เมื่อ 43 ปีที่แล้ว สมัยที่ผมยังเป็นนักศึกษาคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผมมาเที่ยวเชียงใหม่กับเพื่อนๆ นักศึกษาและจำได้ว่าได้มานอนค้างที่หมู่บ้านบนดอยปุย สถานที่พักแรมของเราเป็นโรงเรือนไม้ชื่อว่า “โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์” ภายหลังเราถึงได้รู้ว่าที่นี่เป็นโรงเรียนแห่งแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างให้กับชาวเขาซึ่งเป็นพสกนิกรของพระองค์ อากาศบนดอยปุยในช่วงนั้นหนาวมาก อุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เวลากินข้าวเราใช้กลีบนอกของกะหล่ำปลีแทนจานข้าว
เป็นครั้งแรกในชีวิตที่กินทั้งข้าวทั้งจานไปด้วยกันได้ ในสมัยเป็นนักศึกษาก็สนุกสนานไปวันๆ แต่การได้เดินทางไปทัศนศึกษาตามที่ต่างๆ ออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ ทั้งการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ การไปวาดรูปนอกสถานที่บ่อยๆ ทำให้เราได้รู้จักแง่มุมต่างๆ ของบ้านเมืองเรา ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนที่แตกต่างกันไป ใครจะรู้อนาคตได้ว่าเราจะต้องไปอยู่ที่ไหน หรือตายที่ไหน? ผมเองก็เช่นกัน
ทุกวันนี้กลับกลายเป็นว่าผมได้มีเพื่อนซึ่งเป็นชาวชนเผ่าต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นม้ง เมี่ยน กะเหรี่ยง มูเซอ อาข่า ฯลฯ ได้เป็นที่ปรึกษาสมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทย มีโอกาสได้ไปกินไปนอนบนดอยหลายลูกในภาคเหนือ รับรู้ถึงความทุกข์ยาก ความคับแค้นใจในการเป็นพลเมืองชั้น 2 ของพวกเขาเหล่านั้น ชาวเขาส่วนใหญ่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน บ้างก็เป็นคนไร้สัญชาติทั้งที่พ่อแม่ก็เกิดในแผ่นดินไทย เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบรรพบุรุษของเขาอยู่ในแผ่นดินของประเทศใด เพราะแต่เดิมเขตแดนของประเทศสยามทั้งทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกและตะวันตก กินพื้นที่กว้างใหญ่กว่าทุกวันนี้
ชาวเขาแต่ละเผ่ามีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ม้งเป็นชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งย้ายถิ่นที่อยู่บ่อยและมีอาชีพดั้งเดิมคือการปลูกฝิ่น ไม่ใช่แค่เอาไว้สูบเองเท่านั้น แต่เพื่อการค้าด้วย สมัยก่อนการปลูกฝิ่นไม่ผิดกฎหมาย ในบางแห่งรัฐก็ยังเป็นผู้ค้าฝิ่นเองเสียด้วยซ้ำ ต่อมาเมื่ออาชีพปลูกฝิ่นและคนสูบฝิ่นกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ชาวเขาเองก็ปรับตัวลำบาก เจ้าหน้าที่รัฐก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการเข้าจับกุม รื้อทำลายไร่ฝิ่นเหล่านั้น บางครั้งก็เลยเถิดไปถึงการทำลายทรัพย์สินและไร่นาเสียหายไปด้วย บางหมู่บ้านถูกเผาเพื่อขับไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น หรือมีโครงการอพยพโยกย้ายให้ไปอยู่บนที่ราบซึ่งไม่ใช่วิถีชีวิตของชาวเขา
ชาวเขาบางเผ่าแม้ว่าจะไม่ได้ปลูกฝิ่น แต่ก็ถูกเหมารวมว่าเป็นผู้ร้ายไปด้วย ส่วนกะเหรี่ยงซึ่งเป็นชนเผ่าเก่าแก่อยู่คู่กับประเทศไทยมาก่อนกรุงศรีอยุธยานั้น การทำไร่ของชนเผ่านี้เป็นวิถีที่อยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง เขาใช้ระบบไร่หมุนเวียนซึ่งทำให้ทรัพยากรสามารถกลับมาฟื้นตัวเองได้ มีงานวิจัยรองรับว่าระบบไร่หมุนเวียนนี้ไม่ได้ทำลายป่า แต่คนที่อยู่พื้นราบก็ยังไม่พยายามเข้าใจ
แล้ววันที่วิถีชีวิตอันขมขื่นของพี่น้องม้งบนดอยปุยเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็มาถึง กว่า 50 ปีก่อนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงม้าจากค่ายดารารัศมี และเสด็จพระราชดำเนินต่อไปจนถึงหมู่บ้านม้งบนดอยปุย พระองค์ทรงซักถามสารทุกข์สุกดิบกับราษฎรซึ่งเป็นชาวเขาด้วยพระองค์เอง
เมื่อทรงทราบถึงความทุกข์ยากและอุปสรรคในการดำรงชีวิตของชาวเขา รวมไปถึงการขาดการศึกษาของเยาวชน โรงเรียนเพื่อการศึกษาของเด็กๆ ชาวเขาแห่งแรกจึงเกิดขึ้นที่นี่ ต่อมาจึงได้ขยายการศึกษาให้กับชาวเขาไปทั่วทุกดอย โดยแรกเริ่มนั้นได้รับความอนุเคราะห์ครูมาจากตำรวจตระเวนชายแดนหรือที่เรียกกันว่า ครู ตชด.จนกระทั่งวันนี้มีชนเผ่าม้งคนแรกที่ได้รับการศึกษาขั้นสูงสุดจนจบปริญญาเอกมาแล้ว เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่คนเหล่านี้จักไม่มีวันลืม
ชีวิตของม้งบนดอยปุยเริ่มเห็นแสงสว่างจากประทีปส่องทางของพระเจ้าอยู่หัว การปลูกฝิ่นค่อยๆ ลดลง หันมาทำการเกษตรโดยปลูกพืชเมืองหนาว เช่น ท้อและลิ้นจี่ ปลูกผักหลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากจนถึงบัดนี้คือกะหล่ำปลี เมื่อใดที่ถูกเจ้าหน้าที่ข่มเหงน้ำใจโดยใช้กฎหมาย ชาวเขาเหล่านี้ก็จะใช้วิธีเขียนจดหมาย ถวายฎีกา หรือฝากผ่านราชเลขา และได้รับพระเมตตาช่วยเหลือจากพระองค์ท่านอยู่เสมอ จนเจ้าหน้าที่บางรายกล่าวหาว่าม้งเป็นพวกช่างฟ้อง พระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระราชดำรัสว่า “บางครั้งกฎหมายก็ละเมิดความเป็นมนุษย์”
จากนักปลูกฝิ่น ผู้ทำลายป่า ม้งดอยปุยในวันนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ ไร่ฝิ่นเดิมแทบไม่เหลือร่องรอย เพราะกลายเป็นป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีกฎกติกาที่ห้ามตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ ทำแนวกันไฟป่าต่อเนื่องทุกปีตลอดทั้งดอย พื้นที่ทำมาหากินแต่เดิมกลับลดลง กลายเป็นว่าทั้งหมู่บ้านซึ่งอยู่อาศัยกันมานานกว่า 60 ปี กลับถูกกฎหมายอุทยานแห่งชาติประกาศทับเมื่อ พ.ศ. 2524 จนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการกันพื้นที่ออกจากเขตอุทยาน ในขณะที่การก่อสร้างไนท์ซาฟารีและพืชสวนโลกซึ่งเพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ทั้งที่มีการก่อสร้างที่ผิดต่อกฎหมายอุทยานและกฎหมายสิ่งแวดล้อม กลับกำลังเร่งหาทางกันพื้นที่ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ ส่วนพวกม้งที่อยู่ในพื้นที่มาก่อนนั้น กฎหมายกลับไม่ยอมรับและไม่ให้สิทธิการเป็นพลเมืองอย่างเท่าเทียมกัน
ชีวิตม้งบนดอยปุยอยู่กันอย่างเรียบง่ายตามวิถีและวัฒนธรรมของคนบนดอยมาช้านาน ใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัว ต้นท้อเก่าแก่หมดอายุไปแล้วก็ไม่ได้ปลูกเพิ่ม ลิ้นจี่ก็แทบจะไม่ให้ผลแล้ว ต้นที่ปลูกใหม่ก็ต้องใช้เวลาอีกนาน ลูกหลานของคนที่นี่หลายคนลงไปทำงานค้าขายจนกลายเป็นคนเมือง อาชีพหลักกลับกลายเป็นการท่องเที่ยวที่พอจะทำรายได้เพื่อยังชีพ มีคนต่างถิ่นและต่างประเทศขึ้นมาหากินบนดอยปุยที่มีความสวยงามทางธรรมชาติและอากาศเย็นสบายตลอดปี หลายคนจึงต้องการจับจองเป็นเจ้าของที่ดินบนดอยแห่งนี้
แม้ว่าที่ดินจะไม่มีเอกสารสิทธิ แต่พี่น้องชาวม้งก็ตกลงกันว่าจะไม่ขายที่ดินให้กับคนนอกหมู่บ้าน พวกเขาจะปกป้องผืนดินที่ได้อาศัยทำกินมาด้วยพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมอยู่ทุกวันนี้จนลมหายใจสุดท้าย
ในวโรกาสครบรอบ 84 พรรษาของพระองค์ พวกเขาอาจไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดเพื่อถวายพระพร แต่บนที่เหนือสุดของหมู่บ้าน พวกเขาได้สร้างศาลาหลังหนึ่งไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงวันที่พ่อหลวงของเขาเสด็จฯ มาประทับที่หมู่บ้านม้งดอยปุย ภาพเก่าๆ ของพ่อหลวงและแม่หลวงยังคงติดแน่นอยู่บนฝาบ้าน คำสอนของพ่อที่สอนให้พวกเขามีชีวิตอย่างพอเพียงจะยังคงอยู่ในใจเขาเหล่านั้นอีกนานแสนนาน
สิ่งที่พวกเขาฝากมาคือ ความคิดถึงและความปรารถนาที่ขอให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีพระชนม์ยืนยาวไม่น้อยกว่าพ่อเฒ่าชาวม้งที่เคยเข้าเฝ้าฯ พระองค์ ซึ่งขณะนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ด้วยอายุที่นับได้ถึง 107 ปี
เป็นครั้งแรกในชีวิตที่กินทั้งข้าวทั้งจานไปด้วยกันได้ ในสมัยเป็นนักศึกษาก็สนุกสนานไปวันๆ แต่การได้เดินทางไปทัศนศึกษาตามที่ต่างๆ ออกไปเรียนรู้นอกสถานที่ ทั้งการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ การไปวาดรูปนอกสถานที่บ่อยๆ ทำให้เราได้รู้จักแง่มุมต่างๆ ของบ้านเมืองเรา ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนที่แตกต่างกันไป ใครจะรู้อนาคตได้ว่าเราจะต้องไปอยู่ที่ไหน หรือตายที่ไหน? ผมเองก็เช่นกัน
ทุกวันนี้กลับกลายเป็นว่าผมได้มีเพื่อนซึ่งเป็นชาวชนเผ่าต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นม้ง เมี่ยน กะเหรี่ยง มูเซอ อาข่า ฯลฯ ได้เป็นที่ปรึกษาสมัชชาชนเผ่าแห่งประเทศไทย มีโอกาสได้ไปกินไปนอนบนดอยหลายลูกในภาคเหนือ รับรู้ถึงความทุกข์ยาก ความคับแค้นใจในการเป็นพลเมืองชั้น 2 ของพวกเขาเหล่านั้น ชาวเขาส่วนใหญ่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน บ้างก็เป็นคนไร้สัญชาติทั้งที่พ่อแม่ก็เกิดในแผ่นดินไทย เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบรรพบุรุษของเขาอยู่ในแผ่นดินของประเทศใด เพราะแต่เดิมเขตแดนของประเทศสยามทั้งทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกและตะวันตก กินพื้นที่กว้างใหญ่กว่าทุกวันนี้
ชาวเขาแต่ละเผ่ามีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ม้งเป็นชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งย้ายถิ่นที่อยู่บ่อยและมีอาชีพดั้งเดิมคือการปลูกฝิ่น ไม่ใช่แค่เอาไว้สูบเองเท่านั้น แต่เพื่อการค้าด้วย สมัยก่อนการปลูกฝิ่นไม่ผิดกฎหมาย ในบางแห่งรัฐก็ยังเป็นผู้ค้าฝิ่นเองเสียด้วยซ้ำ ต่อมาเมื่ออาชีพปลูกฝิ่นและคนสูบฝิ่นกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ชาวเขาเองก็ปรับตัวลำบาก เจ้าหน้าที่รัฐก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการเข้าจับกุม รื้อทำลายไร่ฝิ่นเหล่านั้น บางครั้งก็เลยเถิดไปถึงการทำลายทรัพย์สินและไร่นาเสียหายไปด้วย บางหมู่บ้านถูกเผาเพื่อขับไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น หรือมีโครงการอพยพโยกย้ายให้ไปอยู่บนที่ราบซึ่งไม่ใช่วิถีชีวิตของชาวเขา
ชาวเขาบางเผ่าแม้ว่าจะไม่ได้ปลูกฝิ่น แต่ก็ถูกเหมารวมว่าเป็นผู้ร้ายไปด้วย ส่วนกะเหรี่ยงซึ่งเป็นชนเผ่าเก่าแก่อยู่คู่กับประเทศไทยมาก่อนกรุงศรีอยุธยานั้น การทำไร่ของชนเผ่านี้เป็นวิถีที่อยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง เขาใช้ระบบไร่หมุนเวียนซึ่งทำให้ทรัพยากรสามารถกลับมาฟื้นตัวเองได้ มีงานวิจัยรองรับว่าระบบไร่หมุนเวียนนี้ไม่ได้ทำลายป่า แต่คนที่อยู่พื้นราบก็ยังไม่พยายามเข้าใจ
แล้ววันที่วิถีชีวิตอันขมขื่นของพี่น้องม้งบนดอยปุยเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็มาถึง กว่า 50 ปีก่อนเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงม้าจากค่ายดารารัศมี และเสด็จพระราชดำเนินต่อไปจนถึงหมู่บ้านม้งบนดอยปุย พระองค์ทรงซักถามสารทุกข์สุกดิบกับราษฎรซึ่งเป็นชาวเขาด้วยพระองค์เอง
เมื่อทรงทราบถึงความทุกข์ยากและอุปสรรคในการดำรงชีวิตของชาวเขา รวมไปถึงการขาดการศึกษาของเยาวชน โรงเรียนเพื่อการศึกษาของเด็กๆ ชาวเขาแห่งแรกจึงเกิดขึ้นที่นี่ ต่อมาจึงได้ขยายการศึกษาให้กับชาวเขาไปทั่วทุกดอย โดยแรกเริ่มนั้นได้รับความอนุเคราะห์ครูมาจากตำรวจตระเวนชายแดนหรือที่เรียกกันว่า ครู ตชด.จนกระทั่งวันนี้มีชนเผ่าม้งคนแรกที่ได้รับการศึกษาขั้นสูงสุดจนจบปริญญาเอกมาแล้ว เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่คนเหล่านี้จักไม่มีวันลืม
ชีวิตของม้งบนดอยปุยเริ่มเห็นแสงสว่างจากประทีปส่องทางของพระเจ้าอยู่หัว การปลูกฝิ่นค่อยๆ ลดลง หันมาทำการเกษตรโดยปลูกพืชเมืองหนาว เช่น ท้อและลิ้นจี่ ปลูกผักหลายชนิด แต่ที่นิยมกันมากจนถึงบัดนี้คือกะหล่ำปลี เมื่อใดที่ถูกเจ้าหน้าที่ข่มเหงน้ำใจโดยใช้กฎหมาย ชาวเขาเหล่านี้ก็จะใช้วิธีเขียนจดหมาย ถวายฎีกา หรือฝากผ่านราชเลขา และได้รับพระเมตตาช่วยเหลือจากพระองค์ท่านอยู่เสมอ จนเจ้าหน้าที่บางรายกล่าวหาว่าม้งเป็นพวกช่างฟ้อง พระเจ้าอยู่หัวเคยมีพระราชดำรัสว่า “บางครั้งกฎหมายก็ละเมิดความเป็นมนุษย์”
จากนักปลูกฝิ่น ผู้ทำลายป่า ม้งดอยปุยในวันนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์ ไร่ฝิ่นเดิมแทบไม่เหลือร่องรอย เพราะกลายเป็นป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีกฎกติกาที่ห้ามตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ ทำแนวกันไฟป่าต่อเนื่องทุกปีตลอดทั้งดอย พื้นที่ทำมาหากินแต่เดิมกลับลดลง กลายเป็นว่าทั้งหมู่บ้านซึ่งอยู่อาศัยกันมานานกว่า 60 ปี กลับถูกกฎหมายอุทยานแห่งชาติประกาศทับเมื่อ พ.ศ. 2524 จนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการกันพื้นที่ออกจากเขตอุทยาน ในขณะที่การก่อสร้างไนท์ซาฟารีและพืชสวนโลกซึ่งเพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ ทั้งที่มีการก่อสร้างที่ผิดต่อกฎหมายอุทยานและกฎหมายสิ่งแวดล้อม กลับกำลังเร่งหาทางกันพื้นที่ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ ส่วนพวกม้งที่อยู่ในพื้นที่มาก่อนนั้น กฎหมายกลับไม่ยอมรับและไม่ให้สิทธิการเป็นพลเมืองอย่างเท่าเทียมกัน
ชีวิตม้งบนดอยปุยอยู่กันอย่างเรียบง่ายตามวิถีและวัฒนธรรมของคนบนดอยมาช้านาน ใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัว ต้นท้อเก่าแก่หมดอายุไปแล้วก็ไม่ได้ปลูกเพิ่ม ลิ้นจี่ก็แทบจะไม่ให้ผลแล้ว ต้นที่ปลูกใหม่ก็ต้องใช้เวลาอีกนาน ลูกหลานของคนที่นี่หลายคนลงไปทำงานค้าขายจนกลายเป็นคนเมือง อาชีพหลักกลับกลายเป็นการท่องเที่ยวที่พอจะทำรายได้เพื่อยังชีพ มีคนต่างถิ่นและต่างประเทศขึ้นมาหากินบนดอยปุยที่มีความสวยงามทางธรรมชาติและอากาศเย็นสบายตลอดปี หลายคนจึงต้องการจับจองเป็นเจ้าของที่ดินบนดอยแห่งนี้
แม้ว่าที่ดินจะไม่มีเอกสารสิทธิ แต่พี่น้องชาวม้งก็ตกลงกันว่าจะไม่ขายที่ดินให้กับคนนอกหมู่บ้าน พวกเขาจะปกป้องผืนดินที่ได้อาศัยทำกินมาด้วยพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมอยู่ทุกวันนี้จนลมหายใจสุดท้าย
ในวโรกาสครบรอบ 84 พรรษาของพระองค์ พวกเขาอาจไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดเพื่อถวายพระพร แต่บนที่เหนือสุดของหมู่บ้าน พวกเขาได้สร้างศาลาหลังหนึ่งไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงวันที่พ่อหลวงของเขาเสด็จฯ มาประทับที่หมู่บ้านม้งดอยปุย ภาพเก่าๆ ของพ่อหลวงและแม่หลวงยังคงติดแน่นอยู่บนฝาบ้าน คำสอนของพ่อที่สอนให้พวกเขามีชีวิตอย่างพอเพียงจะยังคงอยู่ในใจเขาเหล่านั้นอีกนานแสนนาน
สิ่งที่พวกเขาฝากมาคือ ความคิดถึงและความปรารถนาที่ขอให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีพระชนม์ยืนยาวไม่น้อยกว่าพ่อเฒ่าชาวม้งที่เคยเข้าเฝ้าฯ พระองค์ ซึ่งขณะนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ด้วยอายุที่นับได้ถึง 107 ปี