ASTVผู้จัดการรายวัน-“พีทีที โกลบอล เคมิคอล” จ่อลงทุนสร้างโรงงานผลิต Isocyanate แห่งแรกในภูมิภาคนี้ หลังถือหุ้นใหญ่ใน Perstorp แล้ว เพื่อรุกธุรกิจโพลียูรีเทน แย้มปีหน้าลงทุนสร้างโรงงานนำร่องผลิตไบโอพลาสติกPLA ในไทยมูลค่าหลายร้อยล้านบาท โดยใช้วัตถุดิบจากน้ำตาลหรือมันสำปะหลัง หากประสบความสำเร็จก็จะสร้างโรงงานผลิตPLAในไทยเป็นแห่งที่ 2ของโลก
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)(PTTGC) เปิดเผยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในการก้าวสู่ผู้นำปิโตรเคมีครบวงจรชั้นนำในภูมิภาคนี้ว่า บริษัทมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจต่อยอดสายการผลิตเดิมของบริษัทที่มีอยู่ทั้งสายโอเลฟินส์ สายอะโรเมติกส์และการกลั่นให้มีความเข้มแข็งขึ้นแบบยั่งยืน ซึ่งการตัดสินใจเข้าไปลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท Perstorp Holding France ในอัตรา 51% วงเงินประมาณ 114.8 ล้านยูโร หรือประมาณ 4,830 ล้านบาท เนื่องจากPerstorp เป็นเจ้าของเทคโนโลยีการผลิต Isocyanate ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกโพลียูรีเทน นับเป็นการก้าวสู่ธุรกิจปลายน้ำที่สร้างมูลค่าเพิ่มในสายอะโรเมติกส์
ขณะนี้ดีลดังกล่าวอยู่ในกระบวนการต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในฝรั่งเศส คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก4-5 เดือน ภายหลังบริษัทเข้าไปถือหุ้นในPerstorp แล้ว มีแผนที่จะสร้างโรงงานผลิต Isocyanate แห่งใหม่ในภูมิภาคนี้ เนื่องจากในภูมิภาคเอเชียมีการใช้โพลียูรีเทนสูงมาก โดยเม็ดพลาสติกดังกล่าวนำไปใช้ในการผลิตโฟม และสารเคลือบในอุตสาหกรรมยานยนต์และสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะการตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตมีโอกาสที่ดีมาก โดยบริษัทฯมุ่งหวังที่จะผลิตให้ครบChainการผลิตสายโพลียูรีเทน อาทิ Toluene diisocyanate (TDI), Hexamethylene diisocyanate (HDI) และ Derivatives เป็นต้น
ส่วนการรุกธุรกิจไบโอพลาสติกหลังจากบริษัทร่วมทุนกับNatureWorks เป็นที่เรียบร้อย บริษัทยังมีแผนที่จะลงทุนโรงงานนำร่อง (Pilot plant) ในการผลิตไบโอพลาสติกประเภท PLA (Poly Lactic Acid) ที่ใช้วัตถุดิบจากน้ำตาลหรือมันสำปะหลังในเมืองไทย ใช้เงินลงทุนหลายล้านบาท เพื่อดูประสิทธิภาพการผลิตให้เกิดความมั่นใจ เนื่องจากโรงงานผลิตPLAแห่งแรกที่สหรัฐฯใช้วัตถุดิบคือข้าวโพด หากโครงการนำร่องประสบความสำเร็จด้วยดี บริษัทมีแผนตั้งโรงงานผลิตPLAแห่งที่ 2 ขนาดกำลังการผลิต 1.4 แสนตัน/ปีขึ้นในไทย เงินลงทุน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตลาดไบโอพลาสติกประเภทPLAในโลกมีความต้องการใช้ 1 แสนตัน/ปี มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 25-30% ดังนั้น ในปี 2558 ความต้องการใช้ไบโอพลาสติกจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 แสนตัน จึงจำเป็นต้องมีโรงงานผลิตPLAแห่งที่ 2เพื่อรองความต้องการของลูกค้า โดยโรงงานผลิตPLAในไทยจะเน้นส่งออกไปต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย และจำหน่ายในไทยเพียง 10-15%ของกำลังการผลิต โดยบริษัทตั้งเป้าหมายการผลิตPLA แห่งที่ 2 ในปี 2558
นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า การเติบโตในสายโอเลฟินส์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่สำคัญของบริษัท มีความเป็นไปได้ที่จะขยายการลงทุนในภูมิภาคนี้ เนื่องจากยังไม่มีโรงงานในอาเซียน แต่คงต้องศึกษาตลาดและเลือกประเทศที่จะลงทุน โดยมองอินโดนีเซียที่เป็นตลาดใหญ่ และต้องนำเข้าเม็ดพลาสติกอยู่ ส่วนเวียดนามเป็นประเทศที่ไม่ห่างจากไทยมากนัก อาจใช้วิธีการส่งเม็ดพลาสติกไปจำหน่ายแทน
ทั้งนี้ การบริโภคในอาเซียนคิดเป็น 4-5เท่าของการบริโภคในไทย ขณะที่ประชากรในอาเซียนสูงกว่าไทยเกือบ 10 เท่า แสดงว่าอาเซียนมีอัตราการบริโภคพลาสติกต่อคนต่อปียังต่ำอยู่ ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในอาเซียน ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่ดีในอาเซียน เพียงแต่ต้องทำให้เป็น คิคให้เป็น ต้องอย่ากลัวว่าบริษัทไทยจะใหญ่ แต่ต้องส่งเสริมให้บริษัทไทยเข้มแข็งและใหญ่ เพื่อแข่งขันในตลาดโลกให้ได้และรองรับการเบิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
ส่วนการขยายธุรกิจโรงกลั่นนั้น คงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากค่าการกลั่นไม่สูงมาก โดยเฉพาะมาร์จินจากน้ำมันเบนซินค่อนข้างแคบ ขณะที่มาร์จินดีเซลและน้ำมันอากาศยาน (เจ็ท) ยังดีอยู่ ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้จากการกลั่นนั้นต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคเอเชีย
ปัจจุบันส่วนราคาเม็ดพลาสติกHDPEกับวัตถุดิบแนฟธา (สเปรด) แคบลงเหลือ 450 เหรียญสหรัฐ/ตัน และโพลีโพรพิลีนยิ่งแคบลงมากเหลือเพียง 450 เหรียญสหรัฐ/ตันจากเดิมเคยสูงถึง 500-600 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก ทำให้โรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ในโลกหลายแห่งลดกำลังการผลิตลง แต่เชื่อว่าสเปรดเม็ดพลาสติกจะกลับมาดีขึ้นหลังพ้นช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ สำหรับมาร์จิน อะโรเมติกส์ยังดีอยู่แม้ว่าจะอ่อนตัวลงไปแต่ไม่มาก เนื่องจากความต้องการใช้พาราไซลีนยังสูงในธุรกิจผลิตPTAในจีน
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)(PTTGC) เปิดเผยกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในการก้าวสู่ผู้นำปิโตรเคมีครบวงจรชั้นนำในภูมิภาคนี้ว่า บริษัทมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจต่อยอดสายการผลิตเดิมของบริษัทที่มีอยู่ทั้งสายโอเลฟินส์ สายอะโรเมติกส์และการกลั่นให้มีความเข้มแข็งขึ้นแบบยั่งยืน ซึ่งการตัดสินใจเข้าไปลงทุนซื้อหุ้นในบริษัท Perstorp Holding France ในอัตรา 51% วงเงินประมาณ 114.8 ล้านยูโร หรือประมาณ 4,830 ล้านบาท เนื่องจากPerstorp เป็นเจ้าของเทคโนโลยีการผลิต Isocyanate ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกโพลียูรีเทน นับเป็นการก้าวสู่ธุรกิจปลายน้ำที่สร้างมูลค่าเพิ่มในสายอะโรเมติกส์
ขณะนี้ดีลดังกล่าวอยู่ในกระบวนการต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในฝรั่งเศส คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก4-5 เดือน ภายหลังบริษัทเข้าไปถือหุ้นในPerstorp แล้ว มีแผนที่จะสร้างโรงงานผลิต Isocyanate แห่งใหม่ในภูมิภาคนี้ เนื่องจากในภูมิภาคเอเชียมีการใช้โพลียูรีเทนสูงมาก โดยเม็ดพลาสติกดังกล่าวนำไปใช้ในการผลิตโฟม และสารเคลือบในอุตสาหกรรมยานยนต์และสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะการตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตมีโอกาสที่ดีมาก โดยบริษัทฯมุ่งหวังที่จะผลิตให้ครบChainการผลิตสายโพลียูรีเทน อาทิ Toluene diisocyanate (TDI), Hexamethylene diisocyanate (HDI) และ Derivatives เป็นต้น
ส่วนการรุกธุรกิจไบโอพลาสติกหลังจากบริษัทร่วมทุนกับNatureWorks เป็นที่เรียบร้อย บริษัทยังมีแผนที่จะลงทุนโรงงานนำร่อง (Pilot plant) ในการผลิตไบโอพลาสติกประเภท PLA (Poly Lactic Acid) ที่ใช้วัตถุดิบจากน้ำตาลหรือมันสำปะหลังในเมืองไทย ใช้เงินลงทุนหลายล้านบาท เพื่อดูประสิทธิภาพการผลิตให้เกิดความมั่นใจ เนื่องจากโรงงานผลิตPLAแห่งแรกที่สหรัฐฯใช้วัตถุดิบคือข้าวโพด หากโครงการนำร่องประสบความสำเร็จด้วยดี บริษัทมีแผนตั้งโรงงานผลิตPLAแห่งที่ 2 ขนาดกำลังการผลิต 1.4 แสนตัน/ปีขึ้นในไทย เงินลงทุน 200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตลาดไบโอพลาสติกประเภทPLAในโลกมีความต้องการใช้ 1 แสนตัน/ปี มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 25-30% ดังนั้น ในปี 2558 ความต้องการใช้ไบโอพลาสติกจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 แสนตัน จึงจำเป็นต้องมีโรงงานผลิตPLAแห่งที่ 2เพื่อรองความต้องการของลูกค้า โดยโรงงานผลิตPLAในไทยจะเน้นส่งออกไปต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย และจำหน่ายในไทยเพียง 10-15%ของกำลังการผลิต โดยบริษัทตั้งเป้าหมายการผลิตPLA แห่งที่ 2 ในปี 2558
นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า การเติบโตในสายโอเลฟินส์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่สำคัญของบริษัท มีความเป็นไปได้ที่จะขยายการลงทุนในภูมิภาคนี้ เนื่องจากยังไม่มีโรงงานในอาเซียน แต่คงต้องศึกษาตลาดและเลือกประเทศที่จะลงทุน โดยมองอินโดนีเซียที่เป็นตลาดใหญ่ และต้องนำเข้าเม็ดพลาสติกอยู่ ส่วนเวียดนามเป็นประเทศที่ไม่ห่างจากไทยมากนัก อาจใช้วิธีการส่งเม็ดพลาสติกไปจำหน่ายแทน
ทั้งนี้ การบริโภคในอาเซียนคิดเป็น 4-5เท่าของการบริโภคในไทย ขณะที่ประชากรในอาเซียนสูงกว่าไทยเกือบ 10 เท่า แสดงว่าอาเซียนมีอัตราการบริโภคพลาสติกต่อคนต่อปียังต่ำอยู่ ดังนั้นอุตสาหกรรมพลาสติกมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในอาเซียน ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่ดีในอาเซียน เพียงแต่ต้องทำให้เป็น คิคให้เป็น ต้องอย่ากลัวว่าบริษัทไทยจะใหญ่ แต่ต้องส่งเสริมให้บริษัทไทยเข้มแข็งและใหญ่ เพื่อแข่งขันในตลาดโลกให้ได้และรองรับการเบิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
ส่วนการขยายธุรกิจโรงกลั่นนั้น คงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากค่าการกลั่นไม่สูงมาก โดยเฉพาะมาร์จินจากน้ำมันเบนซินค่อนข้างแคบ ขณะที่มาร์จินดีเซลและน้ำมันอากาศยาน (เจ็ท) ยังดีอยู่ ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้จากการกลั่นนั้นต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นไปตามความต้องการใช้พลังงานในภูมิภาคเอเชีย
ปัจจุบันส่วนราคาเม็ดพลาสติกHDPEกับวัตถุดิบแนฟธา (สเปรด) แคบลงเหลือ 450 เหรียญสหรัฐ/ตัน และโพลีโพรพิลีนยิ่งแคบลงมากเหลือเพียง 450 เหรียญสหรัฐ/ตันจากเดิมเคยสูงถึง 500-600 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลก ทำให้โรงโอเลฟินส์แครกเกอร์ในโลกหลายแห่งลดกำลังการผลิตลง แต่เชื่อว่าสเปรดเม็ดพลาสติกจะกลับมาดีขึ้นหลังพ้นช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ สำหรับมาร์จิน อะโรเมติกส์ยังดีอยู่แม้ว่าจะอ่อนตัวลงไปแต่ไม่มาก เนื่องจากความต้องการใช้พาราไซลีนยังสูงในธุรกิจผลิตPTAในจีน