ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ -หลายจังหวัดในภาคกลางยังไม่พ้นน้ำท่วม แต่ที่เชียงใหม่ ต้องเตรียมการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่าหน้าแล้งแล้ว โดยยึดกรอบแผนจัดการหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง ปี 2555 - 2559 ของกรมควบคุมมลพิษ เผย 10 อำเภอเสี่ยง ไล่ตั้งแต่ แม่แจ่ม อมก๋อย ฮอด เชียงดาว ดอยเต่า จอมทอง แม่อาย แม่แตง ฝาง และพร้าว
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการประกาศให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าเป็นวาระของจังหวัดเชียงใหม่ที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน และได้ดำเนินการทบทวนสถานการณ์หมอกควันและไฟป่า รายงานการศึกษาวิจัยทางวิชาการ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ในการจัดทำแผนงาน/โครงการ โดยได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี พ.ศ.2555 - 2559 โดยให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ขณะนี้จังหวัดได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า โดยยึดกรอบแผนจัดการหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง ปี 2555 - 2559 ของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ควบคุมการเผาในพื้นที่ชุมชน กำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยเพิ่มความเข้มงวดการกำกับ ดูแล และบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม โดยดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตร สนับสนุนการทำเกษตรปลอดการเผา พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนปลอดการเผา ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผา การใช้ประโยชน์เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผา สนับสนุนการทำเกษตรผสมผสาน เช่น กาแฟ ข้าว และเลี้ยงสัตว์ หรือส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้น สัก ไม้ผล ไม้โตเร็วและส่งเสริมตลาดทดแทนปลูกพืชเชิงเดี่ยว รวมถึงดำเนินมาตรการจัดระเบียบการเผาเฉพาะในพื้นที่การเกษตรที่จำเป็น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ควบคุมไฟป่า มีการควบคุมและป้องกันการเกิดไฟป่า โดยลดเชื้อเพลิงในพื้นที่ ที่มีความเหมาะสม การทำฝายชะลอน้ำ และปลูกป่าเปียกเพื่อลดพื้นที่เผาในระยะยาว ส่วนพื้นที่ป่าดิบหรือพื้นที่ป่าสมบูรณ์ ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง แจ้งเตือนสถานการณ์ ตั้งจุดสกัด ชุดลาดตระเวน และเตรียมความพร้อมการดับไฟป่า มีการสนับสนุนให้ชุมชน อปท. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์/รักษาพื้นที่ป่าและเพิ่มศักยภาพการจัดการไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบ รวมถึงการจัดชุดปฏิบัติการควบคุมไฟป่า เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานในช่วงวิกฤตหมอกควันด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างการมีส่วนร่วม โดยประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์ เผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สร้างความตระหนักและปลุกจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านการจัดการปัญหาหมอกควันและไฟป่า ผ่านสื่อต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการศึกษาวิจัย และขยายผลองค์ความรู้ โดยพัฒนาองค์ความรู้และการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบหมอกควัน กำหนดประเด็นการศึกษาทางเลือกแก้ไขปัญหา และรูปแบบองค์ความรู้ทางเลือกที่เหมาะสมในการลดการเผาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการเผาในพื้นที่โล่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาหมอกควัน ไฟป่าที่เกิดขึ้น สร้างความสูญเสียและเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและทางราชการ ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาทางด้านสุขภาพของประชาชน จึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันป้องกันและแก้ไข โดยต้องไม่ส่งเสริมให้มีการเผาทุกชนิดซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดหมอกควันในพื้นที่ทุกแห่ง หากพบเห็นไฟป่าเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งใดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อเข้าดำเนินการควบคุมไฟป่า เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณภาพอากาศที่ดีและเป็นที่ชื่นชมของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาเยือนเชียงใหม่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวนี้ต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ยังได้ย้ำถึงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหมอกควันและไฟป่า และเป็นพื้นที่ ที่มีสถิติการเผาในที่โล่งมากที่สุด 10 อำเภอคือ แม่แจ่ม อมก๋อย ฮอด เชียงดาว ดอยเต่า จอมทอง แม่อาย แม่แตง ฝาง และ พร้าว
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการประกาศให้การแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าเป็นวาระของจังหวัดเชียงใหม่ที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วน และได้ดำเนินการทบทวนสถานการณ์หมอกควันและไฟป่า รายงานการศึกษาวิจัยทางวิชาการ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ในการจัดทำแผนงาน/โครงการ โดยได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า ปี พ.ศ.2555 - 2559 โดยให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
ขณะนี้จังหวัดได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า โดยยึดกรอบแผนจัดการหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง ปี 2555 - 2559 ของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ควบคุมการเผาในพื้นที่ชุมชน กำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยเพิ่มความเข้มงวดการกำกับ ดูแล และบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม โดยดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตร สนับสนุนการทำเกษตรปลอดการเผา พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนปลอดการเผา ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผา การใช้ประโยชน์เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผา สนับสนุนการทำเกษตรผสมผสาน เช่น กาแฟ ข้าว และเลี้ยงสัตว์ หรือส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้น สัก ไม้ผล ไม้โตเร็วและส่งเสริมตลาดทดแทนปลูกพืชเชิงเดี่ยว รวมถึงดำเนินมาตรการจัดระเบียบการเผาเฉพาะในพื้นที่การเกษตรที่จำเป็น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ควบคุมไฟป่า มีการควบคุมและป้องกันการเกิดไฟป่า โดยลดเชื้อเพลิงในพื้นที่ ที่มีความเหมาะสม การทำฝายชะลอน้ำ และปลูกป่าเปียกเพื่อลดพื้นที่เผาในระยะยาว ส่วนพื้นที่ป่าดิบหรือพื้นที่ป่าสมบูรณ์ ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง แจ้งเตือนสถานการณ์ ตั้งจุดสกัด ชุดลาดตระเวน และเตรียมความพร้อมการดับไฟป่า มีการสนับสนุนให้ชุมชน อปท. มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์/รักษาพื้นที่ป่าและเพิ่มศักยภาพการจัดการไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบ รวมถึงการจัดชุดปฏิบัติการควบคุมไฟป่า เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานในช่วงวิกฤตหมอกควันด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างการมีส่วนร่วม โดยประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์ เผยแพร่ความรู้และข้อมูลข่าวสาร เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สร้างความตระหนักและปลุกจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านการจัดการปัญหาหมอกควันและไฟป่า ผ่านสื่อต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการศึกษาวิจัย และขยายผลองค์ความรู้ โดยพัฒนาองค์ความรู้และการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลกระทบหมอกควัน กำหนดประเด็นการศึกษาทางเลือกแก้ไขปัญหา และรูปแบบองค์ความรู้ทางเลือกที่เหมาะสมในการลดการเผาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการเผาในพื้นที่โล่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาหมอกควัน ไฟป่าที่เกิดขึ้น สร้างความสูญเสียและเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและทางราชการ ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาทางด้านสุขภาพของประชาชน จึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการร่วมกันป้องกันและแก้ไข โดยต้องไม่ส่งเสริมให้มีการเผาทุกชนิดซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดหมอกควันในพื้นที่ทุกแห่ง หากพบเห็นไฟป่าเกิดขึ้นในพื้นที่แห่งใดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อเข้าดำเนินการควบคุมไฟป่า เพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณภาพอากาศที่ดีและเป็นที่ชื่นชมของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาเยือนเชียงใหม่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวนี้ต่อไป
ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ยังได้ย้ำถึงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาหมอกควันและไฟป่า และเป็นพื้นที่ ที่มีสถิติการเผาในที่โล่งมากที่สุด 10 อำเภอคือ แม่แจ่ม อมก๋อย ฮอด เชียงดาว ดอยเต่า จอมทอง แม่อาย แม่แตง ฝาง และ พร้าว