเมืองอาจช่วยกันแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมบางประการเพื่อแก้ไขปัญหาการรีดไถ ส่งส่วย ภาษีใต้ดิน นำขึ้นมาเข้าสู่ระบบกระบวนการที่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น คนที่ทำผิดกฎจราจร ก็ต้องเสียค่าปรับที่ศาล มีใบเสร็จรับเงินระบุชัดเจนว่า ต้องจ่ายให้ชุมชนท้องถิ่นเจ้าของพื้นที่เพื่อสุขภาวะของคนในชุมชนเท่าไหร่ ต้องจ่ายให้ห้องสมุดประชาชนเพื่อการศึกษาของคนในชุมชนท้องที่เกิดเหตุเท่าไหร่ ต้องจ่ายให้ตำรวจเท่าไหร่ ต้องจ่ายให้รัฐบาลกลางในการพัฒนาประเทศเท่าไหร่ และต้องจ่ายเป็นค่างานธุรการของศาล เป็นต้น นั่นคือการทำทุกอย่างให้เห็นอย่างโปร่งใสน่าจะช่วยลดทอนความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชน และควบคุมพฤติกรรมการทำผิดของคนไปได้บ้าง มิฉะนั้น อาจมีคำถามว่าถูกรีดไถหรือโดนปรับแล้วเงินเอาไปทำอะไรเอาไปให้ใคร นอกจากนี้ น่าจะนำเอาเรื่องเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมมาแจกแจงให้สาธารณชนสามารถแกะรอยไปได้ว่าเงินถึงมือผู้ประสบภัยที่ไหนบ้างผ่านเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น การทำทุกอย่างให้โปร่งใสน่าจะช่วยลดปัจจัยสำคัญที่จะถูกอ้างมาเป็นเงื่อนไขใช้อำนาจพิเศษเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ไปอีกหนึ่งองค์ประกอบ" ดร.นพดล กล่าว