"รมว.ไอซีทีเงา" จับโกหก"อนุดิษฐ์" กรณีเว็บหมิ่นเบื้องสูง ระบุ 98 เปอร์เซ็นของผู้ทำผิดอยู่ในไทย จวกยับเห็นทวิตเตอร์ "ยิ่งลักษณ์" สำคัญกว่าเว็บหมิ่นสถาบันฯ จี้ต้องเอาคนทำมาลงโทษโดยเร็ว ด้าน"อนุดิษฐ์" ยันปราบปราม ต่อเนื่อง แต่ประกาศออกสาธารณะไม่ได้ อ้างจะทำให้ประชาชนอยากค้นหาข้อมูล และสื่อนอกนำไปขยายความ
นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ รมว.เทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) เงา กล่าวถึงกรณี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ออกมาชี้แจงว่า การปิดเว็บไชต์ที่หมิ่นสถาบันเบื้องสูงทำได้ยาก เนื่องจากเว็บไซต์ดังกล่าวอยู่ต่างประเทศ ว่า ตนไม่แน่ใจว่า น.อ.อนุดิษฐ์ มีเจตนาปกป้องคนเหล่านี้ที่มีเจตนาทำร้ายสถาบันฯ หรือ เป็นเพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจในงานเทคโนโลยีจริงๆ
โดยเฉพาะการที่ น.อ.เอกอนุดิษฐ์ กล่าวอ้างว่า การเข้าไปใช้บัญชีทวิตเตอร์ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แตกต่างจากการโพสต์รูป หรือข้อความ โดยเปรียบกรณีของนายกฯ เสมือนเมื่อโจรเข้าบ้าน ก็สามารถจับโจรได้ แต่การโพสต์ข้อความ และรูปนั้น ตัวตนของผู้กระทำผิดอยู่ต่างประเทศ จึงไม่สามารถจับได้
นายศิริโชค กล่าวว่า กรณีเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ไม่ได้แตกต่างกัน เพราะเซิร์ฟเวอร์นั้นล้วนอยู่ต่างประเทศ และตนขอยืนยันว่า น.อ.อนุดิษฐ์ โกหก หรือไม่ก็ได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดจากบรรดาคนรอบข้าง เพราะตัวตนของผู้กระทำความผิด ไม่ได้อยู่ต่างประเทศแน่นอน เพราะหลังจากที่ น.อ.อนุดิษฐ์ ให้สัมภาษณ์ ตนก็ได้นำข้อมูลบัญชีเฟซบุ๊ก ที่มีปัญหาประมาณ 50 บัญชี และทำการตรวจสอบในเชิงลับ โดยการอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในต่างประเทศ ปรากฏว่า 98 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในประเทศไทย
นอกจากนี้ กรณีของเฟซบุ๊ก ยังง่ายกว่าทวิตเตอร์ เพราะผู้กระทำความผิดนั้น ทำในประเทศไทย และในสหรัฐอเมริกา เพราะทำให้เฟซบุ๊กเกิดความเสียหาย เนื่องจากมีการใช้บัญชีของเขาปล่อยไวรัส ประเภทมัลแวร์ ขณะที่กรณีทวิตเตอร์ ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นความเสียหายเฉพาะบุคคล
" การที่น.อ.อนุดิษฐ์ ยกตัวอย่างกรณีทวิตเตอร์ของน.ส.ยิ่งลักษณ์มาเปรียบเสมือนโจรเข้าบ้านนั้น ผมคิดว่ากรณีเว็บหมิ่นฯ ยิ่งกว่าโจรเข้าบ้านเสียอีก เพราะนอกจากจะเอาบ้านมาเป็นซ่องโจรแล้ว และยังปล่อยไวรัสไปทำลายบ้านอื่นๆ ในหมู่บ้าน เจ้าของบ้านอย่างเฟซบุ๊ก ย่อมไม่พอใจ และพร้อมให้ความร่วมมือ แต่ขณะนี้รัฐบาลไทยโดยน.อ.อนุดิษฐ์ ไม่มีทีท่าที่จะประสานงานขอเส้นทางการทำความผิด หรือ IP จากเฟซบุ๊กเลย หรือถือว่าบ้านนี้มีความสำคัญน้อยกว่าบ้านของน.ส.ยิ่งลักษณ์" นายศิริโชค กล่าว และว่า ตนขอเรียกร้องไปถึงน.อ.อนุดิษฐ์ใ ห้ดำเนินการต่อเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด นอกจากจะแจ้งให้เฟซบุ๊กจัดการยกเลิกหรือแขวนบัญชีดังกล่าวแล้ว จะต้องดำเนินการเอาคนเหล่านั้นมาลงโทษโดยเร็ว
นอกจากนี้ การที่บัญชีเฟซบุ๊กในอดีตที่ปิดไปแล้วนั้น ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นการทำงานของภาคประชาชน ที่ทำการรายงานไปยังเฟซบุ๊ก ยังไม่ได้เป็นผลงานของกระทรวงไอซีที แต่อย่างใด
ด้านน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที กล่าวถึงเรื่องนี้โดยยืนยันว่า ที่ผ่านมากระทรวงไอซีที ได้ดำเนินการเพื่อระงับการแพร่หลาย ของภาพ ข้อความ เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมอันกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาโดยตลอด เช่น การประสานงานกับเว็บไซต์ ที่มีผู้ให้บริการอยู่ในต่างประเทศ เพื่อให้ระงับการแพร่หลาย จากต้นเหตุของเนื้อหาไม่เหมาะสม รวมถึงขอความร่วมมือให้ช่วยดูแล ติดตามพฤติกรรมการกระทำที่ก่อให้เกิดเนื้อหาอันไม่เหมาะสม
" จากสถิติช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ที่ผ่านมา กระทรวงไอซีที ได้ร้องขอไปยังผู้ให้บริการเฟซบุ๊ก ให้ดำเนินการปิดกั้นให้ไม่สามารถเข้าถึงชื่อบัญชีที่ดำเนินการไม่เหมาะสมจำนวน 26,000 ยูอาร์แอล และช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน อีกจำนวน 60,000 ยูอาร์แอล ซึ่งเป็นการปิดตั้งแต่ต้นทาง และสามารถปิดยูอาร์แอล ที่เกี่ยวข้องอื่นๆได้ โดยไม่ต้องไปไล่ปิดทีละยูอาร์แอล" รมว.ไอซีที กล่าว
อย่างไรก็ตาม น.อ.อนุดิษฐ์ ยะงคงย้ำว่า การจะปราบเว็บไซต์ที่กระทำการอันไม่เหมาะสมเกี่ยวกับสถาบันฯ เป็นเรื่องที่กระทำมิได้โดยง่าย แต่ในการกระทำที่ผ่านมา ที่ได้มีการประสานงานกับต่างประเทศ ก็มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ การดำเนินการเกี่ยวกับสถาบันฯ มิได้นำมาประกาศ หรือออกสื่อสาธารณะ อันอาจเป็นการสร้างแรงจูงใจประชาชนบางกลุ่มให้เกิดความสนใจ จนเป็นเหตุอันทำให้ประชาชนอยากค้นหาในข้อมูลดังกล่าว หรืออาจเป็นการสร้างกระแสข้อมูล ซึ่งทำให้ประชาชนหรือสื่อต่างๆ อยากเข้าไปค้นคว้า หรือหาข้อมูลดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ต่อสื่อสาธารณะ และเป็นประเด็นให้สื่อต่างประเทศขยายความเพิ่มขึ้น
นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ รมว.เทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) เงา กล่าวถึงกรณี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ออกมาชี้แจงว่า การปิดเว็บไชต์ที่หมิ่นสถาบันเบื้องสูงทำได้ยาก เนื่องจากเว็บไซต์ดังกล่าวอยู่ต่างประเทศ ว่า ตนไม่แน่ใจว่า น.อ.อนุดิษฐ์ มีเจตนาปกป้องคนเหล่านี้ที่มีเจตนาทำร้ายสถาบันฯ หรือ เป็นเพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจในงานเทคโนโลยีจริงๆ
โดยเฉพาะการที่ น.อ.เอกอนุดิษฐ์ กล่าวอ้างว่า การเข้าไปใช้บัญชีทวิตเตอร์ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แตกต่างจากการโพสต์รูป หรือข้อความ โดยเปรียบกรณีของนายกฯ เสมือนเมื่อโจรเข้าบ้าน ก็สามารถจับโจรได้ แต่การโพสต์ข้อความ และรูปนั้น ตัวตนของผู้กระทำผิดอยู่ต่างประเทศ จึงไม่สามารถจับได้
นายศิริโชค กล่าวว่า กรณีเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ไม่ได้แตกต่างกัน เพราะเซิร์ฟเวอร์นั้นล้วนอยู่ต่างประเทศ และตนขอยืนยันว่า น.อ.อนุดิษฐ์ โกหก หรือไม่ก็ได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดจากบรรดาคนรอบข้าง เพราะตัวตนของผู้กระทำความผิด ไม่ได้อยู่ต่างประเทศแน่นอน เพราะหลังจากที่ น.อ.อนุดิษฐ์ ให้สัมภาษณ์ ตนก็ได้นำข้อมูลบัญชีเฟซบุ๊ก ที่มีปัญหาประมาณ 50 บัญชี และทำการตรวจสอบในเชิงลับ โดยการอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในต่างประเทศ ปรากฏว่า 98 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในประเทศไทย
นอกจากนี้ กรณีของเฟซบุ๊ก ยังง่ายกว่าทวิตเตอร์ เพราะผู้กระทำความผิดนั้น ทำในประเทศไทย และในสหรัฐอเมริกา เพราะทำให้เฟซบุ๊กเกิดความเสียหาย เนื่องจากมีการใช้บัญชีของเขาปล่อยไวรัส ประเภทมัลแวร์ ขณะที่กรณีทวิตเตอร์ ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นความเสียหายเฉพาะบุคคล
" การที่น.อ.อนุดิษฐ์ ยกตัวอย่างกรณีทวิตเตอร์ของน.ส.ยิ่งลักษณ์มาเปรียบเสมือนโจรเข้าบ้านนั้น ผมคิดว่ากรณีเว็บหมิ่นฯ ยิ่งกว่าโจรเข้าบ้านเสียอีก เพราะนอกจากจะเอาบ้านมาเป็นซ่องโจรแล้ว และยังปล่อยไวรัสไปทำลายบ้านอื่นๆ ในหมู่บ้าน เจ้าของบ้านอย่างเฟซบุ๊ก ย่อมไม่พอใจ และพร้อมให้ความร่วมมือ แต่ขณะนี้รัฐบาลไทยโดยน.อ.อนุดิษฐ์ ไม่มีทีท่าที่จะประสานงานขอเส้นทางการทำความผิด หรือ IP จากเฟซบุ๊กเลย หรือถือว่าบ้านนี้มีความสำคัญน้อยกว่าบ้านของน.ส.ยิ่งลักษณ์" นายศิริโชค กล่าว และว่า ตนขอเรียกร้องไปถึงน.อ.อนุดิษฐ์ใ ห้ดำเนินการต่อเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด นอกจากจะแจ้งให้เฟซบุ๊กจัดการยกเลิกหรือแขวนบัญชีดังกล่าวแล้ว จะต้องดำเนินการเอาคนเหล่านั้นมาลงโทษโดยเร็ว
นอกจากนี้ การที่บัญชีเฟซบุ๊กในอดีตที่ปิดไปแล้วนั้น ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นการทำงานของภาคประชาชน ที่ทำการรายงานไปยังเฟซบุ๊ก ยังไม่ได้เป็นผลงานของกระทรวงไอซีที แต่อย่างใด
ด้านน.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที กล่าวถึงเรื่องนี้โดยยืนยันว่า ที่ผ่านมากระทรวงไอซีที ได้ดำเนินการเพื่อระงับการแพร่หลาย ของภาพ ข้อความ เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมอันกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาโดยตลอด เช่น การประสานงานกับเว็บไซต์ ที่มีผู้ให้บริการอยู่ในต่างประเทศ เพื่อให้ระงับการแพร่หลาย จากต้นเหตุของเนื้อหาไม่เหมาะสม รวมถึงขอความร่วมมือให้ช่วยดูแล ติดตามพฤติกรรมการกระทำที่ก่อให้เกิดเนื้อหาอันไม่เหมาะสม
" จากสถิติช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ที่ผ่านมา กระทรวงไอซีที ได้ร้องขอไปยังผู้ให้บริการเฟซบุ๊ก ให้ดำเนินการปิดกั้นให้ไม่สามารถเข้าถึงชื่อบัญชีที่ดำเนินการไม่เหมาะสมจำนวน 26,000 ยูอาร์แอล และช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน อีกจำนวน 60,000 ยูอาร์แอล ซึ่งเป็นการปิดตั้งแต่ต้นทาง และสามารถปิดยูอาร์แอล ที่เกี่ยวข้องอื่นๆได้ โดยไม่ต้องไปไล่ปิดทีละยูอาร์แอล" รมว.ไอซีที กล่าว
อย่างไรก็ตาม น.อ.อนุดิษฐ์ ยะงคงย้ำว่า การจะปราบเว็บไซต์ที่กระทำการอันไม่เหมาะสมเกี่ยวกับสถาบันฯ เป็นเรื่องที่กระทำมิได้โดยง่าย แต่ในการกระทำที่ผ่านมา ที่ได้มีการประสานงานกับต่างประเทศ ก็มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ การดำเนินการเกี่ยวกับสถาบันฯ มิได้นำมาประกาศ หรือออกสื่อสาธารณะ อันอาจเป็นการสร้างแรงจูงใจประชาชนบางกลุ่มให้เกิดความสนใจ จนเป็นเหตุอันทำให้ประชาชนอยากค้นหาในข้อมูลดังกล่าว หรืออาจเป็นการสร้างกระแสข้อมูล ซึ่งทำให้ประชาชนหรือสื่อต่างๆ อยากเข้าไปค้นคว้า หรือหาข้อมูลดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ต่อสื่อสาธารณะ และเป็นประเด็นให้สื่อต่างประเทศขยายความเพิ่มขึ้น