ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - เชียงใหม่วาง 5 ยุทธศาสตร์เตรียมรองรับปัญหาหมอกควัน-ไฟป่า ปี 55 เล็งคุมการเผาในชุมชน-พื้นที่เกษตร-ไฟป่า พร้อมเดินหน้ารณรงค์ลดละเลิกเผากับต่อยอดให้ความรู้แก้ปัญหา ยันไม่วางใจแม้ปี 54 ควบคุมอยู่ ย้ำ ปี 55 ยังต้องดูแลต่อเนื่อง หวั่นอากาศแย่กระทบภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
นายประหยัด อนันต์ประดิษฐ์ หัวหน้ากลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงมาตรการการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2555 ว่า จังหวัดได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยยึดกรอบแผนจัดการหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง ปี 2554-2559 ของกรมควบคุมมลพิษ
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ประการ ได้แก่ 1.การควบคุมการเผาในที่ชุมชน 2.การควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม 3.การควบคุมไฟป่า 4.การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 5.การส่งเสริมการวิจัยและการขยายผลองค์ความรู้
นายประหยัด อธิบายว่า การควบคุมการเผาในที่ชุมชนและการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการเกิดปัญหาหมอกควันของจังหวัดเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่า การเผาในพื้นที่ทั้งสองส่วน ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควัน โดยการเผาในที่ชุมชนมักเป็นการเผาขยะ เศษกิ่งไม้ใบไม้ ส่วนการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมจะมีทั้งการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก และการเผาเศษวัสดุที่ได้จากการทำการเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
การเผาทั้งสองส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมามักมีความเข้าใจว่าพื้นที่การเกษตรหรือในพื้นที่รอบนอกเป็นจุดหลักที่มีการเผา แต่ในความเป็นจริงการเผาในพื้นที่ชุมชนหรือตัวเมือง รวมไปถึงควันจากรถยนต์หรือการปิ้งย่างทำอาหารก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน ขณะที่ภาคการเกษตรก็มีวัสดุเหลือใช้จำนวนมากที่หากไม่มีการจัดการที่ดี เกษตรกรก็จะเลือกการเผาเพื่อทำลายมากกว่า
สำหรับกรณีของไฟป่า ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักถึง 80% ของปัญหาหมอกควัน โดยในปัจจุบันก็ยังพบว่ามีการเผาที่เป็นการกระทำของประชาชนในพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่ควรมีการเผาเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาในส่วนนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการป้องกันและระงับไฟป่าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการประสานงานไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ในการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะถึงแม้จะสามารถดูแลไม่ให้จังหวัดเชียงใหม่เกิดปัญหาไฟป่า แต่หากมีไฟป่าในจังหวัดใกล้เคียงในพื้นที่ภาคเหนือหรือในประเทศเพื่อนบ้าน ก็มีผลกระทบต่อจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเช่นกัน
ด้านการประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมนายประหยัด กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ยังคงต้องทำอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ข้อมูลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะระบุว่า ประชาชนยังคงมีพฤติกรรมการเผาตามความเคยชิน แม้จะมีการประชาสัมพันธ์หรือมาตรการในการควบคุมดูแล อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพียงแต่จำเป็นต้องใช้เวลา การประชาสัมพันธ์และชักชวนให้ประชาชนรวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหมอกควัน จึงถือเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ถึงผลกระทบของปัญหาหมอกควันที่มีต่อคุณภาพชีวิตของตนเอง
ส่วนการส่งเสริมการศึกษาวิจัยและการขยายผลองค์ความรู้ นายประหยัดระบุว่า จะเป็นการนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขหมอกควันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ เช่น การหาทางจัดการกับเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร อย่างตอซังข้าวโพด ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีงานวิจัยอยู่ เป็นต้น โดยในส่วนนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการศึกษาวิจัยและได้กำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหาไว้ 8 กลุ่มทางเลือก 20 รูปแบบ ซึ่งจะต้องมีการต่อยอดนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้แก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ แม้ว่าจากตัวเลขสถิติต่างๆ จะชี้ให้เห็นว่าปัญหาหมอกควันและไฟป่ามีแนวโน้มลดลง และในปี 2554 จังหวัดเชียงใหม่สามารถควบคุมปัญหาดังกล่าวได้ ตามนโยบายของหม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยปรากฏว่า ไม่มีวันใดที่ค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน หรือ PM10 เกินมาตรฐาน แต่ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลมาจากการเกิดฝนตกในพื้นที่ในช่วงเดือนมี.ค.ด้วย
ขณะที่ในช่วงฤดูหนาวของปีนี้ เริ่มพบว่าหลายพื้นที่มีการเผาเกิดขึ้นแล้ว ประกอบกับในช่วงเดือนมี.ค. ตามสถิติจะเป็นช่วงที่ปัญหาหมอกควันจะมีความรุนแรงมากที่สุด ยังคงอยู่ในช่วงของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ 2554 ที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมจำนวนมาก หากเกิดปัญหาหมอกควันรุนแรงก็อาจส่งผลกระทบถึงการท่องเที่ยวของจังหวัดได้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันในการป้องกันและดูแลปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้น
นายประหยัด อนันต์ประดิษฐ์ หัวหน้ากลุ่มงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงมาตรการการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2555 ว่า จังหวัดได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยยึดกรอบแผนจัดการหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง ปี 2554-2559 ของกรมควบคุมมลพิษ
ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ประการ ได้แก่ 1.การควบคุมการเผาในที่ชุมชน 2.การควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม 3.การควบคุมไฟป่า 4.การรณรงค์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และ 5.การส่งเสริมการวิจัยและการขยายผลองค์ความรู้
นายประหยัด อธิบายว่า การควบคุมการเผาในที่ชุมชนและการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการเกิดปัญหาหมอกควันของจังหวัดเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่า การเผาในพื้นที่ทั้งสองส่วน ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควัน โดยการเผาในที่ชุมชนมักเป็นการเผาขยะ เศษกิ่งไม้ใบไม้ ส่วนการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมจะมีทั้งการเผาเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูก และการเผาเศษวัสดุที่ได้จากการทำการเกษตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
การเผาทั้งสองส่วนนี้จำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมดูแลอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมามักมีความเข้าใจว่าพื้นที่การเกษตรหรือในพื้นที่รอบนอกเป็นจุดหลักที่มีการเผา แต่ในความเป็นจริงการเผาในพื้นที่ชุมชนหรือตัวเมือง รวมไปถึงควันจากรถยนต์หรือการปิ้งย่างทำอาหารก็ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน ขณะที่ภาคการเกษตรก็มีวัสดุเหลือใช้จำนวนมากที่หากไม่มีการจัดการที่ดี เกษตรกรก็จะเลือกการเผาเพื่อทำลายมากกว่า
สำหรับกรณีของไฟป่า ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักถึง 80% ของปัญหาหมอกควัน โดยในปัจจุบันก็ยังพบว่ามีการเผาที่เป็นการกระทำของประชาชนในพื้นที่ป่าสงวน ซึ่งต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่ควรมีการเผาเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาในส่วนนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการป้องกันและระงับไฟป่าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการประสานงานไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ในการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะถึงแม้จะสามารถดูแลไม่ให้จังหวัดเชียงใหม่เกิดปัญหาไฟป่า แต่หากมีไฟป่าในจังหวัดใกล้เคียงในพื้นที่ภาคเหนือหรือในประเทศเพื่อนบ้าน ก็มีผลกระทบต่อจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเช่นกัน
ด้านการประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมนายประหยัด กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ยังคงต้องทำอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ข้อมูลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะระบุว่า ประชาชนยังคงมีพฤติกรรมการเผาตามความเคยชิน แม้จะมีการประชาสัมพันธ์หรือมาตรการในการควบคุมดูแล อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพียงแต่จำเป็นต้องใช้เวลา การประชาสัมพันธ์และชักชวนให้ประชาชนรวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาหมอกควัน จึงถือเป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ถึงผลกระทบของปัญหาหมอกควันที่มีต่อคุณภาพชีวิตของตนเอง
ส่วนการส่งเสริมการศึกษาวิจัยและการขยายผลองค์ความรู้ นายประหยัดระบุว่า จะเป็นการนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขหมอกควันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ เช่น การหาทางจัดการกับเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร อย่างตอซังข้าวโพด ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีงานวิจัยอยู่ เป็นต้น โดยในส่วนนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ทำการศึกษาวิจัยและได้กำหนดทางเลือกในการแก้ไขปัญหาไว้ 8 กลุ่มทางเลือก 20 รูปแบบ ซึ่งจะต้องมีการต่อยอดนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้แก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ แม้ว่าจากตัวเลขสถิติต่างๆ จะชี้ให้เห็นว่าปัญหาหมอกควันและไฟป่ามีแนวโน้มลดลง และในปี 2554 จังหวัดเชียงใหม่สามารถควบคุมปัญหาดังกล่าวได้ ตามนโยบายของหม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยปรากฏว่า ไม่มีวันใดที่ค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน หรือ PM10 เกินมาตรฐาน แต่ส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลมาจากการเกิดฝนตกในพื้นที่ในช่วงเดือนมี.ค.ด้วย
ขณะที่ในช่วงฤดูหนาวของปีนี้ เริ่มพบว่าหลายพื้นที่มีการเผาเกิดขึ้นแล้ว ประกอบกับในช่วงเดือนมี.ค. ตามสถิติจะเป็นช่วงที่ปัญหาหมอกควันจะมีความรุนแรงมากที่สุด ยังคงอยู่ในช่วงของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ 2554 ที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมจำนวนมาก หากเกิดปัญหาหมอกควันรุนแรงก็อาจส่งผลกระทบถึงการท่องเที่ยวของจังหวัดได้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันในการป้องกันและดูแลปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้น