ผมเคยให้ข้อสังเกตไว้ว่า การจะส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยได้นั้น ไม่จำเป็นจะต้องทำผ่านกิจกรรมทางการเมือง ตรงกันข้าม การเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ไม่ใช่ หรือไม่ได้เป็นการเมืองน่าจะทำให้ประชาชนเรียนรู้การเมืองได้ดีกว่า
แล้วกิจกรรมที่เป็นการเมืองคืออะไร การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ การแสวงหาและแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตัว หรือเฉพาะส่วน และมักจะมีการแพ้-ชนะเสมอ
กิจกรรมที่ไม่ใช่การเมืองเป็นกิจกรรมสาธารณะ หากจะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ก็เป็นผลประโยชน์ร่วมและมีกฎเกณฑ์ กติกาที่ไม่มีคนหนึ่งคนใดเสียเปรียบ อย่างเช่น สมาคมฌาปนกิจ เป็นต้น ทุกๆ คนไม่มีใครหนีความตายได้ และทุกๆ คนก็ต้องส่งเงินส่วนหนึ่งสมทบไว้ จะได้รับเงินนั้นก็เป็นค่าทำศพตอนตาย
ในชุมชนมีกิจกรรมที่ไม่ใช่การเมืองมากมาย สมัยก่อนวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ผู้คนจะไปทำบุญและบริจาคสิ่งของเข้าวัด ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงวัดได้อย่างไม่มีข้อจำกัด สรุปได้ว่าก่อนที่จะมีการเมืองชาวบ้านอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แม้จะมีข้อขัดแย้งจากการทะเลาะเบาะแว้งกันบ้าง ก็สามารถตกลงกันได้
แต่เมื่อรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตคน สิ่งที่รัฐนำมาให้ก็คือทรัพยากรที่ชุมชนไม่มี แต่ทรัพยากรนี้ก็มีอยู่อย่างจำกัด จึงต้องมีการแจกแจง การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจที่ตัดสินว่า “ใครจะได้อะไร ได้อย่างไร และได้เมื่อใด” นอกจากรัฐแล้วต่อมายังมีนักการเมืองที่เข้ามาเป็น “ตัวกลาง” ในการจัดสรรทรัพยากรอีกด้วย ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น ที่สำคัญก็คือ ชุมชนเริ่มมีการแตกแยกแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้อำนาจ อีกฝ่ายหนึ่งก็จะเสียผลประโยชน์
เรื่องน้ำท่วมเราพบว่ามีเรื่องที่ไม่ใช่การเมือง และเรื่องที่เป็นการเมือง การที่น้ำท่วมและชาวบ้านต่างร่วมมือกันช่วยตนเอง โดยไม่มีองค์กรท้องถิ่นหรือรัฐบาลเข้ามาช่วย นับว่าเป็นการปลอดการเมือง แต่เมื่อรัฐเข้ามาจัดการทำทำนบ เปิดปิดประตูระบายน้ำ การตัดสินใจเหล่านี้ทำให้เกิดการได้ประโยชน์ และการเสียประโยชน์ ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น การตกลงต่อรองกันเป็นกระบวนการทางการเมือง แต่การช่วยกันป้องกันน้ำท่วมที่คนทำร่วมกันเป็นกิจกรรมที่ปลอดจากการเมือง ซึ่งเกิดความร่วมมือร่วมใจกัน
กิจกรรมการเมืองที่ส่งผลสะเทือนต่อประชาชนมากที่สุดก็คือ การเลือกตั้ง ซึ่งเกิดขึ้นระยะสั้นๆ แต่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง หลังจากนั้นก็ไม่มีกิจกรรมอื่นใด เพราะรัฐมีบทบาทสูงในการพัฒนา และประชาชนมีส่วนร่วมน้อยมาก
ชุมชนที่มีประสบการณ์ในการพึ่งพาตนเอง จะต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิถีการพัฒนา หลายแห่งเริ่มทำแผนพัฒนาตำบลกันเอง ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นกิจกรรมทางการเมือง แต่มักจะเกิดขึ้นภายหลังที่ชุมชนมีประสบการณ์ร่วมกันในการร่วมมือกันทำงานที่ไม่ใช่การเมืองมาก่อนแล้ว เช่น การทำกลุ่มออมทรัพย์ การทำสหกรณ์ และทำการผลิตสินค้าหรือทำชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ
เราจะสังเกตได้ว่าชุมชนที่มีประสบการณ์ร่วมเหล่านี้ จะมีการตื่นตัวทางการเมืองสูง มีการติดตามข้อมูลข่าวสารบ้านเมือง มีการประชุมปรึกษาหารือกัน และไปช่วยชุมชนอื่นเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย
สรุปได้ว่า กิจกรรมที่ไม่ใช่การเมือง นำเราไปสู่การสนใจการตื่นตัวทางการเมือง การมีส่วนร่วมทำในสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องของอำนาจ และผลประโยชน์ ทำให้คนเราเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน และเริ่มไว้วางใจซึ่งกันและกัน เกิดภาวะผู้นำขึ้น
ผมจึงเห็นว่า การเมืองเกิดขึ้นได้จากสิ่งที่ไม่ใช่การเมือง
แล้วกิจกรรมที่เป็นการเมืองคืออะไร การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ การแสวงหาและแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตัว หรือเฉพาะส่วน และมักจะมีการแพ้-ชนะเสมอ
กิจกรรมที่ไม่ใช่การเมืองเป็นกิจกรรมสาธารณะ หากจะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ก็เป็นผลประโยชน์ร่วมและมีกฎเกณฑ์ กติกาที่ไม่มีคนหนึ่งคนใดเสียเปรียบ อย่างเช่น สมาคมฌาปนกิจ เป็นต้น ทุกๆ คนไม่มีใครหนีความตายได้ และทุกๆ คนก็ต้องส่งเงินส่วนหนึ่งสมทบไว้ จะได้รับเงินนั้นก็เป็นค่าทำศพตอนตาย
ในชุมชนมีกิจกรรมที่ไม่ใช่การเมืองมากมาย สมัยก่อนวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ผู้คนจะไปทำบุญและบริจาคสิ่งของเข้าวัด ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงวัดได้อย่างไม่มีข้อจำกัด สรุปได้ว่าก่อนที่จะมีการเมืองชาวบ้านอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข แม้จะมีข้อขัดแย้งจากการทะเลาะเบาะแว้งกันบ้าง ก็สามารถตกลงกันได้
แต่เมื่อรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตคน สิ่งที่รัฐนำมาให้ก็คือทรัพยากรที่ชุมชนไม่มี แต่ทรัพยากรนี้ก็มีอยู่อย่างจำกัด จึงต้องมีการแจกแจง การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจที่ตัดสินว่า “ใครจะได้อะไร ได้อย่างไร และได้เมื่อใด” นอกจากรัฐแล้วต่อมายังมีนักการเมืองที่เข้ามาเป็น “ตัวกลาง” ในการจัดสรรทรัพยากรอีกด้วย ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น ที่สำคัญก็คือ ชุมชนเริ่มมีการแตกแยกแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้อำนาจ อีกฝ่ายหนึ่งก็จะเสียผลประโยชน์
เรื่องน้ำท่วมเราพบว่ามีเรื่องที่ไม่ใช่การเมือง และเรื่องที่เป็นการเมือง การที่น้ำท่วมและชาวบ้านต่างร่วมมือกันช่วยตนเอง โดยไม่มีองค์กรท้องถิ่นหรือรัฐบาลเข้ามาช่วย นับว่าเป็นการปลอดการเมือง แต่เมื่อรัฐเข้ามาจัดการทำทำนบ เปิดปิดประตูระบายน้ำ การตัดสินใจเหล่านี้ทำให้เกิดการได้ประโยชน์ และการเสียประโยชน์ ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น การตกลงต่อรองกันเป็นกระบวนการทางการเมือง แต่การช่วยกันป้องกันน้ำท่วมที่คนทำร่วมกันเป็นกิจกรรมที่ปลอดจากการเมือง ซึ่งเกิดความร่วมมือร่วมใจกัน
กิจกรรมการเมืองที่ส่งผลสะเทือนต่อประชาชนมากที่สุดก็คือ การเลือกตั้ง ซึ่งเกิดขึ้นระยะสั้นๆ แต่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง หลังจากนั้นก็ไม่มีกิจกรรมอื่นใด เพราะรัฐมีบทบาทสูงในการพัฒนา และประชาชนมีส่วนร่วมน้อยมาก
ชุมชนที่มีประสบการณ์ในการพึ่งพาตนเอง จะต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดวิถีการพัฒนา หลายแห่งเริ่มทำแผนพัฒนาตำบลกันเอง ดังนั้นกิจกรรมนี้จึงเป็นกิจกรรมทางการเมือง แต่มักจะเกิดขึ้นภายหลังที่ชุมชนมีประสบการณ์ร่วมกันในการร่วมมือกันทำงานที่ไม่ใช่การเมืองมาก่อนแล้ว เช่น การทำกลุ่มออมทรัพย์ การทำสหกรณ์ และทำการผลิตสินค้าหรือทำชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ
เราจะสังเกตได้ว่าชุมชนที่มีประสบการณ์ร่วมเหล่านี้ จะมีการตื่นตัวทางการเมืองสูง มีการติดตามข้อมูลข่าวสารบ้านเมือง มีการประชุมปรึกษาหารือกัน และไปช่วยชุมชนอื่นเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย
สรุปได้ว่า กิจกรรมที่ไม่ใช่การเมือง นำเราไปสู่การสนใจการตื่นตัวทางการเมือง การมีส่วนร่วมทำในสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องของอำนาจ และผลประโยชน์ ทำให้คนเราเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกัน และเริ่มไว้วางใจซึ่งกันและกัน เกิดภาวะผู้นำขึ้น
ผมจึงเห็นว่า การเมืองเกิดขึ้นได้จากสิ่งที่ไม่ใช่การเมือง