วานนี้ (23 พ.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเว็บไซต์ เฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุว่า จุดยืนของรัฐบาลต่อการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.)อภัยโทษ เป็นไปตามมติครม. จุดยืนของรัฐบาลคือ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย เป็นไปตามขั้นตอนธรรมเนียมปฏิบัติ และไม่มีการเลือกปฏิบัติ ซึ่งดิฉันเองได้มีการเรียนชี้แจงกับพี่น้องประชาชนว่า เรามาทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรี ก็จะทำงานเพื่อส่วนร่วม และทุกอย่างให้เป็นไปตามกฎหมาย การจะทำอะไรต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์โดยรวมของประเทศ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมว่า จะครอบคลุมทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหาร ปี 2549 และไม่จำเป็นต้องทำประชามติ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ได้ตัดสินแล้วตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23ก.ค.
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี โฆษกครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการอภัยโทษหรือการนิรโทษกรรมเอื้อประโยชน์ให้พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นครม.เงาเห็นว่า จุดยืนของพรรคคือ การไม่สนับสนุนการดำเนินการของรัฐที่ขัดต่อหลักนิติรัฐ และนิติธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม
วันเดียวกัน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มีคำสั่งให้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 20 สมัยสามัญทั่วไป โดยมีญัตติด่วนที่น่าสนใจ อาทิ ขอให้ทางสภาผู้แทนราษฎร ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาข้อเสนอลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 จากคณาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่ง นายก่อแก้ว พิกุลทอง เป็นผู้เสนอญัตติ
นายก่อแก้ว ในฐานะผู้เสนอญัตติด่วน เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภาจะพิจารณาญัตติดังกล่าวในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ซึ่งตนอยากจะเชิญฝ่ายค้านเข้ามาร่วมเป็น กมธ.เพื่อจะได้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่าคิดอย่างไรต่อการยึดอำนาจ โดยสาเหตุที่ตนเองเสนอเพราะไม่ต้องการให้เกิดการยึดอำนาจขึ้นอีกในอนาคต และในอนาคตสภาจะได้มีการขับเคลื่อนหรือออกกฎหมายเพื่อป้องกันการยึดอำนาจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ญัตติดังกล่าวสอดคล้องกับพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ร.ต.อ.เฉลิม ออกมาระบุถึงหรือไม่ นายก่อแก้ว กล่าวว่า เป้าหมายของตนนั้นต้องการปกป้องประชาธิปไตย แต่การดำเนินการจะมีผลพวงอะไรตามมานั้น ถือว่ายกประโยชน์ให้กับสังคมไป ตรงนี้อาจรวมถึงการนิรโทษกรรมของผู้ที่ถูกยึดอำนาจด้วย แต่ไม่ได้ หมายความว่าจะตัดโทษหรือสรุปว่าเขาไม่มีความผิด เพียงแต่ให้ดำเนินการตามกฎหมายปกติ ไม่ใช่เป็นกฎหมายพิเศษ หรือกรรมการพิเศษซึ่งตั้งโดยผู้มีอำนาจ ส่วนตัวมองว่าควรเริ่มต้นใหม่ทุกคดี และไม่ได้ต้องการไปล้างคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้หายไป เพียงแต่เห็นว่าควรให้ความเป็นธรรมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว โดยมีกระบวนการที่น่าเชื่อถือ และเมื่อผลออกมาอย่างไรก็เชื่อว่าสังคมจะยอมรับได้ ?
ด้านนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มนิติราษฎร์ทำงานให้กับพรรคเพื่อไทย เพราะส.ส.พรรคเพื่อไทยก็เด้งรับลูกมาเสนอเป็นญัตติในสภา ซึ่งวันนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า กลุ่มนิติราษฎร์เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือไม่
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมว่า จะครอบคลุมทุกภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหาร ปี 2549 และไม่จำเป็นต้องทำประชามติ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ได้ตัดสินแล้วตั้งแต่การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23ก.ค.
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี โฆษกครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการอภัยโทษหรือการนิรโทษกรรมเอื้อประโยชน์ให้พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นครม.เงาเห็นว่า จุดยืนของพรรคคือ การไม่สนับสนุนการดำเนินการของรัฐที่ขัดต่อหลักนิติรัฐ และนิติธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม
วันเดียวกัน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มีคำสั่งให้นัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 20 สมัยสามัญทั่วไป โดยมีญัตติด่วนที่น่าสนใจ อาทิ ขอให้ทางสภาผู้แทนราษฎร ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาข้อเสนอลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 จากคณาจารย์กลุ่มนิติราษฎร์ ซึ่ง นายก่อแก้ว พิกุลทอง เป็นผู้เสนอญัตติ
นายก่อแก้ว ในฐานะผู้เสนอญัตติด่วน เปิดเผยว่า ที่ประชุมสภาจะพิจารณาญัตติดังกล่าวในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ซึ่งตนอยากจะเชิญฝ่ายค้านเข้ามาร่วมเป็น กมธ.เพื่อจะได้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่าคิดอย่างไรต่อการยึดอำนาจ โดยสาเหตุที่ตนเองเสนอเพราะไม่ต้องการให้เกิดการยึดอำนาจขึ้นอีกในอนาคต และในอนาคตสภาจะได้มีการขับเคลื่อนหรือออกกฎหมายเพื่อป้องกันการยึดอำนาจ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ญัตติดังกล่าวสอดคล้องกับพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ร.ต.อ.เฉลิม ออกมาระบุถึงหรือไม่ นายก่อแก้ว กล่าวว่า เป้าหมายของตนนั้นต้องการปกป้องประชาธิปไตย แต่การดำเนินการจะมีผลพวงอะไรตามมานั้น ถือว่ายกประโยชน์ให้กับสังคมไป ตรงนี้อาจรวมถึงการนิรโทษกรรมของผู้ที่ถูกยึดอำนาจด้วย แต่ไม่ได้ หมายความว่าจะตัดโทษหรือสรุปว่าเขาไม่มีความผิด เพียงแต่ให้ดำเนินการตามกฎหมายปกติ ไม่ใช่เป็นกฎหมายพิเศษ หรือกรรมการพิเศษซึ่งตั้งโดยผู้มีอำนาจ ส่วนตัวมองว่าควรเริ่มต้นใหม่ทุกคดี และไม่ได้ต้องการไปล้างคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้หายไป เพียงแต่เห็นว่าควรให้ความเป็นธรรมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว โดยมีกระบวนการที่น่าเชื่อถือ และเมื่อผลออกมาอย่างไรก็เชื่อว่าสังคมจะยอมรับได้ ?
ด้านนายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มนิติราษฎร์ทำงานให้กับพรรคเพื่อไทย เพราะส.ส.พรรคเพื่อไทยก็เด้งรับลูกมาเสนอเป็นญัตติในสภา ซึ่งวันนี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า กลุ่มนิติราษฎร์เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือไม่