ASTVผู้จัดการรายวัน - รื้อ "บิ๊กแบ็กลำลูกกา" ทำ "สายไหม" อ่วมอีกรอบ "คุณชาย"ปูดระบายน้ำล่าช้า "ท่วมถึงปีหน้า" ด้าน "คมนาคมหน้าแหก!"กู้ถนน 340 เสร็จ คนบางบัวทอง-บางใหญ่จี้รื้อทิ้ง เหตุกั้นน้ำลงเจ้าพระยา งง! "สุกำพล"แนะให้เลี่ยงใช้พระราม 2 แทน แถมผู้รับเหมาไม่รับรอง 340 ปลอดภัย!
วานนี้ (18 พ.ย.) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและ แก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานภาพรวมสถานการณ์ในกทม. ในเขตดอนเมือง-จตุจักร ระดับน้ำคลองเปรมประกรตลอดคลองลดลง 2-4 ซม. แต่คลองเปรมประชากรช่วงดอนเมือง-จตุจักร ยังคงล้นตลิ่ง ด้านพื้นที่เขตสายไหม หลังประชาชนรื้อแนวกระสอบทรายบริเวณคลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนที่บริเวณตลอดคลองลาดพร้าว คลองแสนแสบ คลองบางซื่อ คลองประเวศบุรีรมย์ระดับน้ำลดลงเช่นกัน ด้านฝั่งธนบุรี น้ำจากนอกพื้นที่ อ.ศาลายา จ.นครปฐม ยังคงทะลักเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ ช่วงคลองทวีวัฒนาลดลง 1 ซม. ระดับน้ำในคลองต่างๆ ฝั่งธนบุรี ลดลง 3-7 ซม.
**จับตาเขตสายไหมหวั่นน้ำทะลักเพิ่ม**
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมคณะผู้บริหาร กทม. ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์น้ำท่วมและแนวกระสอบทรายบริเวณถนนสุขาภิบาล 5 เขตสายไหม ที่กั้นระหว่าง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และเขตสายไหม กทม. ซึ่งมีกลุ่มมวลชนจาก อ.ลำลูกกา ประมาณกว่า 200 คน มาประท้วงให้เปิดให้น้ำไหลผ่าน เพราะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่มานานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว
จากนั้นได้เดินทางไปดูที่ประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ช่วงวัดหนองใหญ่ พบว่าระดับน้ำสูงและเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ใกล้เคียง สืบเนื่องจากคลองดังกล่าว รับน้ำมาจากคลองหกกวาสายล่าง ที่มีชาวบ้านรื้อกระสอบทราย ทำให้ปริมาณน้ำไหลเร็วขึ้น โดยกทม. ยอมให้เปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์เพิ่มอีก 5 ซม. เป็น 1.05 ซม. เพื่อระบายน้ำบางส่วนและจะประเมินสถานการณ์ภายใน 24 ชม.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่เขตสายไหมได้รับผลกระทบ เนื่องจากน้ำไหลทะลักเพิ่มเข้ามาในพื้นที่ ทำให้สถานการณ์น่าเป็นห่วงอีกครั้ง เพราะขณะนี้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้ากับที่ไหลออกจาก กทม. อยู่ในระดับเท่ากัน หากมีปริมาณเพิ่มเข้ามาอีก พื้นที่เขตสายไหมก็จะลำบาก ซึ่งกทม.ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด หากเห็นสถานการณ์ไม่ดีก็คงต้องสั่งปิดประตูระบายน้ำต่อไป
**รื้อบิ๊กแบ็กฉุดระบายน้ำช้าถึงปีหน้า**
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ ระหว่างลงพื้นที่ ชาวบ้านเขตสายไหมที่ได้รับผลกระทบเข้าร้องเรียนกับผู้ว่าฯ กทม.โดยขอไม่ให้มีการรื้อแนวกระสอบทรายเพิ่มเติมเพราะทำให้ชาวบ้านได้รับ ความเดือดร้อน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นบ้านเช่า ไม่มีทะเบียนบ้านทำให้ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ ขณะที่ผู้ว่าฯ กทม.รับปากจะนำข้อเรียกร้องดังกล่าว เสนอต่อ ผอ.ศปภ.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และกล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการรื้อแนวกระสอบทราย เพราะจะทำให้น้ำไหลเข้ามาเพิ่มเติมในพื้นที่วันละ 4 ล้าน ลบ.ม./วัน และทำให้ยากต่อการระบายน้ำอาจจะใช้ระยะเวลานานไปถึงปีหน้า ส่วนการเจรจาร่วมกันระหว่างชาวบ้านและตัวแทนจาก ศปภ.ในวันที่ 19 พ.ย.นี้ ตนเองจะไม่มาเข้าร่วมเจรจาครั้งนี้ด้วย แต่จะส่งข้าราชการประจำเข้ามาหารือแทน เพราะไม่อยากให้ถูกมองว่าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และยอมรับว่าเป็นห่วงทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นชาวกทม. หรือชาวปทุมธานี จึงอยากให้ทุกฝ่ายใช้เหตุผลเพื่อหาทางออกร่วมกัน
**ตร.300นายเฝ้าย่านสายไหม**
ด้าน พล.ต.ต.ดำรงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บังคับการตำรวจนคราล 2 นำกำลังดูแลความเรียบร้อย ในการซ่อมแนวคันกั้นน้ำในพื้นที่สายไหม ในพื้นที่ 3 จุด ซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อระหว่าง ลำลูกกา และสายไหม ประกอบด้วย สะพานข้ามคลอง ภายในซอยสายไหม 39 สะพานเฉลิมพงษ์ อยู่ระหว่าง สายไหม 77-79 และสะพานข้ามคลองภายใน ซ.สายไหม 85 รวม 300 นาย ทั้งนี้ ตัวแทนของชาวบ้านย่านสายไหม ลำลูกกา กรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะเข้าเจรจาหาข้อตกลงร่วมกัน ในวันเสาร์ที่ 19 พ.ย.นี้ ที่ห้างบิ๊กซี คลอง4
ส่วนคืบหน้าการติดตามตัวมือมืดที่ ปาระเบิดปิงปอง ส่งผลให้ มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ 6 ราย นั้น เจ้าหน้าที่ยังอยู่ระหว่างสืบสวนติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี
**“มั่นใจ“บิ๊กแบ็กดอนเมือง” คลี่คลาย**
วันเดียวกันที่กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบกกล่าวถึงกรณีที่กลุ่มชาวบ้านรวมตัวกันรื้อบิ๊กแบ็กตามแนวดอนเมืองว่า สถานการณ์น้ำโดยทั่วไปนั้นเริ่มดีขึ้นตามลำดับ เข้าที่เข้าทางมากขึ้น แต่ปริมาณน้ำยังคงมากอยู่ ส่วนการบริหารจัดการ การพูดคุยกันระหว่างน้ำ 2 ฝั่ง นั้น ควรสร้างความเข้าใจมากกว่านี้ ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
“ชาวบ้านเขาก็พูดจากันดี เขาบอกว่าถ้าเข้ามาแล้วมันล้นเขาจะปิดให้ แต่หากไม้ล้นก็จะเปิดเพิ่มให้ คือ ต่างคนต่างเออาทรซึ่งกันและกัน ส่วนน้ำที่ไหลทะลักมาจากบริเวณจะเกิดผลกระทบกับพื้นที่อื่นอย่างไรบ้างนั้น คงต้องให้คณะใหญ่ที่เขาบริหารจัดการน้ำอยู่เขาประเมิน” พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าว
**กู้ถนนสาย 340 เสร็จแล้ว**
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าในการกู้ถนนสาย 340 บางบัวทอง - สุพรรณบุรี ว่า ขณะนี้การดำเนินการกู้ถนนสาย 340 บางบัวทอง - สุพรรณบุรีเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่การสัญจรยังคงติดขัดเนื่องจากมีรถยนต์ของประชาชนที่นำมาจอดหนีน้ำท่วมตามรายทางทำให้เหลือพื้นผิวการจราจรเพียงเลนเดียวในบางช่วงขณะที่บางแห่งยังคงมีน้ำขังเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว และใช้ถนนพระราม 2 เป็นหลัก
ส่วนแผนการกู้ท่าอากาศยานดอนเมืองยังคงยึดแนวทางเดิมด้วยการวางแนวคันกั้นน้ำเพื่อไม่ให้น้ำจากถนนวิภาวดี - รังสิต เข้ามาเพิ่มเติม และจะไม่มีการสูบน้ำออกจากพื้นที่เนื่องจากกังวลว่าประชาชนในชุมชนรอบข้างจะได้รับผลกระทบ โดยจะปล่อยให้น้ำแห้งไปตามธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำลดลงพอสมควร
**คน“บางบัวทอง”ร้องรื้อ 340
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน ตัวแทนชาวบ้าน 10 ชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน อ.บางบัวทอง บางใหญ่ และบางกรวย รวมกันประมาณ 300 คน เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องต่อนายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชชการ จ.นนทบุรี ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อให้สั่งการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยชาวบ้าน อ.บางบัวทองและบางใหญ่ เรียกร้องให้รื้อแนวถนน ที่เจ้าหน้าที่เข้ากู้ถนนสาย 340 เพราะทำให้ปิดทางน้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยระบุว่า การกู้ถนนดังกล่าวเพื่อรองรับถนนพระราม 2 ที่อาจจะถูกน้ำท่วม แต่ขณะนี้ถนนเส้นทางพระราม 2 ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต จึงควรเปิดถนนสาย 340 เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่านไปได้ก่อน
**ยิ้มรับทรัพย์ไม่การันตี 340**
แหล่งข่าวจากผู้รับเหมาบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่รับงานซับคอนแทก นำแท่งปูนอัดกระสอบทรายมาทำแนวกั้นถนน 340 ตามนโยบายของพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในฐานะผู้รับเหมา การทำงานตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้ได้ค่าจ้างตามตกลงซึ่งเป็นเงินจำนวนมากนั้น ไม่มีผู้รับเหมารายใดปฏิเสธที่จะรับงานนี้
อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงหรือผลของการกั้นแท่งปูนบรรจุกระสอบทรายจะแข็งแรง สามารถรับแรงกระแทกได้หรือไม่ นั้น ยังไม่มีการพิสูจน์ แต่จากที่สังเกตดูแล้วไม่ยืนยันว่าจะแข็งแรงพอที่จะกั้นแรงกระแทกของน้ำที่เกิดจากวิ่งของรถ 10 ล้อ หรือรถพ่วง 18 ล้อได้
**"มาร์ค" ห่วงเหตุรุนแรงขยายวงกว้าง**
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงกรณีมีการปาประทัดยักษ์ใส่ชาวสายไหมกลางดึกระหว่างการซ่อมแซมคันกั้นน้ำโดยย้ำว่า เป็นหน้าที่ของ ศปภ.ต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้านเพื่อหาทางออก ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดสภาพมวลชนมาจัดการกันเอง ปล่อยให้เจ้าหน้าที่มาไกล่เกลี่ย ทั้งนี้รู้สึกเห็นใจประชาชนที่อยู่เหนือคันกั้นน้ำซึ่งรัฐบาลต้องชี้แจงทำความเข้าใจว่า เหตุผลที่มีการวางแนวคันกั้นน้ำเพื่ออะไร หากรื้อออกจะมีผลอย่างไรตามมาและจะมีทางออกอย่างไรให้ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ ทั้งหมดต้องไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องของมวลชนไปว่ากันเอง แต่ ศปภ.ต้องเกาะติดปัญหาและช่วยแก้ไขไม่เช่นนั้นปัญหาจะลุกลามไปพื้นที่อื่น ๆ จนสุดท้ายจะจัดการปัญหาไม่ได้ ตนจึงอยากให้ศปภ.ติดตามประเมินผลด้วยว่าผลของการทำคันกั้นน้ำในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร ทำความเข้าใจและบริหารจัดการไม่ใช่เกิดปัญหาแล้วค่อยไปตามแก้แบบไม่เป็นระบบหรือไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
**หนุนปั๊ม 50 ตัวระบายน้ำนนท์-ปทุม **
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานได้ประสานกับจังหวัดปทุมธานีและนนทบุรี เพื่อให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำ ตลอดจนชี้แจงแนวทางการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมรับทราบปัญหาอุปสรรค และความต้องการของจังหวัดที่จะให้กรมชลประทานดำเนินการ ตลอดจนหารือถึงแผนงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาระยะยาว ทั้งนี้ในเบื้องต้นกรมชลประทาน ได้เพิ่มการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ให้กับทั้งสองจังหวัดรวมกัน จำนวน 50 เครื่อง เพื่อให้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ทั้งสองจังหวัด กลับสู่สภาวะปกติในเร็ววัน ตามแผนงานการเร่งฟื้นฟูสถานการณ์น้ำท่วมของจังหวัด
**ประเมินเสียหายน้ำท่วม 1.2 แสนล้านล้าน**
นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวภายในเวทีเสวนาวิชาการหัวข้อ “อุทกภัยใครรับผิดชอบ” ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ได้ประเมินความเสียหายเบื้องต้น มูลค่าสูงถึง 1,200,000 ล้านล้านบาท และมองว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องของความผิดสะสม คือ ไม่มีการวางแผนป้องกันล่วงหน้า ทั้งที่พื้นที่ภาคกลางเป็นที่ต่ำ และเป็นทางไหลผ่านของน้ำ มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ดังกล่าว และปีนี้ มีฝนตกหนักมาตั้งแต่เดือน มี.ค. แต่ก็ไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าว และภายหลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย ได้รับคำสั่งให้แจ้งเตือนอุทกภัยในวันที่ 16 ส.ค. ในจังหวัดอื่นๆ หลังจากเกิดปัญหาอุทกภัยในภาคเหนือมาก่อน ก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ซึ่งหากรัฐบาลจำเป็นต้องชดใช้ความเสียหายให้กับประชาชน ก็ไม่ควรนำเงินคงคลังมาใช้ แต่ควรหาเงินจากแหล่งอื่น คือ การขึ้นค่าภาคหลวง ปิโตรเลียม และทองคำ
**น้ำท่วม กทม.เหตุเปิดประตูน้ำผิดพลาด
นายโสภณ สุภาพงษ์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ เนื่องจากบริหารน้ำในเขื่อนผิดพลาด เพราะในเดือน ส.ค. - ต.ค. มีน้ำในเขื่อนมากกว่าปีที่แล้วเกือบเท่าตัว รวมถึงการบริหารจัดการน้ำไม่มีการระบายน้ำไปในทิศทางตะวันออกและตะวันตก ก่อนที่มวลน้ำจะเข้ามาถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร และมีการรื้อแนวคันกั้นน้ำบริเวณโดยรอบกรุงเทพมหานคร รวมถึงการที่รัฐบาล ประกาศให้มีการเปิดประตูระบายน้ำทุกบานภายในกรุงเทพมหานครด้วย และข้อมูลที่นักการเมือง บอกกล่าวกับประชาชน ไม่ตรงกับความจริง ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
**ห่วงนิคมฯบางชันหลังเปิดพระยาสุเรนทร์
พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กล่าวถึงกรณีการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ เป็นระยะทาง 1 เมตร อาจส่งผลกระทบให้นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ได้นั้นพล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า มีความเป็นห่วงในกรณีดังกล่าวนี้เช่นกัน แต่ทาง กทม. ได้มีการเฝ้าระวังแนวทางน้ำและควบคุมอย่างเต็มที่ ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมบางชัน เอง ก็ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี และมีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
**ปภ.เตือนอย่าเข้าใกล้บ้านที่ทรุดตัว
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ขอประกาศเตือนผู้ประสบอุทกภัยให้เตรียมพร้อมก่อนเข้าสำรวจบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม และรอจนระดับน้ำลดลงก่อน จึงเข้าไปตรวจสอบบ้านเรือนในเวลากลางวัน จะได้มองเห็นภาพบ้านชัดเจน ระมัดระวังอันตรายจากอุบัติเหตุต่างๆที่อาจเกิดขึ้น และไม่ควรเข้าใกล้หรืออยู่บริเวณโครงสร้างบ้านที่มีรอยร้าวหรือทรุดตัว โดยเฉพาะบ้านไม้ที่ผุพังจากการแช่น้ำ เพราะอาจพังถล่มลงมาได้
**แจกเรือแลกขยะโฟมนำร่องบางกรวย**
นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รักษาการอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานรับมอบเรืออีโค่โบ๊ท(Eco Boat) จากบริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการขยะ-กล่องโฟมแลกไข่ไก่-ข้าวสาร ว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งคาดว่าขณะนี้มีขยะโฟมที่ลอยอยู่ในแหล่งน้ำทั้งสิ้น 4-5 แสนใบ ดังนั้นการมอบเรือให้ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อใช้เป็นพาหนะในการเก็บโฟมและขยะที่ลอยอยู่ในน้ำก็จะได้รับความสะดวกในการเก็บขยะเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีการนำร่องแจกเรือในพื้นที่เขตบางกรวย จ.นนทบุรี เขตบางพลัด ดอนเมือง ของกทม.พื้นที่ละ 20 ลำ พร้อมการลงพื้นที่โครงการขยะแลกไข่ไก่กับ คพ. ในวันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย. นี้
**ปูอ้างทุกประเทศเข้าใจภัยธรรมชาติ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ในเฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra ถึงการตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนไทยที่ติดตามที่ทำข่าวและสำนักข่าวของอินโดนีเซีย และสำนักข่าวต่างประเทศอื่น ๆ เช่น CNBC เกี่ยวกับการสร้างความเชื่อมั่นของไทยในเวทีอาเซียน ว่า ทุกประเทศเข้าใจว่าปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และจะเป็นแนวทางในการตัดสินในการดำเนินมาตรการต่างๆ ต่อไป
ขณะนี้ ไทย ได้เดินเข้าสู่แผนฟื้นฟู พร้อมทั้งมีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) และ คณะกรรมการยุทธศาตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ(กยอ.) หลายประเทศต่างๆ ยังคงมั่นใจการลงทุน
**“ป.ป.ช.” ตั้งอนุไต่สวนทุจริตถุงยังชีพ
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์กรณีการตรวจสอบการทุจริตโครงการจัดซื้อถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า จากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าว ป.ป.ช.ได้ไปรวบรวมมาในเบื้องต้นเห็นว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ ดังนั้นที่ประชุมป.ป.ช.จึงให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวนกรณีดังกล่าว โดยมีคณะกรรมการป.ป.ช.ทั้งหมด 9 คน เป็นองค์คณะไต่สวน และให้นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป.ป.ช.เป็นผู้รับผิดชอบสำนวน ซึ่งจะมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องมาสอบต่อไป
โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการรับรองมติป.ป.ช.เรื่องการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน จากนั้นป.ป.ช.จะเริ่มดำเนินการไต่สวนต่อไป โดยการไต่สวนของป.ป.ช.จะครอบคลุมเรื่องการจัดซื้อถุงยังชีพ เรือไฟเบอร์กลาส และสุขากระดาษ รวมถึงการบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ล้มเหลวของรัฐบาลด้วย
**ผบ.ทบ.ชื่นชม “พลทหาร” สุดยอด
ที่กองบัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการดูแลสุขภาพของกำลังพลที่ช่วยเหลือผู้ประสพภัยน้ำท่วมว่า จากการได้เห็นกำลังพลทำงานทุ่มเทดูแลประชาชนโดยรวม ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับสูงรู้สึกห่วงใยโดยเฉพาะเรื่องสุขภาพอนามัย เพราะต้องไปตากแดด แช่น้ำอยู่เกือบทุกวัน อยากให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทุกหน่วยดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปลอดภัย มีสุขภาพที่ดี เรามีความภาคภูมิใจในการทำงานของทหาร โดยเฉพาะพลทหารที่ได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างดี โดยไม่เรียกร้อง
“ผมได้กำชับให้ดูแลเรื่องสิทธิกำลังพล ให้ตอบแทนในสิ่งที่เขาพึงมีพึงได้ให้มากที่สุด และการทำงานเพื่อสาธารณะไม่ควรจะเรียกร้อง จากการดำเนินการทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า กองทัพเป็นที่พึ่งของประเทศได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันประเทศ สนับสนุนรัฐบาล การแก้ปัญหาในด้านอื่นๆ เราพร้อมเป็นกลไกของรัฐถะในการทำหน้าที่ให้ดีทีสุด“ ผบ.ทบ.กล่าว
**บขส.เล็งย้ายกลับสายใต้สัปดาห์หน้า**
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณถนนบรมราชชนนี โดยบขส.มีแผนจะย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) กลับไปให้บริการที่ถนนบรมราชชนนีแล้ว คาดว่าไม่เกินกลางสัปดาห์หน้า จะสามารถเปิดให้บริการได้เป็นปกติ ภายหลังจากที่ได้ย้ายมาให้บริการโรงเบียร์ ฮอนแลนด์ บริเวณถนนพระราม 2 ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 54ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เนื่องจากเกรงว่าประชาชนจะไม่สะดวกในการเดินทาง โดยการให้บริการที่บริเวณถนนบรมราชชนนีซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีตามปกตินั้น ผู้โดยสารจะได้รับความสะดวกสบายมากกว่า เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวางและมีความสะดวกในการเดินทางต่อเชื่อมกับรถสาธารณะอื่นๆส่วนสถานการณ์ที่สถานีขนส่งหมอชิต (กำแพงเพชร)นั้น ขณะนี้อยู่ในสถานการณ์ปกติซึ่งปริมาณน้ำท่วมขังบริเวณรอบนอกระดับลดน้ำได้ลดลงแล้วจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาระดับน้ำอยู่ที่ 10-30ซม.
วานนี้ (18 พ.ย.) ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและ แก้ไขปัญหาอุทกภัย กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานภาพรวมสถานการณ์ในกทม. ในเขตดอนเมือง-จตุจักร ระดับน้ำคลองเปรมประกรตลอดคลองลดลง 2-4 ซม. แต่คลองเปรมประชากรช่วงดอนเมือง-จตุจักร ยังคงล้นตลิ่ง ด้านพื้นที่เขตสายไหม หลังประชาชนรื้อแนวกระสอบทรายบริเวณคลองหกวาสายล่าง ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนที่บริเวณตลอดคลองลาดพร้าว คลองแสนแสบ คลองบางซื่อ คลองประเวศบุรีรมย์ระดับน้ำลดลงเช่นกัน ด้านฝั่งธนบุรี น้ำจากนอกพื้นที่ อ.ศาลายา จ.นครปฐม ยังคงทะลักเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ ช่วงคลองทวีวัฒนาลดลง 1 ซม. ระดับน้ำในคลองต่างๆ ฝั่งธนบุรี ลดลง 3-7 ซม.
**จับตาเขตสายไหมหวั่นน้ำทะลักเพิ่ม**
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมคณะผู้บริหาร กทม. ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์น้ำท่วมและแนวกระสอบทรายบริเวณถนนสุขาภิบาล 5 เขตสายไหม ที่กั้นระหว่าง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และเขตสายไหม กทม. ซึ่งมีกลุ่มมวลชนจาก อ.ลำลูกกา ประมาณกว่า 200 คน มาประท้วงให้เปิดให้น้ำไหลผ่าน เพราะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่มานานกว่า 2 สัปดาห์แล้ว
จากนั้นได้เดินทางไปดูที่ประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ช่วงวัดหนองใหญ่ พบว่าระดับน้ำสูงและเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ใกล้เคียง สืบเนื่องจากคลองดังกล่าว รับน้ำมาจากคลองหกกวาสายล่าง ที่มีชาวบ้านรื้อกระสอบทราย ทำให้ปริมาณน้ำไหลเร็วขึ้น โดยกทม. ยอมให้เปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์เพิ่มอีก 5 ซม. เป็น 1.05 ซม. เพื่อระบายน้ำบางส่วนและจะประเมินสถานการณ์ภายใน 24 ชม.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่เขตสายไหมได้รับผลกระทบ เนื่องจากน้ำไหลทะลักเพิ่มเข้ามาในพื้นที่ ทำให้สถานการณ์น่าเป็นห่วงอีกครั้ง เพราะขณะนี้ปริมาณน้ำที่ไหลเข้ากับที่ไหลออกจาก กทม. อยู่ในระดับเท่ากัน หากมีปริมาณเพิ่มเข้ามาอีก พื้นที่เขตสายไหมก็จะลำบาก ซึ่งกทม.ต้องเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด หากเห็นสถานการณ์ไม่ดีก็คงต้องสั่งปิดประตูระบายน้ำต่อไป
**รื้อบิ๊กแบ็กฉุดระบายน้ำช้าถึงปีหน้า**
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ ระหว่างลงพื้นที่ ชาวบ้านเขตสายไหมที่ได้รับผลกระทบเข้าร้องเรียนกับผู้ว่าฯ กทม.โดยขอไม่ให้มีการรื้อแนวกระสอบทรายเพิ่มเติมเพราะทำให้ชาวบ้านได้รับ ความเดือดร้อน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นบ้านเช่า ไม่มีทะเบียนบ้านทำให้ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ ขณะที่ผู้ว่าฯ กทม.รับปากจะนำข้อเรียกร้องดังกล่าว เสนอต่อ ผอ.ศปภ.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และกล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการรื้อแนวกระสอบทราย เพราะจะทำให้น้ำไหลเข้ามาเพิ่มเติมในพื้นที่วันละ 4 ล้าน ลบ.ม./วัน และทำให้ยากต่อการระบายน้ำอาจจะใช้ระยะเวลานานไปถึงปีหน้า ส่วนการเจรจาร่วมกันระหว่างชาวบ้านและตัวแทนจาก ศปภ.ในวันที่ 19 พ.ย.นี้ ตนเองจะไม่มาเข้าร่วมเจรจาครั้งนี้ด้วย แต่จะส่งข้าราชการประจำเข้ามาหารือแทน เพราะไม่อยากให้ถูกมองว่าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และยอมรับว่าเป็นห่วงทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นชาวกทม. หรือชาวปทุมธานี จึงอยากให้ทุกฝ่ายใช้เหตุผลเพื่อหาทางออกร่วมกัน
**ตร.300นายเฝ้าย่านสายไหม**
ด้าน พล.ต.ต.ดำรงค์ศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บังคับการตำรวจนคราล 2 นำกำลังดูแลความเรียบร้อย ในการซ่อมแนวคันกั้นน้ำในพื้นที่สายไหม ในพื้นที่ 3 จุด ซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อระหว่าง ลำลูกกา และสายไหม ประกอบด้วย สะพานข้ามคลอง ภายในซอยสายไหม 39 สะพานเฉลิมพงษ์ อยู่ระหว่าง สายไหม 77-79 และสะพานข้ามคลองภายใน ซ.สายไหม 85 รวม 300 นาย ทั้งนี้ ตัวแทนของชาวบ้านย่านสายไหม ลำลูกกา กรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะเข้าเจรจาหาข้อตกลงร่วมกัน ในวันเสาร์ที่ 19 พ.ย.นี้ ที่ห้างบิ๊กซี คลอง4
ส่วนคืบหน้าการติดตามตัวมือมืดที่ ปาระเบิดปิงปอง ส่งผลให้ มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ 6 ราย นั้น เจ้าหน้าที่ยังอยู่ระหว่างสืบสวนติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี
**“มั่นใจ“บิ๊กแบ็กดอนเมือง” คลี่คลาย**
วันเดียวกันที่กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบกกล่าวถึงกรณีที่กลุ่มชาวบ้านรวมตัวกันรื้อบิ๊กแบ็กตามแนวดอนเมืองว่า สถานการณ์น้ำโดยทั่วไปนั้นเริ่มดีขึ้นตามลำดับ เข้าที่เข้าทางมากขึ้น แต่ปริมาณน้ำยังคงมากอยู่ ส่วนการบริหารจัดการ การพูดคุยกันระหว่างน้ำ 2 ฝั่ง นั้น ควรสร้างความเข้าใจมากกว่านี้ ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
“ชาวบ้านเขาก็พูดจากันดี เขาบอกว่าถ้าเข้ามาแล้วมันล้นเขาจะปิดให้ แต่หากไม้ล้นก็จะเปิดเพิ่มให้ คือ ต่างคนต่างเออาทรซึ่งกันและกัน ส่วนน้ำที่ไหลทะลักมาจากบริเวณจะเกิดผลกระทบกับพื้นที่อื่นอย่างไรบ้างนั้น คงต้องให้คณะใหญ่ที่เขาบริหารจัดการน้ำอยู่เขาประเมิน” พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าว
**กู้ถนนสาย 340 เสร็จแล้ว**
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าในการกู้ถนนสาย 340 บางบัวทอง - สุพรรณบุรี ว่า ขณะนี้การดำเนินการกู้ถนนสาย 340 บางบัวทอง - สุพรรณบุรีเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่การสัญจรยังคงติดขัดเนื่องจากมีรถยนต์ของประชาชนที่นำมาจอดหนีน้ำท่วมตามรายทางทำให้เหลือพื้นผิวการจราจรเพียงเลนเดียวในบางช่วงขณะที่บางแห่งยังคงมีน้ำขังเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว และใช้ถนนพระราม 2 เป็นหลัก
ส่วนแผนการกู้ท่าอากาศยานดอนเมืองยังคงยึดแนวทางเดิมด้วยการวางแนวคันกั้นน้ำเพื่อไม่ให้น้ำจากถนนวิภาวดี - รังสิต เข้ามาเพิ่มเติม และจะไม่มีการสูบน้ำออกจากพื้นที่เนื่องจากกังวลว่าประชาชนในชุมชนรอบข้างจะได้รับผลกระทบ โดยจะปล่อยให้น้ำแห้งไปตามธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำลดลงพอสมควร
**คน“บางบัวทอง”ร้องรื้อ 340
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน ตัวแทนชาวบ้าน 10 ชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน อ.บางบัวทอง บางใหญ่ และบางกรวย รวมกันประมาณ 300 คน เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องต่อนายวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชชการ จ.นนทบุรี ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อให้สั่งการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยชาวบ้าน อ.บางบัวทองและบางใหญ่ เรียกร้องให้รื้อแนวถนน ที่เจ้าหน้าที่เข้ากู้ถนนสาย 340 เพราะทำให้ปิดทางน้ำที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยระบุว่า การกู้ถนนดังกล่าวเพื่อรองรับถนนพระราม 2 ที่อาจจะถูกน้ำท่วม แต่ขณะนี้ถนนเส้นทางพระราม 2 ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต จึงควรเปิดถนนสาย 340 เพื่อให้เป็นทางน้ำไหลผ่านไปได้ก่อน
**ยิ้มรับทรัพย์ไม่การันตี 340**
แหล่งข่าวจากผู้รับเหมาบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่รับงานซับคอนแทก นำแท่งปูนอัดกระสอบทรายมาทำแนวกั้นถนน 340 ตามนโยบายของพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในฐานะผู้รับเหมา การทำงานตามที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้ได้ค่าจ้างตามตกลงซึ่งเป็นเงินจำนวนมากนั้น ไม่มีผู้รับเหมารายใดปฏิเสธที่จะรับงานนี้
อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงหรือผลของการกั้นแท่งปูนบรรจุกระสอบทรายจะแข็งแรง สามารถรับแรงกระแทกได้หรือไม่ นั้น ยังไม่มีการพิสูจน์ แต่จากที่สังเกตดูแล้วไม่ยืนยันว่าจะแข็งแรงพอที่จะกั้นแรงกระแทกของน้ำที่เกิดจากวิ่งของรถ 10 ล้อ หรือรถพ่วง 18 ล้อได้
**"มาร์ค" ห่วงเหตุรุนแรงขยายวงกว้าง**
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงกรณีมีการปาประทัดยักษ์ใส่ชาวสายไหมกลางดึกระหว่างการซ่อมแซมคันกั้นน้ำโดยย้ำว่า เป็นหน้าที่ของ ศปภ.ต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้านเพื่อหาทางออก ไม่ใช่ปล่อยให้เกิดสภาพมวลชนมาจัดการกันเอง ปล่อยให้เจ้าหน้าที่มาไกล่เกลี่ย ทั้งนี้รู้สึกเห็นใจประชาชนที่อยู่เหนือคันกั้นน้ำซึ่งรัฐบาลต้องชี้แจงทำความเข้าใจว่า เหตุผลที่มีการวางแนวคันกั้นน้ำเพื่ออะไร หากรื้อออกจะมีผลอย่างไรตามมาและจะมีทางออกอย่างไรให้ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ ทั้งหมดต้องไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องของมวลชนไปว่ากันเอง แต่ ศปภ.ต้องเกาะติดปัญหาและช่วยแก้ไขไม่เช่นนั้นปัญหาจะลุกลามไปพื้นที่อื่น ๆ จนสุดท้ายจะจัดการปัญหาไม่ได้ ตนจึงอยากให้ศปภ.ติดตามประเมินผลด้วยว่าผลของการทำคันกั้นน้ำในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร ทำความเข้าใจและบริหารจัดการไม่ใช่เกิดปัญหาแล้วค่อยไปตามแก้แบบไม่เป็นระบบหรือไปแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
**หนุนปั๊ม 50 ตัวระบายน้ำนนท์-ปทุม **
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานได้ประสานกับจังหวัดปทุมธานีและนนทบุรี เพื่อให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำ ตลอดจนชี้แจงแนวทางการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ พร้อมรับทราบปัญหาอุปสรรค และความต้องการของจังหวัดที่จะให้กรมชลประทานดำเนินการ ตลอดจนหารือถึงแผนงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาระยะยาว ทั้งนี้ในเบื้องต้นกรมชลประทาน ได้เพิ่มการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ให้กับทั้งสองจังหวัดรวมกัน จำนวน 50 เครื่อง เพื่อให้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ทั้งสองจังหวัด กลับสู่สภาวะปกติในเร็ววัน ตามแผนงานการเร่งฟื้นฟูสถานการณ์น้ำท่วมของจังหวัด
**ประเมินเสียหายน้ำท่วม 1.2 แสนล้านล้าน**
นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวภายในเวทีเสวนาวิชาการหัวข้อ “อุทกภัยใครรับผิดชอบ” ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ได้ประเมินความเสียหายเบื้องต้น มูลค่าสูงถึง 1,200,000 ล้านล้านบาท และมองว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องของความผิดสะสม คือ ไม่มีการวางแผนป้องกันล่วงหน้า ทั้งที่พื้นที่ภาคกลางเป็นที่ต่ำ และเป็นทางไหลผ่านของน้ำ มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ดังกล่าว และปีนี้ มีฝนตกหนักมาตั้งแต่เดือน มี.ค. แต่ก็ไม่มีผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าว และภายหลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย ได้รับคำสั่งให้แจ้งเตือนอุทกภัยในวันที่ 16 ส.ค. ในจังหวัดอื่นๆ หลังจากเกิดปัญหาอุทกภัยในภาคเหนือมาก่อน ก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ซึ่งหากรัฐบาลจำเป็นต้องชดใช้ความเสียหายให้กับประชาชน ก็ไม่ควรนำเงินคงคลังมาใช้ แต่ควรหาเงินจากแหล่งอื่น คือ การขึ้นค่าภาคหลวง ปิโตรเลียม และทองคำ
**น้ำท่วม กทม.เหตุเปิดประตูน้ำผิดพลาด
นายโสภณ สุภาพงษ์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ เนื่องจากบริหารน้ำในเขื่อนผิดพลาด เพราะในเดือน ส.ค. - ต.ค. มีน้ำในเขื่อนมากกว่าปีที่แล้วเกือบเท่าตัว รวมถึงการบริหารจัดการน้ำไม่มีการระบายน้ำไปในทิศทางตะวันออกและตะวันตก ก่อนที่มวลน้ำจะเข้ามาถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพมหานคร และมีการรื้อแนวคันกั้นน้ำบริเวณโดยรอบกรุงเทพมหานคร รวมถึงการที่รัฐบาล ประกาศให้มีการเปิดประตูระบายน้ำทุกบานภายในกรุงเทพมหานครด้วย และข้อมูลที่นักการเมือง บอกกล่าวกับประชาชน ไม่ตรงกับความจริง ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
**ห่วงนิคมฯบางชันหลังเปิดพระยาสุเรนทร์
พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) กล่าวถึงกรณีการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ เป็นระยะทาง 1 เมตร อาจส่งผลกระทบให้นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ได้นั้นพล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า มีความเป็นห่วงในกรณีดังกล่าวนี้เช่นกัน แต่ทาง กทม. ได้มีการเฝ้าระวังแนวทางน้ำและควบคุมอย่างเต็มที่ ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมบางชัน เอง ก็ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี และมีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
**ปภ.เตือนอย่าเข้าใกล้บ้านที่ทรุดตัว
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ขอประกาศเตือนผู้ประสบอุทกภัยให้เตรียมพร้อมก่อนเข้าสำรวจบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม และรอจนระดับน้ำลดลงก่อน จึงเข้าไปตรวจสอบบ้านเรือนในเวลากลางวัน จะได้มองเห็นภาพบ้านชัดเจน ระมัดระวังอันตรายจากอุบัติเหตุต่างๆที่อาจเกิดขึ้น และไม่ควรเข้าใกล้หรืออยู่บริเวณโครงสร้างบ้านที่มีรอยร้าวหรือทรุดตัว โดยเฉพาะบ้านไม้ที่ผุพังจากการแช่น้ำ เพราะอาจพังถล่มลงมาได้
**แจกเรือแลกขยะโฟมนำร่องบางกรวย**
นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ รักษาการอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยภายหลัง เป็นประธานรับมอบเรืออีโค่โบ๊ท(Eco Boat) จากบริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการขยะ-กล่องโฟมแลกไข่ไก่-ข้าวสาร ว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งคาดว่าขณะนี้มีขยะโฟมที่ลอยอยู่ในแหล่งน้ำทั้งสิ้น 4-5 แสนใบ ดังนั้นการมอบเรือให้ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อใช้เป็นพาหนะในการเก็บโฟมและขยะที่ลอยอยู่ในน้ำก็จะได้รับความสะดวกในการเก็บขยะเพิ่มมากขึ้น โดยจะมีการนำร่องแจกเรือในพื้นที่เขตบางกรวย จ.นนทบุรี เขตบางพลัด ดอนเมือง ของกทม.พื้นที่ละ 20 ลำ พร้อมการลงพื้นที่โครงการขยะแลกไข่ไก่กับ คพ. ในวันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย. นี้
**ปูอ้างทุกประเทศเข้าใจภัยธรรมชาติ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ในเฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra ถึงการตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนไทยที่ติดตามที่ทำข่าวและสำนักข่าวของอินโดนีเซีย และสำนักข่าวต่างประเทศอื่น ๆ เช่น CNBC เกี่ยวกับการสร้างความเชื่อมั่นของไทยในเวทีอาเซียน ว่า ทุกประเทศเข้าใจว่าปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และจะเป็นแนวทางในการตัดสินในการดำเนินมาตรการต่างๆ ต่อไป
ขณะนี้ ไทย ได้เดินเข้าสู่แผนฟื้นฟู พร้อมทั้งมีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.) และ คณะกรรมการยุทธศาตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ(กยอ.) หลายประเทศต่างๆ ยังคงมั่นใจการลงทุน
**“ป.ป.ช.” ตั้งอนุไต่สวนทุจริตถุงยังชีพ
นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์กรณีการตรวจสอบการทุจริตโครงการจัดซื้อถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่า จากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าว ป.ป.ช.ได้ไปรวบรวมมาในเบื้องต้นเห็นว่า มีข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพียงพอ ดังนั้นที่ประชุมป.ป.ช.จึงให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวนกรณีดังกล่าว โดยมีคณะกรรมการป.ป.ช.ทั้งหมด 9 คน เป็นองค์คณะไต่สวน และให้นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป.ป.ช.เป็นผู้รับผิดชอบสำนวน ซึ่งจะมีการเชิญผู้เกี่ยวข้องมาสอบต่อไป
โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการรับรองมติป.ป.ช.เรื่องการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน จากนั้นป.ป.ช.จะเริ่มดำเนินการไต่สวนต่อไป โดยการไต่สวนของป.ป.ช.จะครอบคลุมเรื่องการจัดซื้อถุงยังชีพ เรือไฟเบอร์กลาส และสุขากระดาษ รวมถึงการบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ล้มเหลวของรัฐบาลด้วย
**ผบ.ทบ.ชื่นชม “พลทหาร” สุดยอด
ที่กองบัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงการดูแลสุขภาพของกำลังพลที่ช่วยเหลือผู้ประสพภัยน้ำท่วมว่า จากการได้เห็นกำลังพลทำงานทุ่มเทดูแลประชาชนโดยรวม ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับสูงรู้สึกห่วงใยโดยเฉพาะเรื่องสุขภาพอนามัย เพราะต้องไปตากแดด แช่น้ำอยู่เกือบทุกวัน อยากให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทุกหน่วยดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปลอดภัย มีสุขภาพที่ดี เรามีความภาคภูมิใจในการทำงานของทหาร โดยเฉพาะพลทหารที่ได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างดี โดยไม่เรียกร้อง
“ผมได้กำชับให้ดูแลเรื่องสิทธิกำลังพล ให้ตอบแทนในสิ่งที่เขาพึงมีพึงได้ให้มากที่สุด และการทำงานเพื่อสาธารณะไม่ควรจะเรียกร้อง จากการดำเนินการทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า กองทัพเป็นที่พึ่งของประเทศได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันประเทศ สนับสนุนรัฐบาล การแก้ปัญหาในด้านอื่นๆ เราพร้อมเป็นกลไกของรัฐถะในการทำหน้าที่ให้ดีทีสุด“ ผบ.ทบ.กล่าว
**บขส.เล็งย้ายกลับสายใต้สัปดาห์หน้า**
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณถนนบรมราชชนนี โดยบขส.มีแผนจะย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (สายใต้) กลับไปให้บริการที่ถนนบรมราชชนนีแล้ว คาดว่าไม่เกินกลางสัปดาห์หน้า จะสามารถเปิดให้บริการได้เป็นปกติ ภายหลังจากที่ได้ย้ายมาให้บริการโรงเบียร์ ฮอนแลนด์ บริเวณถนนพระราม 2 ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 54ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เนื่องจากเกรงว่าประชาชนจะไม่สะดวกในการเดินทาง โดยการให้บริการที่บริเวณถนนบรมราชชนนีซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีตามปกตินั้น ผู้โดยสารจะได้รับความสะดวกสบายมากกว่า เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวางและมีความสะดวกในการเดินทางต่อเชื่อมกับรถสาธารณะอื่นๆส่วนสถานการณ์ที่สถานีขนส่งหมอชิต (กำแพงเพชร)นั้น ขณะนี้อยู่ในสถานการณ์ปกติซึ่งปริมาณน้ำท่วมขังบริเวณรอบนอกระดับลดน้ำได้ลดลงแล้วจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาระดับน้ำอยู่ที่ 10-30ซม.