อีกเพียงประมาณ 10 วันเท่านั้น “ระฆังโค้งสุดท้าย” ของการหย่อนบัตรเลือกตั้งของผู้มีสิทธิในการเลือกตั้ง วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554 จะได้เกิดขึ้นแล้ว และขอกล่าวย้ำว่า “สิทธิประชาชน” ที่จะใช้อำนาจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบระบบเขต และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ หรือกล่าวง่ายๆ หมายความว่า “กากบาท 2 ใบ” ในคูหาเลือกตั้ง
ว่าไปแล้ว บรรดาพี่น้องสื่อมวลชนต่างทั้งรายงาน และวิเคราะห์การรณรงค์หาเสียงของแต่ละพรรคการเมืองแทบทุกสื่อทุกแขนง แต่มักขึ้นหน้าหนึ่งในส่วนของสื่อหนังสือพิมพ์เฉพาะพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย ส่วนพรรคขนาดกลางและย่อม (SME’s) นั้น มีการนำเสนอประปรายบ้าง ไม่มากก็น้อย
ตลอดจน “การทำโพล-การสำรวจประชามติ” ของแต่ละสำนัก ก็มีการนำเสนอแทบทุกวันเช่นเดียวกัน โดยมักเสนอเชิง “เกทับบลัฟแหลก” ระหว่างพรรคใหญ่ 2 พรรคเท่านั้น และผลการสำรวจนั้น “พรรคเพื่อไทย” จะมีคะแนนนำ “พรรคประชาธิปัตย์” แทบทุกครั้ง จนล่าสุด รู้สึกคะแนนทิ้งห่างกันมากระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์
ว่ากันตามเป็นจริงแล้ว “แสงแดด” มิได้ฝักใฝ่พรรคใดฝ่ายใดเลย เนื่องด้วยรู้จักนักการเมืองรุ่นกลาง และโดยเฉพาะรุ่นอาวุโสเกือบทั้งหมด และขอเรียนตามตรงเลยว่า นักการเมืองก็คือนักการเมือง ที่ต่างมุ่งแสวงหาอำนาจ เพื่อมุ่งหาผลประโยชน์แทบทั้งสิ้น มิได้มุ่งเน้นผลประโยชน์เพื่อสังคมมากมายนัก!
“นักการเมืองรุ่นใหม่” จริงๆ คือ “ความหวัง” ของหมู่มวลมนุษย์ไทยที่ต่างฝากความหวังให้บรรดาคนรุ่นใหม่ทั้ง “นักการเมือง” และ “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” ที่ปัจจุบันน่าเชื่อว่า มีการระดมสรรพกำลังที่จะช่วยปรับปรุงชาติบ้านเมืองให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนนักการเมืองรุ่นใหม่นั้น ว่าไปแล้ว “น่าเชื่อว่า” มีการพัฒนาระดับหนึ่ง เพียงแต่ว่า “พัฒนาหรือไม่” หรือว่า “ยังจมปลัก” กับ “วัฒนธรรมนักการเมืองเดิม!”
ทั้งนี้ บรรดานักการเมืองไทย ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่นั้น ข้อสมมติฐานมีอยู่ว่า “น่าจะส่งผ่านพร้อมทั้งถ่ายทอด” เป็น “กระบวนการ” และ “ขบวนการ” กล่าวคือ “กระบวนการ” เป็นขั้นตอนที่ถูกจัดมาอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐานตามหลักวิชาการที่ยึดถือปฏิบัติกัน ส่วน “ขบวนการ” นั้น น่าจะเป็นการจัดตั้งขั้นตอนให้เป็นไปตามสภาวการณ์ โดยมีการจัดตั้งเฉพาะกิจก็น่าจะเป็นได้ ซึ่งอาจมีมาตรฐานและไม่มีมาตรฐานก็เป็นได้
เพราะฉะนั้น ทั้งกระบวนการและขบวนการของการถ่ายทอดและสืบทอดระหว่างนักการเมืองเก่า นักการเมืองใหม่นั้น น่าเชื่อว่า จะมีการถ่ายทอดและสืบทอดทั้งสองลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ “วัฒนธรรม” และ “พฤติกรรม” ที่นักการเมืองรุ่นใหม่ปลูกฝังกันมา
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว นักการเมืองรุ่นใหม่ น่าเชื่อว่า ได้มีการพัฒนาในเชิงก้าวหน้ามากกว่าแบบเดิม ที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมการเมืองแบบเดิมๆ ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ทุจริตคอร์รัปชัน” จำนวนสูงถึงร้อยละ 30 มูลค่าความเสียหายนับเกือบ 300,000 ล้านบาท
ปลายสัปดาห์นี้ จะมีการจัดเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งน่าเชื่อว่าจะมีพี่น้องประชาชนไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงมากถึงหลักสิบกว่าล้านคนทีเดียว และวันเลือกตั้งจริงคือ วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งคาดว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง น่าใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ 60 กว่าๆ ซึ่งน่าจะมากกว่าทุกครั้ง
จากผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ของผู้มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งครั้งนี้สูงถึง 47 ล้านคน ที่ประกอบไปด้วย “คนรุ่นใหม่” ตกถึงประมาณ 10 กว่าล้านคน โดยส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ นับเป็นครั้งสำคัญที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนที่เป็น “พลังเงียบ!” มายาวนาน ออกจากบ้านไปยังคูหาเลือกตั้ง และใช้สิทธิกันให้สูงถึงร้อยละ 70-80 กันเลยทีเดียว
ประเด็นสำคัญถามว่า “ซื้อสิทธิ ขายเสียง” จะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ คำตอบก็ต้องตอบว่า “มีแน่นอน!” เพียงแต่ว่า จะมีมากน้อยขนาดไหนอย่างไร ซึ่งเท่าที่สดับตรับฟังมานั้น น่ามั่นใจว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ จะมีการใช้เม็ดเงินในการซื้อสิทธิขายเสียงสูงถึงหลักหมื่นกว่าล้านบาททีเดียว ทั้งนี้ข้อเท็จจริงคงพิสูจน์กันลำบากยากยิ่ง!
อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ปรากฏอยู่นั้น ต้องถามว่า “กลุ่มอุดมการณ์” นั้นมีจริงหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า “มีจริง!” เพียงแต่จำนวนนั้น น่าเชื่อว่า ไม่ได้มากมายเกินขนาดจนฝ่ายตรงข้าม หรือพูดกันตามตรงคือ “พรรคประชาธิปัตย์” และ “พรรคภูมิใจไทย” น่าจะมีอย่าเบี่ยงเบนอัตราร้อยละ 10-15 เท่านั้น
สมมติมีการวิเคราะห์ว่า “พรรคเพื่อไทย” คราวนี้น่าจะ “แลนด์สไลด์” หรือ “ชนะแบบถล่มทลาย” ซึ่งอาจมากกว่า 250 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่า “พอดีครึ่งหนึ่ง” ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดไว้ 500 ที่นั่ง ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เราคงต้องน้อมรับความเป็นจริงของประชาชนที่มีทั้งอุดมการณ์แดงแจ๋ และบวกกับอำนาจเงินที่อาจจะมีใครที่ไม่สนใจว่าการบ้านการเมืองจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าอุดมการณ์เป็นเช่นนั้น เราก็ต้องยอมรับสภาพจริงให้เขาบริหารประเทศชาติต่อไป
ถามว่า นักการเมืองรุ่นใหม่นั้น มีทุกพรรคใช่หรือไม่ และนักการเมืองทุกพรรคนั้นมีทั้ง “ดี-ชั่ว” ที่ยังไม่ปรากฏความแน่ชัดว่ามีมากน้อยเพียงใด เนื่องด้วยเหตุผลสำคัญของการเมืองไทยอยู่ที่บรรดาเหล่า “นักการเมืองเขี้ยวลากดิน!” ที่ยังติดหล่มอยู่หมู่บ้าน 111 และหมู่บ้าน 109
อย่างไรก็ตาม เราคงต้องพิจารณากันอย่างถ่องแท้ว่า พรรคไหนเป็นอย่างไร มีการนำเสนอเหตุผลเชิงนโยบายแบบไหนอย่างไร แต่ “แสงแดด” เชื่อว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะพิสูจน์อะไรได้เยอะ ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ขอฝันหวานว่า ประเทศไทยจะก้าวข้ามความขัดแย้งกันไปได้!?!
ว่าไปแล้ว บรรดาพี่น้องสื่อมวลชนต่างทั้งรายงาน และวิเคราะห์การรณรงค์หาเสียงของแต่ละพรรคการเมืองแทบทุกสื่อทุกแขนง แต่มักขึ้นหน้าหนึ่งในส่วนของสื่อหนังสือพิมพ์เฉพาะพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย ส่วนพรรคขนาดกลางและย่อม (SME’s) นั้น มีการนำเสนอประปรายบ้าง ไม่มากก็น้อย
ตลอดจน “การทำโพล-การสำรวจประชามติ” ของแต่ละสำนัก ก็มีการนำเสนอแทบทุกวันเช่นเดียวกัน โดยมักเสนอเชิง “เกทับบลัฟแหลก” ระหว่างพรรคใหญ่ 2 พรรคเท่านั้น และผลการสำรวจนั้น “พรรคเพื่อไทย” จะมีคะแนนนำ “พรรคประชาธิปัตย์” แทบทุกครั้ง จนล่าสุด รู้สึกคะแนนทิ้งห่างกันมากระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์
ว่ากันตามเป็นจริงแล้ว “แสงแดด” มิได้ฝักใฝ่พรรคใดฝ่ายใดเลย เนื่องด้วยรู้จักนักการเมืองรุ่นกลาง และโดยเฉพาะรุ่นอาวุโสเกือบทั้งหมด และขอเรียนตามตรงเลยว่า นักการเมืองก็คือนักการเมือง ที่ต่างมุ่งแสวงหาอำนาจ เพื่อมุ่งหาผลประโยชน์แทบทั้งสิ้น มิได้มุ่งเน้นผลประโยชน์เพื่อสังคมมากมายนัก!
“นักการเมืองรุ่นใหม่” จริงๆ คือ “ความหวัง” ของหมู่มวลมนุษย์ไทยที่ต่างฝากความหวังให้บรรดาคนรุ่นใหม่ทั้ง “นักการเมือง” และ “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” ที่ปัจจุบันน่าเชื่อว่า มีการระดมสรรพกำลังที่จะช่วยปรับปรุงชาติบ้านเมืองให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนนักการเมืองรุ่นใหม่นั้น ว่าไปแล้ว “น่าเชื่อว่า” มีการพัฒนาระดับหนึ่ง เพียงแต่ว่า “พัฒนาหรือไม่” หรือว่า “ยังจมปลัก” กับ “วัฒนธรรมนักการเมืองเดิม!”
ทั้งนี้ บรรดานักการเมืองไทย ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่นั้น ข้อสมมติฐานมีอยู่ว่า “น่าจะส่งผ่านพร้อมทั้งถ่ายทอด” เป็น “กระบวนการ” และ “ขบวนการ” กล่าวคือ “กระบวนการ” เป็นขั้นตอนที่ถูกจัดมาอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐานตามหลักวิชาการที่ยึดถือปฏิบัติกัน ส่วน “ขบวนการ” นั้น น่าจะเป็นการจัดตั้งขั้นตอนให้เป็นไปตามสภาวการณ์ โดยมีการจัดตั้งเฉพาะกิจก็น่าจะเป็นได้ ซึ่งอาจมีมาตรฐานและไม่มีมาตรฐานก็เป็นได้
เพราะฉะนั้น ทั้งกระบวนการและขบวนการของการถ่ายทอดและสืบทอดระหว่างนักการเมืองเก่า นักการเมืองใหม่นั้น น่าเชื่อว่า จะมีการถ่ายทอดและสืบทอดทั้งสองลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ “วัฒนธรรม” และ “พฤติกรรม” ที่นักการเมืองรุ่นใหม่ปลูกฝังกันมา
แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว นักการเมืองรุ่นใหม่ น่าเชื่อว่า ได้มีการพัฒนาในเชิงก้าวหน้ามากกว่าแบบเดิม ที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมการเมืองแบบเดิมๆ ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ทุจริตคอร์รัปชัน” จำนวนสูงถึงร้อยละ 30 มูลค่าความเสียหายนับเกือบ 300,000 ล้านบาท
ปลายสัปดาห์นี้ จะมีการจัดเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งน่าเชื่อว่าจะมีพี่น้องประชาชนไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงมากถึงหลักสิบกว่าล้านคนทีเดียว และวันเลือกตั้งจริงคือ วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2554 ซึ่งคาดว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง น่าใช้สิทธิสูงถึงร้อยละ 60 กว่าๆ ซึ่งน่าจะมากกว่าทุกครั้ง
จากผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ของผู้มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งครั้งนี้สูงถึง 47 ล้านคน ที่ประกอบไปด้วย “คนรุ่นใหม่” ตกถึงประมาณ 10 กว่าล้านคน โดยส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ นับเป็นครั้งสำคัญที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนที่เป็น “พลังเงียบ!” มายาวนาน ออกจากบ้านไปยังคูหาเลือกตั้ง และใช้สิทธิกันให้สูงถึงร้อยละ 70-80 กันเลยทีเดียว
ประเด็นสำคัญถามว่า “ซื้อสิทธิ ขายเสียง” จะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ คำตอบก็ต้องตอบว่า “มีแน่นอน!” เพียงแต่ว่า จะมีมากน้อยขนาดไหนอย่างไร ซึ่งเท่าที่สดับตรับฟังมานั้น น่ามั่นใจว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ จะมีการใช้เม็ดเงินในการซื้อสิทธิขายเสียงสูงถึงหลักหมื่นกว่าล้านบาททีเดียว ทั้งนี้ข้อเท็จจริงคงพิสูจน์กันลำบากยากยิ่ง!
อย่างไรก็ตาม ความจริงที่ปรากฏอยู่นั้น ต้องถามว่า “กลุ่มอุดมการณ์” นั้นมีจริงหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า “มีจริง!” เพียงแต่จำนวนนั้น น่าเชื่อว่า ไม่ได้มากมายเกินขนาดจนฝ่ายตรงข้าม หรือพูดกันตามตรงคือ “พรรคประชาธิปัตย์” และ “พรรคภูมิใจไทย” น่าจะมีอย่าเบี่ยงเบนอัตราร้อยละ 10-15 เท่านั้น
สมมติมีการวิเคราะห์ว่า “พรรคเพื่อไทย” คราวนี้น่าจะ “แลนด์สไลด์” หรือ “ชนะแบบถล่มทลาย” ซึ่งอาจมากกว่า 250 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่า “พอดีครึ่งหนึ่ง” ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กำหนดไว้ 500 ที่นั่ง ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เราคงต้องน้อมรับความเป็นจริงของประชาชนที่มีทั้งอุดมการณ์แดงแจ๋ และบวกกับอำนาจเงินที่อาจจะมีใครที่ไม่สนใจว่าการบ้านการเมืองจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าอุดมการณ์เป็นเช่นนั้น เราก็ต้องยอมรับสภาพจริงให้เขาบริหารประเทศชาติต่อไป
ถามว่า นักการเมืองรุ่นใหม่นั้น มีทุกพรรคใช่หรือไม่ และนักการเมืองทุกพรรคนั้นมีทั้ง “ดี-ชั่ว” ที่ยังไม่ปรากฏความแน่ชัดว่ามีมากน้อยเพียงใด เนื่องด้วยเหตุผลสำคัญของการเมืองไทยอยู่ที่บรรดาเหล่า “นักการเมืองเขี้ยวลากดิน!” ที่ยังติดหล่มอยู่หมู่บ้าน 111 และหมู่บ้าน 109
อย่างไรก็ตาม เราคงต้องพิจารณากันอย่างถ่องแท้ว่า พรรคไหนเป็นอย่างไร มีการนำเสนอเหตุผลเชิงนโยบายแบบไหนอย่างไร แต่ “แสงแดด” เชื่อว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะพิสูจน์อะไรได้เยอะ ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ขอฝันหวานว่า ประเทศไทยจะก้าวข้ามความขัดแย้งกันไปได้!?!