เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (29 พ.ย.) นายเซอิจิ โคจิมา เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าพบ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อสอบถามความคืบหน้าในการสอบสวนการเสียชีวิตของนายฮิโรยูกิ มูราโมโต ช่างภาพช่าวญี่ปุ่น ของสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่ถูกกระสุนปืนปริศนา ยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 53 ทั้งนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ได้อธิบายขั้นตอนการสอบสวนคดีนี้อย่างละเอียด ผ่านล่าม โดยระบุว่า คดีนี้ชัดเจนว่าเป็นการตายโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ มีพยานบุคคล และหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ยืนยัน โดยเฉพาะวิธีกระสุน ซึ่งชัดเจนว่ายิงมาจากฝั่งเจ้าหน้าที่รัฐ
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า เดิมพนักงานสอบสวน จะต้องสำนวนการชันสูตรพลิกศพให้กับพนักงานอัยการในวันที่ 28 พ.ย.นี้ แต่เนื่องจากพนักงานอัยการส่งหนังสือมาว่า ควรจะสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องอีก 2 คน ได้แก่ 1.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพิ่มเติม พนักงานสอบสวนจึงนัดบุคคลทั้งสอง มาให้ปากคำในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ หากบุคคลทั้งสองมาให้ปากคำตามนัดหมาย เชื่อว่าพนักงานสอบสวนจะส่งสำนวนการชันสูตรพลิกศพให้กับพนักงานอัยการได้ภายในวันที่ 5-6 ธ.ค. เพื่อส่งให้ศาลไต่สวนการตายต่อไป และ ขอให้ มั่นใจในกระบวนการยุติธรรม สถาบันอัยการ และสถาบันศาลของไทย
"รัฐบาลชุดนี้ได้ความจริงเกือบ 100% แล้วว่านายมูราโมโต เสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่จะเป็นหน่วยงานไหนนั้น อยู่กับการไต่สวนในชั้นศาล" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
** "มาร์ค"ยันพร้อมให้ปากคำ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าตนพร้อมที่จะไปให้ปากคำกับทางพนักงานสอบสวนในคดีนี้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือจากเจ้าพนักงานสอบสวน และนายสุเทพ ก็ยังไม่ได้รับหนังสือเช่นเดียวกัน ก็ต้องดูว่าจะให้ไปชี้แจงในเรื่องอะไร แต่ยืนยันได้ว่านโยบายขณะที่ตนเป็นนายกฯ ชัดเจนว่าดำเนินการตามกฏหมาย ไม่เคยกดดันใคร จึงขอให้ฝ่ายที่พยายามตั้งธงสรุปล่วงหน้า หยุดกดดันคนที่เกี่ยวข้อง
" พวกผมไม่เคยตั้งธงกดดัน หรือข่มขู่ฝ่ายตรงกันข้าม ให้ทุกอย่างว่าไปตามกระบวนการ รัฐบาลก็ควรทำเช่นเดียวกัน มิเช่นนั้นจะไม่ได้รับความเชื่อถือ และความปรองดองก็จะไม่เกิด การที่พนักงานสอบสวนอ้างว่ามีการให้ข้อมูลใหม่ จากโฆษกกองทัพบก จึงจะเชิญผม และคุณสุเทพไปให้ปากคำ ไม่เห็นมีอะไรใหม่ เพราะ พ.อ.สรรเสริญ (แก้วกำเนิด)พูดตามกรอบกฏหมายว่า สายบังคับบัญชาในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินต่างจากสถานการณ์ปกติอย่างไร แต่มีความพยายามจากฝ่ายการเมือง และสื่อบางค่าย ที่ถือเรื่องนี้เป็นธุระของตัวเองไปแล้ว และยังรู้ผลก่อนพนักงานสอบสวนด้วยซ้ำ ใครจะมาให้การ อย่างไรก็ตามต้องพูดตามความเป็นจริง ถูกหรือผิดต้องรับผิดชอบ พวกผมยืนยันสิ่งที่ดำเนินการอยู่ในกรอบกฏหมาย เป็นนโยบายที่จำเป็นต้องรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและไม่ใช่ฝ่ายริเริ่มความรุนแรง ตรงข้ามเป็นฝ่ายที่ถูกล้มโต๊ะการเจรจามาตลอด" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**แนะ"สุนัย"เอาคดีฆ่าตัดตอนขึ้นศาลโลก
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง กรณีนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.ต่างประเทศ เตรียมจะนำคดีการเสียชีวิต 91 ศพ ขึ้นศาลโลกว่า อยากให้ไปศึกษาข้อกฏหมายให้ชัดเจนก่อน เพราะกรณีที่เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หรือเรื่องฆ่าตัดตอน ควรจะมีการนำเรื่องเหล่านี้ให้ศาลโลกพิจารณาด้วย เพราะเรื่องนี้มีการสรุปเหตุการณ์แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว นายสุนัย ควรทำเรื่องนี้มากกว่า
นายอภิสิทธิ์ ยังเตือนเจ้าหน้าที่ในการทำคดีว่า ต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงกรณีแกนนำนปช.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ระหว่างการปราศรัย 10 เม.ย. ที่ผ่านมาเพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงไปจากตั้งแต่ต้นในช่วงแรก ก็จะเกิดคำถามตามมา ตนเห็นใจเจ้าหน้าที่เพราะยุคนี้ข้าราชการถูกกดดันให้ตอบสนองเป้าหมายทางการเมือง จึงขอย้ำว่าสิ่งที่ปกป้องได้ดีที่สุดคือการทำอย่างตรงไปตรงมา
"ผมเตือนอีกครั้งว่า มีคนที่รักความจริง ความถูกต้อง ถ้าคดีผิดเพี้ยนไปเจ้าหน้าที่จะเดือดร้อน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** ยันคดี 91 ศพไม่เข้าเกณฑ์ศาลโลก
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายสุนัยจะนำคดี 91 ศพไปศาลโลก ว่า ขอเตือนว่าอย่าเปลืองงบประมาณหลวง เพราะหลักการดำเนินการ ไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะนำคดีนี้ไปฟ้องศาลโลก เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคี และเรื่องที่จะเข้าสู่การพิจารณาศาลโลก จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 4 ข้อ คือ 1. เป็นคดีที่เป็นภัยของมนุษยชาติ 2. สงครามระหว่างประเทศ 3. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 4. รุกรานโดยใช้กำลังรุนแรงต่อผู้ไม่มีทางสู้ มีเพียง 4 หลักการนี้เท่านั้น ที่ศาลโลกจะรับไว้พิจารณา และหากเป็นคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของประเทศนั้นๆ ก็ไม่เข้าเกณฑ์ที่ศาลโลกจะรับไว้พิจารณา เพราะถือว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศนั้นๆ ยังทำหน้าที่ได้
อย่างไรก็ตาม ถ้านายสุนัยจะไปให้ได้ ขอแนะนำให้เบิกเงินจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่ามาใช้งบหลวง เพราะถ้าใช้งบแผ่นดินไปดำเนินการแล้วศาลโลกไม่รับไว้พิจารณา ตนจะตามเอาผิดกับคนที่นำเงินหลวงไปละเลงทิ้ง
** อย่าดึงทหารไปอยู่ระหว่างเขาควาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องดูว่า สามารถทำได้แค่ไหน อย่างไร เพราะตนยอมรับในกระบวนการยุติธรรม และะกระบวนการประชาธิปไตยอยู่แล้ว ไม่ขัดข้อง หากทำได้ก็ทำ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในประเทศของเรา ซึ่งกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยใช้ได้อยู่แล้ว น่าจะทำได้ดี ไม่เช่นนั้นความน่าเชื่อถือของกระบวนการภายในประเทศไทยคงจะลำบาก
" ท่านเป็นส.ส. ย่อมรู้ว่า อะไรควร หรือไม่ควร อย่างไร ถ้าท่านเห็นว่าสมควรก็คงจะดูแล้วว่า สมควรจะนำออกไป ก็เป็นสิทธิของท่าน เป็นอำนาจของท่าน ผมในฐานะผู้ปฏิบัติต้องติดตามสถานการณ์ว่า จะเป็นอย่างไรต่อไป ผมและเจ้าหน้าที่ทุกคนพร้อมให้ความร่วมมือในเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทุกเรื่อง ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม แต่ความเหมาะสม ควรหรือไม่ควร อย่างไร เป็นเรื่องที่ส.ส.หรือรัฐบาลต้องเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ด้วย " ผบ.ทบ.กล่าว และว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากนักการเมืองด้วยกันเอง ตนเป็นเพียงผู้ปฏิบัติ ต้องใช้กลไกการเมือง กลไกของรัฐบาล และประชาธิปไตยมาแก้ปัญหา อย่ามาเอาเจ้าหน้าที่ ไปอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง เพราะจะทำให้การบริหาร เป็นไปด้วยความไม่เรียบร้อย
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวด้วยว่า เดิมพนักงานสอบสวน จะต้องสำนวนการชันสูตรพลิกศพให้กับพนักงานอัยการในวันที่ 28 พ.ย.นี้ แต่เนื่องจากพนักงานอัยการส่งหนังสือมาว่า ควรจะสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องอีก 2 คน ได้แก่ 1.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เพิ่มเติม พนักงานสอบสวนจึงนัดบุคคลทั้งสอง มาให้ปากคำในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ หากบุคคลทั้งสองมาให้ปากคำตามนัดหมาย เชื่อว่าพนักงานสอบสวนจะส่งสำนวนการชันสูตรพลิกศพให้กับพนักงานอัยการได้ภายในวันที่ 5-6 ธ.ค. เพื่อส่งให้ศาลไต่สวนการตายต่อไป และ ขอให้ มั่นใจในกระบวนการยุติธรรม สถาบันอัยการ และสถาบันศาลของไทย
"รัฐบาลชุดนี้ได้ความจริงเกือบ 100% แล้วว่านายมูราโมโต เสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่จะเป็นหน่วยงานไหนนั้น อยู่กับการไต่สวนในชั้นศาล" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
** "มาร์ค"ยันพร้อมให้ปากคำ
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่าตนพร้อมที่จะไปให้ปากคำกับทางพนักงานสอบสวนในคดีนี้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือจากเจ้าพนักงานสอบสวน และนายสุเทพ ก็ยังไม่ได้รับหนังสือเช่นเดียวกัน ก็ต้องดูว่าจะให้ไปชี้แจงในเรื่องอะไร แต่ยืนยันได้ว่านโยบายขณะที่ตนเป็นนายกฯ ชัดเจนว่าดำเนินการตามกฏหมาย ไม่เคยกดดันใคร จึงขอให้ฝ่ายที่พยายามตั้งธงสรุปล่วงหน้า หยุดกดดันคนที่เกี่ยวข้อง
" พวกผมไม่เคยตั้งธงกดดัน หรือข่มขู่ฝ่ายตรงกันข้าม ให้ทุกอย่างว่าไปตามกระบวนการ รัฐบาลก็ควรทำเช่นเดียวกัน มิเช่นนั้นจะไม่ได้รับความเชื่อถือ และความปรองดองก็จะไม่เกิด การที่พนักงานสอบสวนอ้างว่ามีการให้ข้อมูลใหม่ จากโฆษกกองทัพบก จึงจะเชิญผม และคุณสุเทพไปให้ปากคำ ไม่เห็นมีอะไรใหม่ เพราะ พ.อ.สรรเสริญ (แก้วกำเนิด)พูดตามกรอบกฏหมายว่า สายบังคับบัญชาในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินต่างจากสถานการณ์ปกติอย่างไร แต่มีความพยายามจากฝ่ายการเมือง และสื่อบางค่าย ที่ถือเรื่องนี้เป็นธุระของตัวเองไปแล้ว และยังรู้ผลก่อนพนักงานสอบสวนด้วยซ้ำ ใครจะมาให้การ อย่างไรก็ตามต้องพูดตามความเป็นจริง ถูกหรือผิดต้องรับผิดชอบ พวกผมยืนยันสิ่งที่ดำเนินการอยู่ในกรอบกฏหมาย เป็นนโยบายที่จำเป็นต้องรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและไม่ใช่ฝ่ายริเริ่มความรุนแรง ตรงข้ามเป็นฝ่ายที่ถูกล้มโต๊ะการเจรจามาตลอด" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**แนะ"สุนัย"เอาคดีฆ่าตัดตอนขึ้นศาลโลก
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง กรณีนายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.ต่างประเทศ เตรียมจะนำคดีการเสียชีวิต 91 ศพ ขึ้นศาลโลกว่า อยากให้ไปศึกษาข้อกฏหมายให้ชัดเจนก่อน เพราะกรณีที่เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หรือเรื่องฆ่าตัดตอน ควรจะมีการนำเรื่องเหล่านี้ให้ศาลโลกพิจารณาด้วย เพราะเรื่องนี้มีการสรุปเหตุการณ์แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว นายสุนัย ควรทำเรื่องนี้มากกว่า
นายอภิสิทธิ์ ยังเตือนเจ้าหน้าที่ในการทำคดีว่า ต้องดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงกรณีแกนนำนปช.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ระหว่างการปราศรัย 10 เม.ย. ที่ผ่านมาเพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงไปจากตั้งแต่ต้นในช่วงแรก ก็จะเกิดคำถามตามมา ตนเห็นใจเจ้าหน้าที่เพราะยุคนี้ข้าราชการถูกกดดันให้ตอบสนองเป้าหมายทางการเมือง จึงขอย้ำว่าสิ่งที่ปกป้องได้ดีที่สุดคือการทำอย่างตรงไปตรงมา
"ผมเตือนอีกครั้งว่า มีคนที่รักความจริง ความถูกต้อง ถ้าคดีผิดเพี้ยนไปเจ้าหน้าที่จะเดือดร้อน" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
** ยันคดี 91 ศพไม่เข้าเกณฑ์ศาลโลก
นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายสุนัยจะนำคดี 91 ศพไปศาลโลก ว่า ขอเตือนว่าอย่าเปลืองงบประมาณหลวง เพราะหลักการดำเนินการ ไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะนำคดีนี้ไปฟ้องศาลโลก เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคี และเรื่องที่จะเข้าสู่การพิจารณาศาลโลก จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 4 ข้อ คือ 1. เป็นคดีที่เป็นภัยของมนุษยชาติ 2. สงครามระหว่างประเทศ 3. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 4. รุกรานโดยใช้กำลังรุนแรงต่อผู้ไม่มีทางสู้ มีเพียง 4 หลักการนี้เท่านั้น ที่ศาลโลกจะรับไว้พิจารณา และหากเป็นคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของประเทศนั้นๆ ก็ไม่เข้าเกณฑ์ที่ศาลโลกจะรับไว้พิจารณา เพราะถือว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศนั้นๆ ยังทำหน้าที่ได้
อย่างไรก็ตาม ถ้านายสุนัยจะไปให้ได้ ขอแนะนำให้เบิกเงินจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่ามาใช้งบหลวง เพราะถ้าใช้งบแผ่นดินไปดำเนินการแล้วศาลโลกไม่รับไว้พิจารณา ตนจะตามเอาผิดกับคนที่นำเงินหลวงไปละเลงทิ้ง
** อย่าดึงทหารไปอยู่ระหว่างเขาควาย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องดูว่า สามารถทำได้แค่ไหน อย่างไร เพราะตนยอมรับในกระบวนการยุติธรรม และะกระบวนการประชาธิปไตยอยู่แล้ว ไม่ขัดข้อง หากทำได้ก็ทำ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องภายในประเทศของเรา ซึ่งกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยใช้ได้อยู่แล้ว น่าจะทำได้ดี ไม่เช่นนั้นความน่าเชื่อถือของกระบวนการภายในประเทศไทยคงจะลำบาก
" ท่านเป็นส.ส. ย่อมรู้ว่า อะไรควร หรือไม่ควร อย่างไร ถ้าท่านเห็นว่าสมควรก็คงจะดูแล้วว่า สมควรจะนำออกไป ก็เป็นสิทธิของท่าน เป็นอำนาจของท่าน ผมในฐานะผู้ปฏิบัติต้องติดตามสถานการณ์ว่า จะเป็นอย่างไรต่อไป ผมและเจ้าหน้าที่ทุกคนพร้อมให้ความร่วมมือในเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทุกเรื่อง ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตาม แต่ความเหมาะสม ควรหรือไม่ควร อย่างไร เป็นเรื่องที่ส.ส.หรือรัฐบาลต้องเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ด้วย " ผบ.ทบ.กล่าว และว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากนักการเมืองด้วยกันเอง ตนเป็นเพียงผู้ปฏิบัติ ต้องใช้กลไกการเมือง กลไกของรัฐบาล และประชาธิปไตยมาแก้ปัญหา อย่ามาเอาเจ้าหน้าที่ ไปอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง เพราะจะทำให้การบริหาร เป็นไปด้วยความไม่เรียบร้อย