โดย...ชวินทร์ ลีนะบรรจง1
ของอร่อยบางอย่างต้องกินเมื่อมันเย็นแล้ว
การเรียนรู้จากบทเรียนก็เฉกเช่นเดียวกัน
เพื่อมิให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
หมายเหตุ:1. ตัวเลขนอกวงเล็บหน่วยเป็นล้านคน
2. ตัวเลขในวงเล็บของบัตรเสียและไม่ประสงค์ลงคะแนนคิดเป็นร้อยละของผู้มาใช้สิทธิแต่ละครั้ง
3. ข้อมูลจากเว็บไซต์คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตารางข้างต้นเป็นการสรุปผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาเพื่อที่จะนำไปสรุปเป็นบทเรียนหรือ Lesson Learn ในอนาคตต่อไปของหลายๆ ฝ่ายรวมถึงพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ข้อเท็จจริง
1. ฐานของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นกว่า 2.5 ล้านคนในขณะที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นในจำนวนเดียวกัน สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาคืออยู่ในระดับร้อยละ 72 ถึง 75 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
2. รูปแบบของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด กล่าวคือจำนวนคะแนนส่วนนี้ในแบบแบ่งเขตมากกว่าในแบบบัญชีรายชื่อมาโดยตลอด แม้ว่าในเชิงจำนวนจะมีผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ ส.ส.คนใดในการเลือกตั้งครั้งนี้น้อยลงกว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 50 ก็ตาม
3. ในส่วนรูปแบบของบัตรเสียเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับในเชิงจำนวนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่า 2.5 ล้านคนเท่าๆ กับจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้มาใช้สิทธิ
4. เท่าที่มีข้อมูลปรากฏ ไม่มี ส.ส.แบบแบ่งเขตใดที่ตกอยู่ภายใต้ ม. 88 และ 89 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งตามที่ได้มีวิวาทะก่อนหน้านี้ นั่นคือมีผู้มาใช้สิทธิเลือก ส.ส.เกินร้อยละ 20 และไม่มี ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งคนใดมีคะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน นั่นคือ “โหวตโน” ไม่ชนะแม้แต่เขตเดียวทั้งๆ ที่ในบางเขตมีผู้ที่ได้รับเลือกตั้งได้คะแนนค่อนข้างน้อย เช่น ส.ส.เขต 4 จังหวัดปัตตานีได้คะแนนเพียง 21,510 คะแนน หรือเขต 9 จังหวัดชลบุรีและเขต 5 จังหวัดกาญจนบุรีที่ได้คะแนนเพียงประมาณ 2.5 หมื่นคะแนนเท่านั้น ส่วนในแบบบัญชีรายชื่อก็เช่นกันมีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนเพียง 2.38 ล้านคนหรือเพียงร้อยละ 6.78 ของผู้มาใช้สิทธิเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนของพรรคทักษิณ(เนื่องจากมีการเปลี่ยนพรรคหลายครั้งแต่อยู่ในอาณัติของทักษิณแต่เพียงผู้เดียว) หรือประชาธิปัตย์ที่ได้เป็น 10 ล้านเสียงขึ้นไปทั้งสองพรรค
สิ่งที่ควรจะหาคำตอบเนื่องจากเป็นโอกาสอันดีเพื่อเป็นบทเรียนก็คือ มีจำนวนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) มากน้อยเพียงใด เพราะสถานการณ์ในระยะเวลาที่ผ่านมาก่อนจะมีการเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54 พธม.ก็ได้รณรงค์ “โหวตโน” อย่างเข้มข้นและกว้างขวางในลักษณะที่ “แยกมิตรแยกศัตรู” อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนในครั้งนี้น่าจะเป็นตัวแทนจำนวนของ พธม.อันเนื่องมาจาก “โหวตโน” ได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม การประมาณการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งข้อสมมติขึ้นมาประกอบเพราะ พธม.มิได้มีพรรคลงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ หากแต่อาศัยคะแนนจากช่องผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนมาเป็น “ตัวแทน” ซึ่งในการนี้อาจจะมีการซ้ำซ้อนจากผู้ที่มิใช่ พธม.ที่ใช้ช่องทางนี้มาก่อนอยู่ด้วย ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนที่มีอยู่ก่อนหน้าในการเลือกตั้งปี 48 และ 50 ที่ พธม.จะรณรงค์ “โหวตโน” ดังนั้นการทึกทักเอาโดยง่ายว่าจำนวนผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนจำนวน 2.38 ล้านคนที่ปรากฏในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเป็นของ พธม.ด้วย “โหวตโน” ทั้งจำนวนจึงไม่ถูกต้อง หากแต่น่าจะเป็นจำนวนสูงสุดที่ พธม.อาจมีได้มากกว่า
นอกจากนี้ ข้อมูลของผู้เสียสิทธิประมาณ 2 ล้านคนตามข่าวเนื่องจาก กกต.ไม่ได้ปรับฐานข้อมูลของผู้ไปใช้สิทธิลงคะแนนนอกเขตล่วงหน้าในครั้งที่แล้วให้กลับมาเป็นฐานข้อมูลตามปกติในครั้งนี้นั้นจะไม่นำมาวิเคราะห์ เนื่องจากไม่มีข้อเท็จจริงที่จะสามารถบอกได้โดยชัดเจนว่าหากคนกลุ่มนี้สามารถกลับมาเลือกตั้งได้จะเลือกทางเลือกใด
ข้อสมมติในการประมาณการ มีดังต่อไปนี้
1. ประมาณการจากการเปลี่ยนแปลงฐานผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนที่มีอยู่เดิม ซึ่งข้อสมมตินี้จะทำให้ได้จำนวน พธม.ประมาณ 1.28 ล้านคน (2.38-1.10) หากคิดจากฐานปี 48 หรือไม่มีเลยเมื่อคิดจากฐานปี 50 (2.38-2.43 ที่มาค่าใกล้ศูนย์)
2. หากคิดว่าผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนที่มีอยู่เดิมไม่ประสงค์ที่จะให้ พธม.มาอ้างไปเป็นพวก จึงหันไปแสดงความประสงค์ตนเองผ่านการเป็นบัตรเสียในครั้งนี้ หรือข้อสมมติ “เสียงที่หายไป” ของกรุงเทพธุรกิจ 5 ก.ค. 54 ซึ่งข้อสมมตินี้ก็มีข้อสนับสนุนด้วยจำนวนบัตรเสียที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากระดับที่ใกล้เคียงกันคือ 8 ล้านคนเศษจากการเลือกตั้ง 2 ครั้งก่อนหน้านี้กลายเป็น 10.58 ล้านคนในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้จำนวนของบัตรเสียที่เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 ล้านคน (ใกล้เคียงกับผู้ที่มาลงคะแนนที่เพิ่มขึ้น) ก็คือจำนวนของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนที่มีอยู่เดิมที่หันไปทำบัตรเสีย ดังนั้นจำนวนของ พธม.ก็คือจำนวนของผู้ที่ไปทดแทนผู้ทำบัตรเสียที่มีประมาณ 2.5 ล้านคนนั่นเอง
3. ประมาณการจากคะแนนพรรคประชาธิปัตย์ที่ลดลง เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่อาจแสดงถึงความนิยมของผู้มาใช้สิทธิที่มีต่อพรรคนั้นๆ คะแนนส่วนนี้ของพรรคประชาธิปัตย์มิได้มีจำนวนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญตามที่มีหลายคนกล่าวอ้างแต่อย่างใด
หากพิจารณาจากการเลือกตั้งในครั้งที่พรรคทักษิณได้คะแนนนิยมมากที่สุดคือเมื่อครั้งปี 48 ภายหลังจากการอยู่ครบวาระ 4 ปีและเป็นการเลือกตั้งที่ทักษิณลงสมัครเป็นวาระที่ 2 ในนามพรรคไทยรักไทยก่อนที่จะถูกรัฐประหารในปีต่อมาซึ่งได้ถึงเกือบ 19 ล้านคน แต่ลดลงมาโดยตลอดไม่สามารถกลับไปอยู่ ณ จุดนี้ได้อีกเลยแม้แต่ในครั้งล่าสุดก็ตาม ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เมื่อการเลือกตั้งปี 48 ในครั้งนั้นได้ 7.21 ล้านคนและเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดไม่เคยลดลงจากระดับนี้แต่อย่างใดซึ่งตรงกันข้ามกับพรรคทักษิณไม่ว่าจะโดยชื่อใดอย่างสิ้นเชิง ประกอบกับการที่ พธม.ออกมาโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาอย่างรุนแรงและเข้มข้นที่ถือได้ว่าเป็นการ “แยกมิตร แยกศัตรู” อย่างชัดเจน
ดังนั้นคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ในปี 54 ที่ลดลงจากในการเลือกตั้งปี 50 ที่ทั้ง พธม.และพรรคประชาธิปัตย์เป็นแนวร่วมกัน ก็คือจำนวนของ พธม.ที่ไม่ลงคะแนนให้ซึ่งน่าจะมีประมาณ 7 แสนคนเศษ (12.15-11.43) นั่นเอง
ความถูกต้องในการประมาณการจึงอยู่ที่การเลือกข้อสมมติมาใช้ให้ถูกต้องเป็นสำคัญ จำนวน พธม.จึงขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ประมาณการภายใต้แต่ละข้อสมมติที่ได้นำเสนอมาทั้ง 3 ข้อ
แต่ข้อเท็จจริงจากผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาที่ปรากฏอนุมานได้ว่า พธม.น่าจะมีจำนวนอยู่ในระหว่าง 7 แสนคนถึง 1.28 ล้านคน ตามข้อสมมติที่ 1 และ 3 และไม่น่าจะเป็นไปตามข้อสมมติที่ 2 อันเนื่องจากจำนวน พธม.จะมีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนสูงสุดที่จะมีได้ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่ผู้มาลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนจะเป็นคนกลุ่มเดียวกับ “โหวตโน” ทั้งหมด
เมื่อรู้จำนวนแล้วก็อาจนำไปสู่บทเรียนจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาว่ามีอย่างไรต่อไป
* * * * * *
ของฝากสัปดาห์นี้ดูงานประดับโคมไฟก่อนเทศกาลกิออนที่เกียวโต มีการปิดถนนเพื่อการนี้โดยเฉพาะ มีผู้คนไม่น้อยใส่ชุดยูกะตะออกมาชมไฟ คนไทยก็ชมหนุ่มสาวเขาอีกทอดก็แล้วกัน
*********************
*1 ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 28 ก.ค. 54
*2 The Japan Foundation Fellow, บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยแต่อย่างใด
ของอร่อยบางอย่างต้องกินเมื่อมันเย็นแล้ว
การเรียนรู้จากบทเรียนก็เฉกเช่นเดียวกัน
เพื่อมิให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
หมายเหตุ:1. ตัวเลขนอกวงเล็บหน่วยเป็นล้านคน
2. ตัวเลขในวงเล็บของบัตรเสียและไม่ประสงค์ลงคะแนนคิดเป็นร้อยละของผู้มาใช้สิทธิแต่ละครั้ง
3. ข้อมูลจากเว็บไซต์คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ตารางข้างต้นเป็นการสรุปผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาเพื่อที่จะนำไปสรุปเป็นบทเรียนหรือ Lesson Learn ในอนาคตต่อไปของหลายๆ ฝ่ายรวมถึงพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ข้อเท็จจริง
1. ฐานของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นกว่า 2.5 ล้านคนในขณะที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้นในจำนวนเดียวกัน สัดส่วนผู้มาใช้สิทธิอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาคืออยู่ในระดับร้อยละ 72 ถึง 75 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
2. รูปแบบของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด กล่าวคือจำนวนคะแนนส่วนนี้ในแบบแบ่งเขตมากกว่าในแบบบัญชีรายชื่อมาโดยตลอด แม้ว่าในเชิงจำนวนจะมีผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ ส.ส.คนใดในการเลือกตั้งครั้งนี้น้อยลงกว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 50 ก็ตาม
3. ในส่วนรูปแบบของบัตรเสียเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับในเชิงจำนวนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่า 2.5 ล้านคนเท่าๆ กับจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้มาใช้สิทธิ
4. เท่าที่มีข้อมูลปรากฏ ไม่มี ส.ส.แบบแบ่งเขตใดที่ตกอยู่ภายใต้ ม. 88 และ 89 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งตามที่ได้มีวิวาทะก่อนหน้านี้ นั่นคือมีผู้มาใช้สิทธิเลือก ส.ส.เกินร้อยละ 20 และไม่มี ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งคนใดมีคะแนนน้อยกว่าผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน นั่นคือ “โหวตโน” ไม่ชนะแม้แต่เขตเดียวทั้งๆ ที่ในบางเขตมีผู้ที่ได้รับเลือกตั้งได้คะแนนค่อนข้างน้อย เช่น ส.ส.เขต 4 จังหวัดปัตตานีได้คะแนนเพียง 21,510 คะแนน หรือเขต 9 จังหวัดชลบุรีและเขต 5 จังหวัดกาญจนบุรีที่ได้คะแนนเพียงประมาณ 2.5 หมื่นคะแนนเท่านั้น ส่วนในแบบบัญชีรายชื่อก็เช่นกันมีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนนเพียง 2.38 ล้านคนหรือเพียงร้อยละ 6.78 ของผู้มาใช้สิทธิเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนของพรรคทักษิณ(เนื่องจากมีการเปลี่ยนพรรคหลายครั้งแต่อยู่ในอาณัติของทักษิณแต่เพียงผู้เดียว) หรือประชาธิปัตย์ที่ได้เป็น 10 ล้านเสียงขึ้นไปทั้งสองพรรค
สิ่งที่ควรจะหาคำตอบเนื่องจากเป็นโอกาสอันดีเพื่อเป็นบทเรียนก็คือ มีจำนวนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) มากน้อยเพียงใด เพราะสถานการณ์ในระยะเวลาที่ผ่านมาก่อนจะมีการเลือกตั้งเมื่อ 3 ก.ค. 54 พธม.ก็ได้รณรงค์ “โหวตโน” อย่างเข้มข้นและกว้างขวางในลักษณะที่ “แยกมิตรแยกศัตรู” อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนในครั้งนี้น่าจะเป็นตัวแทนจำนวนของ พธม.อันเนื่องมาจาก “โหวตโน” ได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม การประมาณการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งข้อสมมติขึ้นมาประกอบเพราะ พธม.มิได้มีพรรคลงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ หากแต่อาศัยคะแนนจากช่องผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนมาเป็น “ตัวแทน” ซึ่งในการนี้อาจจะมีการซ้ำซ้อนจากผู้ที่มิใช่ พธม.ที่ใช้ช่องทางนี้มาก่อนอยู่ด้วย ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนที่มีอยู่ก่อนหน้าในการเลือกตั้งปี 48 และ 50 ที่ พธม.จะรณรงค์ “โหวตโน” ดังนั้นการทึกทักเอาโดยง่ายว่าจำนวนผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนจำนวน 2.38 ล้านคนที่ปรากฏในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเป็นของ พธม.ด้วย “โหวตโน” ทั้งจำนวนจึงไม่ถูกต้อง หากแต่น่าจะเป็นจำนวนสูงสุดที่ พธม.อาจมีได้มากกว่า
นอกจากนี้ ข้อมูลของผู้เสียสิทธิประมาณ 2 ล้านคนตามข่าวเนื่องจาก กกต.ไม่ได้ปรับฐานข้อมูลของผู้ไปใช้สิทธิลงคะแนนนอกเขตล่วงหน้าในครั้งที่แล้วให้กลับมาเป็นฐานข้อมูลตามปกติในครั้งนี้นั้นจะไม่นำมาวิเคราะห์ เนื่องจากไม่มีข้อเท็จจริงที่จะสามารถบอกได้โดยชัดเจนว่าหากคนกลุ่มนี้สามารถกลับมาเลือกตั้งได้จะเลือกทางเลือกใด
ข้อสมมติในการประมาณการ มีดังต่อไปนี้
1. ประมาณการจากการเปลี่ยนแปลงฐานผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนที่มีอยู่เดิม ซึ่งข้อสมมตินี้จะทำให้ได้จำนวน พธม.ประมาณ 1.28 ล้านคน (2.38-1.10) หากคิดจากฐานปี 48 หรือไม่มีเลยเมื่อคิดจากฐานปี 50 (2.38-2.43 ที่มาค่าใกล้ศูนย์)
2. หากคิดว่าผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนที่มีอยู่เดิมไม่ประสงค์ที่จะให้ พธม.มาอ้างไปเป็นพวก จึงหันไปแสดงความประสงค์ตนเองผ่านการเป็นบัตรเสียในครั้งนี้ หรือข้อสมมติ “เสียงที่หายไป” ของกรุงเทพธุรกิจ 5 ก.ค. 54 ซึ่งข้อสมมตินี้ก็มีข้อสนับสนุนด้วยจำนวนบัตรเสียที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากระดับที่ใกล้เคียงกันคือ 8 ล้านคนเศษจากการเลือกตั้ง 2 ครั้งก่อนหน้านี้กลายเป็น 10.58 ล้านคนในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้จำนวนของบัตรเสียที่เพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 ล้านคน (ใกล้เคียงกับผู้ที่มาลงคะแนนที่เพิ่มขึ้น) ก็คือจำนวนของผู้ไม่ประสงค์จะลงคะแนนที่มีอยู่เดิมที่หันไปทำบัตรเสีย ดังนั้นจำนวนของ พธม.ก็คือจำนวนของผู้ที่ไปทดแทนผู้ทำบัตรเสียที่มีประมาณ 2.5 ล้านคนนั่นเอง
3. ประมาณการจากคะแนนพรรคประชาธิปัตย์ที่ลดลง เป็นที่น่าสังเกตว่าจำนวนคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่อาจแสดงถึงความนิยมของผู้มาใช้สิทธิที่มีต่อพรรคนั้นๆ คะแนนส่วนนี้ของพรรคประชาธิปัตย์มิได้มีจำนวนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญตามที่มีหลายคนกล่าวอ้างแต่อย่างใด
หากพิจารณาจากการเลือกตั้งในครั้งที่พรรคทักษิณได้คะแนนนิยมมากที่สุดคือเมื่อครั้งปี 48 ภายหลังจากการอยู่ครบวาระ 4 ปีและเป็นการเลือกตั้งที่ทักษิณลงสมัครเป็นวาระที่ 2 ในนามพรรคไทยรักไทยก่อนที่จะถูกรัฐประหารในปีต่อมาซึ่งได้ถึงเกือบ 19 ล้านคน แต่ลดลงมาโดยตลอดไม่สามารถกลับไปอยู่ ณ จุดนี้ได้อีกเลยแม้แต่ในครั้งล่าสุดก็ตาม ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เมื่อการเลือกตั้งปี 48 ในครั้งนั้นได้ 7.21 ล้านคนและเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดไม่เคยลดลงจากระดับนี้แต่อย่างใดซึ่งตรงกันข้ามกับพรรคทักษิณไม่ว่าจะโดยชื่อใดอย่างสิ้นเชิง ประกอบกับการที่ พธม.ออกมาโจมตีพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาอย่างรุนแรงและเข้มข้นที่ถือได้ว่าเป็นการ “แยกมิตร แยกศัตรู” อย่างชัดเจน
ดังนั้นคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ในปี 54 ที่ลดลงจากในการเลือกตั้งปี 50 ที่ทั้ง พธม.และพรรคประชาธิปัตย์เป็นแนวร่วมกัน ก็คือจำนวนของ พธม.ที่ไม่ลงคะแนนให้ซึ่งน่าจะมีประมาณ 7 แสนคนเศษ (12.15-11.43) นั่นเอง
ความถูกต้องในการประมาณการจึงอยู่ที่การเลือกข้อสมมติมาใช้ให้ถูกต้องเป็นสำคัญ จำนวน พธม.จึงขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ประมาณการภายใต้แต่ละข้อสมมติที่ได้นำเสนอมาทั้ง 3 ข้อ
แต่ข้อเท็จจริงจากผลการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาที่ปรากฏอนุมานได้ว่า พธม.น่าจะมีจำนวนอยู่ในระหว่าง 7 แสนคนถึง 1.28 ล้านคน ตามข้อสมมติที่ 1 และ 3 และไม่น่าจะเป็นไปตามข้อสมมติที่ 2 อันเนื่องจากจำนวน พธม.จะมีจำนวนใกล้เคียงกับจำนวนสูงสุดที่จะมีได้ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่ผู้มาลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนจะเป็นคนกลุ่มเดียวกับ “โหวตโน” ทั้งหมด
เมื่อรู้จำนวนแล้วก็อาจนำไปสู่บทเรียนจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาว่ามีอย่างไรต่อไป
* * * * * *
ของฝากสัปดาห์นี้ดูงานประดับโคมไฟก่อนเทศกาลกิออนที่เกียวโต มีการปิดถนนเพื่อการนี้โดยเฉพาะ มีผู้คนไม่น้อยใส่ชุดยูกะตะออกมาชมไฟ คนไทยก็ชมหนุ่มสาวเขาอีกทอดก็แล้วกัน
*********************
*1 ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ 28 ก.ค. 54
*2 The Japan Foundation Fellow, บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยแต่อย่างใด