ASTVผู้จัดการรายวัน - พาณิชย์นัดเอกชนหารือ 18 พ.ย. ทำแผนเยียวยาผู้ประกอบการ หวั่นส่งออกปีหน้าสะดุด ส่วนกรมท่องเที่ยวเปิดโฮมสเตย์รับคนกรุงอพยพ นำร่อง 13 แห่ง รับผู้อพยพได้กว่า 1,200 คน รอบกรุงเทพฯ ขณะที่ คปภ. ย้ายที่ทำการไปบางนา เผยน้ำท่วมรอบนี้เปลี่ยนแปลงการบริหารความเสี่ยงภัยทั้งภาครัฐ ธุรกิจ และประชาชน
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมฯ ประสานงานร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และหอการค้าจังหวัดมาหารือร่วมกันเพื่อจัดทำแผนงานฟื้นฟูและเยียวยาผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในวันที่ 18 พ.ย.2554 เพื่อหาทางผลักดันให้การส่งออกฟื้นตัวโดยเร็ว และหาทางบรรเทาผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในปี 2555 ให้น้อยที่สุด
“เดิมทีกรมฯ จะนัดหารือในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ขอให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบส่งรายละเอียดผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางที่ต้องการให้กรมฯ ให้ความช่วยเหลือมาแล้ว โดยล่าสุด ผู้ประกอบการก็ยังแจ้งผลกระทบได้ไม่หมด เพราะตอนนี้น้ำยังท่วมอยู่ ที่สำคัญเอกชนต้องการเวลาไปขนย้ายเครื่องจักร ขนย้ายสินค้า และอุปกรณ์ต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน แต่กรมฯ ก็ไม่อยากให้ช้า เพราะต้องรีบช่วย รีบหาทางบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น”
ทั้งนี้ กรมฯ ยังได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศทั่วโลก 65 แห่ง ไปสำรวจและแสวงหาแหล่งวัตถุดิบตามความต้องการของภาคเอกชนและภาคการส่งออกของไทย เพื่อให้มีวัตถุดิบป้อนการผลิตได้ทันทีที่สามารถฟื้นฟูโรงงานได้แล้ว รวมทั้งให้ไปสำรวจและจัดหาแหล่งผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์จะนำเข้าเครื่องจักรมาใช้ทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ถูกน้ำท่วม
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม สามารถแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สายด่วน 1169 หรือแจ้งที่สำนักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออกได้ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานในการรับเรื่อง และข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก เพื่อนำไปจัดทำแผนและแนวทางในการให้ความช่วยเหลือต่อไป
ขณะเดียวกัน ได้วางแผนที่จะจัดคณะผู้แทนการค้าไทยเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อในการทำการค้าขายกับไทยต่อไป เพราะขณะนี้รัฐบาลไทยได้มีแผนในการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบออกมาแล้ว และคาดว่าอุตสาหกรรมต่างๆ จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การทำการค้ากับไทยในระยะต่อไปก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
นางนันทวัลย์กล่าวว่า ผลการสำรวจภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม มีสินค้าที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าไลฟ์สไตล์ กลุ่มสินค้าแฟชั่น กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม โดยกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนได้รับผลกระทบเสียหายมากที่สุด ซึ่งกรมฯ จะได้รายงานให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ รับทราบเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือต่อไป
***เที่ยวเปิดโฮมสเตย์รับคนกรุงอพยพ
นายสุพล ศรีพันธุ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ได้ประสานงานกับโฮมสเตย์ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ระยอง จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก รวม 13 แห่ง เพื่อรองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ประสงค์จะอพยพไปพักพิง สามารถรองรับผู้อพยพได้ 1,110 คน ซึ่งบางโฮมสเตย์คิดค่าบริการคืนละ 100 บาทต่อคน บางแห่งให้ที่พักฟรี ได้แก่ โฮมสเตย์ในจังหวัดสมุทรสงคราม เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตลาดน้ำท่าคา รับได้ 200 คน,บ้านริมคลองโฮมสเตย์รับได้ 20 คน,กลุ่มโฮมสเตย์บ้านหัวหาด รับได้ 20 คน,โฮมสเตย์บ้านบุ่งเข้ นครนายกรับได้ 50 คน, จันทบุรี มีโฮมสเตย์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนรักษ์เขาบายศรี รับได้ 30 คน,โฮมสเตย์บ้านปูวังปลารับได้ 200 คน, สระแก้ว มี คลองอารางโฮมสเตย์ รับได้ 20 คน, บ้านตุ่นโฮมสเตย์รับได้ 200 คน,บ้านไร่ทานตะวันโฮมสเตย์รับได้ 50 คน, ปราจีนบุรี มีทับลานโฮมสเตย์รับได้ 60 คน,บ้านดงโฮมสเตย์รับได้ 180 คน ,ระยองมีโฮมสเตย์สวนปาหนันรับได้ 10 คน,โฮมสเตย์บ้านจำรุงรับได้ 70 คน
นอกจากนี้กรมการท่องเที่ยว ยังอยู่ระหว่างประสานงานโฮมสเตย์ทางภาคอิสานและภาคเหนือ เพื่อจัดที่พักรองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ประสงค์จะอพยพไปพำนักเป็นการชั่วคราวจนกว่าน้ำจะลด โดยผู้ประสงค์จะใช้บริการโฮมสเตย์ติดต่อสอบถามได้ที่ หมายเลข 085-4804148 หรือ www.tourism.go.th
***คปภ.ย้ายที่ทำการไปบางนา
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แจ้งผ่านเว็บไซต์ www.oic.or.th ว่า เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัย ยังคงขยายตัวในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และขณะนี้ มวลน้ำได้เคลื่อนตัวมายังบริเวณถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการใหญ่ สำนักงาน คปภ. ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อเนื่องจากมีความลำบากในการเดินทาง ดังนั้นเพื่อให้สำนักงาน คปภ. สามารถให้บริการด้านการประกันภัยแก่ประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จึงได้ปิดสำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เป็นการชั่วคราว และย้ายที่ทำการไปยังสำนักงาน คปภ.เขตบางนา เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถ.บางนา-ตราด กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ โทรศัพท์.02-361-3769-70
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยและบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชน ด้านการประกันภัย โดยมั่นใจว่าบริษัทประกันภัยสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้อย่างแน่นอน
ด้านนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า เหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงภัยของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาชน ดังนั้น จึงขอให้ภาครัฐมีแผนงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัยไทยกับบริษัทประกันภัยต่อในต่างประเทศ
"สมาคมประกันวินาศภัยได้ขอให้สำนักงาน คปภ. ช่วยผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายอย่างรวดเร็ว เช่น เกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติผู้ประเมินวินาศภัย เป็นต้น ธุรกิจประกันภัยยังมีแนวคิดในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างบริษัทประกันภัย เช่น ผู้สำรวจภัย รถลาก อู่ซ่อมรถ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักร เป็นต้น เพื่อให้บริษัทสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้".
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมฯ ประสานงานร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และหอการค้าจังหวัดมาหารือร่วมกันเพื่อจัดทำแผนงานฟื้นฟูและเยียวยาผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในวันที่ 18 พ.ย.2554 เพื่อหาทางผลักดันให้การส่งออกฟื้นตัวโดยเร็ว และหาทางบรรเทาผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยในปี 2555 ให้น้อยที่สุด
“เดิมทีกรมฯ จะนัดหารือในเดือนต.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ขอให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบส่งรายละเอียดผลกระทบที่เกิดขึ้น และแนวทางที่ต้องการให้กรมฯ ให้ความช่วยเหลือมาแล้ว โดยล่าสุด ผู้ประกอบการก็ยังแจ้งผลกระทบได้ไม่หมด เพราะตอนนี้น้ำยังท่วมอยู่ ที่สำคัญเอกชนต้องการเวลาไปขนย้ายเครื่องจักร ขนย้ายสินค้า และอุปกรณ์ต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อน แต่กรมฯ ก็ไม่อยากให้ช้า เพราะต้องรีบช่วย รีบหาทางบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น”
ทั้งนี้ กรมฯ ยังได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศทั่วโลก 65 แห่ง ไปสำรวจและแสวงหาแหล่งวัตถุดิบตามความต้องการของภาคเอกชนและภาคการส่งออกของไทย เพื่อให้มีวัตถุดิบป้อนการผลิตได้ทันทีที่สามารถฟื้นฟูโรงงานได้แล้ว รวมทั้งให้ไปสำรวจและจัดหาแหล่งผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการไทยที่ประสงค์จะนำเข้าเครื่องจักรมาใช้ทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ถูกน้ำท่วม
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม สามารถแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สายด่วน 1169 หรือแจ้งที่สำนักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออกได้ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานในการรับเรื่อง และข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก เพื่อนำไปจัดทำแผนและแนวทางในการให้ความช่วยเหลือต่อไป
ขณะเดียวกัน ได้วางแผนที่จะจัดคณะผู้แทนการค้าไทยเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อในการทำการค้าขายกับไทยต่อไป เพราะขณะนี้รัฐบาลไทยได้มีแผนในการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบออกมาแล้ว และคาดว่าอุตสาหกรรมต่างๆ จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การทำการค้ากับไทยในระยะต่อไปก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
นางนันทวัลย์กล่าวว่า ผลการสำรวจภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม มีสินค้าที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าไลฟ์สไตล์ กลุ่มสินค้าแฟชั่น กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม โดยกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วนได้รับผลกระทบเสียหายมากที่สุด ซึ่งกรมฯ จะได้รายงานให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ รับทราบเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือต่อไป
***เที่ยวเปิดโฮมสเตย์รับคนกรุงอพยพ
นายสุพล ศรีพันธุ์ อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ได้ประสานงานกับโฮมสเตย์ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ระยอง จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก รวม 13 แห่ง เพื่อรองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ประสงค์จะอพยพไปพักพิง สามารถรองรับผู้อพยพได้ 1,110 คน ซึ่งบางโฮมสเตย์คิดค่าบริการคืนละ 100 บาทต่อคน บางแห่งให้ที่พักฟรี ได้แก่ โฮมสเตย์ในจังหวัดสมุทรสงคราม เช่น กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตลาดน้ำท่าคา รับได้ 200 คน,บ้านริมคลองโฮมสเตย์รับได้ 20 คน,กลุ่มโฮมสเตย์บ้านหัวหาด รับได้ 20 คน,โฮมสเตย์บ้านบุ่งเข้ นครนายกรับได้ 50 คน, จันทบุรี มีโฮมสเตย์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนรักษ์เขาบายศรี รับได้ 30 คน,โฮมสเตย์บ้านปูวังปลารับได้ 200 คน, สระแก้ว มี คลองอารางโฮมสเตย์ รับได้ 20 คน, บ้านตุ่นโฮมสเตย์รับได้ 200 คน,บ้านไร่ทานตะวันโฮมสเตย์รับได้ 50 คน, ปราจีนบุรี มีทับลานโฮมสเตย์รับได้ 60 คน,บ้านดงโฮมสเตย์รับได้ 180 คน ,ระยองมีโฮมสเตย์สวนปาหนันรับได้ 10 คน,โฮมสเตย์บ้านจำรุงรับได้ 70 คน
นอกจากนี้กรมการท่องเที่ยว ยังอยู่ระหว่างประสานงานโฮมสเตย์ทางภาคอิสานและภาคเหนือ เพื่อจัดที่พักรองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ประสงค์จะอพยพไปพำนักเป็นการชั่วคราวจนกว่าน้ำจะลด โดยผู้ประสงค์จะใช้บริการโฮมสเตย์ติดต่อสอบถามได้ที่ หมายเลข 085-4804148 หรือ www.tourism.go.th
***คปภ.ย้ายที่ทำการไปบางนา
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แจ้งผ่านเว็บไซต์ www.oic.or.th ว่า เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัย ยังคงขยายตัวในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และขณะนี้ มวลน้ำได้เคลื่อนตัวมายังบริเวณถนนรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ทำการใหญ่ สำนักงาน คปภ. ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อเนื่องจากมีความลำบากในการเดินทาง ดังนั้นเพื่อให้สำนักงาน คปภ. สามารถให้บริการด้านการประกันภัยแก่ประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว จึงได้ปิดสำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เป็นการชั่วคราว และย้ายที่ทำการไปยังสำนักงาน คปภ.เขตบางนา เลขที่ 1/16 อาคารบางนาธานี ชั้น 8 ถ.บางนา-ตราด กม.3 แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ โทรศัพท์.02-361-3769-70
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยและบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชน ด้านการประกันภัย โดยมั่นใจว่าบริษัทประกันภัยสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้อย่างแน่นอน
ด้านนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า เหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงภัยของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาชน ดังนั้น จึงขอให้ภาครัฐมีแผนงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัยไทยกับบริษัทประกันภัยต่อในต่างประเทศ
"สมาคมประกันวินาศภัยได้ขอให้สำนักงาน คปภ. ช่วยผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายอย่างรวดเร็ว เช่น เกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติผู้ประเมินวินาศภัย เป็นต้น ธุรกิจประกันภัยยังมีแนวคิดในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างบริษัทประกันภัย เช่น ผู้สำรวจภัย รถลาก อู่ซ่อมรถ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักร เป็นต้น เพื่อให้บริษัทสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้".