ASTVผู้จัดการรายวัน - คลังพร้อมลงนามให้นิคมอุตสาหกรรมกู้สร้างเขื่อนแล้ว คาดเริ่มก่อสร้างได้กลางม.ค. 55 ขณะที่ออมสินช่วยลูกค้าน้ำท่วม ไม่ต้องจ่ายเงินงวดนานครึ่งปี แถมหยุดคิดดอกเบี้ยพร้อมให้กู้เพิ่มเติมตามความจำเป็น ตั้งแต่ 30,000 - 500,000 บาท เผยมีผู้ยื่นความจำนงแล้วกว่า 22,000 ราย
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามความคืบหน้าในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอร์ฟ โลน) ของธนาคารออมสิน เพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยให้แก่นิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม วงเงิน 15,000 ล้านบาทว่า กระทรวงการคลังจะจัดพิธีลงนามข้อตกลงร่วมกันกับธนาคารออมสิน และการนิคมอุตสาหกรรม ในมาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย วันที่ 25 พ.ย.นี้ หลังจากเบื้องต้น กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่างหลักเกณฑ์การออกแบบและเงื่อนไขในระบบระบายน้ำฝน และระบบป้องกันอุทกภัย ซึ่งประกอบด้วย การสร้างระบบเขื่อน รวมถึงโครงสร้างต่าง ๆ ที่สามารถรองรับและบริหารจัดการระบายน้ำโดยรอบและในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแล้ว
ขณะนี้การนิคมอุตสาหกรรมได้เตรียมความพร้อมในส่วนของการออกแบบขั้นรายละเอียด และพร้อมที่จะก่อสร้างโครงการได้ในช่วงกลางเดือนม.ค. 55 และคาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างภายใน 6 เดือน ซึ่งขณะนี้ ธนาคารออมสินกำลังอยู่ในช่วงการพิจารณาเงื่อนไข และรายละเอียดการให้เงินกู้ วงเงิน 15,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี โดยมีระยะเวลาโครงการ 7 ปี
สำหรับโครงการก่อสร้างระบบป้องกันอุทกภัยแก่ผู้ประกอบการ และเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการโดยการขยายเวลาการให้สินเชื่อโครงการเป็น 15 ปี คิดดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ใน 7 ปีแรก และ ปีที่ 8-15 จะคิดดอกเบี้ยตามต้นทุนตลาด คาดว่าออมสินจะพร้อมในการอนุมัติให้สินเชื่อได้ภายในเดือนธ.ค.นี้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนอกจากจะรวมถึงผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมแล้ว ยังรวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยนอกนิคมอุตสาหกรรมด้วย
ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ออมสินได้ปรับมาตรการความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่รุนแรง ด้วยการไม่คิดดอกเบี้ยและไม่ต้องชำระเงินต้น หรืองดคิดดอกเบี้ยเป็นเวลาสูงสุด 6 เดือน ทั้งนี้ จะพิจารณาตามสภาพความรุนแรงของผลกระทบของลูกค้าแต่ละราย และหลังจากครบกำหนด 6 เดือนแล้ว ลูกค้าจะชำระเงินงวดในอัตราเท่าเดิม หรือขอปรับลดเงินงวด พร้อมกับขยายเวลาชำระหนี้ได้อีกไม่เกิน 1-2 ปี ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระให้ลูกค้าได้ในยามวิกฤต
พร้อมกันนี้ ได้ให้สินเชื่อในลักษณะผ่อนปรนเงื่อนไขเป็นกรณีพิเศษอีกหลายประเภท เพื่อช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม เนื่องจากขณะที่ยังมีลูกค้าและประชาชนที่ยังเดือดร้อนอยู่ หรือกำลังกลับมาใช้ชีวิตปกติได้แล้ว แต่ยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อีกมาก เช่น ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ซ่อมแซมทรัพย์สิน ซื้อสิ่งของเครื่องใช้ อุปโภคบริโภค ออมสินจึงได้ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้ซ่อมแซมบ้าน และดำรงชีพอีก โดยขณะนี้ มีผู้ยื่นความจำนงเพื่อขอความช่วยเหลือตามมาตรการของธนาคารแล้ว 22,286 ราย วงเงินรวม 9,587 ล้านบาท
“สินเชื่อที่ให้เพิ่มเติมคือ โครงการธนาคารประชาชนช่วยภัยน้ำท่วม เป็นเงินกู้ตามความจำเป็นฉุกเฉินตามสภาพที่ได้รับผลกระทบ วงเงินรายละไม่เกิน 30,000 บาท ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ปัจจุบันอยู่ที่ 8% ต่อปี ผ่อนชำระไม่เกิน 2 ปี ชำระเป็นรายเดือน ใช้เวลาอนุมัติไม่เกิน 5 วัน ส่วนลูกค้าเดิมสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน และประชาชนทั่วไป ยื่นกู้เพื่อนำไปใช้จ่ายลงทุนใหม่ได้ไม่เกินรายละ 50,000 บาท ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์+1% ต่อปี
ด้านลูกค้าสินเชื่อเคหะเดิม กู้เพิ่มเติมเพื่อซ่อมแซมได้ไม่เกิน 10% ของเงินกู้ตามสัญญาเดิม แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ด้านประชาชนทั่วไป กู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินรายละ 300,000 บาท ผ่อนชำระใน 5 ปี ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 ที่ 3.45% ปีที่ 4-5 คิดเอ็มแอลอาร์ -0.50% ต่อปี โดยออมสินยกเว้นค่าธรรมเนียมการให้บริการสินเชื่อและค่าบริการจัดทำนิติกรรมสัญญาให้ด้วย สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจและเอสเอ็มอี ธนาคารขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ออกไปจากสัญญาเดิมไม่เกิน 1 ปี และขอกู้เพิ่มเป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ไม่เกินรายละ 500,000 บาท ดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์-1.50% ต่อปี ผ่อนไม่เกิน 5 ปี.
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามความคืบหน้าในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอร์ฟ โลน) ของธนาคารออมสิน เพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยให้แก่นิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม วงเงิน 15,000 ล้านบาทว่า กระทรวงการคลังจะจัดพิธีลงนามข้อตกลงร่วมกันกับธนาคารออมสิน และการนิคมอุตสาหกรรม ในมาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย วันที่ 25 พ.ย.นี้ หลังจากเบื้องต้น กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่างหลักเกณฑ์การออกแบบและเงื่อนไขในระบบระบายน้ำฝน และระบบป้องกันอุทกภัย ซึ่งประกอบด้วย การสร้างระบบเขื่อน รวมถึงโครงสร้างต่าง ๆ ที่สามารถรองรับและบริหารจัดการระบายน้ำโดยรอบและในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแล้ว
ขณะนี้การนิคมอุตสาหกรรมได้เตรียมความพร้อมในส่วนของการออกแบบขั้นรายละเอียด และพร้อมที่จะก่อสร้างโครงการได้ในช่วงกลางเดือนม.ค. 55 และคาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างภายใน 6 เดือน ซึ่งขณะนี้ ธนาคารออมสินกำลังอยู่ในช่วงการพิจารณาเงื่อนไข และรายละเอียดการให้เงินกู้ วงเงิน 15,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี โดยมีระยะเวลาโครงการ 7 ปี
สำหรับโครงการก่อสร้างระบบป้องกันอุทกภัยแก่ผู้ประกอบการ และเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการโดยการขยายเวลาการให้สินเชื่อโครงการเป็น 15 ปี คิดดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ใน 7 ปีแรก และ ปีที่ 8-15 จะคิดดอกเบี้ยตามต้นทุนตลาด คาดว่าออมสินจะพร้อมในการอนุมัติให้สินเชื่อได้ภายในเดือนธ.ค.นี้ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนอกจากจะรวมถึงผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมแล้ว ยังรวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยนอกนิคมอุตสาหกรรมด้วย
ด้านนายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ออมสินได้ปรับมาตรการความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยที่รุนแรง ด้วยการไม่คิดดอกเบี้ยและไม่ต้องชำระเงินต้น หรืองดคิดดอกเบี้ยเป็นเวลาสูงสุด 6 เดือน ทั้งนี้ จะพิจารณาตามสภาพความรุนแรงของผลกระทบของลูกค้าแต่ละราย และหลังจากครบกำหนด 6 เดือนแล้ว ลูกค้าจะชำระเงินงวดในอัตราเท่าเดิม หรือขอปรับลดเงินงวด พร้อมกับขยายเวลาชำระหนี้ได้อีกไม่เกิน 1-2 ปี ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระให้ลูกค้าได้ในยามวิกฤต
พร้อมกันนี้ ได้ให้สินเชื่อในลักษณะผ่อนปรนเงื่อนไขเป็นกรณีพิเศษอีกหลายประเภท เพื่อช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม เนื่องจากขณะที่ยังมีลูกค้าและประชาชนที่ยังเดือดร้อนอยู่ หรือกำลังกลับมาใช้ชีวิตปกติได้แล้ว แต่ยังมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อีกมาก เช่น ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ซ่อมแซมทรัพย์สิน ซื้อสิ่งของเครื่องใช้ อุปโภคบริโภค ออมสินจึงได้ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้ซ่อมแซมบ้าน และดำรงชีพอีก โดยขณะนี้ มีผู้ยื่นความจำนงเพื่อขอความช่วยเหลือตามมาตรการของธนาคารแล้ว 22,286 ราย วงเงินรวม 9,587 ล้านบาท
“สินเชื่อที่ให้เพิ่มเติมคือ โครงการธนาคารประชาชนช่วยภัยน้ำท่วม เป็นเงินกู้ตามความจำเป็นฉุกเฉินตามสภาพที่ได้รับผลกระทบ วงเงินรายละไม่เกิน 30,000 บาท ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ปัจจุบันอยู่ที่ 8% ต่อปี ผ่อนชำระไม่เกิน 2 ปี ชำระเป็นรายเดือน ใช้เวลาอนุมัติไม่เกิน 5 วัน ส่วนลูกค้าเดิมสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน และประชาชนทั่วไป ยื่นกู้เพื่อนำไปใช้จ่ายลงทุนใหม่ได้ไม่เกินรายละ 50,000 บาท ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์+1% ต่อปี
ด้านลูกค้าสินเชื่อเคหะเดิม กู้เพิ่มเติมเพื่อซ่อมแซมได้ไม่เกิน 10% ของเงินกู้ตามสัญญาเดิม แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ด้านประชาชนทั่วไป กู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยได้ไม่เกินรายละ 300,000 บาท ผ่อนชำระใน 5 ปี ดอกเบี้ยปีที่ 1-3 ที่ 3.45% ปีที่ 4-5 คิดเอ็มแอลอาร์ -0.50% ต่อปี โดยออมสินยกเว้นค่าธรรมเนียมการให้บริการสินเชื่อและค่าบริการจัดทำนิติกรรมสัญญาให้ด้วย สำหรับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจและเอสเอ็มอี ธนาคารขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ออกไปจากสัญญาเดิมไม่เกิน 1 ปี และขอกู้เพิ่มเป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ไม่เกินรายละ 500,000 บาท ดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์-1.50% ต่อปี ผ่อนไม่เกิน 5 ปี.