จากกรณี 15 นักวิชาการ ได้เสนอว่าควรมีคณะกรรมการกลั่นกรอง มาดูเรื่องการกระทำผิดที่เกี่ยวเนื่องกับ มาตรา 112 ซึ่งเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ นั้น นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (Green Politics) กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วตนเห็นว่าเป็นประเด็นที่ควรมีการถกเถียง แลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง เพื่อหาข้อยุติ และไม่ให้การนำกฎหมาย ม. 112 ไปใช้ในทางที่ผิด หรือกลั่นแกล้งสุจริตชน
อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่า ข้อเสนอของนักวิชาการทั้ง 15 ท่านดังกล่าว ก็มีจุดอ่อนและช่องโหว่ ซึ่งตนมีข้อสังเกต 5 ข้อ เพื่อการถกเถียงแลกเปลี่ยน ดังนี้
1. องค์ประกอบ หรือสัดส่วนของคณะกรรมการกลั่นกรองจะยึดความหลากหลายแค่ไหน และจะอ้างอิงฐานคิด หรือกรอบอะไร จะต้องออกเป็นกฎหมายรองรับหรือไม่
2. ที่มาของคณะกรรมการใครมีอำนาจแต่งตั้ง หรือถ้าใช้ระบบสรรหาจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทน และได้รับการยอมรับจากภาคส่วนนั้นๆ จริง เช่น นักวิชาการ ผู้นำชาวบ้าน ตัวแทนสหภาพแรงงานฯ
3. จะมั่นใจได้อย่างไรว่า กรรมการกลั่นกรองฯ จะมีความเป็นอิสระ โดยเฉพาะกรรมการบางคนอาจมีธงหรือจุดยืนต่อ ม.112 อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แล้ว หรือกรรมการบางคนอาจเชื่อมโยงกับกลุ่มการเมือง จะกระทบต่อมติของกรรมการกลั่นกรองฯ หรือไม่ และผู้ที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นฯ ภายใต้มติของกรรมการกรั่นกรองฯ จะสามารถฟ้องร้องเอาผิดกรรมการได้หรือไม่
4. ขอบเขตอำนาจหน้าที่มีแค่ไหน จะจัดความสัมพันธ์กับอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน อัยการ และศาลอย่างไร เช่น ถ้าบางเรื่องคณะกรรมการกลั่นกรองบอกไม่มีมูลหมิ่นฯ แต่มีประชาชนนำเหตุดังกล่าวไปยื่นฟ้องศาลโดยตรง จะขัดแย้งกันหรือไม่
5. ถ้ามติของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีผลผูกพัน ตำรวจ อัยการ และศาล เท่ากับคณะกรรมการชุดนี้ มีอำนาจเหนือกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ หรือเป็นการตั้ง “ศาลพิเศษ” ขึ้นมาซ้อนศาลปกติหรือไม่
" ผมมองว่าข้อเสนอดังกล่าวค่อนข้างเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะต้นเหตุที่เราต้องยอมรับความจริงกันก็คือ มีขบวนการล้มเจ้าจริง และมีการจัดตั้งทำงานกันเป็นเครือข่ายกว้างขวาง เป็นระบบ คนกลุ่มนี้ไม่สนใจ ม. 112 ว่าจะแก้ไข หรือยกเลิกด้วยซ้ำ ที่ผมเป็นห่วงก็คือ หากกรรมการกลั่นกรองฯไม่อิสระ มีวาระส่วนตัวกัน จนขาดความน่าเชื่อถือ การเมืองว่าด้วยเรื่อง ม. 112 ยิ่งจะสลับซับซ้อนรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คณะนักวิชาการทั้ง 15 ท่านคงต้องคิดแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ควบคู่ไปได้วย" นายสุริยะใส กล่าว
**กก.กลั่นกรองต้องเข้าใจเจตนารมย์ ม.112
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอของนักวิชาการ ที่เห็นว่าควรมีคณะกรรมการกลั่นกรองมาดูเรื่องการกระทำผิดที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 112 โดยจะใช้รูปแบบใกล้เคียงกับที่เคยทำในสมัยรัฐบาลที่แล้ว ดำเนินการ ที่มีคณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมายแล้วให้แง่มุมความเห็นต่างๆ กับทางพนักงานสอบสวน อัยการ น่าจะเป็นประโยชน์ โดยกรรมการชุดนี้ นอกจากจะดูในแง่คดีแล้ว ควรที่จะสรุปภาพรวมปัญหาการบังคับใช้ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ขอให้เน้นบุคคลที่มีประสบการณ์ในเรื่องของกฎหมาย และเข้าใจเจตนารมณ์ของ ม. 112 เพราะในที่สุดแล้ว มาตรานี้ก็เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาความมั่นคงของประเทศ
ส่วนกรณีที่มีข้อเสนอให้เปิดเวทีถกเรื่องนี้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าเป็นเรื่องที่จะต้องระมัดระวัง เพราะไม่อยากให้เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้ง และคิดว่าหากทำความเข้าใจกับที่มา เจตนารมณ์ของ ม. 112 น่าจะเห็นพ้องต้องกัน ส่วนอะไรที่เป็นปัญหาการบังคับใช้ก็แก้ไขโดยกระบวนการที่จะมีคณะกรรมการที่เพิ่มความรอบคอบให้กับเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการ
** จี้ "ปู" บอกให้ชัดจะแก้หรือไม่แก้
สำหรับกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่า การจะแก้ไขหรือไม่ ขอให้สภาเป็นผู้พิจารณานั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นการปัดความรับผิดชอบไปเฉยๆ เพราะตนเคยสอบถามเรื่องนี้ในสภา และรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตอบเองว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนการแก้ไขมาตรานี้ ดังนั้น วันนี้ก็ควรจะสื่อสารไปยังรัฐบาลในเรื่องนี้
เมื่อถามว่า ขณะนี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ยืนยันสิ่งที่พูดในสภา และเลี่ยงที่จะตอบเรื่องนี้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่า ร.ต.อ.เฉลิม พูดอะไรก็ได้ แต่ในเมื่อพูดเสมอว่าเติบโต และให้ความสำคัญกับระบบสภา ก็น่าจะรับผิดชอบกับคำพูดของตัวเอง
เมื่อถามย้ำว่ามีความเคลื่อนไหวของคนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ที่เห็นด้วยกับการแก้ไข ม.112 จะเป็นแรงกดดันให้รัฐบาลแก้ไขหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลยืนยันว่าไม่ใช่นโยบาย ไม่สนับสนุนการแก้ไข ก็ต้องทำความเข้าใจกับผู้สนับสนุนตนเอง เพราะเท่าที่ติดตามเห็นว่า การสร้างประเด็นเรื่องการแก้ไขมาตรานี้ ก็อยู่บนพื้นฐานของความไม่เข้าใจ และบางส่วนมีการบิดเบือนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายต่อหลายคดี เป็นอย่างไร
**ย้ำ ม.112 ต้องมีไว้ปกป้องประเทศ
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตประธานรัฐสภา ได้โพสต์ ข้อความลงในเฟซบุ๊ก กรณีที่รัฐบาลจะยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ว่า กฎหมายนี้มันต้องมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสชัดเจนว่า วิจารณ์ได้ แต่ต้องวิจารณ์ให้ถูก ถ้าวิจารณ์ไม่ถูก ก็ผิด และถ้าวิจารณ์ถูก พระมหากษัตริย์ก็ปรับปรุงตัวเอง หากมีอะไรบกพร่องจริง แต่ถ้าอธิบายผิด วิจารณ์ผิด ก็เดือดร้อน ซึ่งพระองค์ท่านประชาธิปไตย ฉะนั้น ตนเห็นว่า กฎหมายนี้ต้องมี
" กฎหมายนี้ไม่ใช่ปกป้องบุคคล แต่ปกป้องประเทศ ในรัฐธรรมนูญบอกว่า แผ่นดินไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้ คนที่ไปแบ่งแยกแผ่นดินก็ต้องถือเป็นศัตรูของประเทศ ต้องถือเป็นความผิด จะให้ยกเลิกกฎหมายนี้ได้ยังไง พระมหากษัตริย์เป็นสถาบัน ถ้าไปจาบจ้วงโดยไม่มีเหตุผล ก็ต้องเป็นความผิด และที่สำคัญกระบวนการยุติธรรม ก็ต้องพิพากษาให้ถูก เพราะสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่ว่าต้องยึดตามตัวหนังสือ หรือตัวบท แต่มันอยู่ที่วิจารณญาณของฝ่ายผู้พิพากษา ของเจ้าหน้าที่ อย่าบ้าจี้กับ มาตรา 112 จนทำเกินกว่าเหตุ" ดร.อาทิตย์ ระบุ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ถ้าเราต้องการเป็นประชาธิปไตยทุกอย่างมันละเอียดอ่อน ดังนั้นต้องใช้หลายๆ อย่างประกอบกัน ไม่ใช่แต่เพียงศรีธนญชัย หรือยึดตัวบทอย่างเดียว กฎหมายจำเป็นต้องมี เพราะมีหลายกรณีที่โดนจับๆไป ทั้งพูดจา ทำสารพัด อันนั้นสมควร ก็อนุโลมไม่ได้ ซึ่งอย่าว่าแต่เป็นพระมหากษัตริย์ ถ้าใครทำอย่างนั้นกับเราซึ่งเป็นประชาชนคนธรรมดา เราก็ต้องฟ้องเหมือนกัน ถ้าไม่มีกฎหมายเลย บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแป เป็นสังคมที่ไม่มีเหตุผล
" ประเทศมันต้องมีประมุข ประเทศไทยประมุข คือพระมหากษัตริย์ ประเทศอื่นจะมีประธานาธิบดี ก็ว่าไป แต่เราพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีอะไรวิเศษ ประเสริฐเท่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้าไม่มีตรงนี้แล้ว ประเทศเราจะเป็นแหล่งอันธพาลจังโก้ เพราะต้องรับความจริงว่ามันยังมีสภาพอย่างนี้อยู่ แล้วใครจะเป็นประมุขดูแลบ้านเมืองให้มันเข้าร่องเข้ารอยได้" ดร.อาทิตย์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่า ข้อเสนอของนักวิชาการทั้ง 15 ท่านดังกล่าว ก็มีจุดอ่อนและช่องโหว่ ซึ่งตนมีข้อสังเกต 5 ข้อ เพื่อการถกเถียงแลกเปลี่ยน ดังนี้
1. องค์ประกอบ หรือสัดส่วนของคณะกรรมการกลั่นกรองจะยึดความหลากหลายแค่ไหน และจะอ้างอิงฐานคิด หรือกรอบอะไร จะต้องออกเป็นกฎหมายรองรับหรือไม่
2. ที่มาของคณะกรรมการใครมีอำนาจแต่งตั้ง หรือถ้าใช้ระบบสรรหาจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทน และได้รับการยอมรับจากภาคส่วนนั้นๆ จริง เช่น นักวิชาการ ผู้นำชาวบ้าน ตัวแทนสหภาพแรงงานฯ
3. จะมั่นใจได้อย่างไรว่า กรรมการกลั่นกรองฯ จะมีความเป็นอิสระ โดยเฉพาะกรรมการบางคนอาจมีธงหรือจุดยืนต่อ ม.112 อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แล้ว หรือกรรมการบางคนอาจเชื่อมโยงกับกลุ่มการเมือง จะกระทบต่อมติของกรรมการกลั่นกรองฯ หรือไม่ และผู้ที่ถูกดำเนินคดีหมิ่นฯ ภายใต้มติของกรรมการกรั่นกรองฯ จะสามารถฟ้องร้องเอาผิดกรรมการได้หรือไม่
4. ขอบเขตอำนาจหน้าที่มีแค่ไหน จะจัดความสัมพันธ์กับอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน อัยการ และศาลอย่างไร เช่น ถ้าบางเรื่องคณะกรรมการกลั่นกรองบอกไม่มีมูลหมิ่นฯ แต่มีประชาชนนำเหตุดังกล่าวไปยื่นฟ้องศาลโดยตรง จะขัดแย้งกันหรือไม่
5. ถ้ามติของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีผลผูกพัน ตำรวจ อัยการ และศาล เท่ากับคณะกรรมการชุดนี้ มีอำนาจเหนือกระบวนการยุติธรรมหรือไม่ หรือเป็นการตั้ง “ศาลพิเศษ” ขึ้นมาซ้อนศาลปกติหรือไม่
" ผมมองว่าข้อเสนอดังกล่าวค่อนข้างเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะต้นเหตุที่เราต้องยอมรับความจริงกันก็คือ มีขบวนการล้มเจ้าจริง และมีการจัดตั้งทำงานกันเป็นเครือข่ายกว้างขวาง เป็นระบบ คนกลุ่มนี้ไม่สนใจ ม. 112 ว่าจะแก้ไข หรือยกเลิกด้วยซ้ำ ที่ผมเป็นห่วงก็คือ หากกรรมการกลั่นกรองฯไม่อิสระ มีวาระส่วนตัวกัน จนขาดความน่าเชื่อถือ การเมืองว่าด้วยเรื่อง ม. 112 ยิ่งจะสลับซับซ้อนรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คณะนักวิชาการทั้ง 15 ท่านคงต้องคิดแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ควบคู่ไปได้วย" นายสุริยะใส กล่าว
**กก.กลั่นกรองต้องเข้าใจเจตนารมย์ ม.112
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอของนักวิชาการ ที่เห็นว่าควรมีคณะกรรมการกลั่นกรองมาดูเรื่องการกระทำผิดที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 112 โดยจะใช้รูปแบบใกล้เคียงกับที่เคยทำในสมัยรัฐบาลที่แล้ว ดำเนินการ ที่มีคณะกรรมการที่ปรึกษาทางกฎหมายแล้วให้แง่มุมความเห็นต่างๆ กับทางพนักงานสอบสวน อัยการ น่าจะเป็นประโยชน์ โดยกรรมการชุดนี้ นอกจากจะดูในแง่คดีแล้ว ควรที่จะสรุปภาพรวมปัญหาการบังคับใช้ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ขอให้เน้นบุคคลที่มีประสบการณ์ในเรื่องของกฎหมาย และเข้าใจเจตนารมณ์ของ ม. 112 เพราะในที่สุดแล้ว มาตรานี้ก็เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาความมั่นคงของประเทศ
ส่วนกรณีที่มีข้อเสนอให้เปิดเวทีถกเรื่องนี้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าเป็นเรื่องที่จะต้องระมัดระวัง เพราะไม่อยากให้เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้ง และคิดว่าหากทำความเข้าใจกับที่มา เจตนารมณ์ของ ม. 112 น่าจะเห็นพ้องต้องกัน ส่วนอะไรที่เป็นปัญหาการบังคับใช้ก็แก้ไขโดยกระบวนการที่จะมีคณะกรรมการที่เพิ่มความรอบคอบให้กับเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการ
** จี้ "ปู" บอกให้ชัดจะแก้หรือไม่แก้
สำหรับกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่า การจะแก้ไขหรือไม่ ขอให้สภาเป็นผู้พิจารณานั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นการปัดความรับผิดชอบไปเฉยๆ เพราะตนเคยสอบถามเรื่องนี้ในสภา และรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตอบเองว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนการแก้ไขมาตรานี้ ดังนั้น วันนี้ก็ควรจะสื่อสารไปยังรัฐบาลในเรื่องนี้
เมื่อถามว่า ขณะนี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ยืนยันสิ่งที่พูดในสภา และเลี่ยงที่จะตอบเรื่องนี้นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถือเป็นสิ่งที่ตอกย้ำว่า ร.ต.อ.เฉลิม พูดอะไรก็ได้ แต่ในเมื่อพูดเสมอว่าเติบโต และให้ความสำคัญกับระบบสภา ก็น่าจะรับผิดชอบกับคำพูดของตัวเอง
เมื่อถามย้ำว่ามีความเคลื่อนไหวของคนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ที่เห็นด้วยกับการแก้ไข ม.112 จะเป็นแรงกดดันให้รัฐบาลแก้ไขหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลยืนยันว่าไม่ใช่นโยบาย ไม่สนับสนุนการแก้ไข ก็ต้องทำความเข้าใจกับผู้สนับสนุนตนเอง เพราะเท่าที่ติดตามเห็นว่า การสร้างประเด็นเรื่องการแก้ไขมาตรานี้ ก็อยู่บนพื้นฐานของความไม่เข้าใจ และบางส่วนมีการบิดเบือนว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายต่อหลายคดี เป็นอย่างไร
**ย้ำ ม.112 ต้องมีไว้ปกป้องประเทศ
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตประธานรัฐสภา ได้โพสต์ ข้อความลงในเฟซบุ๊ก กรณีที่รัฐบาลจะยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ว่า กฎหมายนี้มันต้องมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสชัดเจนว่า วิจารณ์ได้ แต่ต้องวิจารณ์ให้ถูก ถ้าวิจารณ์ไม่ถูก ก็ผิด และถ้าวิจารณ์ถูก พระมหากษัตริย์ก็ปรับปรุงตัวเอง หากมีอะไรบกพร่องจริง แต่ถ้าอธิบายผิด วิจารณ์ผิด ก็เดือดร้อน ซึ่งพระองค์ท่านประชาธิปไตย ฉะนั้น ตนเห็นว่า กฎหมายนี้ต้องมี
" กฎหมายนี้ไม่ใช่ปกป้องบุคคล แต่ปกป้องประเทศ ในรัฐธรรมนูญบอกว่า แผ่นดินไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้ คนที่ไปแบ่งแยกแผ่นดินก็ต้องถือเป็นศัตรูของประเทศ ต้องถือเป็นความผิด จะให้ยกเลิกกฎหมายนี้ได้ยังไง พระมหากษัตริย์เป็นสถาบัน ถ้าไปจาบจ้วงโดยไม่มีเหตุผล ก็ต้องเป็นความผิด และที่สำคัญกระบวนการยุติธรรม ก็ต้องพิพากษาให้ถูก เพราะสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่ว่าต้องยึดตามตัวหนังสือ หรือตัวบท แต่มันอยู่ที่วิจารณญาณของฝ่ายผู้พิพากษา ของเจ้าหน้าที่ อย่าบ้าจี้กับ มาตรา 112 จนทำเกินกว่าเหตุ" ดร.อาทิตย์ ระบุ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ถ้าเราต้องการเป็นประชาธิปไตยทุกอย่างมันละเอียดอ่อน ดังนั้นต้องใช้หลายๆ อย่างประกอบกัน ไม่ใช่แต่เพียงศรีธนญชัย หรือยึดตัวบทอย่างเดียว กฎหมายจำเป็นต้องมี เพราะมีหลายกรณีที่โดนจับๆไป ทั้งพูดจา ทำสารพัด อันนั้นสมควร ก็อนุโลมไม่ได้ ซึ่งอย่าว่าแต่เป็นพระมหากษัตริย์ ถ้าใครทำอย่างนั้นกับเราซึ่งเป็นประชาชนคนธรรมดา เราก็ต้องฟ้องเหมือนกัน ถ้าไม่มีกฎหมายเลย บ้านเมืองก็ไม่มีขื่อไม่มีแป เป็นสังคมที่ไม่มีเหตุผล
" ประเทศมันต้องมีประมุข ประเทศไทยประมุข คือพระมหากษัตริย์ ประเทศอื่นจะมีประธานาธิบดี ก็ว่าไป แต่เราพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีอะไรวิเศษ ประเสริฐเท่าสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้าไม่มีตรงนี้แล้ว ประเทศเราจะเป็นแหล่งอันธพาลจังโก้ เพราะต้องรับความจริงว่ามันยังมีสภาพอย่างนี้อยู่ แล้วใครจะเป็นประมุขดูแลบ้านเมืองให้มันเข้าร่องเข้ารอยได้" ดร.อาทิตย์ กล่าว