xs
xsm
sm
md
lg

เผยผลกระทบ-พื้นที่น้ำท่วม 20 จังหวัด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สรุปสถานการณ์น้ำท่วม “ตาก-พิษณุโลก-ลำปาง” มีแนวโน้มระดับน้ำลดลง “อุทัยธานี” มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วน “อุตรดิตถ์” ยังทรงตัว สำหรับพื้นที่การเกษตร จ.นครสวรรค์ เสียหายมากสุดรวม 636,411 ไร่

1. จังหวัดลำปาง มีน้ำท่วมขัง 9 อำเภอ คือ อำเภอเมือง 16 ตำบล, อำเภอเกาะคา 6 ตำบล, อำเภอเสริมงาม 4 ตำบล, อำเภอแม่ทะ 5 ตำบล, อำเภอสบปราบ 3 ตำบล, อำเภอห้างฉัตร 3 ตำบล, อำเภอปาน 5 ตำบล, อำเภอแม่เมาะ 1 ตำบล และอำเภอพริก 4 ตำบล ซึ่งสถานการณ์มีแนวโน้มลดลง

2. จังหวัดอุตรดิตถ์ ยังคงมีน้ำท่วมขังในอำเภอพิชัย 3 ตำบล ระดับน้ำเฉลี่ย 0.35-1.1 เมตร รวม 13,000 ไร่ สถานการณ์มีแนวโน้มทรงตัว

3.จังหวัดสุโขทัย มีน้ำล้นอ่างเก็บน้ำแม่มอก, อ่างฯ ห้วยท่าแพ, อ่างฯแม่กองค่าย, อ่างฯ ห้วยแม่สูง, อ่างฯ ห้วยทรวง ทุ่งทะเลหลวง (แก้มลิง)

4.จังหวัดตาก มีน้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำวังเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอสามเงา 6 ตำบล, อำเภอบ้านตาก 4 ตำบล, อำเภอเมือง 6 ตำบล, อำเภอวังเจ้า 2 ตำบล, สถานการณ์น้ำทรงตัวและลดลงอย่างต่อเนื่อง

5.จังหวัดพิษณุโลก ยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมขัง 6 อำเภอ รวม 527,447 ไร่ ได้แก่ อำเภอบางระกำ, อำเภอพรหมพิราม, อำเภอเมืองพิษณุโลก, อำเภอบางกระทุ่ม, อำเภอวังทอง และอำเภอวัดโบสถ์

6. จังหวัดพิจิตร มีน้ำท่วมที่ลุ่ม 12 อำเภอ 83 ตำบล รวมพื้นที่ 498,910 ไร่ที่ได้รับผลกระทบ

7. จังหวัดกำแพงเพชร น้ำล้นตลิ่งแม่น้ำปิงเข้าร่วม พื้นที่ลุ่มต่ำในเขตอำเภอโกสัมพีนคร, อำเภอเมือง, อำเภอคลองขลุง, อำเภอขาณุวรลักษบุรี, อำเภอพรานกระต่าย ระดับน้ำสูง 0.10-0.40 เมตร

8.จังหวัดเพชรบูรณ์ ยังคงมีน้ำท่วมจากแม่น้ำป่าสักล้นตลิ่ง จำนวน 5 อำเภอ คือ อำเภอเมือง, อำเภอหนองไผ่, อำเภอบึงสามพัน, อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ

9.จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่น้ำท่วมจากน้ำล้นตลิ่งเดิม 10 อำเภอ เป็นพื้นที่เกษตรกรรวม 636,411 ไร่ ประกอบด้วย อำเภอชุมแสง 11 ตำบล, อำเภอเก้าเลี้ยว 5 ตำบล, อำเภอเมืองนครสวรรค์ 12 ตำบล, อำเภอโกรกพระ 7 ตำบล, อำเภอตาคลี 4 ตำบล, อำเภอพะยุหะคีรี 5 ตำบล, อำเภอท่าตะโก 9 ตำบล, อำเภอหนองบัว 8 ตำบล, อำเภอลาดยาว, อำเภอบรรพตพิสัย

10.จังหวัดอุทัยธานี น้ำท่วมจากน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำเจ้า พระยาเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่มต่ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รวมเนื้อที่ 32,296 ไร่ สถานการณ์น้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

11.จังหวัดชัยนาท มีพื้นที่น้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มจากปริมาณน้ำฝนสะสม จำนวน 8 อำเภอ รวมพื้นที่การเกษตรเสียหาย 91,775 ไร่

12.จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่น้ำขังจากน้ำล้นตลิ่งจากคลองชัยนาท-ป่าสัก (ทุ่งเชียงราก) จำนวน 6 อำเภอ พื้นที่การเกษตรเสียหาย 118,456 ไร่

13.จังหวัดอ่างทอง พื้นที่น้ำท่วมจากน้ำล้นตลิ่งรวม 7 อำเภอ พื้นที่การเกษตรเสียหาย 97,577 ไร่

14.จังหวัดสุพรรณบุรี เกิดน้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วม พื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง 19 ตำบล, อำเภอสองพี่น้อง 14 ตำบล, อำเภอบางปลาม้า 9 ตำบล และอำเภออู่ทอง 8 ตำบล

15.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีน้ำท่วมสูงจากน้ำล้นตลิ่ง รวม 16 อำเภอได้แก่ อำเภอบางบาล,อำเภอบางปะอิน, อำเภอบางไทร, อำเภอผักไห่, อำเภอเสนา, อำเภอพระนครศรีอยุธยา, อำเภอมหาราช, อำเภอบางปะหัน, อำเภอนครหลวง, อำเภอบางซ้าย, อำเภอบ้านแพรก, อำเภอวังน้อย, อำเภอท่าเรือ, อำเภอกาชี, อำเภอบัวหลวง และอำเภออุทัย รวม 93,448 ไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกคันกั้นน้ำ

16.จังหวัดนครปฐม น้ำท่วมขังจากแม่น้ำท่าจีนล้นตลิ่ง จำนวน 6 อำเภอ คือ อำเภอบางเลน, อำเภอนครชัยศรี, อำเภอสามพราน, อำเภอดอนตูม, อำเภอกำแพงแสน, อำเภอพุทธมณฑล รวม 28,157 ไร่

17.จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ประสบภัยถึง 11 อำเภอ คือ อำเภอโคกสำโรง 9 ตำบล, อำเมืองเมือง 5 ตำบล อำเภอบ้านหมี่ 4 ตำบล, อำเภอท่าวุ้ง 6 ตำบล,อำเภอชัยบาดาล, อำเภอพัฒนานิคม, อำเภอท่าหลวง, อำเภอหนองม่วง, อำเภอลำสนธิ, อำเภอสระโบสถ์ และอำเภอโคกเจริญ

18.จังหวัดสระบุรี มีน้ำท่วมจากน้ำล้นตลิ่งในแม่น้ำป่าสัก จำนวน 13 อำเภออำเภอวังม่วง 3 ตำบล, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 1 ตำบล,อำเภอหนองแค 2 ตำบล, อำเภอเสาไห้ 9 ตำบล, อำเภอวิหารแดง 2 ตำบล, อำเภอบ้านหมอ 8 ตำบล, อำเภอพระพุทธบาท 1 ตำบล, อำเภอเก่งคอย 2 ตำบล, อำเภอหนองโดน 3 ตำบล, อำเภอดอนพุด 3 ตำบล, อำเภอหรองแซง 2 ตำบล, อำเภอเมือง 5 ตำบล, อำเภอมวกเหล็ก 1 ตำบล

19.จังหวัดปทุมธานี น้ำเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 47 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง 14 ตำบล, อำเภอสามโคก 11 ตำบล, อำเภอคลองหลวง 7 ตำบล, อำเภอธัญบุรี 6 ตำบล, อำเภอหนองเสือ 7 ตำบล, อำเภอลาดหลุมแก้ว 7 ตำบล และอำเภอลำลูกกา 8 ตำบล

20.จังหวัดนนทบุรี น้ำเอ่อล้นเข้าท่าวมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาและริมคลองขนาดใหญ่ 6 อำเภอ คือ อำเภอบางบัวทอง 8 ตำบล, อำเภอบางใหญ่ 6 ตำบล, อำเภอเมือง 9 ตำบล, อำเภอปากเกร็ด 11 ตำบล, อำเภอบางกรวย 9 ตำบล และอำเภอไทรน้อย 7 ตำบล

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ประกาศพื้นที่เฝ้าระวังเพิ่มเติม ดังนี้ ระหว่างวันที่ 9 -11 ต.ค.54 อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินถล่มบริเวณ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สระแก้ว สุราษฎร์ธานี

และระหว่างวันที่ 11-13 ต.ค.54 อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม โดยเฉพาะบริเวณ
อ.กะปง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
อ.เขาพนม อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่
อ.ถลาง อ.กะทู้ อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต
อ.สุขสำราญ จ.ระนอง และ อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี
จ.ชลบุรี และ จ.ปราจีนบุรี ด้วยเช่นกัน

สำหรับพื้นที่ภายในกรุงเทพมหานครเน้นย้ำ 3 เขต คือ
1.มีนบุรี
2.หนองจอก
3.คลองสามวา
กำลังโหลดความคิดเห็น