ASTVผู้จัดการรายวัน – “ชุมพล” คอตก อุทกภัยกระทบท่องเที่ยวสูญแสนล้าน กระทรวงการท่องเที่ยวฯเพิ่งตื่น ตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาวิกฤตอุทกภัย พร้อมเตรียม 4 ศูนย์ อพยพ รองรับผู้ประสบภัย ประกาศเลื่อนเปิดตัวแคมเปญ มิราเคิล ไทยแลนด์ เยียร์ สำรวจแหล่งท่องเที่ยวในความดูแลเสียหาย 10 แห่ง คาดใช้งบ 70 ล้านบาทฟื้นฟู
นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า จากสถานการณ์อุทกภัทีเกิดขึ้นส่งผลกระทบให้นักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอตัวหรือลดลงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10-20% รายได้หายไปราว 1 แสนล้านบาท หรือมีรายได้รวมถึงสิ้นปีเพียง 5 แสนล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้จะทำให้ได้ 6 แสนล้านบาท แต่ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าวจะเป็นเพียงระยะสั้น เมื่อสถานการณ์สู่ภาวะปกรติ นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาตามเดิม จึงยังไม่กระทบต่อเป้าหมาย รายได้ 2 ล้านล้านบาท ในอีก 4 ปีนับจากนี้
ทางด้านนายสมบัติ คุรุพันธ์ ที่ปรึกษาและผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานการประชุมศูนย์วิกฤตอุทกภัย ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 3 แนวทางการทำงาน ใน 3 ฝ่าย ได้แก่ 1.ฝ่ายรวบรวมข้อมูลข่าวสารสถานการณ์น้ำท่วมและกระจายข้อมูลตามข้อเท็จจริง ไปยังประชาชน และ ทุกสำนักงานของการกีฬาและการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ 2.ตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ ทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ในพื้นที่น้ำท่วม
3. เปิดแหล่งพักพิงให้กับผู้ประสบภัย รองรับผู้อพยพออกจากพื้นน้ำท่วม ใน 4 หน่วยหลัก คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย-สนามราชมังคลากีฬาสถาน รองรับได้ 2,000 คน ,กรมพลศึกษา , สถาบันการ พลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี รองรับได้ 4,000 คน ,และศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ มวกเหล็ก รองรับได้ 1,500 คน โดยแต่ละศูนย์พักพิง จะเน้นนำกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ มาช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบอุทกภัยด้วย
“คณะทำงาน จะประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่าย ทั้งรัฐและเอกชน ทำงานร่วมกันทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร แผนงานการฟื้นฟู โดยจะจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ การทำงานเน้นฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่เสียหายจากอุทกภัย ซึ่งจะต่างจากช่วงวิกฤตการเมือง ที่เราจะเน้นฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว โดย เบื้องต้น ใช้งบประมาณจากเจ้าของพื้นที่ เช่นองค์กรปกครองท้องถิ่น หรือหน่วยงานต่างๆ หากพื้นที่ใดไม่มีเจ้าของ จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวที่จะไปดำเนินการ ”
***ใช้ 70 ลบ.ฟื้นแหล่งท่องเที่ยว10แห่ง****
ทางด้านนายอนุภาพ เกษรสุวรรณ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กล่าวว่า ได้สำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ซึ่งมี 30 จังหวัดทั่วประเทศ เบื้องต้นพบมี 146 แหล่งที่เสียหาย รวม 17 จังหวัด ในที่นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กรมฯดูแล 10 แห่ง รวมมูลค่าเสียหายเบื้องต้น 70 ล้านบาท
สุดท้ายคงต้องเสนอของบเพิ่มเติมจากรัฐบาลในการซ่อมแซม
***เลื่อนเปิดตัวโครงการมิราเคิลไทยแลนด์เยียร์***
นายสมบัติ กล่าวอีกว่า ในส่วนของโครงการมิราเคิล ไทยแลนด์เยียร์ ซึ่ง กระทรวงเตรียมเปิดตัวโครงการ ในเดือน พ.ย. นี้ แต่สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย คาดว่าจะเลื่อนไปเป็น เดือนธันวาคม หรือ อย่างช้าก็ต้นเดือน มกราคมปีนหน้า พร้อมตัดลดกิจกรรมหรือโครงการที่ไม่จำเป็น เช่น โครงการสาดแสง แต่สี ก็จะเหลือเพียง แต่งสี ซึ่งจะเท่ากับฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้กลับมาสดใสส่วนสาดแสง หรือการติดไลท์อัพแหล่งท่องเที่ยวคงไม่มีความจำเป็น
“จากการที่รัฐบาลให้ทุกหน่วยงานปรับลดงบประมาณประจำปี 2555 ลง 10% ในส่วนของกระทรวงการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณปีดังกล่าวมาที่ 16,741 ล้านบาท ก็จะลดเหลือ 15,594 ล้านบาทในที่นี้จะใช้สำหรับโครงการมิราเคิล ไทยแลนด์เยียร์ ประมาณ 300 ล้านบาท และ แบ่งเป็นงบของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอีกราว 5,000 ล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม กระทรวงยังได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ ตามแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี ซึ่งหลังจากนี้ไปภาคใต้ก็จะเข้าสู่ฤดูฝน จึงได้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ในฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยง ที่เคยเกิดอุทกภัย เช่น ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่
นายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวในการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า จากสถานการณ์อุทกภัทีเกิดขึ้นส่งผลกระทบให้นักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอตัวหรือลดลงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10-20% รายได้หายไปราว 1 แสนล้านบาท หรือมีรายได้รวมถึงสิ้นปีเพียง 5 แสนล้านบาท จากเป้าหมายที่วางไว้จะทำให้ได้ 6 แสนล้านบาท แต่ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าวจะเป็นเพียงระยะสั้น เมื่อสถานการณ์สู่ภาวะปกรติ นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามาตามเดิม จึงยังไม่กระทบต่อเป้าหมาย รายได้ 2 ล้านล้านบาท ในอีก 4 ปีนับจากนี้
ทางด้านนายสมบัติ คุรุพันธ์ ที่ปรึกษาและผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานการประชุมศูนย์วิกฤตอุทกภัย ด้านการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 3 แนวทางการทำงาน ใน 3 ฝ่าย ได้แก่ 1.ฝ่ายรวบรวมข้อมูลข่าวสารสถานการณ์น้ำท่วมและกระจายข้อมูลตามข้อเท็จจริง ไปยังประชาชน และ ทุกสำนักงานของการกีฬาและการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ 2.ตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ ทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ ในพื้นที่น้ำท่วม
3. เปิดแหล่งพักพิงให้กับผู้ประสบภัย รองรับผู้อพยพออกจากพื้นน้ำท่วม ใน 4 หน่วยหลัก คือ การกีฬาแห่งประเทศไทย-สนามราชมังคลากีฬาสถาน รองรับได้ 2,000 คน ,กรมพลศึกษา , สถาบันการ พลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี รองรับได้ 4,000 คน ,และศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ มวกเหล็ก รองรับได้ 1,500 คน โดยแต่ละศูนย์พักพิง จะเน้นนำกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ มาช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจผู้ประสบอุทกภัยด้วย
“คณะทำงาน จะประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่าย ทั้งรัฐและเอกชน ทำงานร่วมกันทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร แผนงานการฟื้นฟู โดยจะจัดตั้งให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ การทำงานเน้นฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวที่เสียหายจากอุทกภัย ซึ่งจะต่างจากช่วงวิกฤตการเมือง ที่เราจะเน้นฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว โดย เบื้องต้น ใช้งบประมาณจากเจ้าของพื้นที่ เช่นองค์กรปกครองท้องถิ่น หรือหน่วยงานต่างๆ หากพื้นที่ใดไม่มีเจ้าของ จะเป็นหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวที่จะไปดำเนินการ ”
***ใช้ 70 ลบ.ฟื้นแหล่งท่องเที่ยว10แห่ง****
ทางด้านนายอนุภาพ เกษรสุวรรณ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กล่าวว่า ได้สำรวจแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ซึ่งมี 30 จังหวัดทั่วประเทศ เบื้องต้นพบมี 146 แหล่งที่เสียหาย รวม 17 จังหวัด ในที่นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กรมฯดูแล 10 แห่ง รวมมูลค่าเสียหายเบื้องต้น 70 ล้านบาท
สุดท้ายคงต้องเสนอของบเพิ่มเติมจากรัฐบาลในการซ่อมแซม
***เลื่อนเปิดตัวโครงการมิราเคิลไทยแลนด์เยียร์***
นายสมบัติ กล่าวอีกว่า ในส่วนของโครงการมิราเคิล ไทยแลนด์เยียร์ ซึ่ง กระทรวงเตรียมเปิดตัวโครงการ ในเดือน พ.ย. นี้ แต่สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย คาดว่าจะเลื่อนไปเป็น เดือนธันวาคม หรือ อย่างช้าก็ต้นเดือน มกราคมปีนหน้า พร้อมตัดลดกิจกรรมหรือโครงการที่ไม่จำเป็น เช่น โครงการสาดแสง แต่สี ก็จะเหลือเพียง แต่งสี ซึ่งจะเท่ากับฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวให้กลับมาสดใสส่วนสาดแสง หรือการติดไลท์อัพแหล่งท่องเที่ยวคงไม่มีความจำเป็น
“จากการที่รัฐบาลให้ทุกหน่วยงานปรับลดงบประมาณประจำปี 2555 ลง 10% ในส่วนของกระทรวงการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณปีดังกล่าวมาที่ 16,741 ล้านบาท ก็จะลดเหลือ 15,594 ล้านบาทในที่นี้จะใช้สำหรับโครงการมิราเคิล ไทยแลนด์เยียร์ ประมาณ 300 ล้านบาท และ แบ่งเป็นงบของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอีกราว 5,000 ล้านบาท”
อย่างไรก็ตาม กระทรวงยังได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ ตามแผนยุทธศาสตร์ 4 ปี ซึ่งหลังจากนี้ไปภาคใต้ก็จะเข้าสู่ฤดูฝน จึงได้สั่งการให้ เจ้าหน้าที่ในฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยง ที่เคยเกิดอุทกภัย เช่น ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่