นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยและบริษัทประกันภัย เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชน ด้านการประกันภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า บริษัทประกันภัยสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้บริษัทประกันภัย ต้องบริหารความเสี่ยง และจัดทำประกันภัยต่อตามสัดส่วนของเงินกองทุนกับบริษัทประกันภัยต่อที่มีความมั่นคง และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จากสถาบันที่มีมาตรฐานระดับโลก ซึ่งบริษัทประกันภัยได้ดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว โดยเฉพาะผู้เอาประกันภัยรายย่อยและรายกลาง เช่น บ้านที่อยู่อาศัย และรถยนต์ที่อยู่ในพื้นที่ ที่น้ำเริ่มลดระดับ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี เป็นต้น สำหรับผู้เอาประกันภัย รายใหญ่ อาทิเช่น โรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม บริษัทประกันวินาศภัยได้เริ่มพบปะกับผู้เอาประกันและเข้าสำรวจความเสียหาย
ด้านนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า เหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงภัยของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาชน ดังนั้น จึงขอให้ภาครัฐมีแผนงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัยไทยกับบริษัทประกันภัยต่อในต่างประเทศ ทั้งนี้ สมาคมประกันวินาศภัยได้ขอให้สำนักงาน คปภ. ช่วยผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายอย่างรวดเร็ว เช่น เกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติผู้ประเมินวินาศภัย เป็นต้น นอกจากนี้ ธุรกิจประกันภัยยังมีแนวคิดในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างบริษัทประกันภัย เช่น ผู้สำรวจภัย รถลาก อู่ซ่อมรถ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักร เป็นต้น เพื่อให้บริษัทสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้
ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้บริษัทประกันภัย ต้องบริหารความเสี่ยง และจัดทำประกันภัยต่อตามสัดส่วนของเงินกองทุนกับบริษัทประกันภัยต่อที่มีความมั่นคง และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จากสถาบันที่มีมาตรฐานระดับโลก ซึ่งบริษัทประกันภัยได้ดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว โดยเฉพาะผู้เอาประกันภัยรายย่อยและรายกลาง เช่น บ้านที่อยู่อาศัย และรถยนต์ที่อยู่ในพื้นที่ ที่น้ำเริ่มลดระดับ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี เป็นต้น สำหรับผู้เอาประกันภัย รายใหญ่ อาทิเช่น โรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม บริษัทประกันวินาศภัยได้เริ่มพบปะกับผู้เอาประกันและเข้าสำรวจความเสียหาย
ด้านนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า เหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงภัยของภาครัฐ ภาคธุรกิจ และ ภาคประชาชน ดังนั้น จึงขอให้ภาครัฐมีแผนงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันภัยไทยกับบริษัทประกันภัยต่อในต่างประเทศ ทั้งนี้ สมาคมประกันวินาศภัยได้ขอให้สำนักงาน คปภ. ช่วยผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายอย่างรวดเร็ว เช่น เกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติผู้ประเมินวินาศภัย เป็นต้น นอกจากนี้ ธุรกิจประกันภัยยังมีแนวคิดในการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างบริษัทประกันภัย เช่น ผู้สำรวจภัย รถลาก อู่ซ่อมรถ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักร เป็นต้น เพื่อให้บริษัทสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้