เมื่อเวลา 02.30 น.วานนี้ (17 พ.ย.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ได้เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติงูระห์ไร เมืองบาหลี ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 19 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
โดยในเวลา 09.00 น. นายกรัฐมนตรีและผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ชาติ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 ที่ศูนย์การประชุม Bali Nusa Dua โดยในการประชุมช่วงแรก จะเป็นการหารือ เกี่ยวกับเรื่องภายในอาเซียน อาทิ โครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาคและการเตรียมความพร้อมของอาเซียนในด้านต่างๆ
ทั้งนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เสนอผู้นำอาเซียนในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาและป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ที่ประเทศไทยและหลายประเทศอาเซียนประสบอยู่ในขณะนี้ว่าควรมีท่าทีที่ชัดเจน และร่วมกันคือ ASEAN Leaders's Statement เพื่อเป็นเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกับข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี
ต่อมาเวลา 10.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 อย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Leaders' Retreat) โดยเป็นการหารือในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนและโลก การส่งเสริมบทบาทของอาเซียนและประเด็นที่อยู่ในความสนใจของภูมิภาคและโลก
โอกาสนี้ผู้นำประเทศอาเซียน ได้หยิบยกประเด็นต่างๆ อาทิ ประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก ประเด็นภูมิภาค และประเด็นระหว่างประเทศขึ้นหารือ และแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้นำ
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน โดยรัฐบาลจะฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นกลไกลการเติบโตที่สำคัญของประชาคมอาเซียน และเศรษฐกิจโลก แม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาอุทกภัย ซึ่งเป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลจะเปลี่ยนวิกฤติครั้งนี้ให้เป็นโอกาส โดยรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการในระยะต่างๆ ของการแก้ปัญหาคือ 3R ประกอบด้วย Rescue , Restore และ Rebuild
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 และประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นส่วนสำคัญในประชาคมอาเซียน เพราะอาเซียนถือว่าเป็นภูมิภาคของโอกาสทางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางการลงทุน ฐานการผลิตและเป็นหุ้นส่วนการค้าที่มีตลาดของประชากรถึง 600 ล้านคน และอาเซียนก็ได้รับการยอมรับในบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาเซียนจะได้ร่วมกันดำเนินการในบทบาทดังกล่าวต่อไป และอาเซียนควรร่วมกันส่งเสริมบทบาทในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สนับสนุน สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค และของโลก อีกทั้งยังเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนกฎกติกาที่ยึดหลักประชาธิปไตยและเคารพ สิทธิมนุษยชน ดังนั้นทั้งหมดนี้จะบรรลุผลสำเร็จได้ โดยการขยายความร่วมมือในประเด็นระหว่างประเทศเกี่ยวกับประโยชน์และข้อกังวล ร่วมกัน
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า แม้ว่าอาเซียนยังคงมีความเห็นที่ต่างกันในบางเรื่อง แต่ความแตกต่างนี้สามารถทำให้แคบลงได้ และเริ่มต้นด้วยประเด็นที่แตกต่างน้อย และเป็นไปได้ก่อน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์โดยเร็ว เช่น การรักษาสันติภาพเพื่อให้ประชาคมโลกได้เห็น การต่อต้านระบบติดอาวุธอานุภาพร้ายแรง และระบบการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งอาเซียนควรรวมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เพื่อให้อาเซียนก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย
โดยในเวลา 09.00 น. นายกรัฐมนตรีและผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ชาติ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 ที่ศูนย์การประชุม Bali Nusa Dua โดยในการประชุมช่วงแรก จะเป็นการหารือ เกี่ยวกับเรื่องภายในอาเซียน อาทิ โครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาคและการเตรียมความพร้อมของอาเซียนในด้านต่างๆ
ทั้งนี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้เสนอผู้นำอาเซียนในเรื่องเกี่ยวกับความร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาและป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ที่ประเทศไทยและหลายประเทศอาเซียนประสบอยู่ในขณะนี้ว่าควรมีท่าทีที่ชัดเจน และร่วมกันคือ ASEAN Leaders's Statement เพื่อเป็นเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องกับข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี
ต่อมาเวลา 10.30 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 อย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Leaders' Retreat) โดยเป็นการหารือในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนและโลก การส่งเสริมบทบาทของอาเซียนและประเด็นที่อยู่ในความสนใจของภูมิภาคและโลก
โอกาสนี้ผู้นำประเทศอาเซียน ได้หยิบยกประเด็นต่างๆ อาทิ ประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก ประเด็นภูมิภาค และประเด็นระหว่างประเทศขึ้นหารือ และแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างผู้นำ
ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน โดยรัฐบาลจะฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งเป็นกลไกลการเติบโตที่สำคัญของประชาคมอาเซียน และเศรษฐกิจโลก แม้ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาอุทกภัย ซึ่งเป็นภัยพิบัติธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลจะเปลี่ยนวิกฤติครั้งนี้ให้เป็นโอกาส โดยรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการในระยะต่างๆ ของการแก้ปัญหาคือ 3R ประกอบด้วย Rescue , Restore และ Rebuild
นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 และประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นส่วนสำคัญในประชาคมอาเซียน เพราะอาเซียนถือว่าเป็นภูมิภาคของโอกาสทางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางการลงทุน ฐานการผลิตและเป็นหุ้นส่วนการค้าที่มีตลาดของประชากรถึง 600 ล้านคน และอาเซียนก็ได้รับการยอมรับในบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาเซียนจะได้ร่วมกันดำเนินการในบทบาทดังกล่าวต่อไป และอาเซียนควรร่วมกันส่งเสริมบทบาทในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สนับสนุน สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค และของโลก อีกทั้งยังเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนกฎกติกาที่ยึดหลักประชาธิปไตยและเคารพ สิทธิมนุษยชน ดังนั้นทั้งหมดนี้จะบรรลุผลสำเร็จได้ โดยการขยายความร่วมมือในประเด็นระหว่างประเทศเกี่ยวกับประโยชน์และข้อกังวล ร่วมกัน
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า แม้ว่าอาเซียนยังคงมีความเห็นที่ต่างกันในบางเรื่อง แต่ความแตกต่างนี้สามารถทำให้แคบลงได้ และเริ่มต้นด้วยประเด็นที่แตกต่างน้อย และเป็นไปได้ก่อน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์โดยเร็ว เช่น การรักษาสันติภาพเพื่อให้ประชาคมโลกได้เห็น การต่อต้านระบบติดอาวุธอานุภาพร้ายแรง และระบบการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งอาเซียนควรรวมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหารือเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เพื่อให้อาเซียนก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย