ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ช่วยซับน้ำตาธุรกิจจมน้ำ เดินหน้าผ่อนผันธุรกิจต่างด้าวทำธุรกิจให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทลูก บริษัทในเครือ โดยไม่ต้องขออนุญาต ประสานส.อ.ท. รวบรวมรายชื่อก่อนชงครม.อนุมัติ ล่าสุดไฟเขียวแล้ว 3 ราย วงเงินปล่อยกู้ 4 พันล้าน โตโยต้านำทีมปล่อยกู้บริษัทผลิตชิ้นส่วนและโชว์รูม
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ประสานงานกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการต่างด้าวที่มีความประสงค์จะขออนุญาตประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินและบริการรับค้ำประกันการกู้ยืมเงินให้กับบริษัทในเครือ บริษัทที่เป็นสายการผลิต และบริษัทรับจ้างผลิตสินค้าเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูธุรกิจในเครือข่ายจากการประสบอุทกภัย โดยหลังจากได้รายชื่อทั้งหมดแล้วก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติให้สามารถทำธุรกิจเป็นการชั่วคราวได้
“ตอนนี้ได้ขอให้ส.อ.ท.ช่วยประสานดูว่ามีผู้ประกอบการต่างด้าวที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจการให้บริการกู้ยืมเงินมากน้อยแค่ไหน เพราะตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 กำหนดไว้ว่า ธุรกิจให้บริการกู้ยืมเงินต้องขออนุญาตก่อน แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่เกิดผลกระทบจากอุทกภัย ก็เลยจะรวบรวมรายชื่อทั้งหมดแล้วเสนอครม.อนุมัติในหลักการไปทีเดียวเลยว่าไม่ต้องมาขออนุญาตอีกสำหรับรายที่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจในไทยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น”นายศิริวัฒน์กล่าว
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ครม.ได้มีมติให้กระทรวงพาณิชย์ไปดำเนินการพิจารณาผ่อนผันการดำเนินการตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยให้บริษัทแม่ที่เป็นนิติบุคคลต่างด้าวสามารถให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทลูกที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยได้ ซึ่งหากได้รายชื่อชัดเจนแล้ว ก็จะนำเสนอให้ครม.อนุมัติและบริษัทเหล่านี้ก็สามารถประกอบธุรกิจได้เลย ไม่ต้องมาขออนุญาตอีก แต่การอนุญาตอาจจะมีการกำหนดระยะเวลาไว้ เช่น 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น
ทั้งนี้ ในการบรรเทาผลกระทบผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยในเบื้องต้น คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้อนุมัติให้บริษัทแม่ที่เป็นนิติบุคคลต่างด้าวให้กู้ยืมกับบริษัทในเครือแล้วจำนวน 3 ราย ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล โดยได้เร่งรัดการพิจารณาอนุมัติจากปกติที่ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วันโดยครั้งนี้ได้ปรับลดระยะเวลาการพิจารณาเหลือเพียงแค่ 7 วันเท่านั้น เพราะโชคดีที่เป็นจังหวัดที่คณะกรรมการฯ นัดประชุมกันพิจารณาพอดี
สำหรับทั้ง 3 ราย ได้แก่ 1.บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 33 ราย วงเงินการให้กู้ยืม 3,000 ล้านบาท ระยะเวลาให้กู้ยืมเงินภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ขอกู้
2.บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจำนวน 46 ราย วงเงินการให้กู้ยืม 1,000 ล้านบาท ระยะเวลาให้กู้ยืมภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ขอกู้
3.บริษัท ไทย โฮริคาว่า จำกัด ประกอบธุรกิจการค้าส่งชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูป ให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยานยนต์กลุ่มฮอนด้า กลุ่มโตโยต้า และกลุ่มนิสสัย ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นจำนวน 18 เดือน
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 5,045 ราย โดยในจำนวนนี้มีผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตในเขตน้ำท่วม 31 จังหวัดจำนวน 1,684 ราย
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้ประสานงานกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อรวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการต่างด้าวที่มีความประสงค์จะขออนุญาตประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินและบริการรับค้ำประกันการกู้ยืมเงินให้กับบริษัทในเครือ บริษัทที่เป็นสายการผลิต และบริษัทรับจ้างผลิตสินค้าเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูธุรกิจในเครือข่ายจากการประสบอุทกภัย โดยหลังจากได้รายชื่อทั้งหมดแล้วก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติให้สามารถทำธุรกิจเป็นการชั่วคราวได้
“ตอนนี้ได้ขอให้ส.อ.ท.ช่วยประสานดูว่ามีผู้ประกอบการต่างด้าวที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจการให้บริการกู้ยืมเงินมากน้อยแค่ไหน เพราะตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 กำหนดไว้ว่า ธุรกิจให้บริการกู้ยืมเงินต้องขออนุญาตก่อน แต่ช่วงนี้เป็นช่วงที่เกิดผลกระทบจากอุทกภัย ก็เลยจะรวบรวมรายชื่อทั้งหมดแล้วเสนอครม.อนุมัติในหลักการไปทีเดียวเลยว่าไม่ต้องมาขออนุญาตอีกสำหรับรายที่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจในไทยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น”นายศิริวัฒน์กล่าว
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า ครม.ได้มีมติให้กระทรวงพาณิชย์ไปดำเนินการพิจารณาผ่อนผันการดำเนินการตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยให้บริษัทแม่ที่เป็นนิติบุคคลต่างด้าวสามารถให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทลูกที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยได้ ซึ่งหากได้รายชื่อชัดเจนแล้ว ก็จะนำเสนอให้ครม.อนุมัติและบริษัทเหล่านี้ก็สามารถประกอบธุรกิจได้เลย ไม่ต้องมาขออนุญาตอีก แต่การอนุญาตอาจจะมีการกำหนดระยะเวลาไว้ เช่น 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น
ทั้งนี้ ในการบรรเทาผลกระทบผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยในเบื้องต้น คณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ได้อนุมัติให้บริษัทแม่ที่เป็นนิติบุคคลต่างด้าวให้กู้ยืมกับบริษัทในเครือแล้วจำนวน 3 ราย ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล โดยได้เร่งรัดการพิจารณาอนุมัติจากปกติที่ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 30 วันโดยครั้งนี้ได้ปรับลดระยะเวลาการพิจารณาเหลือเพียงแค่ 7 วันเท่านั้น เพราะโชคดีที่เป็นจังหวัดที่คณะกรรมการฯ นัดประชุมกันพิจารณาพอดี
สำหรับทั้ง 3 ราย ได้แก่ 1.บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 33 ราย วงเงินการให้กู้ยืม 3,000 ล้านบาท ระยะเวลาให้กู้ยืมเงินภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ขอกู้
2.บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจำนวน 46 ราย วงเงินการให้กู้ยืม 1,000 ล้านบาท ระยะเวลาให้กู้ยืมภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ขอกู้
3.บริษัท ไทย โฮริคาว่า จำกัด ประกอบธุรกิจการค้าส่งชิ้นส่วนโลหะปั๊มขึ้นรูป ให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยานยนต์กลุ่มฮอนด้า กลุ่มโตโยต้า และกลุ่มนิสสัย ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นจำนวน 18 เดือน
สำหรับผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 5,045 ราย โดยในจำนวนนี้มีผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตในเขตน้ำท่วม 31 จังหวัดจำนวน 1,684 ราย