ASTVผู้จัดการรายวัน-ส่งออกจมน้ำท่วม ยอดเดือนต.ค.วูบ ต่ำสุดในรอบ 2 ปี เหลือโตแค่ 0.3% ประเมินเดือนพ.ย.-ธ.ค.อาจถึงขั้นโคม่า คาดยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอ่วมแน่ ส่วนทั้งปีเหลือโตเพียง 15%
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรนวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนต.ค.2554 ยอดการส่งออกมีมูลค่า 17,192ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.3% ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 24 เดือนนับตั้งแต่เดือนต.ค.2552 เมื่อคิดเป็นบาทมีมูลค่า 520,221 ล้านบาท ลดลง0.4% การนำเข้ามีมูลค่า 18,201 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.5% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 557,671 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.6% ทำให้เดือนนี้ไทยขาดดุลการค้า 1,009 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมูลค่า 37,450 ล้านบาท
สาเหตุที่การส่งออกในเดือนต.ค. มีอัตราขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเป็นหลัก ทำให้โรงงานผลิตสินค้าได้รับความเสียหายและไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (อียู) ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากสุด และประเมินว่าในเดือนพ.ย.-ธ.ค. ยอดการส่งออกของไทยจะติดลบอย่างหนัก โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ อีเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่งผลให้การส่งออกตลอดไตรมาส 4 จะติดลบไม่ต่ำกว่า 15% แต่ยอดส่งออกทั้งปี 2554 จะยังขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 15%
ส่วนการส่งออกรวมในช่วง 10 เดือนของปี 2554 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 196,769 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.8% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 5,911,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.1% การนำเข้ามูลค่า 192,498 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.5% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 5,854,538 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% เกินดุลการค้ารวมมูลค่า 4,271 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 57,235 ล้านบาท
นายศิริวัฒน์กล่าวว่า สำหรับการส่งออกเดือนต.ค.ที่ขยายตัวลดลง มาจากกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมลดลง 11.8% สินค้าสำคัญ เช่น เลนส์ลดลง 37.8% เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 22.1% เครื่องใช้ไฟฟ้า 14.5% ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 15.3% ของเล่น 34.5% เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 14.1% อัญมณีและเครื่องประดับ 36.2% เฉพาะทองคำ 59% แต่ยังได้รับผลดีจากกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ขยายตัว 35.8% มีสินค้าสำคัญ ได้แก่ ยางพาราเพิ่มขึ้น 59.8% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 44.2% และสินค้าอาหาร 28.9% ยกเว้นข้าวที่ลดลง 4.7%
ส่วนตลาดส่งออกในเดือนต.ค. ตลาดหลักลดลง 4% แยกเป็นสหภาพยุโรป ลดลง 11.1% สหรัฐฯ ลดลง 5.5% ยกเว้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.2% ส่วนตลาดศักยภาพสูง ส่งออกยังเพิ่มขึ้น 10.1% เป็นการเพิ่มขึ้นในเกาหลีใต้ 22.5% จีน 21.1% อาเซียน 14.4% ยกเว้นฮ่องกงลดลง 15.1% และไต้หวัน 14.2% ตลาดศักยภาพรองลดลง 9.1% เป็นการลดลงทวีปออสเตรเลีย 27.9% ตะวันออกกลาง 11.9% สหภาพยุโรปฝั่งตะวันออก 21.6% รัสเซียและซีไอเอส 22.9% มีเพียงแอฟริกาที่เพิ่ม 2.1% ลาตินอเมริกาเพิ่ม 22.6% และแคนาดาเพิ่ม 5.1%
นางมาลี โชคล้ำเลิศ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ระหว่างที่โรงงานหยุดเดินเครื่องผลิต คำสั่งซื้อจากต่างประเทศหายไปหมด เพราะลูกค้าต้องกระจายความเสี่ยงไปยังประเทศอื่นที่ไม่มีปัญหาในการผลิต และการส่งมอบ โดยผู้ส่งออกไทยไม่กล้ารับคำสั่งซื้อ เพราะกลัวจะผลิตสินค้าให้ไม่ได้ จะทำให้เสียชื่อ แต่เมื่อแต่ละโรงงานกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้งภายใน 3-4 เดือน คำสั่งซื้อก็จะกลับมา แต่เชื่อว่า มูลค่าการส่งออกปีหน้าคงจะขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมาย 15% แค่โตได้ 10% ก็ดีใจแล้ว เพราะฐานการขยายตัวปีนี้สูงมาก
นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรนวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนต.ค.2554 ยอดการส่งออกมีมูลค่า 17,192ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.3% ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 24 เดือนนับตั้งแต่เดือนต.ค.2552 เมื่อคิดเป็นบาทมีมูลค่า 520,221 ล้านบาท ลดลง0.4% การนำเข้ามีมูลค่า 18,201 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.5% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 557,671 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.6% ทำให้เดือนนี้ไทยขาดดุลการค้า 1,009 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมูลค่า 37,450 ล้านบาท
สาเหตุที่การส่งออกในเดือนต.ค. มีอัตราขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเป็นหลัก ทำให้โรงงานผลิตสินค้าได้รับความเสียหายและไม่สามารถผลิตและส่งสินค้าไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (อียู) ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากสุด และประเมินว่าในเดือนพ.ย.-ธ.ค. ยอดการส่งออกของไทยจะติดลบอย่างหนัก โดยเฉพาะในกลุ่มยานยนต์ อีเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่งผลให้การส่งออกตลอดไตรมาส 4 จะติดลบไม่ต่ำกว่า 15% แต่ยอดส่งออกทั้งปี 2554 จะยังขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 15%
ส่วนการส่งออกรวมในช่วง 10 เดือนของปี 2554 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่า 196,769 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.8% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 5,911,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.1% การนำเข้ามูลค่า 192,498 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.5% คิดเป็นเงินบาทมูลค่า 5,854,538 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% เกินดุลการค้ารวมมูลค่า 4,271 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 57,235 ล้านบาท
นายศิริวัฒน์กล่าวว่า สำหรับการส่งออกเดือนต.ค.ที่ขยายตัวลดลง มาจากกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมลดลง 11.8% สินค้าสำคัญ เช่น เลนส์ลดลง 37.8% เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 22.1% เครื่องใช้ไฟฟ้า 14.5% ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 15.3% ของเล่น 34.5% เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 14.1% อัญมณีและเครื่องประดับ 36.2% เฉพาะทองคำ 59% แต่ยังได้รับผลดีจากกลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ขยายตัว 35.8% มีสินค้าสำคัญ ได้แก่ ยางพาราเพิ่มขึ้น 59.8% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 44.2% และสินค้าอาหาร 28.9% ยกเว้นข้าวที่ลดลง 4.7%
ส่วนตลาดส่งออกในเดือนต.ค. ตลาดหลักลดลง 4% แยกเป็นสหภาพยุโรป ลดลง 11.1% สหรัฐฯ ลดลง 5.5% ยกเว้นญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 4.2% ส่วนตลาดศักยภาพสูง ส่งออกยังเพิ่มขึ้น 10.1% เป็นการเพิ่มขึ้นในเกาหลีใต้ 22.5% จีน 21.1% อาเซียน 14.4% ยกเว้นฮ่องกงลดลง 15.1% และไต้หวัน 14.2% ตลาดศักยภาพรองลดลง 9.1% เป็นการลดลงทวีปออสเตรเลีย 27.9% ตะวันออกกลาง 11.9% สหภาพยุโรปฝั่งตะวันออก 21.6% รัสเซียและซีไอเอส 22.9% มีเพียงแอฟริกาที่เพิ่ม 2.1% ลาตินอเมริกาเพิ่ม 22.6% และแคนาดาเพิ่ม 5.1%
นางมาลี โชคล้ำเลิศ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า ระหว่างที่โรงงานหยุดเดินเครื่องผลิต คำสั่งซื้อจากต่างประเทศหายไปหมด เพราะลูกค้าต้องกระจายความเสี่ยงไปยังประเทศอื่นที่ไม่มีปัญหาในการผลิต และการส่งมอบ โดยผู้ส่งออกไทยไม่กล้ารับคำสั่งซื้อ เพราะกลัวจะผลิตสินค้าให้ไม่ได้ จะทำให้เสียชื่อ แต่เมื่อแต่ละโรงงานกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้งภายใน 3-4 เดือน คำสั่งซื้อก็จะกลับมา แต่เชื่อว่า มูลค่าการส่งออกปีหน้าคงจะขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมาย 15% แค่โตได้ 10% ก็ดีใจแล้ว เพราะฐานการขยายตัวปีนี้สูงมาก