สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ อัดฉีดผู้ประกอบการไทย เตรียมความพร้อมเรื่องระบบความปลอดภัยอาหารให้เข้มแข็ง ทั้งศึกษาความต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น หวังสร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย มั่นใจช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้
นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า การจัดสัมมนา เรื่องอุตสาหกรรมอาหารของไทยปลอดภัยและเชื่อถือได้ หรือ Thai Food Industry- Safety and Trust for Competitiveness เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อครัวไทยสู่โลก ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น(JTEPA) ที่ฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมมือดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาและยกระดับระบบคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ประกอบการอาหารไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการอาหารไทยด้านระบบความปลอดภัยอาหาร กฎหมายและระเบียบการนำเข้า และการตรวจสอบสินค้าอาหารของประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับความคาดหวังของผู้บริโภคในตลาดญี่ปุ่นเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้เข้าใจและตระหนักว่านอกจากผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาศักยภาพให้สามารถผลิตสินค้าอาหารที่มีคุณภาพ (Quality) มีความปลอดภัย (Safety)
ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าอาหารจากไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าไทยจะครองส่วนแบ่งตลาดญี่ปุ่นในอันดับที่ 5 แต่เมื่อพิจารณาในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีการนำเข้าอาหารจากไทยเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยเมื่อ 6 ปีก่อน(2548) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดอาหารในญี่ปุ่นราวร้อยละ 4 และเติบโตมาเป็นร้อยละ 6 ในปัจจุบัน (2553)
ด้านนางมาลี โชคล้ำเลิศ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ไทยนับเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารไปยังตลาดหลักหลายแห่งของโลก ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554 ไทยส่งออกอาหารไปต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า 5,043 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 151,290 ล้านบาทโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.8 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ซึ่งนับได้ว่าการส่งออกสินค้าอาหารของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการสินค้าอาหารของตลาดโลกโดยรวมที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ข้าว ไก่สุกแปรรูป กุ้งแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ผักผลไม้ ทั้งสดและแปรรูป เป็นต้น
นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า การจัดสัมมนา เรื่องอุตสาหกรรมอาหารของไทยปลอดภัยและเชื่อถือได้ หรือ Thai Food Industry- Safety and Trust for Competitiveness เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อครัวไทยสู่โลก ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น(JTEPA) ที่ฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมมือดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาและยกระดับระบบคุณภาพและความปลอดภัยของผู้ประกอบการอาหารไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการอาหารไทยด้านระบบความปลอดภัยอาหาร กฎหมายและระเบียบการนำเข้า และการตรวจสอบสินค้าอาหารของประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับความคาดหวังของผู้บริโภคในตลาดญี่ปุ่นเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้เข้าใจและตระหนักว่านอกจากผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาศักยภาพให้สามารถผลิตสินค้าอาหารที่มีคุณภาพ (Quality) มีความปลอดภัย (Safety)
ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าอาหารจากไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ว่าไทยจะครองส่วนแบ่งตลาดญี่ปุ่นในอันดับที่ 5 แต่เมื่อพิจารณาในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีการนำเข้าอาหารจากไทยเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยเมื่อ 6 ปีก่อน(2548) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดอาหารในญี่ปุ่นราวร้อยละ 4 และเติบโตมาเป็นร้อยละ 6 ในปัจจุบัน (2553)
ด้านนางมาลี โชคล้ำเลิศ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ไทยนับเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารไปยังตลาดหลักหลายแห่งของโลก ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2554 ไทยส่งออกอาหารไปต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า 5,043 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 151,290 ล้านบาทโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.8 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย ซึ่งนับได้ว่าการส่งออกสินค้าอาหารของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความต้องการสินค้าอาหารของตลาดโลกโดยรวมที่เพิ่มสูงขึ้น โดยมีสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ ข้าว ไก่สุกแปรรูป กุ้งแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ผักผลไม้ ทั้งสดและแปรรูป เป็นต้น