ASTVผู้จัดการรายวัน-"เพื่อไทย" ถอยจุกตูด ชะลอการแก้รัฐธรรมนูญ กฎหมายนิรโทษ และพ.ร.บ.กลาโหม หลังเจอกระแสคัดค้านจากสังคมว่าเป็นการทำเพื่อคนคนเดียว "เทือก"อัด"นพเหล่" แค่"ม้ารับใช้" ยันไม่เอาด้วยกับแผนปรองดอง 6 ข้อ ระบุจะเป็นชนวนความขัดแย้ง แตกแยกของสังคม เพราะประชาชนรู้ว่าเป็นการทำเพื่อ"แม้ว" ด้านกมธ.ปรองดองนัดถกหานิยาม "คดีการเมือง" เตรียมเชิญแกนนำนปช.-พันธมิตร-ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองร่วมหารือ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยภายหลังการประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย วานนี้ (13 ธ.ค.) ว่า ในการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ วันที่ 21 ธ.ค.นี้ ฝ่ายกฎหมายของพรรคได้แนะนำว่าขณะนี้ยังติดเรื่องการพิจารณางบประมาณและอยู่ในระยะการฟื้นฟูความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย จึงขอให้พรรคชะลอการนำเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และพระราชบัญญัติกลาโหม เข้าสู่วาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรไว้ก่อน ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมพรรคอีกครั้ง โดยฝ่ายกฎหมายจะหยิบยกกกฎหมายอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อประชาชน รวมถึงกฎหมายต่างๆ ที่ได้หาเสียงไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อเสนอให้ผู้แทนราษฎร พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ นายพร้อมพงศ์ ยังระบุว่า ร.ต.อ.ฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงความคืบหน้าคดีการสลายการชุมนุม เมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 ว่ามีความคืบหน้าไปมาก ขณะเดียวกันได้ปฏิเสธกระแสข่าวว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เดินทางเข้าพบ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อแทรกแซงคดี 91 ศพ ของกลุ่มกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตามที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวอ้าง
**ปชป.ลั่นไม่ปรองดองเพื่อแม้ว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายนพดล ปัทมะ ทนายความส่วนตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่นำข้อเสนอ 6 ข้อ เพื่อความปรองดองว่า แสดงให้เห็นว่าลายออกมาชัดเจนทุกที การต่อสู้ของคนพวกนี้ทำเพื่อพ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น ไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ติดคุก และได้เงินคืน รวมทั้งกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง คำพูดที่บอกว่าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยถือเป็นเรื่องที่โกหกทั้งนั้น
"อยากขอร้องว่า อย่าเดินหน้าเรื่องเหล่านี้เลย ทั้งการนิรโทษกรรม การคืนทรัพย์สินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะคนไทยยอมรับไม่ได้ ความปรองดองก็จะไม่เกิด เพราะการปรองดองไม่ได้หมายความว่า ต้องละเลยกฎหมาย คนผิดไม่ต้องรับโทษ แต่หมายถึง การหยุดความเลวร้ายทั้งหลาย ทั้งปวง และหันมาทำเรื่องดีๆ ให้บ้านเมือง"
นายสุเทพกล่าวว่า การที่นายนพดล ออกมาพูดเช่นนี้ เป็นที่ชัดเจนว่านายนพดล เป็นบริวารของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีชีวิตอยู่ได้เพราะเงินพ.ต.ท.ทักษิณ ที่อุ้มชู ช่วยเหลือจุนเจือ จึงทำตัวเป็น "ม้าใช้" ของพ.ต.ท.ทักษิณมาตลอด ดังนั้น คำพูดของนายนพดล จึงแปรเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะที่ผ่านมา นายนพดลทำหน้าที่ชัดเจนว่า เป็นตัวแทน ทำการแทนพ.ต.ท.ทักษิณ โดยตลอด และอยากเรียกร้องไปยังพ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ขอให้เห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมือง ควรทำทุกอย่างให้สงบได้แล้ว วันนี้ พวกของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้เป็นรัฐบาลอยู่ น้องสาวก็เป็นนายกรัฐมนตรี จึงไม่ควรสร้างเงื่อนไขให้ประเทศเกิดความวุ่นวายอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม การที่พยายามบอกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ตนคิดว่าประชาชนทั้งประเทศ เขาติดตามสถานการณ์อยู่ ไม่มีใครหลอกประชาชนได้
"ผมเคยให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ๆ ว่า ขอให้ทำตัวสมฐานะนายกรัฐมนตรี รักษาศักดิ์ศรีความเป็นนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ และประชาชน เพื่อความถูกต้อง อย่าไปพะวงเรื่องญาติพี่น้อง สมัครพรรคพวกบริวาร ถ้าทำอย่างนี้ก็จะทำงานได้ดี และยังอยากย้ำเรื่องเหล่านี้ไปยังน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อไป" นายสุเทพกล่าว
**กมธ.ปรองดองถกนิยาม"คดีการเมือง"
วันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา ได้มีการประชุม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายวัฒนา เมืองสุข รองประธานกมธ. คนที่ 1 เป็นประธานในที่ประชุม เนื่องจากพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน กมธ.ติดภารกิจไปต่างประเทศ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เชิญผู้แทนหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เข้าชี้แจงถึงความคืบหน้าการดำเนินคดี และมาตราการเยียวยาผู้ที่ถูกต้องขัง ในคดีที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางสังคม
ภายหลังการประชุม นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธาน กมธ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงนิยามของความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับความเห็นที่แตกต่างกันทางการเมือง หรือคำว่า "คดีการเมือง" ว่าครอบคลุมความผิดในกรณีใดบ้าง โดยเห็นว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการหาทางออกของความขัดแย้ง โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการ กมธ. ทำหนังสือถึงคณะกรรมการอิสระค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เพื่อหารือ เพราะก่อนหน้านี้ คอป.ได้มีคำจำกัดความออกมาแล้ว เพื่อนำเหตุผลและหลักคิดของ คอป. มาเป็นพื้นฐานให้กรรมาธิการกำหนดคำนิยามต่อไป รวมทั้งการประสานองค์กรต่างๆ เพื่อกำหนดคำนิยามนี้ด้วย
นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษก กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า ในที่ประชุมไม่ได้หยิบยกประเด็นข้อเสนอความปรองดอง 6 ข้อ ของนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาพูดคุยในที่ประชุม โดยส่วนตัวมองว่ายังไม่ถึงเวลา อีกทั้งประเด็นการสร้างความปรองดองจากปัญหาที่นายนพดลหยิบยกมาพูดนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากรากเหง้าของความขัดแย้งที่แท้จริง ซึ่งกมธ.ปรองดอง จะพิจารณาในส่วนของรายงาน และข้อศึกษาที่ได้จากคอป. และคณะกรรมการปฏิรูป ซึ่งได้ศึกษาพร้อมสรุปประเด็นที่ชัดเจนแล้ว
** เชิญแกนนำนปช.-พันธมิตรร่วมหารือ
นายนครกล่าวอีกว่า ในการประชุมสัปดาห์หน้า เตรียมเชิญแกนนำของกลุ่มนปช. แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมไปถึงกลุ่มนักธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ส่วนจะเป็นใครบ้างนั้น ที่ประชุมให้นายชวลิต วิชยสุทธิ์ เลขานุการกรรมาธิการฯ เป็นผู้พิจารณาประสานงาน
ขณะที่นายไชยา พรหมมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษก กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า ส่วนตัวอยากให้พรรคเพื่อไทย ยุติความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเสนอแนวทางนิรโทษกรรมทางการเมือง รวมไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ไปก่อนชั่วคราว เพราะในเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้ง กมธ.ปรองดองขึ้นมา ก็ควรเปิดโอกาสให้ทำงานเพื่อพิจารณาเสนอแนวทางให้แล้วเสร็จก่อน เพื่อป้องกันการสับสน และให้เป็นฐานในการพิจารณาสร้างความปรองดองในอนาคต
"ที่ผ่านมา มีหลายคนในพรรคเพื่อไทยออกมาพูดเหมือนส่งสัญญาณ ซึ่งเมื่อพรรคเพื่อไทยขยับก่อน พวกผมที่อยู่ในกรรมาธิการ ก็อึดอัด ทำงานกันลำบาก เพราะจะถูกพรรคพวกในกรรมาธิการแขวะเอาว่า เป็นแค่หุ่นเชิดเท่านั้น ทั้งที่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น จึงไม่ต้องการให้พรรคเพื่อไทย มาสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นมาอีก หากดำเนินการใดๆ ลงไปก่อนที่กรรมาธิการจะมีความเห็นอย่างเป็นทางการออกมา" นายไชยากล่าว
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยภายหลังการประชุม ส.ส.พรรคเพื่อไทย วานนี้ (13 ธ.ค.) ว่า ในการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยนิติบัญญัติ วันที่ 21 ธ.ค.นี้ ฝ่ายกฎหมายของพรรคได้แนะนำว่าขณะนี้ยังติดเรื่องการพิจารณางบประมาณและอยู่ในระยะการฟื้นฟูความเสียหายจากปัญหาอุทกภัย จึงขอให้พรรคชะลอการนำเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม และพระราชบัญญัติกลาโหม เข้าสู่วาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรไว้ก่อน ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมพรรคอีกครั้ง โดยฝ่ายกฎหมายจะหยิบยกกกฎหมายอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อประชาชน รวมถึงกฎหมายต่างๆ ที่ได้หาเสียงไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อเสนอให้ผู้แทนราษฎร พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ นายพร้อมพงศ์ ยังระบุว่า ร.ต.อ.ฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงความคืบหน้าคดีการสลายการชุมนุม เมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 ว่ามีความคืบหน้าไปมาก ขณะเดียวกันได้ปฏิเสธกระแสข่าวว่า พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม เดินทางเข้าพบ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อแทรกแซงคดี 91 ศพ ของกลุ่มกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตามที่พรรคประชาธิปัตย์กล่าวอ้าง
**ปชป.ลั่นไม่ปรองดองเพื่อแม้ว
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายนพดล ปัทมะ ทนายความส่วนตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่นำข้อเสนอ 6 ข้อ เพื่อความปรองดองว่า แสดงให้เห็นว่าลายออกมาชัดเจนทุกที การต่อสู้ของคนพวกนี้ทำเพื่อพ.ต.ท.ทักษิณเท่านั้น ไม่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ติดคุก และได้เงินคืน รวมทั้งกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกครั้ง คำพูดที่บอกว่าต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยถือเป็นเรื่องที่โกหกทั้งนั้น
"อยากขอร้องว่า อย่าเดินหน้าเรื่องเหล่านี้เลย ทั้งการนิรโทษกรรม การคืนทรัพย์สินให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะคนไทยยอมรับไม่ได้ ความปรองดองก็จะไม่เกิด เพราะการปรองดองไม่ได้หมายความว่า ต้องละเลยกฎหมาย คนผิดไม่ต้องรับโทษ แต่หมายถึง การหยุดความเลวร้ายทั้งหลาย ทั้งปวง และหันมาทำเรื่องดีๆ ให้บ้านเมือง"
นายสุเทพกล่าวว่า การที่นายนพดล ออกมาพูดเช่นนี้ เป็นที่ชัดเจนว่านายนพดล เป็นบริวารของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีชีวิตอยู่ได้เพราะเงินพ.ต.ท.ทักษิณ ที่อุ้มชู ช่วยเหลือจุนเจือ จึงทำตัวเป็น "ม้าใช้" ของพ.ต.ท.ทักษิณมาตลอด ดังนั้น คำพูดของนายนพดล จึงแปรเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะที่ผ่านมา นายนพดลทำหน้าที่ชัดเจนว่า เป็นตัวแทน ทำการแทนพ.ต.ท.ทักษิณ โดยตลอด และอยากเรียกร้องไปยังพ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ขอให้เห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมือง ควรทำทุกอย่างให้สงบได้แล้ว วันนี้ พวกของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้เป็นรัฐบาลอยู่ น้องสาวก็เป็นนายกรัฐมนตรี จึงไม่ควรสร้างเงื่อนไขให้ประเทศเกิดความวุ่นวายอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม การที่พยายามบอกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ตนคิดว่าประชาชนทั้งประเทศ เขาติดตามสถานการณ์อยู่ ไม่มีใครหลอกประชาชนได้
"ผมเคยให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ช่วงที่เป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ๆ ว่า ขอให้ทำตัวสมฐานะนายกรัฐมนตรี รักษาศักดิ์ศรีความเป็นนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศชาติ และประชาชน เพื่อความถูกต้อง อย่าไปพะวงเรื่องญาติพี่น้อง สมัครพรรคพวกบริวาร ถ้าทำอย่างนี้ก็จะทำงานได้ดี และยังอยากย้ำเรื่องเหล่านี้ไปยังน.ส.ยิ่งลักษณ์ ต่อไป" นายสุเทพกล่าว
**กมธ.ปรองดองถกนิยาม"คดีการเมือง"
วันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา ได้มีการประชุม คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายวัฒนา เมืองสุข รองประธานกมธ. คนที่ 1 เป็นประธานในที่ประชุม เนื่องจากพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน กมธ.ติดภารกิจไปต่างประเทศ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เชิญผู้แทนหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เข้าชี้แจงถึงความคืบหน้าการดำเนินคดี และมาตราการเยียวยาผู้ที่ถูกต้องขัง ในคดีที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางสังคม
ภายหลังการประชุม นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธาน กมธ. กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงนิยามของความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับความเห็นที่แตกต่างกันทางการเมือง หรือคำว่า "คดีการเมือง" ว่าครอบคลุมความผิดในกรณีใดบ้าง โดยเห็นว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการหาทางออกของความขัดแย้ง โดยที่ประชุมได้เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการ กมธ. ทำหนังสือถึงคณะกรรมการอิสระค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เพื่อหารือ เพราะก่อนหน้านี้ คอป.ได้มีคำจำกัดความออกมาแล้ว เพื่อนำเหตุผลและหลักคิดของ คอป. มาเป็นพื้นฐานให้กรรมาธิการกำหนดคำนิยามต่อไป รวมทั้งการประสานองค์กรต่างๆ เพื่อกำหนดคำนิยามนี้ด้วย
นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษก กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า ในที่ประชุมไม่ได้หยิบยกประเด็นข้อเสนอความปรองดอง 6 ข้อ ของนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ มาพูดคุยในที่ประชุม โดยส่วนตัวมองว่ายังไม่ถึงเวลา อีกทั้งประเด็นการสร้างความปรองดองจากปัญหาที่นายนพดลหยิบยกมาพูดนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากรากเหง้าของความขัดแย้งที่แท้จริง ซึ่งกมธ.ปรองดอง จะพิจารณาในส่วนของรายงาน และข้อศึกษาที่ได้จากคอป. และคณะกรรมการปฏิรูป ซึ่งได้ศึกษาพร้อมสรุปประเด็นที่ชัดเจนแล้ว
** เชิญแกนนำนปช.-พันธมิตรร่วมหารือ
นายนครกล่าวอีกว่า ในการประชุมสัปดาห์หน้า เตรียมเชิญแกนนำของกลุ่มนปช. แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รวมไปถึงกลุ่มนักธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ส่วนจะเป็นใครบ้างนั้น ที่ประชุมให้นายชวลิต วิชยสุทธิ์ เลขานุการกรรมาธิการฯ เป็นผู้พิจารณาประสานงาน
ขณะที่นายไชยา พรหมมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษก กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า ส่วนตัวอยากให้พรรคเพื่อไทย ยุติความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเสนอแนวทางนิรโทษกรรมทางการเมือง รวมไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ไปก่อนชั่วคราว เพราะในเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้ง กมธ.ปรองดองขึ้นมา ก็ควรเปิดโอกาสให้ทำงานเพื่อพิจารณาเสนอแนวทางให้แล้วเสร็จก่อน เพื่อป้องกันการสับสน และให้เป็นฐานในการพิจารณาสร้างความปรองดองในอนาคต
"ที่ผ่านมา มีหลายคนในพรรคเพื่อไทยออกมาพูดเหมือนส่งสัญญาณ ซึ่งเมื่อพรรคเพื่อไทยขยับก่อน พวกผมที่อยู่ในกรรมาธิการ ก็อึดอัด ทำงานกันลำบาก เพราะจะถูกพรรคพวกในกรรมาธิการแขวะเอาว่า เป็นแค่หุ่นเชิดเท่านั้น ทั้งที่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น จึงไม่ต้องการให้พรรคเพื่อไทย มาสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นมาอีก หากดำเนินการใดๆ ลงไปก่อนที่กรรมาธิการจะมีความเห็นอย่างเป็นทางการออกมา" นายไชยากล่าว