โดย...ชวินทร์ ลีนะบรรจง1
นับต่อจากนี้ การเมืองจะสู้กันที่ใด บนถนน หรือในสภา
การเมืองจะสู้กันด้วยอะไร จำนวนคนที่มาชุมนุม หรือนโยบาย
อะไรคือรหัสนัยจากผลการเลือกตั้งและการประมาณการจำนวนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจากการรนณรงค์ “โหวตโน” ที่ผ่านมา
1. จากผลการเลือกตั้งที่ทำให้สามารถประมาณการได้ว่ามีจำนวน พธม. อยู่ในราว 7 แสนถึง 1.28 ล้านคนนั้นเป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็นว่า การรณรงค์ “โหวตโน” นั้นมีปัญหาในเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตรรกะที่เป็นเหตุผลมาสนับสนุนรองรับ ทำให้ได้ผู้มาสนับสนุนต่ำกว่าเป้าหมายที่ พธม.คาดว่าตนเองมีอยู่
สาเหตุสำคัญก็เพราะการไป “ทึกทัก” ด้วยตรรกะที่ว่านักการเมืองที่มีอยู่ทั้งหมดและที่กำลังจะเสนอตัวเข้ามารับการเลือกตั้งนั้น “ไม่มีดี” แม้แต่คนเดียวและไม่สมควรยอมรับให้มาเป็นตัวแทนใช้อำนาจของประชาชนอันเป็นสมมติฐานที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงของมนุษย์ปุถุชนโดยทั่วไป
เพราะในโลกของความเป็นจริงไม่มีบุคคลที่เป็น “ขาวหรือดำล้วน” หากมีแต่สี “เทา” ที่จะอ่อนไปทางขาวหรือแก่ไปทางดำมากกว่ากันก็แค่นั้นเอง ดังนั้นต่อให้ “เลวทรามต่ำช้า” สักเพียงใดก็ยังมีส่วนดี ในทำนองเดียวกัน “คนดี” ก็ยังมีส่วนเลว ไม่ยกเว้นแม้จะชื่อ จตุพร ปุ ปู เทือก หรือใครก็ตาม นี่คือข้อเท็จจริงที่ไม่สมควรจะไปขัดแย้งเพราะจะทำให้ได้ข้อวิเคราะห์ข้อสรุปที่ไม่ตั้งอยู่บนความเป็นจริง
การเมืองที่ดีหรือการเมืองใหม่จึงเป็นเรื่องของการนำเสนอมาตรฐานใหม่มาใช้ในการควบคุมส่วนที่เลวของนักการเมืองเอาไว้ไม่ให้นำออกมาใช้ ในขณะที่สนับสนุนให้นักการเมืองแสดงส่วนที่ดีออกมา
การที่ พธม.ปฏิเสธที่จะเข้ามามีส่วนร่วมนำเสนอมาตรฐานใหม่ด้วยในคราวนี้ นับว่าเป็นก้าวเดินที่ต้องทบทวน เพราะ “หากอรหันต์ถือดีไม่ยอมลงนรก (เกลือกกลั้วกับความเลว) เพื่อไปโปรดสัตว์นรก แล้วใครเล่าจะยอมลง” แม้ว่าบ้านเมืองเป็นเรื่องส่วนรวมมิใช่ของ พธม.แต่เพียงลำพัง แต่หาก พธม.ที่คิดว่าตนเองมีมาตรฐานที่ดีกว่าไม่เข้ามาปฏิรูปการเมืองทำ “ดี” ให้เห็นเป็นตัวอย่างมาตรฐานแล้วจะหวังให้ใครทำ
2. การไม่มีพรรคการเมืองเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจรัฐและเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างมวลชนที่มีอยู่อาจถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดในเชิงยุทธวิธี ทำให้ พธม.ไม่มีพื้นที่ทางการเมืองเพื่อกลุ่มของตนเองจนต้องหันไปใช้พรรคพันธมิตรฯ ด้วยการรณรงค์ “โหวตโน” แทน
สาเหตุก็อาจจะอ้างได้ว่าเป็นเพราะพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ถูกยึดเอาไป แต่ก็อย่าลืมว่าหากเอาใจใส่รณรงค์ให้ พธม.มาเป็นสมาชิก กมม.มากเท่ากับ “โหวตโน” แล้ว ผู้บริหารพรรคจะยึดพรรคเอาไปจากเจ้าของ (สมาชิกพรรค) ได้อย่างไร เมื่อจำนวน พธม.สนใจเป็นสมาชิกพรรคมีน้อย ผู้บริหารจึงสามารถยึดเอาไปได้ ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งก็คือ พธม.ยังมีแนวร่วมคือ พรรคเพื่อฟ้าดิน ที่สามารถนำมาใช้เป็นพรรคสำรองเป็นเครื่องมือแทน “โหวตโน” ได้แต่ก็กลับนำไปใช้ในอีกทางหนึ่งแทน
3. การใช้ตรรกะที่ขัดกับข้อเท็จจริงและขาดซึ่งองค์กรที่จะเป็นแขนขาในทางการเมืองดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกเพื่อ “การเมืองใหม่” ตามที่ พธม.มีเป้าหมายและได้โหมโรงมาก่อนหน้านี้
ประเด็นก็คือ แม้ว่าประชาชนมีสิทธิที่จะไม่เลือกใครหรือ “โหวตโน” แต่การรณรงค์ให้กระทำดังกล่าวไม่ได้เป็น “ทางเลือก” ให้กับประชาชนในสังคมที่ไม่พอใจนโยบายของทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใดหากแต่เป็น “ทางตัน” เสียมากกว่าเนื่องจากไม่มีคำตอบให้สังคมได้รับรู้อย่างแน่ชัดว่าหาก “โหวตโน” ชนะ “แล้วยังไงต่อไป” จะให้สังคมและการเมืองเดินทางไปในทิศทางใด
เพราะหากประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทำไม พธม.ซึ่งก็เป็นประชาชนจึงไม่เสนอหรือคิดหาหนทางในการได้มาซึ่งรัฐบาลหรือนักการเมืองที่ดี การรณรงค์ “โหวตโน” หากชนะท้ายที่สุดก็ต้องตกเป็นภาระรอรัฐบาลพระราชทานที่หากไม่ดีแล้วใครจะรับผิดชอบ เป็นแนวคิดที่ขัดกับระบอบการปกครองที่ให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือไม่ (ดูไชยยันต์ ไชยพร “ร้อยแปดวิถีทัศน์” กรุงเทพธุรกิจ 28 ก.ค. 54ในรายละเอียด) แต่ที่ชัดเจนก็คือสังคมโดยรวมต่างหากที่เสียหายเพราะขาด “ทางเลือก” ที่คาดหวังจะได้จาก พธม.
นโยบายเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารนั้นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า หาก พธม.นำเอาข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อมาเป็นประเด็นในการหาเสียงผ่านการสมัครเลือกตั้งก็จะเป็น “ความแตกต่าง” ที่ชัดเจนกับทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ที่สามารถทำให้ประชาชนมาเป็นแนวร่วมกับ พธม.ผ่านนโยบายข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อนี้ได้ไม่มากก็น้อยเพราะเป็นรูปธรรมจับต้องได้และไม่แปลกแยกกับสังคมโดยรวมเหมือนเช่น “โหวตโน” เพราะ พธม.มีข้อเสนอด้านโยบายที่ทั้งสองพรรคไม่มี
หากจะกล่าวว่าหน้าที่ทางการเมืองของพรรคการเมืองก็คือ การเสนอทางเลือกที่เป็นนโยบายเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาเลือกโดยผ่านการเลือกตั้ง ส.ส. (เป็นตัวแทน) เข้าไปดำเนินการตามนโยบาย การไม่มีพรรคการเมืองก็ดี การไม่เสนอทางเลือกให้ประชาชนเลือกก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็น “ทางตัน” ที่ทำให้ประชาชนอยากจะได้ “การเมืองใหม่” เผชิญเมื่อต้องไปเลือกตั้งเมื่อการเลือกตั้งที่ผ่านมา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สังคมมีสวัสดิการ (welfare) ที่แย่ลงเนื่องจากสังคมมีทางเลือกน้อยลงเพราะขาดพรรคการเมืองที่จะเข้ามาผลิตทางเลือกหรือนโยบายนั่นเอง
การมาสรุปเอาเองแบบง่ายๆ ในภายหลังเพื่อยืนยันความชอบธรรมของ “โหวตโน” ว่าถึงลงสมัครรับเลือกตั้งไปก็แพ้อยู่ดีหรือไม่มีมรรคผลอะไรขึ้นมาเพราะแม้จะชนะก็คาดว่าจะได้จำนวน ส.ส.น้อยนั้นไม่น่าจะเป็นจริงและไม่ใช่ประเด็น เพราะหากส่งคนลงเลือกตั้งและมีนโยบายที่ดีถูกใจประชาชนก็เลือกเข้ามาเอง อาจจะได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อมากกว่าภูมิใจไทยและชูวิทย์ก็เป็นได้สูงเพราะจำนวน พธม.มีฐานอยู่มากพอสมควรอยู่แล้ว ชูวิทย์เป็นตัวอย่างที่ดีว่าประชาชนที่ลงคะแนนให้ชูวิทย์คาดหวังอะไร แน่นอนว่าไม่คาดหวังให้เป็นหรือมาร่วมรัฐบาลแน่ และชูวิทย์ก็ชูประเด็นนี้หาเสียงอยู่แล้วมิใช่หรือ
การไม่เสนอทางเลือกให้สังคมต่างหากที่ทำให้สังคมโดยรวมพ่ายแพ้เพราะขาดสวัสดิการสังคมที่ดีขึ้น คะแนนเสียง “โหวตโน” ที่ได้จึงสะท้อนให้เห็นถึงอย่างชัดเจนว่าสังคมคิดอย่างไร เมื่อคนในสังคมไม่สามารถเข้ามาเป็นแนวร่วมกับ พธม.ได้
ประเด็นของการมีทางเลือกหรืออีกนัยหนึ่งก็คือทางเลือกที่สามนี้จึงสำคัญต่อสังคมโดยรวมมากกว่าผลแพ้ชนะหรือจำนวน ส.ส.ที่อาจมีในการเลือกตั้งเพราะยิ่งสังคมมีทางเลือกเพิ่มขึ้นมากเท่าใดก็มีสวัสดิการเพิ่มขึ้นเท่านั้น
4. ทางเลือกต่อไปในอนาคตของ พธม.จึงอยู่ที่นโยบายที่จะผลิตออกมา คูหาเลือกตั้ง (เพื่อการรับรองนโยบายผ่านการเลือกตั้ง) และอยู่ที่สภา (ที่ที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ) มากกว่าจะอยู่บนท้องถนนดังที่เคยเป็นมา
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้ให้บทเรียนหลายๆ อย่าง บทเรียนที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ นอกเหนือจากยุทธศาสตร์ที่ต้องยืนอยู่บนข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแล้ว กลยุทธ์ของความสำเร็จก็ไม่เคยซ้ำรูปแบบ
การเป็นกลุ่มเรียกร้องทางการเมืองไม่ใช่หนทางของความสำเร็จเสมอไป ไม่ว่าจะชุมนุมยาวนานเพียงใดก็ตามและไม่สามารถทำได้ในระยะยาว
การมีนักการเมืองที่ไม่ดีจำนวนมากไม่ได้หมายความว่า พธม. เมื่อส่งคนเข้าไปเป็น ส.ส.จะไม่ดีตามไปด้วย การเมืองที่ดีหรือการเมืองใหม่จึงต้องสร้างมาตรฐานขึ้นมาเอง
การที่ไม่มีองค์กรขับเคลื่อนข้อเรียกร้องของตนเองเช่นพรรคการเมืองต่างหากที่เป็นข้อด้อย ทำให้การเคลื่อนไหวเรียกร้องของ พธม.ในครั้งที่ผ่านมากลายเป็นขาดความชอบธรรมไปเพราะสังคมไม่ตอบสนองและทำให้ พธม.ตกอยู่ในมุมอับในปัจจุบัน
อย่าลืมข้อเท็จจริงว่าทั้งเพื่อไทยก็ดี ประชาธิปัตย์ก็ดีต่างก็ขับเคลื่อนด้วยมวลชนของตนเองทั้งสิ้น มิเช่นนั้นตัวเลขจำนวนผู้มาลงคะแนนให้กว่า 10 ล้านคนของแต่ละพรรคนั้นมาจากที่ใด พธม.ก็เช่นเดียวกันจำเป็นที่จะต้องหาแนวร่วมเป็นมวลชนมาสนับสนุนซึ่งจะทำได้ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง
พธม.นับจากนี้ไปหากต้องการจะคงอยู่เพื่อเป็นขั้วที่สามทางการเมืองเพื่อถ่วงดุลก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพุ่งเป้าไปที่การผลิตนโยบายเพื่อเป็นทางเลือกของสังคมนอกเหนือจากการตรวจสอบวิพากษ์นโยบายของคนอื่นๆ การมีสื่อเป็นของตนเองหรืออีกนัยหนึ่งจะอาศัยแต่การ “เคาะ/เล่าข่าว” แต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่พอเพียงและไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป หน้าที่ของสื่อฯ กับพรรคการเมืองนั้นแตกต่างกัน
ค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน เงินเดือนจบปริญญา 15,000 บาทต่อเดือน หรือการประกันราคาข้าว 15,000 บาทต่อตัน ล้วนแล้วแต่จะเป็นตัวอย่างของประเด็นในเชิงนโยบายที่นอกจากจะต้องวิเคราะห์ตรวจสอบและบอกกล่าวกับสังคมว่าจะต้องเผชิญกับอะไรบ้างหากจะทำตามนโยบายที่หาเสียงเอาไว้แล้ว นอกจากนี้ยังจะต้องเสนอทางเลือกที่ดีกว่าให้สังคม เพราะการบรรลุไปสู่จุดหมายมิใช่มีหนทางเดียว และมิใช่เอาแต่ “ตีฝีปาก” แต่เพียงอย่างเดียวเช่นกัน
นับจากนี้ต่อไปการเมืองนอกจากจะสู้กันที่การนำเสนอและเอานโยบายไปปฏิบัติแล้วยังต้องเสนอทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าให้สังคมเป็น “ทางเลือก” อีกด้วย พธม.พร้อมแล้วหรือยัง?
*1 The Japan Foundation Fellow, บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยแต่อย่างใด
นับต่อจากนี้ การเมืองจะสู้กันที่ใด บนถนน หรือในสภา
การเมืองจะสู้กันด้วยอะไร จำนวนคนที่มาชุมนุม หรือนโยบาย
อะไรคือรหัสนัยจากผลการเลือกตั้งและการประมาณการจำนวนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจากการรนณรงค์ “โหวตโน” ที่ผ่านมา
1. จากผลการเลือกตั้งที่ทำให้สามารถประมาณการได้ว่ามีจำนวน พธม. อยู่ในราว 7 แสนถึง 1.28 ล้านคนนั้นเป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็นว่า การรณรงค์ “โหวตโน” นั้นมีปัญหาในเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตรรกะที่เป็นเหตุผลมาสนับสนุนรองรับ ทำให้ได้ผู้มาสนับสนุนต่ำกว่าเป้าหมายที่ พธม.คาดว่าตนเองมีอยู่
สาเหตุสำคัญก็เพราะการไป “ทึกทัก” ด้วยตรรกะที่ว่านักการเมืองที่มีอยู่ทั้งหมดและที่กำลังจะเสนอตัวเข้ามารับการเลือกตั้งนั้น “ไม่มีดี” แม้แต่คนเดียวและไม่สมควรยอมรับให้มาเป็นตัวแทนใช้อำนาจของประชาชนอันเป็นสมมติฐานที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงของมนุษย์ปุถุชนโดยทั่วไป
เพราะในโลกของความเป็นจริงไม่มีบุคคลที่เป็น “ขาวหรือดำล้วน” หากมีแต่สี “เทา” ที่จะอ่อนไปทางขาวหรือแก่ไปทางดำมากกว่ากันก็แค่นั้นเอง ดังนั้นต่อให้ “เลวทรามต่ำช้า” สักเพียงใดก็ยังมีส่วนดี ในทำนองเดียวกัน “คนดี” ก็ยังมีส่วนเลว ไม่ยกเว้นแม้จะชื่อ จตุพร ปุ ปู เทือก หรือใครก็ตาม นี่คือข้อเท็จจริงที่ไม่สมควรจะไปขัดแย้งเพราะจะทำให้ได้ข้อวิเคราะห์ข้อสรุปที่ไม่ตั้งอยู่บนความเป็นจริง
การเมืองที่ดีหรือการเมืองใหม่จึงเป็นเรื่องของการนำเสนอมาตรฐานใหม่มาใช้ในการควบคุมส่วนที่เลวของนักการเมืองเอาไว้ไม่ให้นำออกมาใช้ ในขณะที่สนับสนุนให้นักการเมืองแสดงส่วนที่ดีออกมา
การที่ พธม.ปฏิเสธที่จะเข้ามามีส่วนร่วมนำเสนอมาตรฐานใหม่ด้วยในคราวนี้ นับว่าเป็นก้าวเดินที่ต้องทบทวน เพราะ “หากอรหันต์ถือดีไม่ยอมลงนรก (เกลือกกลั้วกับความเลว) เพื่อไปโปรดสัตว์นรก แล้วใครเล่าจะยอมลง” แม้ว่าบ้านเมืองเป็นเรื่องส่วนรวมมิใช่ของ พธม.แต่เพียงลำพัง แต่หาก พธม.ที่คิดว่าตนเองมีมาตรฐานที่ดีกว่าไม่เข้ามาปฏิรูปการเมืองทำ “ดี” ให้เห็นเป็นตัวอย่างมาตรฐานแล้วจะหวังให้ใครทำ
2. การไม่มีพรรคการเมืองเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจรัฐและเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างมวลชนที่มีอยู่อาจถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดในเชิงยุทธวิธี ทำให้ พธม.ไม่มีพื้นที่ทางการเมืองเพื่อกลุ่มของตนเองจนต้องหันไปใช้พรรคพันธมิตรฯ ด้วยการรณรงค์ “โหวตโน” แทน
สาเหตุก็อาจจะอ้างได้ว่าเป็นเพราะพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ถูกยึดเอาไป แต่ก็อย่าลืมว่าหากเอาใจใส่รณรงค์ให้ พธม.มาเป็นสมาชิก กมม.มากเท่ากับ “โหวตโน” แล้ว ผู้บริหารพรรคจะยึดพรรคเอาไปจากเจ้าของ (สมาชิกพรรค) ได้อย่างไร เมื่อจำนวน พธม.สนใจเป็นสมาชิกพรรคมีน้อย ผู้บริหารจึงสามารถยึดเอาไปได้ ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งก็คือ พธม.ยังมีแนวร่วมคือ พรรคเพื่อฟ้าดิน ที่สามารถนำมาใช้เป็นพรรคสำรองเป็นเครื่องมือแทน “โหวตโน” ได้แต่ก็กลับนำไปใช้ในอีกทางหนึ่งแทน
3. การใช้ตรรกะที่ขัดกับข้อเท็จจริงและขาดซึ่งองค์กรที่จะเป็นแขนขาในทางการเมืองดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือกเพื่อ “การเมืองใหม่” ตามที่ พธม.มีเป้าหมายและได้โหมโรงมาก่อนหน้านี้
ประเด็นก็คือ แม้ว่าประชาชนมีสิทธิที่จะไม่เลือกใครหรือ “โหวตโน” แต่การรณรงค์ให้กระทำดังกล่าวไม่ได้เป็น “ทางเลือก” ให้กับประชาชนในสังคมที่ไม่พอใจนโยบายของทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใดหากแต่เป็น “ทางตัน” เสียมากกว่าเนื่องจากไม่มีคำตอบให้สังคมได้รับรู้อย่างแน่ชัดว่าหาก “โหวตโน” ชนะ “แล้วยังไงต่อไป” จะให้สังคมและการเมืองเดินทางไปในทิศทางใด
เพราะหากประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทำไม พธม.ซึ่งก็เป็นประชาชนจึงไม่เสนอหรือคิดหาหนทางในการได้มาซึ่งรัฐบาลหรือนักการเมืองที่ดี การรณรงค์ “โหวตโน” หากชนะท้ายที่สุดก็ต้องตกเป็นภาระรอรัฐบาลพระราชทานที่หากไม่ดีแล้วใครจะรับผิดชอบ เป็นแนวคิดที่ขัดกับระบอบการปกครองที่ให้กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือไม่ (ดูไชยยันต์ ไชยพร “ร้อยแปดวิถีทัศน์” กรุงเทพธุรกิจ 28 ก.ค. 54ในรายละเอียด) แต่ที่ชัดเจนก็คือสังคมโดยรวมต่างหากที่เสียหายเพราะขาด “ทางเลือก” ที่คาดหวังจะได้จาก พธม.
นโยบายเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารนั้นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า หาก พธม.นำเอาข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อมาเป็นประเด็นในการหาเสียงผ่านการสมัครเลือกตั้งก็จะเป็น “ความแตกต่าง” ที่ชัดเจนกับทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ที่สามารถทำให้ประชาชนมาเป็นแนวร่วมกับ พธม.ผ่านนโยบายข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อนี้ได้ไม่มากก็น้อยเพราะเป็นรูปธรรมจับต้องได้และไม่แปลกแยกกับสังคมโดยรวมเหมือนเช่น “โหวตโน” เพราะ พธม.มีข้อเสนอด้านโยบายที่ทั้งสองพรรคไม่มี
หากจะกล่าวว่าหน้าที่ทางการเมืองของพรรคการเมืองก็คือ การเสนอทางเลือกที่เป็นนโยบายเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ามาเลือกโดยผ่านการเลือกตั้ง ส.ส. (เป็นตัวแทน) เข้าไปดำเนินการตามนโยบาย การไม่มีพรรคการเมืองก็ดี การไม่เสนอทางเลือกให้ประชาชนเลือกก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็น “ทางตัน” ที่ทำให้ประชาชนอยากจะได้ “การเมืองใหม่” เผชิญเมื่อต้องไปเลือกตั้งเมื่อการเลือกตั้งที่ผ่านมา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สังคมมีสวัสดิการ (welfare) ที่แย่ลงเนื่องจากสังคมมีทางเลือกน้อยลงเพราะขาดพรรคการเมืองที่จะเข้ามาผลิตทางเลือกหรือนโยบายนั่นเอง
การมาสรุปเอาเองแบบง่ายๆ ในภายหลังเพื่อยืนยันความชอบธรรมของ “โหวตโน” ว่าถึงลงสมัครรับเลือกตั้งไปก็แพ้อยู่ดีหรือไม่มีมรรคผลอะไรขึ้นมาเพราะแม้จะชนะก็คาดว่าจะได้จำนวน ส.ส.น้อยนั้นไม่น่าจะเป็นจริงและไม่ใช่ประเด็น เพราะหากส่งคนลงเลือกตั้งและมีนโยบายที่ดีถูกใจประชาชนก็เลือกเข้ามาเอง อาจจะได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อมากกว่าภูมิใจไทยและชูวิทย์ก็เป็นได้สูงเพราะจำนวน พธม.มีฐานอยู่มากพอสมควรอยู่แล้ว ชูวิทย์เป็นตัวอย่างที่ดีว่าประชาชนที่ลงคะแนนให้ชูวิทย์คาดหวังอะไร แน่นอนว่าไม่คาดหวังให้เป็นหรือมาร่วมรัฐบาลแน่ และชูวิทย์ก็ชูประเด็นนี้หาเสียงอยู่แล้วมิใช่หรือ
การไม่เสนอทางเลือกให้สังคมต่างหากที่ทำให้สังคมโดยรวมพ่ายแพ้เพราะขาดสวัสดิการสังคมที่ดีขึ้น คะแนนเสียง “โหวตโน” ที่ได้จึงสะท้อนให้เห็นถึงอย่างชัดเจนว่าสังคมคิดอย่างไร เมื่อคนในสังคมไม่สามารถเข้ามาเป็นแนวร่วมกับ พธม.ได้
ประเด็นของการมีทางเลือกหรืออีกนัยหนึ่งก็คือทางเลือกที่สามนี้จึงสำคัญต่อสังคมโดยรวมมากกว่าผลแพ้ชนะหรือจำนวน ส.ส.ที่อาจมีในการเลือกตั้งเพราะยิ่งสังคมมีทางเลือกเพิ่มขึ้นมากเท่าใดก็มีสวัสดิการเพิ่มขึ้นเท่านั้น
4. ทางเลือกต่อไปในอนาคตของ พธม.จึงอยู่ที่นโยบายที่จะผลิตออกมา คูหาเลือกตั้ง (เพื่อการรับรองนโยบายผ่านการเลือกตั้ง) และอยู่ที่สภา (ที่ที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ) มากกว่าจะอยู่บนท้องถนนดังที่เคยเป็นมา
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้ให้บทเรียนหลายๆ อย่าง บทเรียนที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ นอกเหนือจากยุทธศาสตร์ที่ต้องยืนอยู่บนข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแล้ว กลยุทธ์ของความสำเร็จก็ไม่เคยซ้ำรูปแบบ
การเป็นกลุ่มเรียกร้องทางการเมืองไม่ใช่หนทางของความสำเร็จเสมอไป ไม่ว่าจะชุมนุมยาวนานเพียงใดก็ตามและไม่สามารถทำได้ในระยะยาว
การมีนักการเมืองที่ไม่ดีจำนวนมากไม่ได้หมายความว่า พธม. เมื่อส่งคนเข้าไปเป็น ส.ส.จะไม่ดีตามไปด้วย การเมืองที่ดีหรือการเมืองใหม่จึงต้องสร้างมาตรฐานขึ้นมาเอง
การที่ไม่มีองค์กรขับเคลื่อนข้อเรียกร้องของตนเองเช่นพรรคการเมืองต่างหากที่เป็นข้อด้อย ทำให้การเคลื่อนไหวเรียกร้องของ พธม.ในครั้งที่ผ่านมากลายเป็นขาดความชอบธรรมไปเพราะสังคมไม่ตอบสนองและทำให้ พธม.ตกอยู่ในมุมอับในปัจจุบัน
อย่าลืมข้อเท็จจริงว่าทั้งเพื่อไทยก็ดี ประชาธิปัตย์ก็ดีต่างก็ขับเคลื่อนด้วยมวลชนของตนเองทั้งสิ้น มิเช่นนั้นตัวเลขจำนวนผู้มาลงคะแนนให้กว่า 10 ล้านคนของแต่ละพรรคนั้นมาจากที่ใด พธม.ก็เช่นเดียวกันจำเป็นที่จะต้องหาแนวร่วมเป็นมวลชนมาสนับสนุนซึ่งจะทำได้ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง
พธม.นับจากนี้ไปหากต้องการจะคงอยู่เพื่อเป็นขั้วที่สามทางการเมืองเพื่อถ่วงดุลก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพุ่งเป้าไปที่การผลิตนโยบายเพื่อเป็นทางเลือกของสังคมนอกเหนือจากการตรวจสอบวิพากษ์นโยบายของคนอื่นๆ การมีสื่อเป็นของตนเองหรืออีกนัยหนึ่งจะอาศัยแต่การ “เคาะ/เล่าข่าว” แต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่พอเพียงและไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป หน้าที่ของสื่อฯ กับพรรคการเมืองนั้นแตกต่างกัน
ค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน เงินเดือนจบปริญญา 15,000 บาทต่อเดือน หรือการประกันราคาข้าว 15,000 บาทต่อตัน ล้วนแล้วแต่จะเป็นตัวอย่างของประเด็นในเชิงนโยบายที่นอกจากจะต้องวิเคราะห์ตรวจสอบและบอกกล่าวกับสังคมว่าจะต้องเผชิญกับอะไรบ้างหากจะทำตามนโยบายที่หาเสียงเอาไว้แล้ว นอกจากนี้ยังจะต้องเสนอทางเลือกที่ดีกว่าให้สังคม เพราะการบรรลุไปสู่จุดหมายมิใช่มีหนทางเดียว และมิใช่เอาแต่ “ตีฝีปาก” แต่เพียงอย่างเดียวเช่นกัน
นับจากนี้ต่อไปการเมืองนอกจากจะสู้กันที่การนำเสนอและเอานโยบายไปปฏิบัติแล้วยังต้องเสนอทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าให้สังคมเป็น “ทางเลือก” อีกด้วย พธม.พร้อมแล้วหรือยัง?
*1 The Japan Foundation Fellow, บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน Japan Foundation ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยแต่อย่างใด