จากกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ส่งสัญญาณปรองดองผ่านทางนายนพดล ปัทมะ ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว โดยยื่นเงื่อนไข 6 ข้อ เพื่อต่อรองกับคนไทย โโยสรุปว่า ต้องออกเป็นพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมความผิด และ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียใหม่ รวมไปถึง การแก้ไขพระราชบัญญัติสภากลาโหม ซึ่งยังเป็นอุปสรรคเข้ามาล้วงลูกโยกย้ายนายทหารประจำปี
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณี 6 ข้อเสนอ เรียกร้องการปรองดองของพ.ต.ท.ทักษิณว่า กรณีดังกล่าว ตนอยากตั้งข้อสังเกตไปยังพ.ต.ท.ทักษิณ และนายนพดล 6 ข้อเช่นกันคือ
1. หาก พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เฉยๆ ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการต่อไป แล้วยอมรับในกระบวนการยุติธรรม ก็สามารถยุติความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้แล้ว
2. ข้อเรียกร้องที่ให้คืนทรัพย์สิน และนิรโทษกรรม ถือเป็นการเปลือยตัวตน และเปิดเผยเป้าหมายที่แท้จริงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาในที่สุดด้วยตัวเอง เพราะตนไม่เห็นว่า ประชาชนคนเสื้อแดง ที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องให้นำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้าน จะได้ประโยชน์อะไร
3. ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ เองพยายามพูดว่า การยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่เหนือกว่า การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย คือ การยอมรับคำตัดสินวิจนิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของนักการเมือง ทั้งที่นายนพดล ก็เป็นนักกฎหมาย น่าจะไปอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาฯให้ พ.ต.ท.ทักษิณฟังว่า ศาลใช้เหตุผลใดในการพิพากษาตัดสินในคดียึดทรัพย์ ไม่ใช่ว่า พอไม่ได้ประโยชน์ ก็ไม่เห็นด้วย แล้วออกมาเสนอขอตั้งกฎเกณฑ์ต่อรองขึ้นเอง ในทางตรงกันข้าม ที่ทางคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) ได้ระบุว่า บทสรุปของจุดเริ่มต้นความขัดแย้งในบ้านเมือง เกิดขึ้นจากการหักดิบกฎหมายคดีซุกหุ้น ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งแต่ปี 2547 แต่คดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยพูดถึงต้นเหตุว่า ตัวต้องเว้นวรรคทางการเมือง และไม่ควรเป็นนายกฯ ซึ่งที่สุดบ้านเมืองไม่ควรเกิดวิกฤติเช่นนี้ เมื่อเวลาที่ศาลตัดสินเอียงเข้าข้างตัวเองให้ได้ประโยชน์ ก็ไม่เคยพูดถึง ทั้งที่พวกเราอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน เหตุใดต้องทำตัวพิเศษ หรืออยู่เหนือคนไทย
4. ประชาชนโดยเฉพาะพี่น้องคนเสื้อแดง ควรที่จะตาสว่างได้แล้วว่า การต่อสู้ที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ไม่มีอำมาตย์ ไม่มีไพร่ ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ข้อเรียกร้องถูกยกขึ้นมาเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการปลุกมวลชน เพื่อให้ล้มล้างรัฐบาลพรรคประชาธปัตย์ และในข้อเสนอทั้ง 6 ข้อ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่พูดถึงการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีการพูดถึงอำมาตย์ หรือไพร่ พูดถึงเพียงผลประโยชน์ของคนเพียงคนเดียว ที่จะกลับมารวย คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะได้เงินคืน และได้รับการนิรโทษกรรม กระบวนการต่างๆ ที่ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับคืนสู่อำนาจ ที่สุดก็ถูกเฉลยออกมาแล้วว่า ที่คนเสื้อแดงร่วมสู้กัน มาตายกี่ศพ เจ็บกี่ร้อย ก็เพื่อให้อำมาตย์ตัวจริง กำลังจะกลับประเทศ
5. ก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเพื่อไทย เคยยืนยันนโยบายในการหาเสียว่า จะไม่มีการนิรโทษกรรม และคืนทรัพย์สินให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใด แต่พอได้อำนาจรัฐจัดตั้งรัฐบาลแล้ว วันนี้ก็ขอถามว่า ข้อเสนอดังกล่าวที่มีการเสนอมานี้ ทำในนามของส่วนใด
6. ขอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงจุดยืน และความชัดเจนว่ามีความเห็นอย่างไร จะพูดว่าไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ อีกต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะข้อเสนอที่ผ่านนายนพดล เหล่านี้ กำลังจะเป็นชนวนความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงรอบใหม่ในสังคมไทย นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำ จึงมีหน้าที่ต้องตัดไฟแต่ต้นลม หรือถ้าเห็นด้วยกับข้อเสนอทั้ง 6 ข้อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ควรพูดออกมาให้ชัดว่า จะนิรโทษกรรม และคืนเงินให้กับพี่ชาย เพื่อที่คนไทยจะได้รู้ว่า ประเทศจะเดินทางไปทิศทางไหน อย่างน้อยจิตสำนึกของความเป็นมนุษย์ ความเป็นลูกผู้หญิง และเป็นคนไทยคนหนึ่ง ต้องแสดงความชัดเจนว่า จะเอาอย่างไรกับการเสนอแก้ไข พ.ร.บ. ข้าราชการกระทรวง กลาโหม การนิรโทษกรรม และ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกฯ ควรพูดให้สังคมรับทราบ อย่าปิดหูปิดตาประชาชน และอย่าเลือกที่จะปิดหู ปิดตา ตัวเอง ต่อไป
**ย้ำไม่ร่วมสังฆกรรมฟอกผิดให้"แม้ว"
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากที่ติดตามดูการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง เห็นว่าข้ออ้างเรื่องการตั้งโต๊ะเจรจา 6 ข้อ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประกาศผ่านสื่อมวลชนต่างประเทศ และการว่าจ้างทนายความส่วนตัว และบริษัทล็อบบี้ยีสต์ เพื่อให้เห็นว่าเป็นการถูกกล่าวหา และทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนยุติธรรมนั้น ทางพรรคประชาธิปัตย์ ไม่อาจที่จะเข้าร่วมสังฆกรรมกับการเจรจาที่อ้างเรื่องความปรองดอง แต่มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ คือ ล้างผิด คืนทรัพย์ และกลับสู่อำนาจตามคำสัมภาษณ์ของ นายนพดล ที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการจะกลับลงสู่การเลือกตั้งอีกครั้ง โดยมีการใช้มวลชนสร้างความขัดแย้ง และความรุนแรงเป็นเงื่อนไข และเตรียมใช้รัฐสภาเป็นเครื่องมือในการกลับคืนสู่อำนาจ โดยตัวเองอยู่เหนือกฏหมาย และเหนือระบบนิติธรรม และนิติรัฐ โดยเห็นได้ชัดว่า มีการเอาผลประโยชน์ส่วนตัวผูกกับเรื่องความปรองดอง โดยเงื่อนไขทั้ง 6 ข้อ เป็นเรื่องที่ผลประโยชน์ตนเอง แต่ประเทศชาติถูกทำลายลง และความพยายามจะอ้างคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อการปรองดอง เพราะข้อเสนอเหล่านี้ ไม่มีอะไรที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนๆ เดียวเลย
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า การที่พรรคเพื่อไทย เตรียมการประชุมในวันนี้ (13 ธ.ค.) เพื่อจะเสนอเรื่องนิรโทษกรรม หรือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ จะทำให้เงื่อนไขนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ และอาจจะยุติด้วยการเกิคดวามรุนแรงกับประชาชนที่ไม่เห็นด้วย เพราะมีบางกลุ่มออกมาประกาศแล้วว่า จะไม่ร่วมการเจรจา หรือรับเงื่อนไขตามข้อเสนอทั้ง 6 ข้อ ซึ่งจะนำไปสู่การเผชิญหน้าของคนไทยด้วยกันเอง และพรรคเพื่อไทย จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้สังคมนำไปสู่ความขัดแย้งหลังจากที่ได้นำประเทศเข้าสู่ความวุ่นวายมาเป็นเวลาหลายปี
นพ.บุรณัชย์ กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ไม่ว่าจะเป็นข้ออ้างจากพรรคเพื่อไทย ก่อนการเลือกตั้งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่ได้ประโยชน์จากกระบวนการปรองดอง หรือนิรโทษกรรม หรือจดหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เขียนเปิดผนึกหลังจากที่ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ถูกเปิดโปง ว่า ตัวเองไม่ประสงค์จะรับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการโกหกต่อประชาชนจากคำสัมภาษณ์ของนายนพดล ในครั้งนี้
" อยากให้ฝ่ายต่างๆ ออกมาแสดงความชัดเจน และพรรคเพื่อไทยต้องมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองว่า ต้องการมีส่วนร่วมกับขบวนการดังกล่าวด้วยการล้างผิด คืนทรัพย์ และนำพ.ต.ท.ทักษิณ กลับคืนสู่อำนาจอย่างไร มิเช่นนั้นคำพูดที่เคยให้ไว้ตอนหาเสียง หรือหลังเลือกตั้ง ก็จะเป็นคำโกหกและทรยศต่อบ้านเมือง ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้การสนับสนุนการปรองดองทุกกระบวนการ หากพรรคเพื่อไทยต้องการใช้เสียงข้างมากในสภา เพื่อผลักดันข้อเสนอดังกล่าว พรรคประชาธิปัตย์ อาจจะทบทวนการมีส่วนร่วมในคณะกรรมการชุดต่าง ๆเพราะไม่ประสงค์จะให้คนหนึ่งคนใด ใช้อำนาจเสียงข้างมากมาฟอกความผิดให้ตนเอง และทำให้ประเทศกลับมาสู่ความวุ่นวาย อีกครั้งหนึ่ง" นพ.บุรณัชย์ กล่าว
**"นพเหล่"อ้างคิดเองไม่ใช่ข้อเสนอแม้ว
ด้านนายนพดล ปัทมะ กล่าวถึงกรณีข้อเสนอเพื่อความปรองดอง 6 ข้อว่า ก่อนอื่นตนขอย้ำว่า แนวคิดข้อเสนอ 6 ข้อนั้น เป็นแนวคิดส่วนตัวของตนเอง เป็นการให้สัมภาษณ์พิเศษหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง และไม่ใช่ข้อเสนอของพ.ต.ท.ทักษิณ ตนไม่ได้บอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ให้ตนนำมาเสนอ เพื่อนำไปสู่การเจรจา ซึ่งในเนื้อหาการให้สัมภาษณ์ ก็ระบุชัดเจนเช่นนั้น ตนเห็นว่า ในการจะเจรจาเพื่อหาแนวทางปรองดอง เราต้องเยียวยา และคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ที่เป็นเหยื่อของการรัฐประหาร และการกระทำที่ไม่เป็นธรรมเสียก่อน ข้อเสนอ 6 ข้อ เป็นเพียงบางประเด็น ที่หยิบยกขึ้นมาเป็นตุ๊กตา และตัวอย่างถึงประเด็นที่ควรพูดคุยกัน
นายนพดล กล่าวว่า ทุกฝ่ายในสังคม มีสิทธิ์ที่จะเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่ตนหยิบยกขึ้นมา มีบางฝ่ายที่เห็นด้วย และได้ประโยชน์จากการรัฐประหาร และรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 และบางฝ่ายเห็นว่า ความอยุติธรรมที่อีกฝ่ายได้รับคือประโยชน์ และข้อได้เปรียบของฝ่ายตน ซึ่งจุดยืนเช่นนี้ คนส่วนใหญ่ของประเทศรับไม่ได้
ทั้งนี้ ตนไม่แปลกใจเลยที่ พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ 6 ข้อ ที่ตนได้หยิบยกขึ้นมา โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย แต่พรรคเพื่อไทย นำเสนอนโยบายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และประชาชนสนับสนุนเลือก ส.ส. จากพรรคเพื่อไทย เกินครึ่งในสภา ซึ่งสะท้อนให้เห็นความต้องการของประชาชน ที่อยากเห็นประชาธิปไตย และความยุติธรรม และการแก้ไข รัฐธรรมนูญเป็นนโยบายของรัฐบาลไปแล้ว
นายนพดล ยังกล่าวต่อว่า ตนมุ่งหวังให้บ้านเมืองมีความยุติธรรม และประชาธิปไตยที่ยั่งยืน เป็นมาตรการที่มีเพื่อทุกคน ทุกสี อย่างเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ และถ้าใครอยู่ภายใต้มาตรการนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ประโยชน์ ข้อเสนอดังกล่าวจึงมิได้มีขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นต้น
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงถึงกรณี 6 ข้อเสนอ เรียกร้องการปรองดองของพ.ต.ท.ทักษิณว่า กรณีดังกล่าว ตนอยากตั้งข้อสังเกตไปยังพ.ต.ท.ทักษิณ และนายนพดล 6 ข้อเช่นกันคือ
1. หาก พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เฉยๆ ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการต่อไป แล้วยอมรับในกระบวนการยุติธรรม ก็สามารถยุติความขัดแย้ง และสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นได้แล้ว
2. ข้อเรียกร้องที่ให้คืนทรัพย์สิน และนิรโทษกรรม ถือเป็นการเปลือยตัวตน และเปิดเผยเป้าหมายที่แท้จริงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาในที่สุดด้วยตัวเอง เพราะตนไม่เห็นว่า ประชาชนคนเสื้อแดง ที่ออกมาต่อสู้เรียกร้องให้นำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้าน จะได้ประโยชน์อะไร
3. ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ เองพยายามพูดว่า การยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่เหนือกว่า การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย คือ การยอมรับคำตัดสินวิจนิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของนักการเมือง ทั้งที่นายนพดล ก็เป็นนักกฎหมาย น่าจะไปอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาฯให้ พ.ต.ท.ทักษิณฟังว่า ศาลใช้เหตุผลใดในการพิพากษาตัดสินในคดียึดทรัพย์ ไม่ใช่ว่า พอไม่ได้ประโยชน์ ก็ไม่เห็นด้วย แล้วออกมาเสนอขอตั้งกฎเกณฑ์ต่อรองขึ้นเอง ในทางตรงกันข้าม ที่ทางคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความปรองดองแห่งชาติ ( คอป.) ได้ระบุว่า บทสรุปของจุดเริ่มต้นความขัดแย้งในบ้านเมือง เกิดขึ้นจากการหักดิบกฎหมายคดีซุกหุ้น ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งแต่ปี 2547 แต่คดีนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยพูดถึงต้นเหตุว่า ตัวต้องเว้นวรรคทางการเมือง และไม่ควรเป็นนายกฯ ซึ่งที่สุดบ้านเมืองไม่ควรเกิดวิกฤติเช่นนี้ เมื่อเวลาที่ศาลตัดสินเอียงเข้าข้างตัวเองให้ได้ประโยชน์ ก็ไม่เคยพูดถึง ทั้งที่พวกเราอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน เหตุใดต้องทำตัวพิเศษ หรืออยู่เหนือคนไทย
4. ประชาชนโดยเฉพาะพี่น้องคนเสื้อแดง ควรที่จะตาสว่างได้แล้วว่า การต่อสู้ที่ผ่านมา ไม่ใช่เป็นการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ไม่มีอำมาตย์ ไม่มีไพร่ ไม่มีความเหลื่อมล้ำ ข้อเรียกร้องถูกยกขึ้นมาเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการปลุกมวลชน เพื่อให้ล้มล้างรัฐบาลพรรคประชาธปัตย์ และในข้อเสนอทั้ง 6 ข้อ ของพ.ต.ท.ทักษิณ ไม่พูดถึงการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีการพูดถึงอำมาตย์ หรือไพร่ พูดถึงเพียงผลประโยชน์ของคนเพียงคนเดียว ที่จะกลับมารวย คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่จะได้เงินคืน และได้รับการนิรโทษกรรม กระบวนการต่างๆ ที่ทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับคืนสู่อำนาจ ที่สุดก็ถูกเฉลยออกมาแล้วว่า ที่คนเสื้อแดงร่วมสู้กัน มาตายกี่ศพ เจ็บกี่ร้อย ก็เพื่อให้อำมาตย์ตัวจริง กำลังจะกลับประเทศ
5. ก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเพื่อไทย เคยยืนยันนโยบายในการหาเสียว่า จะไม่มีการนิรโทษกรรม และคืนทรัพย์สินให้กับบุคคลหนึ่งบุคคลใด แต่พอได้อำนาจรัฐจัดตั้งรัฐบาลแล้ว วันนี้ก็ขอถามว่า ข้อเสนอดังกล่าวที่มีการเสนอมานี้ ทำในนามของส่วนใด
6. ขอให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงจุดยืน และความชัดเจนว่ามีความเห็นอย่างไร จะพูดว่าไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ อีกต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะข้อเสนอที่ผ่านนายนพดล เหล่านี้ กำลังจะเป็นชนวนความขัดแย้งที่นำไปสู่ความรุนแรงรอบใหม่ในสังคมไทย นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำ จึงมีหน้าที่ต้องตัดไฟแต่ต้นลม หรือถ้าเห็นด้วยกับข้อเสนอทั้ง 6 ข้อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ควรพูดออกมาให้ชัดว่า จะนิรโทษกรรม และคืนเงินให้กับพี่ชาย เพื่อที่คนไทยจะได้รู้ว่า ประเทศจะเดินทางไปทิศทางไหน อย่างน้อยจิตสำนึกของความเป็นมนุษย์ ความเป็นลูกผู้หญิง และเป็นคนไทยคนหนึ่ง ต้องแสดงความชัดเจนว่า จะเอาอย่างไรกับการเสนอแก้ไข พ.ร.บ. ข้าราชการกระทรวง กลาโหม การนิรโทษกรรม และ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายกฯ ควรพูดให้สังคมรับทราบ อย่าปิดหูปิดตาประชาชน และอย่าเลือกที่จะปิดหู ปิดตา ตัวเอง ต่อไป
**ย้ำไม่ร่วมสังฆกรรมฟอกผิดให้"แม้ว"
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากที่ติดตามดูการเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง เห็นว่าข้ออ้างเรื่องการตั้งโต๊ะเจรจา 6 ข้อ ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประกาศผ่านสื่อมวลชนต่างประเทศ และการว่าจ้างทนายความส่วนตัว และบริษัทล็อบบี้ยีสต์ เพื่อให้เห็นว่าเป็นการถูกกล่าวหา และทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนยุติธรรมนั้น ทางพรรคประชาธิปัตย์ ไม่อาจที่จะเข้าร่วมสังฆกรรมกับการเจรจาที่อ้างเรื่องความปรองดอง แต่มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ คือ ล้างผิด คืนทรัพย์ และกลับสู่อำนาจตามคำสัมภาษณ์ของ นายนพดล ที่ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการจะกลับลงสู่การเลือกตั้งอีกครั้ง โดยมีการใช้มวลชนสร้างความขัดแย้ง และความรุนแรงเป็นเงื่อนไข และเตรียมใช้รัฐสภาเป็นเครื่องมือในการกลับคืนสู่อำนาจ โดยตัวเองอยู่เหนือกฏหมาย และเหนือระบบนิติธรรม และนิติรัฐ โดยเห็นได้ชัดว่า มีการเอาผลประโยชน์ส่วนตัวผูกกับเรื่องความปรองดอง โดยเงื่อนไขทั้ง 6 ข้อ เป็นเรื่องที่ผลประโยชน์ตนเอง แต่ประเทศชาติถูกทำลายลง และความพยายามจะอ้างคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อการปรองดอง เพราะข้อเสนอเหล่านี้ ไม่มีอะไรที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนๆ เดียวเลย
นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า การที่พรรคเพื่อไทย เตรียมการประชุมในวันนี้ (13 ธ.ค.) เพื่อจะเสนอเรื่องนิรโทษกรรม หรือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ จะทำให้เงื่อนไขนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ และอาจจะยุติด้วยการเกิคดวามรุนแรงกับประชาชนที่ไม่เห็นด้วย เพราะมีบางกลุ่มออกมาประกาศแล้วว่า จะไม่ร่วมการเจรจา หรือรับเงื่อนไขตามข้อเสนอทั้ง 6 ข้อ ซึ่งจะนำไปสู่การเผชิญหน้าของคนไทยด้วยกันเอง และพรรคเพื่อไทย จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้สังคมนำไปสู่ความขัดแย้งหลังจากที่ได้นำประเทศเข้าสู่ความวุ่นวายมาเป็นเวลาหลายปี
นพ.บุรณัชย์ กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า ไม่ว่าจะเป็นข้ออ้างจากพรรคเพื่อไทย ก่อนการเลือกตั้งว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่ได้ประโยชน์จากกระบวนการปรองดอง หรือนิรโทษกรรม หรือจดหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เขียนเปิดผนึกหลังจากที่ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ ถูกเปิดโปง ว่า ตัวเองไม่ประสงค์จะรับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการโกหกต่อประชาชนจากคำสัมภาษณ์ของนายนพดล ในครั้งนี้
" อยากให้ฝ่ายต่างๆ ออกมาแสดงความชัดเจน และพรรคเพื่อไทยต้องมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมืองว่า ต้องการมีส่วนร่วมกับขบวนการดังกล่าวด้วยการล้างผิด คืนทรัพย์ และนำพ.ต.ท.ทักษิณ กลับคืนสู่อำนาจอย่างไร มิเช่นนั้นคำพูดที่เคยให้ไว้ตอนหาเสียง หรือหลังเลือกตั้ง ก็จะเป็นคำโกหกและทรยศต่อบ้านเมือง ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้การสนับสนุนการปรองดองทุกกระบวนการ หากพรรคเพื่อไทยต้องการใช้เสียงข้างมากในสภา เพื่อผลักดันข้อเสนอดังกล่าว พรรคประชาธิปัตย์ อาจจะทบทวนการมีส่วนร่วมในคณะกรรมการชุดต่าง ๆเพราะไม่ประสงค์จะให้คนหนึ่งคนใด ใช้อำนาจเสียงข้างมากมาฟอกความผิดให้ตนเอง และทำให้ประเทศกลับมาสู่ความวุ่นวาย อีกครั้งหนึ่ง" นพ.บุรณัชย์ กล่าว
**"นพเหล่"อ้างคิดเองไม่ใช่ข้อเสนอแม้ว
ด้านนายนพดล ปัทมะ กล่าวถึงกรณีข้อเสนอเพื่อความปรองดอง 6 ข้อว่า ก่อนอื่นตนขอย้ำว่า แนวคิดข้อเสนอ 6 ข้อนั้น เป็นแนวคิดส่วนตัวของตนเอง เป็นการให้สัมภาษณ์พิเศษหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง และไม่ใช่ข้อเสนอของพ.ต.ท.ทักษิณ ตนไม่ได้บอกว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ให้ตนนำมาเสนอ เพื่อนำไปสู่การเจรจา ซึ่งในเนื้อหาการให้สัมภาษณ์ ก็ระบุชัดเจนเช่นนั้น ตนเห็นว่า ในการจะเจรจาเพื่อหาแนวทางปรองดอง เราต้องเยียวยา และคืนความเป็นธรรมให้กับผู้ที่เป็นเหยื่อของการรัฐประหาร และการกระทำที่ไม่เป็นธรรมเสียก่อน ข้อเสนอ 6 ข้อ เป็นเพียงบางประเด็น ที่หยิบยกขึ้นมาเป็นตุ๊กตา และตัวอย่างถึงประเด็นที่ควรพูดคุยกัน
นายนพดล กล่าวว่า ทุกฝ่ายในสังคม มีสิทธิ์ที่จะเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่ตนหยิบยกขึ้นมา มีบางฝ่ายที่เห็นด้วย และได้ประโยชน์จากการรัฐประหาร และรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 และบางฝ่ายเห็นว่า ความอยุติธรรมที่อีกฝ่ายได้รับคือประโยชน์ และข้อได้เปรียบของฝ่ายตน ซึ่งจุดยืนเช่นนี้ คนส่วนใหญ่ของประเทศรับไม่ได้
ทั้งนี้ ตนไม่แปลกใจเลยที่ พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ 6 ข้อ ที่ตนได้หยิบยกขึ้นมา โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย แต่พรรคเพื่อไทย นำเสนอนโยบายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และประชาชนสนับสนุนเลือก ส.ส. จากพรรคเพื่อไทย เกินครึ่งในสภา ซึ่งสะท้อนให้เห็นความต้องการของประชาชน ที่อยากเห็นประชาธิปไตย และความยุติธรรม และการแก้ไข รัฐธรรมนูญเป็นนโยบายของรัฐบาลไปแล้ว
นายนพดล ยังกล่าวต่อว่า ตนมุ่งหวังให้บ้านเมืองมีความยุติธรรม และประชาธิปไตยที่ยั่งยืน เป็นมาตรการที่มีเพื่อทุกคน ทุกสี อย่างเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติ และถ้าใครอยู่ภายใต้มาตรการนั้น ก็จะเป็นผู้ได้ประโยชน์ ข้อเสนอดังกล่าวจึงมิได้มีขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นต้น