วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ได้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันต่างๆ นานาในหลายประเด็น แต่บทความนี้จะให้ความสนใจเฉพาะที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำในเขื่อน พร้อมกับนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิกฤตน้ำใช้ที่มาจากรายงานของสหประชาชาติซึ่งผมอยากทราบมานานแล้ว แต่ไม่สามารถหาได้จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นที่มีการวิจารณ์กันนั้น นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้ยอมรับแล้วว่ามีการกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากกว่าปกติจริง พร้อมกันนี้สังคมได้วิจารณ์กัน (แต่นายกฯ ยังไม่ได้อธิบาย) ว่า สาเหตุของการเก็บน้ำไว้มากก็เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ทำนาปีละ 4 ครั้งในพื้นที่บางจังหวัด บ้างก็ว่าที่ไม่ยอมปล่อยน้ำออกจากเขื่อนก็เพราะเพื่อถ่วงเวลาให้ชาวนาเกี่ยวข้าวให้เสร็จเสียก่อน บ้างก็วิจารณ์ลึกไปว่าที่นาบางส่วนในบริเวณดังกล่าวเป็นของนายทุนต่างชาติ ถ้าน้ำท่วมไม่ถึงจะทำให้นายทุนสนใจมาซื้อที่นามากกว่าเดิม นักการเมือง นักธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้น ฯลฯ
ในประเด็นที่เป็นความเห็นนั้น เมื่อน้ำแห้งแล้วคงต้องมีการสืบค้นหาความจริงกัน ในที่นี้ผมจะนำเสนอ (1) ปริมาณน้ำในเขื่อนปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ และ (2) ข้อมูลวิกฤตน้ำใช้ของประเทศไทยในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในช่วงสิบกว่าปีมานี้
จากเว็บไซต์ http://ichpp.egat.co.th/graphIN/hydro/bigdam.php พบว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 เขื่อนภูมิพลได้กักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนจำนวน 8,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ในวันเดียวกันของปี 2553 เก็บไว้ 1,100 ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลังไป 5 ปี พบว่าปีนี้มีจำนวนมากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 40% ในขณะที่เขื่อนสิริกิติ์เก็บไว้จำนวน 7,500 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีถึง 73%
เขื่อนอื่นๆ แทบทุกเขื่อนก็มีการเก็บน้ำไว้มากกว่าปกติเช่นเดียวกัน เมื่อฝนตกจนน้ำในเขื่อนเต็มหรือล้นก็จำเป็นต้องปล่อยออกมา คำถามคือทำไมจึงเก็บไว้มากกว่าปกติถึงขนาดนั้น อำนาจการตัดสินใจในการบริหารน้ำภายในเขื่อนที่มีการผลิตไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามลำพัง หรือจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมด้วยหรือไม่ ประเด็นเหล่านี้คนไทยต้อง “คิดใหม่” ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายอันเนื่องมาจาก “ปัญหาโลกร้อน” ซึ่งผมเคยนำเสนอในบทความก่อนหน้านี้หลายครั้งแล้ว โดยสรุปก็คือ ความสามารถของมนุษย์ในการคาดการณ์อนาคตเกี่ยวกับ “ฝนและพายุ” ได้ลดน้อยลงมาก ด้วยเหตุนี้การบริหารน้ำในเขื่อนจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก
มาถึงประเด็นที่สองซึ่งก็ถือว่าเป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น คือ วิกฤตน้ำใช้ จากรายงานเรื่อง “Human Security, Today and Tomorrow. Thailand Human Development Report 2009” (“ความมั่นคงมนุษย์ วันนี้และพรุ่งนี้” รายงานการพัฒนามนุษย์กรณีประเทศไทย 2552 โดย UNDP หรือโครงการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ)
รายงานฉบับนี้ได้สรุปว่าแม้ประเทศไทยได้ประสบผลสำเร็จในเรื่องความเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้รายได้จริงเฉลี่ยต่อหัวประชากรได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา สามารถลดจำนวนคนจนลงได้ แต่ประเทศไทยกำลังจะเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่คือปัญหาน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รายงานนี้สรุปว่า
“คุณภาพของน้ำสำหรับการบริโภคในครัวเรือนกำลังมีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะปัญหามลพิษ ในอนาคต แหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้สอยก็อยู่ในความเสี่ยง เพราะต้องมีการแย่งชิงกันใช้มากขึ้นระหว่างภาคส่วนกิจการต่างๆ” ข้อสรุปนี้เขียนในปี 2551 แต่ช่างสอดคล้องกับเหตุการณ์ปีนี้มาก
จากการสำรวจในปี 2548 ได้พบตัวเลขที่สะท้อนถึงปัญหาคุณภาพน้ำได้ คือจำนวนครัวเรือนที่บริโภคน้ำฝน น้ำขวด น้ำประปาและน้ำบ่อ มีร้อยละ 37, 29, 22 และ 11 ตามลำดับ
ในด้านปริมาณ รายงานนี้ได้อ้างถึงข้อมูลการศึกษาของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB, Thailand National Environmental Performance Assessment (EPA) Report, 2006.) ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจดังสรุปไว้ในตารางข้างล่างนี้ (แต่มีบางตัวเลขน่าสงสัย-ผู้เขียนรายงานว่าอย่างนั้น) ซึ่งผมขอสรุปที่สำคัญดังนี้ คือ ในช่วง 14 ปี (2536 ถึง 2549)
หนึ่ง โดยภาพรวม เรามีการใช้น้ำทุกประเภทเพิ่มขึ้น 23% (เฉลี่ยปีละ 1.6% ประมาณสองเท่าของอัตราการเพิ่มของประชากร) โดยปริมาตรรวมประมาณหนึ่งแสนล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่น้ำกำลังท่วมขังอยู่ในทุ่งภาคกลางขณะนี้ประมาณหนึ่งหมื่นล้านลูกบาศก์เมตร
สอง ภาคการเกษตรมีการใช้น้ำมากที่สุด (56.5%) แต่มีอัตราการเพิ่มเป็นอันดับสามรองจากภาคการใช้ภายในบ้านหรือภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว รายงานนี้ยังบอกว่า ในปี 2551 ประเทศไทยผลิตข้าวเปลือกได้ประมาณ 32 ล้านตัน มูลค่าประมาณสามแสนล้านบาท
สาม เราใช้น้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าประมาณ 21-23% ของน้ำทั้งหมด เป็นรองภาคการเกษตร ผมตรวจสอบข้อมูลการผลิตไฟฟ้าพบว่า ในปี 2549 ประเทศเรามีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำทั้งหมด 7,950 ล้านหน่วย (ประมาณ 4-5% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด) นั่นหมายความว่าโดยเฉลี่ยเราใช้น้ำประมาณ 3 ลูกบาศก์เมตรเพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้หนึ่งหน่วย ในราคาหน่วยไฟฟ้าละประมาณ 2 บาท ถ้าทำการเกษตรจะได้เท่าใด?
รายงานฉบับนี้กล่าวในตอนหนึ่งว่า “เราต้องการที่จะส่งสัญญาณว่าน้ำเป็นปัญหาใหญ่ที่จำเป็นต้องปฏิบัติการด้วยวิธีการและบูรณาการกันอย่างขนานใหญ่”
แม้ข้อมูลบางตัวที่อยู่ในตารางนี้ยังไม่ชัดเจนพอ แต่อย่างน้อยก็ทำให้เราเห็นภาพได้ระดับหนึ่ง เราต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ชัดเจน สิ่งที่ต้องนำมาคิดนอกเหนือจากภาคส่วนในตารางดังกล่าวแล้วก็คือความเสี่ยง ความเสียหายหลายแสนล้านที่เกิดจากน้ำท่วมด้วยครับ (ป.ล. เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี ได้มีการพร่องน้ำมานานนับครึ่งเดือนแล้ว ปริมาตรน้ำน้อยกว่าค่าเฉลี่ยห้าปี 5%)
ประเด็นที่มีการวิจารณ์กันนั้น นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ได้ยอมรับแล้วว่ามีการกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนขนาดใหญ่จำนวนมากกว่าปกติจริง พร้อมกันนี้สังคมได้วิจารณ์กัน (แต่นายกฯ ยังไม่ได้อธิบาย) ว่า สาเหตุของการเก็บน้ำไว้มากก็เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ทำนาปีละ 4 ครั้งในพื้นที่บางจังหวัด บ้างก็ว่าที่ไม่ยอมปล่อยน้ำออกจากเขื่อนก็เพราะเพื่อถ่วงเวลาให้ชาวนาเกี่ยวข้าวให้เสร็จเสียก่อน บ้างก็วิจารณ์ลึกไปว่าที่นาบางส่วนในบริเวณดังกล่าวเป็นของนายทุนต่างชาติ ถ้าน้ำท่วมไม่ถึงจะทำให้นายทุนสนใจมาซื้อที่นามากกว่าเดิม นักการเมือง นักธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้น ฯลฯ
ในประเด็นที่เป็นความเห็นนั้น เมื่อน้ำแห้งแล้วคงต้องมีการสืบค้นหาความจริงกัน ในที่นี้ผมจะนำเสนอ (1) ปริมาณน้ำในเขื่อนปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อนๆ และ (2) ข้อมูลวิกฤตน้ำใช้ของประเทศไทยในภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในช่วงสิบกว่าปีมานี้
จากเว็บไซต์ http://ichpp.egat.co.th/graphIN/hydro/bigdam.php พบว่า เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 เขื่อนภูมิพลได้กักเก็บน้ำไว้ในเขื่อนจำนวน 8,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ในวันเดียวกันของปี 2553 เก็บไว้ 1,100 ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลังไป 5 ปี พบว่าปีนี้มีจำนวนมากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 40% ในขณะที่เขื่อนสิริกิติ์เก็บไว้จำนวน 7,500 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีถึง 73%
เขื่อนอื่นๆ แทบทุกเขื่อนก็มีการเก็บน้ำไว้มากกว่าปกติเช่นเดียวกัน เมื่อฝนตกจนน้ำในเขื่อนเต็มหรือล้นก็จำเป็นต้องปล่อยออกมา คำถามคือทำไมจึงเก็บไว้มากกว่าปกติถึงขนาดนั้น อำนาจการตัดสินใจในการบริหารน้ำภายในเขื่อนที่มีการผลิตไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามลำพัง หรือจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วมด้วยหรือไม่ ประเด็นเหล่านี้คนไทยต้อง “คิดใหม่” ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายอันเนื่องมาจาก “ปัญหาโลกร้อน” ซึ่งผมเคยนำเสนอในบทความก่อนหน้านี้หลายครั้งแล้ว โดยสรุปก็คือ ความสามารถของมนุษย์ในการคาดการณ์อนาคตเกี่ยวกับ “ฝนและพายุ” ได้ลดน้อยลงมาก ด้วยเหตุนี้การบริหารน้ำในเขื่อนจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก
มาถึงประเด็นที่สองซึ่งก็ถือว่าเป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น คือ วิกฤตน้ำใช้ จากรายงานเรื่อง “Human Security, Today and Tomorrow. Thailand Human Development Report 2009” (“ความมั่นคงมนุษย์ วันนี้และพรุ่งนี้” รายงานการพัฒนามนุษย์กรณีประเทศไทย 2552 โดย UNDP หรือโครงการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ)
รายงานฉบับนี้ได้สรุปว่าแม้ประเทศไทยได้ประสบผลสำเร็จในเรื่องความเติบโตทางเศรษฐกิจ ทำให้รายได้จริงเฉลี่ยต่อหัวประชากรได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา สามารถลดจำนวนคนจนลงได้ แต่ประเทศไทยกำลังจะเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่คือปัญหาน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รายงานนี้สรุปว่า
“คุณภาพของน้ำสำหรับการบริโภคในครัวเรือนกำลังมีความเสี่ยงมากขึ้น เพราะปัญหามลพิษ ในอนาคต แหล่งน้ำที่สามารถนำมาใช้สอยก็อยู่ในความเสี่ยง เพราะต้องมีการแย่งชิงกันใช้มากขึ้นระหว่างภาคส่วนกิจการต่างๆ” ข้อสรุปนี้เขียนในปี 2551 แต่ช่างสอดคล้องกับเหตุการณ์ปีนี้มาก
จากการสำรวจในปี 2548 ได้พบตัวเลขที่สะท้อนถึงปัญหาคุณภาพน้ำได้ คือจำนวนครัวเรือนที่บริโภคน้ำฝน น้ำขวด น้ำประปาและน้ำบ่อ มีร้อยละ 37, 29, 22 และ 11 ตามลำดับ
ในด้านปริมาณ รายงานนี้ได้อ้างถึงข้อมูลการศึกษาของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB, Thailand National Environmental Performance Assessment (EPA) Report, 2006.) ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจดังสรุปไว้ในตารางข้างล่างนี้ (แต่มีบางตัวเลขน่าสงสัย-ผู้เขียนรายงานว่าอย่างนั้น) ซึ่งผมขอสรุปที่สำคัญดังนี้ คือ ในช่วง 14 ปี (2536 ถึง 2549)
หนึ่ง โดยภาพรวม เรามีการใช้น้ำทุกประเภทเพิ่มขึ้น 23% (เฉลี่ยปีละ 1.6% ประมาณสองเท่าของอัตราการเพิ่มของประชากร) โดยปริมาตรรวมประมาณหนึ่งแสนล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่น้ำกำลังท่วมขังอยู่ในทุ่งภาคกลางขณะนี้ประมาณหนึ่งหมื่นล้านลูกบาศก์เมตร
สอง ภาคการเกษตรมีการใช้น้ำมากที่สุด (56.5%) แต่มีอัตราการเพิ่มเป็นอันดับสามรองจากภาคการใช้ภายในบ้านหรือภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว รายงานนี้ยังบอกว่า ในปี 2551 ประเทศไทยผลิตข้าวเปลือกได้ประมาณ 32 ล้านตัน มูลค่าประมาณสามแสนล้านบาท
สาม เราใช้น้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าประมาณ 21-23% ของน้ำทั้งหมด เป็นรองภาคการเกษตร ผมตรวจสอบข้อมูลการผลิตไฟฟ้าพบว่า ในปี 2549 ประเทศเรามีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำทั้งหมด 7,950 ล้านหน่วย (ประมาณ 4-5% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด) นั่นหมายความว่าโดยเฉลี่ยเราใช้น้ำประมาณ 3 ลูกบาศก์เมตรเพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้หนึ่งหน่วย ในราคาหน่วยไฟฟ้าละประมาณ 2 บาท ถ้าทำการเกษตรจะได้เท่าใด?
รายงานฉบับนี้กล่าวในตอนหนึ่งว่า “เราต้องการที่จะส่งสัญญาณว่าน้ำเป็นปัญหาใหญ่ที่จำเป็นต้องปฏิบัติการด้วยวิธีการและบูรณาการกันอย่างขนานใหญ่”
แม้ข้อมูลบางตัวที่อยู่ในตารางนี้ยังไม่ชัดเจนพอ แต่อย่างน้อยก็ทำให้เราเห็นภาพได้ระดับหนึ่ง เราต้องศึกษาเพิ่มเติมให้ชัดเจน สิ่งที่ต้องนำมาคิดนอกเหนือจากภาคส่วนในตารางดังกล่าวแล้วก็คือความเสี่ยง ความเสียหายหลายแสนล้านที่เกิดจากน้ำท่วมด้วยครับ (ป.ล. เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี ได้มีการพร่องน้ำมานานนับครึ่งเดือนแล้ว ปริมาตรน้ำน้อยกว่าค่าเฉลี่ยห้าปี 5%)