การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ ( 24 พ.ย.) ถือเป็นการประชุมวันสุดท้ายของสมัยสามัญทั่วไป ครั้งที่ 21 เนื่องจากได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ปิดสมัยประชุมในวันที่ 29 พ.ย.นี้ ขณะที่การประชุมในวันที่ 27 พ.ย.นั้น จะพิจารณาเพียงญัตติอภิปรายไม่วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล ( พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ) เท่านั้น ก่อนที่จะมีการลงมติในเช้าวันที่ 28 พ.ย. และมีการเปิดประชุมร่วมรัฐสภา ภายหลังจากการลงมติเสร็จสิ้นในวันดังกล่าว ส่งผลระเบียบวาระการประชุมที่ค้างอยู่ในสมัยประชุมนี้ จะถือว่าตกไปทั้งหมด
จากการตรวจสอบพบว่า ยังมีญัตติด่วน เรื่องขอให้สถาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาข้อเสนอลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร 19 ก.ย.49 จากคณาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ ที่เสนอโดย นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ค้างอยู่ในวาระเพียงญัตติเดียวเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามสาเหตุที่พรรคเพื่อไทย ไม่หยิบยกเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมสภาฯ พิจารณาก่อนปิดสมัยประชุมนั้น เนื่องจากเล็งเห็นว่า บรรยากาศทางการเมืองปัจจุบันไม่เหมาะแก่การผลักดันเรื่องนี้ หลังจากที่ประเด็นเรื่องการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกกระแสสังคมต่อต้านอย่างหนัก รวมทั้งคาดการณ์ว่า ฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ จะไม่เห็นด้วย ที่จะนำเรื่องการลบล้างผลพวงจากการรัฐประหารขึ้นมาพิจารณา และทำให้บรรยากาศในที่ประชุมนัดสุดท้ายไม่ราบรื่น จนอาจมีการประท้วงซ้ำรอยเหตุการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อน ที่มีความขัดแย้งในการเสนอญัตติ ตั้งกมธ.ปรองดองแห่งชาติ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการนำเรื่องราคายางพาราตกต่ำขึ้นมาหารือต่อที่ประชุมแทน จนทำให้พรรคประชาธิปัตย์ วอล์กเอาต์ จากที่ประชุมมาแล้วครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า วิปรัฐบาล ก็ไม่ได้พยายามล็อบบี้มายังวิปฝ่ายค้านเพื่อให้หยิบยกเรื่องตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางคณะนิติราษฎร์ ขึ้นมาพิจารณาแต่อย่างใด
รายงานข่าวแจ้งว่า ในสมัยประชุมหน้า ซึ่งเป็นสมัยนิติบัญญัติ กำหนดการประชุมระหว่างวันที่ 21 ธ.ค.54 - 18 เม.ย.55 นั้น เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาตรากฎหมายโดยเฉพาะ ไม่สามารถเสนอญัตติทั่วไปได้ ทำให้ญัตติ กมธ.ศึกษาแนวทางคณะนิติราษฎร์ ก็จะไม่รับการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา และหากจะเสนอต้องรอจนถึงการเปิดประชุมสมัยสามัญทั่วไปอีกครั้ง คาดว่าจะกินเวลาเกือบ 1 ปี
ดังนั้น จึงเป็นที่จับตาว่าพรรคเพื่อไทย จะหยิบยกนำร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ตามแนวทางที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ประกาศไว้ เข้าสู่การประชุมในสมัยประชุมหน้าทันที สอดคล้องกับห้วงเวลาการทำงานที่ กมธ.ปรองดองแห่งชาติ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ เป็นประธาน กำหนดส่งรายงานข้อสรุปผลการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง ต่อที่ประชุมสภาฯ ที่เดิมกำหนดเสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ แต่หากได้รับการเห็นชอบต่ออายุการทำงานจาก 30 วันเป็น 90 วัน ตามที่ได้เสนอไป ก็จะสามารถนำเสนอรายงานข้อสรุปได้ ในช่วงกลางเดือน ก.พ. 55
จากการตรวจสอบพบว่า ยังมีญัตติด่วน เรื่องขอให้สถาผู้แทนราษฎร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาข้อเสนอลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร 19 ก.ย.49 จากคณาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ ที่เสนอโดย นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ค้างอยู่ในวาระเพียงญัตติเดียวเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามสาเหตุที่พรรคเพื่อไทย ไม่หยิบยกเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมสภาฯ พิจารณาก่อนปิดสมัยประชุมนั้น เนื่องจากเล็งเห็นว่า บรรยากาศทางการเมืองปัจจุบันไม่เหมาะแก่การผลักดันเรื่องนี้ หลังจากที่ประเด็นเรื่องการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) พระราชทานอภัยโทษ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถูกกระแสสังคมต่อต้านอย่างหนัก รวมทั้งคาดการณ์ว่า ฝ่ายค้านโดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ จะไม่เห็นด้วย ที่จะนำเรื่องการลบล้างผลพวงจากการรัฐประหารขึ้นมาพิจารณา และทำให้บรรยากาศในที่ประชุมนัดสุดท้ายไม่ราบรื่น จนอาจมีการประท้วงซ้ำรอยเหตุการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อน ที่มีความขัดแย้งในการเสนอญัตติ ตั้งกมธ.ปรองดองแห่งชาติ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการนำเรื่องราคายางพาราตกต่ำขึ้นมาหารือต่อที่ประชุมแทน จนทำให้พรรคประชาธิปัตย์ วอล์กเอาต์ จากที่ประชุมมาแล้วครั้งหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า วิปรัฐบาล ก็ไม่ได้พยายามล็อบบี้มายังวิปฝ่ายค้านเพื่อให้หยิบยกเรื่องตั้ง กมธ.ศึกษาแนวทางคณะนิติราษฎร์ ขึ้นมาพิจารณาแต่อย่างใด
รายงานข่าวแจ้งว่า ในสมัยประชุมหน้า ซึ่งเป็นสมัยนิติบัญญัติ กำหนดการประชุมระหว่างวันที่ 21 ธ.ค.54 - 18 เม.ย.55 นั้น เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาตรากฎหมายโดยเฉพาะ ไม่สามารถเสนอญัตติทั่วไปได้ ทำให้ญัตติ กมธ.ศึกษาแนวทางคณะนิติราษฎร์ ก็จะไม่รับการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา และหากจะเสนอต้องรอจนถึงการเปิดประชุมสมัยสามัญทั่วไปอีกครั้ง คาดว่าจะกินเวลาเกือบ 1 ปี
ดังนั้น จึงเป็นที่จับตาว่าพรรคเพื่อไทย จะหยิบยกนำร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ตามแนวทางที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ประกาศไว้ เข้าสู่การประชุมในสมัยประชุมหน้าทันที สอดคล้องกับห้วงเวลาการทำงานที่ กมธ.ปรองดองแห่งชาติ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ เป็นประธาน กำหนดส่งรายงานข้อสรุปผลการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง ต่อที่ประชุมสภาฯ ที่เดิมกำหนดเสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ แต่หากได้รับการเห็นชอบต่ออายุการทำงานจาก 30 วันเป็น 90 วัน ตามที่ได้เสนอไป ก็จะสามารถนำเสนอรายงานข้อสรุปได้ ในช่วงกลางเดือน ก.พ. 55