ASTVผู้จัดการรายวัน - โพลชี้เหยื่อน้ำท่วมอยากให้ “ยิ่งลักษณ์” จ่ายเงินซ่อมแซมที่พักอาศัยอย่างเหมาะสม เป็นของขวัญปีใหม่ ฝันเห็นรัฐบาลกับฝ่ายค้านหยุดด่ากันเรื่องน้ำท่วม จี้เร่งแก้ปัญหาสินค้าแพง ส่วนความเชื่อมั่น “ทหาร” ยังสูงทะลุ 93.8 %
วานนี้ (6 พ.ย.) ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกต2การณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ได้เปิดผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "เสียงสะท้อนของผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมต่อผู้เข้าให้ความช่วยเหลือ: กรณีศึกษาตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยศึกษาตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,478 ตัวอย่าง
จากการสำรวจพบว่า 53.2 % มีเวลาเตรียมตัวรับมือกับปัญหาน้ำท่วมน้อยกว่า 1 สัปดาห์ ในขณะที่ 32.2 %มีเวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ขึ้นไป และ 14.6% ไม่มีเวลาเตรียมตัวเลย
อย่างไรก็ตามต่อเรื่องอันดับความพอใจของผู้ประสบภัยต่อศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์และสายด่วนต่างๆ เฉพาะคนที่เคยโทร เมื่อให้คะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ สายด่วนบริการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ได้ 6.83 คะแนน อันดับที่สอง ได้แก่ สายด่วนรถไฟแห่งประเทศไทย 1690 ได้ 5.86 อันดับที่สามได้แก่ สายด่วนแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 ได้ 5.83 คะแนน อันดับที่สี่ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร 1129 ได้ 5.75 ในขณะที่ ศูนย์ ศปภ. โทร 1111 กด 5 ได้เพียง 5.51 เท่านั้น โดยปัญหาที่ค้นพบคือ โทรแล้วสายไม่ว่าง หรือหากโทรติดก็ไม่มีผู้รับสาย หรือเมื่อมีคนรับสายมีแต่รับเรื่องไว้โดยไม่มีการดำเนินการช่วยเหลืออะไร หรือไม่ก็ล่าช้ามากและสายเกินไป
ส่วนความพอใจของหน่วยงานและคณะบุคคลที่เข้ามาช่วยเหลือนั้นปรากฏว่า 5 อันดับแรกได้แก่ 1.ทหาร ได้ 9.56 คะแนน 2.อาสาสมัคร ได้ 9.10 คะแนน 3.สื่อมวลชน 9.08 คะแนน 4.ตำรวจ 9.05 คะแนน และ 5.กทม. 8.34 คะแนน
เมื่อสำรวจ ความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติในเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่รายได้หรือเงินเดือนเท่าเดิมในช่วงวิกฤตน้ำท่วมขณะนี้ พบว่ามีถึง 72.6% ที่ เดือดร้อนในเรื่องราคาอาหาร นอกจากนี้ 65.7% ที่ระบุว่าเป็นเรื่องราคาน้ำดื่ม
สำหรับเสียงสะท้อนของผู้ที่อยู่ในศูนย์พักพิง 66.3% อยากให้ทำฐานข้อมูลช่วยเหลือด้านการเงินหลังน้ำลด ขณะที่ 47.1% อยากให้ปรับปรุงเรื่องห้องน้ำ 43.4% ให้แก้ไขเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีความต้องการอื่นอาทิ ให้มีแพทย์เข้ามาดูแล ให้มีกิจกรรมนันทนาการ การสอนหนังสือเด็กนักเรียน ไม่ใช่เล่นเกมส์เพียงอย่างเดียว และจัดเตรียมระบบรถรับส่งกลับบ้าน ไม่ทอดทิ้งประชาชน
เมื่อถามว่าอยากได้อะไรเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล หลังน้ำลด 65.0% อยากให้ซ่อมแซมที่พักอาศัย 59.3% แก้ปัญหาราคาสินค้า 54.6% อยากให้ แก้ปัญหาคนว่างงาน 52.4% อยากหให้หาแนวทางป้องกันน้ำท่วมในอนาคต
ส่วนเสียงสะท้อนข้อเสนอของผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมต่อรัฐบาลและฝ่ายค้านในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในอนาคต พบว่า ส่วนใหญ่ 93.8% ขอให้หยุดขัดแย้ง หยุดโจมตีกัน 63.0% ขอให้บอกความจริงที่ครบถ้วนกับประชาชน 58.0% ขอให้ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 55.9% ขอให้ปรับปรุงเรื่องระบบเตือนภัย 54.9% ขอให้ปรับปรุงเรื่องการสื่อสารกับประชาชน 49.0% ขอให้รัฐบาลกับภาคเอกชนจับมือทำประกันภัยให้กับชุมชน สังคมและประเทศ และ 48.2% ขอให้จัดวางระบบผังเมืองใหม
**ขอรัฐบาลจ่ายค่าชดเชยซ่อมบ้าน
โพลล์” ได้เปิดเผยผลสำรวจหัวข้อ“เปรียบเทียบความในใจของผู้ที่ถูกน้ำท่วม” โดยสำรวจจากทั้งผู้ที่เข้าอาศัยในศูนย์พักพิง และไม่ได้อาศัยในศูนย์พักพิงจำนวน 1,454 คน ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2554 โดย เหตุผล ของ ผู้ที่เข้าพักอาศัยในศูนย์พักพิง อันดับ 1 คือบ้านถูกน้าท่วม ไม่มีที่อยู่อาศัยอื่นให้พักพิง เป็นบ้านชั้นเดียว 39.18% อันดับ 2 ถูกตัดนน้ำ ตัดไฟ เดินทางออกมาซืออาหารลำบาก เพื่อนบ้านอพยพไปอยู่ที่อื่นกัน 30.42% อันดับ 3 มีบุตรหลาน ผู้สูงอายุต้องดูแล เป็นห่วงความปลอดภัยของคนในครอบครัว 16.66% อันดับ 4 ถูกชักชวน แนะน้าให้ไปอยู่ที่ศูนย์พักพิง มีเจ้าหน้าที่ดูแลทั้งในเรื่องอาหาร การกิน ที่นอนและการตรวจสุขภาพ 13.74%
เมื่อถามถึง เหตุผลของ ผู้ที่ไม่เข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิง อันดับ 1 คือยังสามารถพักอาศัยอยู่ชั นบนของบ้านได้ /เป็นห่วงคนที่ยังอยู่ที่บ้าน ห่วงสัตว์เลี้ยง กลัวโจรขโมย 51.16% อันดับ 2 มีที่อื่นให้พักพิง เช่น บ้านญาติ เพื่อนหรือคนรู้จัก บ้านต่างจังหวัด เช่าบ้าน หอพัก คอนโดมิเนียม โรงแรม เป็นต้น 2 8.57%
อันดับ 3 คนเยอะ แออัด ไม่สะดวกเรื่องที่นอน ห้องน้ำไม่ชินกับการอยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก ไม่เป็นส่วนตัว 13.39% อันดับ 4 ที่ท้างานให้ความช่วยเหลือด้านที่พักอาศัยให้แก่พนักงานและครอบครัว 6.88%
ส่วน“ความช่วยเหลือ” ที่อยากได้จากรัฐบาลนั้นผู้ที่อาศัยในศูนย์พักพิง 60.05% ต้องการเงินชดเชยสำหรับซ่อมแซมบ้านที่ถูกน้ำท่วม 21.24 % ต้องการให้ช่วยเรื่องการตกงาน ว่างงาน สถานประกอบการที่ต้องปิด ตัวลง 18.71% ต้องการให้การผ่อนผันหรือเลื่อนชำระหนี้ต่างๆ ออกไป หรือให้กู้ยืม เงิน
ส่วนผู้ที่ไม่ได้อาศัยที่ศูนย์พักพิง 57.68% ต้องการเงินชดเชยสำหรับซ่อมแซมบ้านหรือรายได้ที่ขาดไป 24.75% ต้องการให้ควบคุมราคาสินค้า จัดหาสินค้าที่จำเป็นและขาดแคลนมาจำหน่ายหรือแจกจ่ายอย่างเพียงพอ 17.57% ต้องการให้ยกเว้นค่าใช้จ่ายต่างๆที่จ้าเป็น เช่น ค่าน้ำ-ไฟ ค่าเดินทาง
“การแก้ปัญหาน้ำท่วม” ในภาพรวมของรัฐบาล ในส่วนของผู้ที่อาศัยในศูนย์พักพิง 46.90% มองว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาน้าท่วมได้ ขาดการเตรียมพร้อมที่ดี 24.39% มองว่า การสื่อสาร แจ้งข้อมูลไม่ชัดเจน ชาวบ้านหนีน้ำไม่ทัน ขณะที่ 15.63 % มองว่าน่าพอใจในระดับหนึ่ง มองเป็นภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และ 13.08 % มองว่า อยากให้คนที่รู้เรื่องน้ำท่วมมาแก้ไขหรือให้ข้อมูลโดยตรง 13.08% เกิดการซ้ำซ้อนในบางพืนที่ 41.53% การแก้ปัญหาน้าท่วมขาดประสิทธิภาพ ขาดผู้รู้จริง 20.56% ข้อมูลสับสน การประชาสัมพันธ์ไม่ชัดเจน 19.85% การพิจารณาช่วยเหลือ ฟื้นฟูในระยะยาว 18.06%.
วานนี้ (6 พ.ย.) ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกต2การณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ได้เปิดผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง "เสียงสะท้อนของผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมต่อผู้เข้าให้ความช่วยเหลือ: กรณีศึกษาตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยศึกษาตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,478 ตัวอย่าง
จากการสำรวจพบว่า 53.2 % มีเวลาเตรียมตัวรับมือกับปัญหาน้ำท่วมน้อยกว่า 1 สัปดาห์ ในขณะที่ 32.2 %มีเวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ขึ้นไป และ 14.6% ไม่มีเวลาเตรียมตัวเลย
อย่างไรก็ตามต่อเรื่องอันดับความพอใจของผู้ประสบภัยต่อศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์และสายด่วนต่างๆ เฉพาะคนที่เคยโทร เมื่อให้คะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ สายด่วนบริการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ได้ 6.83 คะแนน อันดับที่สอง ได้แก่ สายด่วนรถไฟแห่งประเทศไทย 1690 ได้ 5.86 อันดับที่สามได้แก่ สายด่วนแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 ได้ 5.83 คะแนน อันดับที่สี่ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร 1129 ได้ 5.75 ในขณะที่ ศูนย์ ศปภ. โทร 1111 กด 5 ได้เพียง 5.51 เท่านั้น โดยปัญหาที่ค้นพบคือ โทรแล้วสายไม่ว่าง หรือหากโทรติดก็ไม่มีผู้รับสาย หรือเมื่อมีคนรับสายมีแต่รับเรื่องไว้โดยไม่มีการดำเนินการช่วยเหลืออะไร หรือไม่ก็ล่าช้ามากและสายเกินไป
ส่วนความพอใจของหน่วยงานและคณะบุคคลที่เข้ามาช่วยเหลือนั้นปรากฏว่า 5 อันดับแรกได้แก่ 1.ทหาร ได้ 9.56 คะแนน 2.อาสาสมัคร ได้ 9.10 คะแนน 3.สื่อมวลชน 9.08 คะแนน 4.ตำรวจ 9.05 คะแนน และ 5.กทม. 8.34 คะแนน
เมื่อสำรวจ ความเดือดร้อนของประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติในเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แต่รายได้หรือเงินเดือนเท่าเดิมในช่วงวิกฤตน้ำท่วมขณะนี้ พบว่ามีถึง 72.6% ที่ เดือดร้อนในเรื่องราคาอาหาร นอกจากนี้ 65.7% ที่ระบุว่าเป็นเรื่องราคาน้ำดื่ม
สำหรับเสียงสะท้อนของผู้ที่อยู่ในศูนย์พักพิง 66.3% อยากให้ทำฐานข้อมูลช่วยเหลือด้านการเงินหลังน้ำลด ขณะที่ 47.1% อยากให้ปรับปรุงเรื่องห้องน้ำ 43.4% ให้แก้ไขเรื่องความปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีความต้องการอื่นอาทิ ให้มีแพทย์เข้ามาดูแล ให้มีกิจกรรมนันทนาการ การสอนหนังสือเด็กนักเรียน ไม่ใช่เล่นเกมส์เพียงอย่างเดียว และจัดเตรียมระบบรถรับส่งกลับบ้าน ไม่ทอดทิ้งประชาชน
เมื่อถามว่าอยากได้อะไรเป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล หลังน้ำลด 65.0% อยากให้ซ่อมแซมที่พักอาศัย 59.3% แก้ปัญหาราคาสินค้า 54.6% อยากให้ แก้ปัญหาคนว่างงาน 52.4% อยากหให้หาแนวทางป้องกันน้ำท่วมในอนาคต
ส่วนเสียงสะท้อนข้อเสนอของผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมต่อรัฐบาลและฝ่ายค้านในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในอนาคต พบว่า ส่วนใหญ่ 93.8% ขอให้หยุดขัดแย้ง หยุดโจมตีกัน 63.0% ขอให้บอกความจริงที่ครบถ้วนกับประชาชน 58.0% ขอให้ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 55.9% ขอให้ปรับปรุงเรื่องระบบเตือนภัย 54.9% ขอให้ปรับปรุงเรื่องการสื่อสารกับประชาชน 49.0% ขอให้รัฐบาลกับภาคเอกชนจับมือทำประกันภัยให้กับชุมชน สังคมและประเทศ และ 48.2% ขอให้จัดวางระบบผังเมืองใหม
**ขอรัฐบาลจ่ายค่าชดเชยซ่อมบ้าน
โพลล์” ได้เปิดเผยผลสำรวจหัวข้อ“เปรียบเทียบความในใจของผู้ที่ถูกน้ำท่วม” โดยสำรวจจากทั้งผู้ที่เข้าอาศัยในศูนย์พักพิง และไม่ได้อาศัยในศูนย์พักพิงจำนวน 1,454 คน ระหว่างวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2554 โดย เหตุผล ของ ผู้ที่เข้าพักอาศัยในศูนย์พักพิง อันดับ 1 คือบ้านถูกน้าท่วม ไม่มีที่อยู่อาศัยอื่นให้พักพิง เป็นบ้านชั้นเดียว 39.18% อันดับ 2 ถูกตัดนน้ำ ตัดไฟ เดินทางออกมาซืออาหารลำบาก เพื่อนบ้านอพยพไปอยู่ที่อื่นกัน 30.42% อันดับ 3 มีบุตรหลาน ผู้สูงอายุต้องดูแล เป็นห่วงความปลอดภัยของคนในครอบครัว 16.66% อันดับ 4 ถูกชักชวน แนะน้าให้ไปอยู่ที่ศูนย์พักพิง มีเจ้าหน้าที่ดูแลทั้งในเรื่องอาหาร การกิน ที่นอนและการตรวจสุขภาพ 13.74%
เมื่อถามถึง เหตุผลของ ผู้ที่ไม่เข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิง อันดับ 1 คือยังสามารถพักอาศัยอยู่ชั นบนของบ้านได้ /เป็นห่วงคนที่ยังอยู่ที่บ้าน ห่วงสัตว์เลี้ยง กลัวโจรขโมย 51.16% อันดับ 2 มีที่อื่นให้พักพิง เช่น บ้านญาติ เพื่อนหรือคนรู้จัก บ้านต่างจังหวัด เช่าบ้าน หอพัก คอนโดมิเนียม โรงแรม เป็นต้น 2 8.57%
อันดับ 3 คนเยอะ แออัด ไม่สะดวกเรื่องที่นอน ห้องน้ำไม่ชินกับการอยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก ไม่เป็นส่วนตัว 13.39% อันดับ 4 ที่ท้างานให้ความช่วยเหลือด้านที่พักอาศัยให้แก่พนักงานและครอบครัว 6.88%
ส่วน“ความช่วยเหลือ” ที่อยากได้จากรัฐบาลนั้นผู้ที่อาศัยในศูนย์พักพิง 60.05% ต้องการเงินชดเชยสำหรับซ่อมแซมบ้านที่ถูกน้ำท่วม 21.24 % ต้องการให้ช่วยเรื่องการตกงาน ว่างงาน สถานประกอบการที่ต้องปิด ตัวลง 18.71% ต้องการให้การผ่อนผันหรือเลื่อนชำระหนี้ต่างๆ ออกไป หรือให้กู้ยืม เงิน
ส่วนผู้ที่ไม่ได้อาศัยที่ศูนย์พักพิง 57.68% ต้องการเงินชดเชยสำหรับซ่อมแซมบ้านหรือรายได้ที่ขาดไป 24.75% ต้องการให้ควบคุมราคาสินค้า จัดหาสินค้าที่จำเป็นและขาดแคลนมาจำหน่ายหรือแจกจ่ายอย่างเพียงพอ 17.57% ต้องการให้ยกเว้นค่าใช้จ่ายต่างๆที่จ้าเป็น เช่น ค่าน้ำ-ไฟ ค่าเดินทาง
“การแก้ปัญหาน้ำท่วม” ในภาพรวมของรัฐบาล ในส่วนของผู้ที่อาศัยในศูนย์พักพิง 46.90% มองว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาน้าท่วมได้ ขาดการเตรียมพร้อมที่ดี 24.39% มองว่า การสื่อสาร แจ้งข้อมูลไม่ชัดเจน ชาวบ้านหนีน้ำไม่ทัน ขณะที่ 15.63 % มองว่าน่าพอใจในระดับหนึ่ง มองเป็นภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และ 13.08 % มองว่า อยากให้คนที่รู้เรื่องน้ำท่วมมาแก้ไขหรือให้ข้อมูลโดยตรง 13.08% เกิดการซ้ำซ้อนในบางพืนที่ 41.53% การแก้ปัญหาน้าท่วมขาดประสิทธิภาพ ขาดผู้รู้จริง 20.56% ข้อมูลสับสน การประชาสัมพันธ์ไม่ชัดเจน 19.85% การพิจารณาช่วยเหลือ ฟื้นฟูในระยะยาว 18.06%.