มติของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการปฏิรูปทางด้านวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างรอบด้านของสังคมจีน นับเป็นจังหวะก้าวทางยุทธศาสตร์สำคัญยิ่งอีกครั้งหนึ่งของพรรคฯ จีน ภายหลังประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศจีน กระทั่งก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา
แนวคิดของพรรคฯ จีนที่กำลังเผยแพร่ไปทั่วทั้งสังคมจีนขณะนี้ ก็คือ ความเข้มแข็งของประเทศจีน อีกนัยหนึ่ง พลังรวมของชาติจีน ลำพังเพียงความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การทหาร เป็นต้น ที่จัดอยู่ในส่วนของ “พลังแข็ง” ยังไม่พอ จะต้องมี “พลังนุ่ม” ซึ่งก็คือแรงดึงดูดทางด้านวัฒนธรรม เช่น ภาษา ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ ดนตรี อาหาร ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สะท้อนค่านิยมของคนจีนโดยรวมประกอบด้วย โดยยกตัวอย่างของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น หรือกระทั่งเกาหลีใต้ เป็นข้อเปรียบเทียบ ชี้ให้เห็นถึง “ความด้อยกว่า” ในด้าน “พลังนุ่ม” ของจีนอย่างชัดเจน ว่าแม้ว่าจีนจะเป็นประเทศเก่าแก่ มีอารยธรรมสืบเนื่องกันมาหลายพันปี ได้สั่งสมความเป็นปึกแผ่นทางวัฒนธรรมอย่างแน่นหนาในทุกๆ ด้าน ฝังรากลึกอยู่ในความเป็นจีน ชนิดที่ไม่มีชาติอื่นใดมาเปลี่ยนแปลงได้ก็ตาม
ในสภาวะดังกล่าว ทำให้ประเทศจีน “แปลกแยก” ไปจากนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านการศึกษา และระบบค่านิยม โดยประเทศเหล่านั้น ทั้งในภาครัฐและองค์กรที่มีอิทธิพลต่อสังคม เช่น สื่อมวลชน ได้ตั้งข้อรังเกียจประเทศจีนและคนจีนโดยรวมในหลายๆ ด้าน เช่น ทางด้านการเมือง มนุษยธรรม รสนิยม ที่ขาดความเป็นประชาธิปไตยและความเป็น “สากล”
นั่นหมายความว่า แม้ประเทศจีนจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจแล้ว แต่ก็ยังเป็นรองทางด้านอื่นๆ อยู่มาก ยากที่จะได้รับการยอมรับจากนานาชาติ โดยเฉพาะจากชาติมหาอำนาจตะวันตก การขจัดจุดอ่อนจึงเป็นมาตรการจำเป็น และกลายเป็นภารกิจเร่งด่วนที่มีความหมายทางยุทธศาสตร์อย่างยิ่งยวด บนเส้นทางของการก้าวไปสู่ความเป็นประเทศสังคมนิยมที่เจริญก้าวหน้า ในทุกๆ ด้าน ยิ่งกว่าประเทศทุนนิยม
นั่นหมายถึงว่า การขจัดจุดอ่อนก็เพื่อก้าวไปสู่ความมีจุดแข็งรอบด้าน บนฐานของการปกครองในระบอบสังคมนิยมแบบจีน หรือที่เรียกกันว่า “สังคมนิยมเอกลักษณ์จีน”
ทั้งนี้ พรรคฯ จีนไม่ได้เห็นว่า จีนมีจุดอ่อนทางด้านการเมือง ตรงกันข้าม กลับเห็นว่า ระบอบการปกครองสังคมนิยม และระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนที่ดำเนินอยู่ในประเทศจีนทุกวันนี้ นับเป็น “จุดแข็ง” หรือข้อได้เปรียบเหนือกว่าประเทศทุนนิยมตะวันตก ที่เป็นประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งหลายพรรค การเมืองแบบจีนทำให้รัฐบาลดำเนินการบริหารประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ติดอาวุธทางปัญญาด้วยลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งมีความเป็นวิทยาศาสตร์ สะท้อนความต้องการของมวลชนส่วนใหญ่ในสังคมได้มากกว่า
ความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจและขจัดความยากจนในหมู่คนจีน ทำให้พรรคและรัฐบาลจีนได้รับการยกย่องชมเชยไปทั่วโลก กลายเป็น “จุดแข็ง” สำคัญ ที่พรรคฯ และรัฐบาลจีนนำเป็นหลักฐานในการหักล้างข้อรังเกียจในระบบประชาธิปไตยแบบจีน ที่ยังมีอยู่มากในกลุ่มประเทศตะวันตก
โดยภาพรวม สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของจีน ในทัศนะของพรรคฯ และรัฐบาลจีน ตลอดจนนักคิดนักทฤษฎีนักวิชาการจีนที่ใช้ปรัชญาลัทธิมาร์กซ์เป็นอาวุธทางความคิด มิใช่เนื้อหาสาระที่สะท้อนความเป็นสังคมนิยมของประเทศจีน (ที่พวกเขาเรียกรวมๆ ว่า “ระบบค่านิยมสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน”) แต่เป็นรูปแบบวิธีการที่นำเสนอ ซึ่งยังล้าหลังกว่าประเทศต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
จุดอ่อนที่พวกเขาพูดกันมากก็คือ การขาด “ธุรกิจวัฒนธรรม”
พวกเขาเห็นว่า ลำพัง “กิจกรรมวัฒนธรรม” ที่ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการ ไม่พอที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนเปิดประเทศ เปิดเสรีทางการค้ากับนานาชาติ วัฒนธรรมต่างชาติได้ทะลักเข้าสู่จีน คนจีนสำลักวัฒนธรรมตะวันตก-เกาหลี-ญี่ปุ่น (และละครโทรทัศน์ไทย) จำเป็นต้องเร่งแก้ไข
ด้วยการเปิด “ธุรกิจวัฒนธรรม” โดยภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
แนวคิดของพรรคฯ จีนที่กำลังเผยแพร่ไปทั่วทั้งสังคมจีนขณะนี้ ก็คือ ความเข้มแข็งของประเทศจีน อีกนัยหนึ่ง พลังรวมของชาติจีน ลำพังเพียงความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การทหาร เป็นต้น ที่จัดอยู่ในส่วนของ “พลังแข็ง” ยังไม่พอ จะต้องมี “พลังนุ่ม” ซึ่งก็คือแรงดึงดูดทางด้านวัฒนธรรม เช่น ภาษา ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ ดนตรี อาหาร ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สะท้อนค่านิยมของคนจีนโดยรวมประกอบด้วย โดยยกตัวอย่างของประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น หรือกระทั่งเกาหลีใต้ เป็นข้อเปรียบเทียบ ชี้ให้เห็นถึง “ความด้อยกว่า” ในด้าน “พลังนุ่ม” ของจีนอย่างชัดเจน ว่าแม้ว่าจีนจะเป็นประเทศเก่าแก่ มีอารยธรรมสืบเนื่องกันมาหลายพันปี ได้สั่งสมความเป็นปึกแผ่นทางวัฒนธรรมอย่างแน่นหนาในทุกๆ ด้าน ฝังรากลึกอยู่ในความเป็นจีน ชนิดที่ไม่มีชาติอื่นใดมาเปลี่ยนแปลงได้ก็ตาม
ในสภาวะดังกล่าว ทำให้ประเทศจีน “แปลกแยก” ไปจากนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านการศึกษา และระบบค่านิยม โดยประเทศเหล่านั้น ทั้งในภาครัฐและองค์กรที่มีอิทธิพลต่อสังคม เช่น สื่อมวลชน ได้ตั้งข้อรังเกียจประเทศจีนและคนจีนโดยรวมในหลายๆ ด้าน เช่น ทางด้านการเมือง มนุษยธรรม รสนิยม ที่ขาดความเป็นประชาธิปไตยและความเป็น “สากล”
นั่นหมายความว่า แม้ประเทศจีนจะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางด้านเศรษฐกิจแล้ว แต่ก็ยังเป็นรองทางด้านอื่นๆ อยู่มาก ยากที่จะได้รับการยอมรับจากนานาชาติ โดยเฉพาะจากชาติมหาอำนาจตะวันตก การขจัดจุดอ่อนจึงเป็นมาตรการจำเป็น และกลายเป็นภารกิจเร่งด่วนที่มีความหมายทางยุทธศาสตร์อย่างยิ่งยวด บนเส้นทางของการก้าวไปสู่ความเป็นประเทศสังคมนิยมที่เจริญก้าวหน้า ในทุกๆ ด้าน ยิ่งกว่าประเทศทุนนิยม
นั่นหมายถึงว่า การขจัดจุดอ่อนก็เพื่อก้าวไปสู่ความมีจุดแข็งรอบด้าน บนฐานของการปกครองในระบอบสังคมนิยมแบบจีน หรือที่เรียกกันว่า “สังคมนิยมเอกลักษณ์จีน”
ทั้งนี้ พรรคฯ จีนไม่ได้เห็นว่า จีนมีจุดอ่อนทางด้านการเมือง ตรงกันข้าม กลับเห็นว่า ระบอบการปกครองสังคมนิยม และระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนที่ดำเนินอยู่ในประเทศจีนทุกวันนี้ นับเป็น “จุดแข็ง” หรือข้อได้เปรียบเหนือกว่าประเทศทุนนิยมตะวันตก ที่เป็นประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งหลายพรรค การเมืองแบบจีนทำให้รัฐบาลดำเนินการบริหารประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ตามแนวคิดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่ติดอาวุธทางปัญญาด้วยลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งมีความเป็นวิทยาศาสตร์ สะท้อนความต้องการของมวลชนส่วนใหญ่ในสังคมได้มากกว่า
ความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจและขจัดความยากจนในหมู่คนจีน ทำให้พรรคและรัฐบาลจีนได้รับการยกย่องชมเชยไปทั่วโลก กลายเป็น “จุดแข็ง” สำคัญ ที่พรรคฯ และรัฐบาลจีนนำเป็นหลักฐานในการหักล้างข้อรังเกียจในระบบประชาธิปไตยแบบจีน ที่ยังมีอยู่มากในกลุ่มประเทศตะวันตก
โดยภาพรวม สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของจีน ในทัศนะของพรรคฯ และรัฐบาลจีน ตลอดจนนักคิดนักทฤษฎีนักวิชาการจีนที่ใช้ปรัชญาลัทธิมาร์กซ์เป็นอาวุธทางความคิด มิใช่เนื้อหาสาระที่สะท้อนความเป็นสังคมนิยมของประเทศจีน (ที่พวกเขาเรียกรวมๆ ว่า “ระบบค่านิยมสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน”) แต่เป็นรูปแบบวิธีการที่นำเสนอ ซึ่งยังล้าหลังกว่าประเทศต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
จุดอ่อนที่พวกเขาพูดกันมากก็คือ การขาด “ธุรกิจวัฒนธรรม”
พวกเขาเห็นว่า ลำพัง “กิจกรรมวัฒนธรรม” ที่ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการ ไม่พอที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนเปิดประเทศ เปิดเสรีทางการค้ากับนานาชาติ วัฒนธรรมต่างชาติได้ทะลักเข้าสู่จีน คนจีนสำลักวัฒนธรรมตะวันตก-เกาหลี-ญี่ปุ่น (และละครโทรทัศน์ไทย) จำเป็นต้องเร่งแก้ไข
ด้วยการเปิด “ธุรกิจวัฒนธรรม” โดยภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่