รมว.ยุติธรรม ตั้ง “วุฒิศักดิ์” คณบดีรัฐศาสตร์ ม.รามฯ เป็นประธานคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงถวายฎีกาช่วย “ทักษิณ” กลับบ้าน โดยมี “จุมพล” อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เคยช่วย “แม้ว” พ้นผิดคดีซุกหุ้นเป็นกรรมการ ส่วน “ธงทอง” ก็เป็นหนึ่งในกรรมการชุดนี้ โดยมีกระแสจะได้นั่งเป็นเลขาธิการ ครม.ในรัฐบาลชุด “ปูแดง” ด้วย
วันนี้ (8 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานถึงกรณีการตรวจสอบรายชื่อคนเสื้อแดง เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งล่าสุด พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มีคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 350/2554 ลงวันที่ 7 ก.ย. 2554 แต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริง
โดยเนื้อหาในคำสั่งระบุว่า ตามที่กรมราชทัณฑ์ได้เสนอเรื่อง กรณีคณะบุคคลทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั้น เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปอย่างถูกต้อง รอบคอบ เป็นไปตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้
1. ผศ.วุฒิศักด์ ลาภเจริญทรัพย์ คณบดี คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ประธานคณะทำงาน
2. นายจุมพล ณ สงขลา อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
3. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา(อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่โอนย้ายไปกระทรวงศึกษาธิการ)
4. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการคดีพิเศษ
5. ผศ.ดร.ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด ประธานหลักสูตรสาขาวิชาอาชญาวิทยาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม ม.มหิดล
6. นายนัทธี จิตสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม(อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ สมัยพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม)
7. ผู้บังคับการกองคดีอาญาสำนักงานกฎหมายและคดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8. อธิบดีกรมราชทัณฑ์ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
9. ผอ.กองนิติการ กรมราชทัณฑ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
10. หัวหน้าฝ่ายอภัยโทษ กรมราชทัณฑ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
-รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนผู้ถวายฎีกาและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐว่าเป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์หรือไม่
-พิจารณากลั่นกรองให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีความเห็นกับการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว่าอย่างไร
-พิจารณาเสนอหลักเกณฑ์หรือระเบียบ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการขอพระราชทานอภัยโทษ หรือข้อเสนออื่นที่มีประโยชน์ต่อไป
-ให้คณะทำงานสามารถมีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา และให้หน่วยงานหรือบุคคลให้ความร่วมมือต่อคณะทำงาน และรายงานผลให้ทราบเมื่อมีความคืบหน้าหรือมีข้อเท็จจริงที่ควรให้ทราบทุกระยะ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า เพราะเหตุใด พล.ต.อ.ประชาจึงแต่งตั้งผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นประธานคณะทำงานในเรื่องนี้ ซึ่งในขณะที่นายจุมพล ณ สงขลา อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น เคยเป็น 1 ในตุลาการที่ตัดสินคดีซุกหุ้นภาค 1 ให้ พ.ต.ท.ทักษิณพ้นผิดมาแล้ว ส่วนศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษานั้น มีกระแสข่าวว่า อาจจะได้เข้ารับตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้
ทั้งนี้ นายจุมพล ณ สงขลา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2480 เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้พิพากษาศาลฎีกา และเป็นตุลาการที่ได้เข้าร่วมตัดสิน “คดีซุกหุ้น” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2544 โดยอยู่ในฝ่ายตุลาการเสียงข้างมากที่ตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นความผิดและให้เหตุผลเหมือนกับตุลาการอีก 3 คนคือ นายกระมล ทองธรรมชาติ นายผัน จันทรปาน และนายศักดิ์ เตชาชาญ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะแสดงบัญชีทรัพย์สินได้พ้นตำแหน่งทางการเมืองแล้ว เพียงแต่ยังรักษาการในตำแหน่ง ซึ่งไม่อยู่ในข่ายต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินหรือไม่
วันนี้ (8 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานถึงกรณีการตรวจสอบรายชื่อคนเสื้อแดง เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งล่าสุด พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มีคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 350/2554 ลงวันที่ 7 ก.ย. 2554 แต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริง
โดยเนื้อหาในคำสั่งระบุว่า ตามที่กรมราชทัณฑ์ได้เสนอเรื่อง กรณีคณะบุคคลทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั้น เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปอย่างถูกต้อง รอบคอบ เป็นไปตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงเห็นควรแต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้
1. ผศ.วุฒิศักด์ ลาภเจริญทรัพย์ คณบดี คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง ประธานคณะทำงาน
2. นายจุมพล ณ สงขลา อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
3. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา(อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่โอนย้ายไปกระทรวงศึกษาธิการ)
4. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการคดีพิเศษ
5. ผศ.ดร.ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด ประธานหลักสูตรสาขาวิชาอาชญาวิทยาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม ม.มหิดล
6. นายนัทธี จิตสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม(อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ สมัยพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม)
7. ผู้บังคับการกองคดีอาญาสำนักงานกฎหมายและคดีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8. อธิบดีกรมราชทัณฑ์ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ
9. ผอ.กองนิติการ กรมราชทัณฑ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
10. หัวหน้าฝ่ายอภัยโทษ กรมราชทัณฑ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่
-รวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หลักเกณฑ์และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนผู้ถวายฎีกาและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐว่าเป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์หรือไม่
-พิจารณากลั่นกรองให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีความเห็นกับการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว่าอย่างไร
-พิจารณาเสนอหลักเกณฑ์หรือระเบียบ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการขอพระราชทานอภัยโทษ หรือข้อเสนออื่นที่มีประโยชน์ต่อไป
-ให้คณะทำงานสามารถมีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา และให้หน่วยงานหรือบุคคลให้ความร่วมมือต่อคณะทำงาน และรายงานผลให้ทราบเมื่อมีความคืบหน้าหรือมีข้อเท็จจริงที่ควรให้ทราบทุกระยะ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า เพราะเหตุใด พล.ต.อ.ประชาจึงแต่งตั้งผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ เป็นประธานคณะทำงานในเรื่องนี้ ซึ่งในขณะที่นายจุมพล ณ สงขลา อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น เคยเป็น 1 ในตุลาการที่ตัดสินคดีซุกหุ้นภาค 1 ให้ พ.ต.ท.ทักษิณพ้นผิดมาแล้ว ส่วนศาสตราจารย์ (พิเศษ) ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษานั้น มีกระแสข่าวว่า อาจจะได้เข้ารับตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้
ทั้งนี้ นายจุมพล ณ สงขลา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2480 เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่งตั้งจากผู้พิพากษาศาลฎีกา และเป็นตุลาการที่ได้เข้าร่วมตัดสิน “คดีซุกหุ้น” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2544 โดยอยู่ในฝ่ายตุลาการเสียงข้างมากที่ตัดสินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นความผิดและให้เหตุผลเหมือนกับตุลาการอีก 3 คนคือ นายกระมล ทองธรรมชาติ นายผัน จันทรปาน และนายศักดิ์ เตชาชาญ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขณะแสดงบัญชีทรัพย์สินได้พ้นตำแหน่งทางการเมืองแล้ว เพียงแต่ยังรักษาการในตำแหน่ง ซึ่งไม่อยู่ในข่ายต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จงใจปกปิดบัญชีทรัพย์สินหรือไม่